สืบสานตำนานประเพณี “สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์” ในวัน “สงกรานต์” ที่”เมืองคอน”

เม.ย. 09

สืบสานตำนานประเพณี “สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์” ในวัน “สงกรานต์” ที่”เมืองคอน”

          

                       การแห่พระพุทธสิหิงค์ เพื่อสรงน้ำ เป็นศิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่(สงกรานต์)ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช  สมัยก่อนน่าจะมีพร้อม ๆ กับแห่สงกรานต์ตามลัทธิศาสนาพราหมณ์  กำหนดวันตามสุริยคติ  ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษบริบูรณ์  วันที่  13  เมษายน ของทุกปี  เชื่อกันว่าพิธีนี้เป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่ประมาณ  พ.ศ.  1700 – 1800  สมัยพญาศรีธรรมโศกราช  พญาจันทรภาณุ  และพญาพงษาสุระ  3  พี่น้องครองเมืองนครศรีธรรมราช

                  จากประวัติศาสตร์ของ“เมืองคอน”(ตามพลิงค์,ตามพรลิงค์)คือเมืองที่รับเอา “ศาสนาพราหม์”ศาสนาพุทธ”เป็นศาสนาประจำเมืองเป็นแห่งแรกตั้งแต่เริ่มการตั้งเมืองประมาณ พ.ศ.1098 โดยพญาศรีธรรมโศกราชที่ 1 เป็นพราหมณ์สายบาตูปารัตทำให้การทำพิธีทางบ้านเมืองหรือทางศาสนาล้วนแล้วแต่ต้องใช้ลัทธิของพราหมณ์(ข้อเขียนจากหนังสือประวัติวัดท้าวโคตรเมืองนครศรีธรรมราชของครูน้อม อุปรมัย)

              ที่”เมืองคอน”ที่เป็นการยืืนยันถึงเส้นทางที่รับเอาศาสนาพราหม์เข้ามา ยังมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถานเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศานสนาและโบราณสถานที่ใช้ในการทำพิธีกรรมต่างๆ ที่หลงเหลือให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบันให้เห้นถึงความรุ่งเรืองในอดีดตามแนวทางของหลักศาสนาพราหมณ์ก่อนจะรับเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำเมืองซึ่งโบราณสถาน โบรารณวัตถุที่นำเสนอมาเป็นเพียงบางส่วน(อนึ่งถ้าหากผู้อ่านมีความสนใจที่จะศึกษาความเป็นมาของศาสนาพรามหณ์หาอ่านได้จากข้อเขียนของครูน้อม อุปรมัยในหนังสือประวัติท้าวโครตร พิมแจกเป็นทึ่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดท้าวโคตรและสารนครศรีธรรมราช ปีที่ 38 ฉบับที่ 38-39)คือ

  • 1.เทวลัย โบราณสถาน”เขาคา”

            เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) แห่งนี้ พบว่ามีโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์อยู่บน “เขาคา” ตำบลสำเภา อำเภอสีชล จังหวันครศรีธรรมราช ทำให้หลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ศาสนาฮินดู-พราหมณ์นั้นได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่และตั้งแหล่งเผยแพร่เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ขึ้นในดินแดนแถบนี้ก่อน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือองค์เทพหรือพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ ก่อนที่จะเผยแพร่ไปตามเมืองอื่นๆในดินแดนสุวรรณภูมิต่อไปเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10

pเขาคา1 copy

pเขาคา2 copy

  • 2.โบราณสถานวัดโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

pโมคคลาน copy

  • 3.โบราณสถานตุมปัง ตำบลไทรบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช(ภาพจากเวปมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

pตุมปัง copy

  • 4.ฐานพระสยมภูวนาถ ตั้งอยู่ที่ ตลาดท่าชี อำภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

pฐานพระสยม copy

  • 5.หอพระนารายณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช(ภาพอดีตพระนารายณ์จากศิิลปากรที่ 14 เมืองคอน)

pหอพระนารายณ์ copy

  • 6. หอพระอิศวร ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช(ภาพอดีตศิวลึงค์ ภาพจากศิลปากรที่ 14 เมืองคอน)

pหอพระอิศวร-768x1024 copy

  • 7.เสาชิงช้า ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

           ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหอพระอิศวร แต่เดิมอยู่บริเวณด้านหลังฐานพระสยมภูวนาถ ตลาดท่าชี(ของเดิมสูงประมาณ 10 ศอกจากหนังสือ”ชีวิทัศน์ ตอนเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อ พ.ศ.2427 จากสารนครศรีธรรมราช)

