ภาพแปะฟ้าช่วงถนนราชดำเนิน”วัดวังตะวันตก-ถึงบริเวณสี่แยกท่าวัง” เมืองคอน

เม.ย. 17

ภาพแปะฟ้าช่วงถนนราชดำเนิน”วัดวังตะวันตก-ถึงบริเวณสี่แยกท่าวัง” เมืองคอน

                        ความเป็นมา www.gotonakhon.com หรือ เมืองคอน.com มีขึ้นมาเพื่อให้รู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ของเมืองคอนในอดีต และปัจจุบัน ตามกฏไตรลักษณ์ (การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองคอน(อีกมุมหนึ่ง)ในอดีตที่ยิ่งใหญ่ เป็นช่วงๆ ความเปลี่ยนแปลง ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำลายของคนเมืองคอนเอง” ที่เป็นตัวเร่งและเป็นผู้ทำลายประวัติศาสตร์ของตัวเองจนปัจจุบันอดีตประวัติศาสตร์ของตัวเองค่อยๆหายไปที่ชิ้นสองชิ้น เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

                        “ท่าวัง” เป็นจุดๆหนึ่งที่ผ่านจุดนี้มา มีการเปลียนแปลง “กาลเวลา พราก-เปลี่ยนแปลงทุกๆสิ่งทุกอย่าง ในธรรมชาติไป” ไม่เคยยกเว้นอะไรและไม่มีอะไรอยู่เหนือธรรมชาติ

                         ความสำคัญของบริเวณ“ท่าวัง” เป็นหน้าตาของเมือง เป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญมาแต่โบราณ เป็นหัวใจทางการค้า การคมนาคม และอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้ลดความสำคัญลงแต่ก็ยังคง “ความเป็นย่านธุรกิจ” ของเมืองอยู่

pท่่าวัง244124482554 copy

  • ภาพอดีตบริเวณสี่แยกท่าวัง ภาพถ่ายเมื่อคราวรับเสด็จ ร.5 พ.ศ.2441,2448ภาพจากศิลปากรที่ 14 จากโก้แอ๊ด ร้านโก้ปีเมืองคอนและภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อเมษายน 2554

 

pท่าวัง2450-24532554e copy

  • ภาพอดีตสี่แยกท่าวัง ถ่ายเมื่อประมาณ 2460-2465ภาพจากศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ,สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

Picture 1046356-vert copy

ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตบริเวณสี่แยกท่าวัง ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2460 ภาพจากอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนางทองพูน ทองสมัคร 27 ตุลาคม 2528  ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ สิงหาคม 2557

pสี่แยกท่าวัง copy

  • ภาพอดีตบริเวณสี่แยกท่าวัง ภาพจากศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

41 copy

47 copy

pท่าวัง-247724862554 copy

  • ภาพอดีตสี่แยกท่าวัง ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2477,2486 ภาพจากร้านคนสร้างภาพหอนาฬิกาเมืองคอน ,ภาพจากอธิวิทย์ วรวีัฒน์ศุภรัฐ,คุณชวลิต  อังวิทยาธร  ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

pสี่แยกท่าวังทางทิศเหนือของสี่แยก2498 copy

  • ภาพอดีตสี่แยกท่าวังทางทิศเหนือภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ.2498 ภาพจากอธิวิทย์ วรวัฒน์ศุภรัฐ,คุณชวลิต อังวิทยาธร   ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

pรับเสด็จ25021 copy

pรับเสด็จ22 copy

  • ภาพอดีตรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จเมืองคอนขบวนบริเวณถนนเนรมิตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2507 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

Picture 1046225-tile copy

 

ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณสี่แยกท่าวัง ภาพอดีตถ่ายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2518  ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ และถ่ายโดยคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ  เมื่อ มิถุนายน 2557 

pรับเสด็จ25023 copy

  • ภาพอดีตรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลทีื 9 เสด็จเมืองคอน ภาพผ่านบริเวณสี่แยกท่าวัง ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2507 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพปััจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

pรับเสด็จ4 copy

  • ภาพอดีตหลังจากรับเสด็จ ณ.ถนนเนรมิต ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2507 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปึ่ง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

  • ภาพอดีตย่านการค้า ณ.ถนนเนรมิต ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2507 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

60 copy

pสี่แยกท่าวัง2496หน้าวัดวังตะวันตก copy

  • ภาพอดีตสี่แยกท่าวังช่วงหน้าวัดวังตะวันตก ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,ภาพจากร้านคนสร้างภาพหอนาฬิกาเมืองคอน, ภาพจากอธิวิทย์ วรวัีฒน์ศุภรัฐ,คุณชวลิต อังวิทยาธร(ภาพน้ำท่วมเมื่อ พ.ศ.2518)  ภาพอดีตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2496 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

pตลาดเช้าสี่แยกท่าวัง copy

  • ภาพอดีตบริเวณสี่แยกท่าวัง มีการจ่ายตลาดเช้า(ตลาดเสาธงทอง)ภาพอดีตน้ำท่วมเมื่อปี 2518 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

pบวรบาซาร์ copy

  • ภาพอดีตบริเวณบวรบาซาร์ ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2490บริเวณด้านหลังของอาคารนี้ มีโรงไฟฟ้าที่่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่บริเวณท่าวังและมีโรงกลึงที่ใหญ่ทีสุดของเมืองคอน ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554  ถ้าสังเกตุจากภาพในอดีตถนนเมืองคอนจะกว้าง เพราะเหตุอะไรสภาพถนนปัจจุบันถึงได้แคบลงกว่าอดีต

pวัดวังตะวันตก copy

  • ภาพอดีตน้ำท่วมใหญ๋บริเวณหน้าวัดวังตะวันตก ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2518 ภาพจากคุณอธิวิทย์ วรวัฒน์ศุภรัฐ,คุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

pท่าวัง1 copy

  • ภาพอุบัติเหตุ ณ.สี่แยกท่าวัง ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

  • กุฏิสะตอ(กุฏิทรงไทย) สถาปัตยกรรมแบบบ้านทรงไทยแบบโบราณของเมืองคอน สร้างในปี พ.ศ.2431 ผู้สร้างคือพระครูกาชาด ซึ่งงามติดอันดับต้นๆของประเทศไทย สถานที่บริเวณนี้เดิมเป็นที่ค้างศพในป่าขี้แรดมีชื่อบ้านว่า”บ้านตากแดด”จากหนังสือโบราณสถานที่ในเขตควบคุมดูแลของพิิพิภัณสถานแห่งชาติ ที่ 11 เมืองคอน

  • ร่องรอยอดีตที่คงเหลือ ที่”เมืองคอน”

ภาพอดีตร้านหนังสื่อสร้างสรรค์ของพวกหนอนหนังสือ  ร้านแรกๆของเมืองคอน

  • ภาพอดีตบริเวณโรงเรียนวัดเสาธงทองเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตลาดเช้า(ตลาดสดเสาธงทอง)ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2520โดย ด.ช.ศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุ่งและพวก ผู้มีน้ำใจสนับสนุนด้านภาพถ่ายยุคเก่าของเมืองคอนเพื่ออนุชนรุ่นหลังพร้อมทั้งให้คำแนะนำและอีกหลายๆ ท่านที่ไม่ได้เอ๋ยนาม  ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554

8 comments

  1. ที่ย่านท่าวังมีแต่ภาพเก่าๆ เก๋าๆมากๆครับ ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ
    และที่ร้านหนังสือนาคร บวรรัตน์ คือร้านที่คล๊าสสิคมากๆน่ะครับ
    ผมชอบไปอ่านประจำตอนเด็กๆและไปวื้อแสตมป์ที่ร้าน แสตมป์ทอง
    ของพี่กิตติ บ่อยๆครับ แต่เสียดายที่ไม่มีแล้วครับเวลานี้

  2. คุณ nakhonkup999

         เพราะได้ภาพเหล่านี้่จากหลายๆท่าน จากคุณนิก ศิลปากรที่ 14 ,คุณบัณฑิต หอจอดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,ทาญาติคุณชวลิต อังวิทยาธร(ท่านถึงแก่กรรมแล้ว),คุณศุภชัย (หนึ่ง)แซ่ปุง คุณพยอมฯจากร้านคนสร้างภาพหอนาฬิกาเมืองคอนและข้อมูลจากคุณประวัติ(น้าหวัด) ภิรมย์กาญจน์ ทุกๆท่านให้ความกรุณาและเห็นความสำคัญถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองคอน เป็นราชธานีแห่งแรกของประเทศไทยจึงได้ให้เผยแพร่เพื่อ"บ้านเรา"

          ขอขอบคุณเป็นอย่างมากที่เข้าชมและช่วยเผยแพร่

                                                                  มล.พัน 

  3. เด็กอะไร หล่อจัง 555

  4.        ผมก็ว่าอยู่เหมือนกัน บัตรประชาชนทั้ง 3 เห็นรูปต้นบัตรแล้วยังครับ

  5. เสกสรร /

    ขอบคุณสำหรับภาพความทรงจำดีๆ มากครับ ผมเสกเด็กหน้าถานีเมืองคอน 2525

  6. คุณเสก
    ด้วยความยินดีครับ

  7.  
          
    โรงไฟฟ้าของขุนบวรที่เป็นนาคร-บวรพาซ่า จ่ายเป็นไฟ DC. มีเสาไฟฟ้าติดไฟหัวเสายาวตั้งแต่ในค่ายไปถึงวันพระธาตุฯ ม่ายมีหม้อแปลงเหมือนตอนนี้แต่พอปลายๆๆมันจะม่ายหวาง เพราะขนาดสายมันขนาดเดียว
           

  8. เป็นพระต้องโกนหนวดทุกวัน ผมไม่เป็นพระยังโกนทุกวัน เป็นพระนะไม่ใช่โจร เห็นเจ้าอาวาสหนวดเฟิ้มผมนึกว่าโจรในคาบผ้าเหลือง ทำตัวให้เป็นมนุษย์หน่อยนะพวก

    บรรจง 0868107976

ส่งความเห็นที่ komol ยกเลิกการตอบ

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>