  • 8. เทวาลัยสำหรับทำพิธีบวงสวงทางศาสนาพราหมณ์ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัีดท้าวโคตร อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ตั้งอยู่บริโรงเรียนวัดท้าวโคตร สร้างเมือประมาณ พ.ศ.1111 เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์และเป็นที่ถวายพระเพลิง”พญาศรีธรรมโศกราชที่ 1″ ในเวลาต่อมา

pเทวลัยpg copy

               จะเห็นว่าโบราณสถานต่างๆ ที่ยังปรากฏร่องรอยความเป็นเมืองเก่า เป็นต้นกำเนิดการตั้งเมือง,ผังเมือง,กำเนิดประเพณีต่างๆ จากศาสนาที่รับเข้ามานับถือมีหลายประเพณีผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ และ“ประเพณีสงสงกรานต์”ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งเกิดเมือสมัยของพระเจ้าศรีธรรรมโศกราช โดยการที่องค์พระพระบรมธาตุเป็นที่รวมความศรัทธาของพุทธนิกชน ทำให้ก่อกำเนิดประเพณีและพิธีกรรมทั้งของหลวงและของราษฎรมาตั้งแต่โบราณและปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึง”ประเพณีแห่พระพุทธสิหิงค์ในวันสงกรานต์”เพื่อสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคลตลอดมา (จากหนังสือประวัติและตำนานวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช)และจากข้อเขียนของคุณไทยสะกอที่เขียนไว้ในหนังสือ “พระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ” “ทุกอย่างเกิดขึ้นที่นี้” มิได้สืบทอดจากที่ไหนเรามีบรรพบุรุษของเราเอง มีมรดกตกทอดของความเป็นไทยที่ไม่ลอกเลียนหรือถ่ายทอดมาจากใคร  คนไทยควรภูมิใจและรักษาสืบทอดให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน

              จากหลักฐานทางด้านเอกสาร โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ยังคงให้สืบค้นได้ จะเห็นว่า ประเพณีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ในวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาตั้งแต่โบราณ ”อาจจะเกิดจากศาสนาพราหมณ์ ศานสนาพุทธหรือเกิดจากบรรพบุรุษสะสมประสบการณ์แล้วสืบทอดต่อกันมา”  เพื่อผลสุดท้ายเพียงให้สังคมอยู่กันอย่างสันติ จะเห็นว่าคนยุคโบราณวางแนวทางในการปฏิบัติใว้เป็นอย่างดี สังคมสงบร่มเย็น มีที่ยึดเหนียวทางจิตใจ มีศูนย์กลางอยู่ที่ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ทุกคนในสังคมมีศีลธรรม ไม่คิดหลอกลวง ต้มตุ้นแก่ผู้ใด ทำให้สภาพสังคมอยู่เย็นเป็นสุข  ”พระภิกษุชาวจีนชื่อ อี้จิงได้บันทึกเมื่อ พ.ศ.1214-1238 ไว้ว่า”คนเมืองตามพรลิงค์ ชาวเมืองล้วนมีสัจจะศีลธรรมทุกหนทุกแห่ง ชาวเมืองเต็มไปด้วยความสุข ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน”  ไม่เหมือนกับสภาพสังคมปัจจุบันที่สังคมบกพร่องทางศีลธรรม คิดที่จะหลอกลวง คิดถึงแต่ตัวเองเป็นที่ตั้ง 

  • คุณค่าและความเป็นประเพณีที่ปฏิบัิติ

1.  ทำบุญตักบาตร

2. สรงน้ำพระในเมืองคอนจะอัญเชิญ”พระพุทธสิหิงค์”ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง มาที่หน้าเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวเป็นประทุกปีมาตั้งแต่โบราณมา

3. ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลใไ้แก่บรรพบุรุษผูื้ที่ล่วงลับแสดงออกถึงความตัญญูต่อบรรพบุรุษ

4. รดน้ำดำหัวเพื่อขอพรจากผู้ใหญ่หรือผู้ที่เป็นที่เคารพ

5. การละเล่นรดน้ำดำหัวกับสมาชิกในครอบครัวและสังคม

6. มีการแสดงศิลปพื้นบ้านตามประเพณีท้องถิ่น

  • ภาพทำบุญตักบาตร(ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ.2502)

pภาพทำบุญตักบาตรjpg (1) copy

  • ภาพบรรยากาศการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ

แต่โบราณของชาวปักษ์ใต้มีพิธีอีกหนึ่งพิธีที่หายไปคือ “”พิธีขึ้นเบญจา”"

เบญจารวม2 copy

ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพพิธี”ขึ้นเบญจา”ของชุมชนบ้านหัวสวน-คลองใหม่(พ่อท่านมุ่ยวัดป่าระกำเหนือเป็นผู้ควบคุมนักโทษสร้าง)-วัดโบสถ์”หมู่ที่ 7 ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ของบ้านตระกูล”พันธรังษี”ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2496
พิธี”ขึ้นเบญจา”เป็นพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวปักษ์ใต้ และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญูกตเวทิตาของลูกหลานทีมีต่อผู้ที่อาวุโส รวมถึงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ วิธีการจัดโดยให้มีโรงพิธีแบบจตุรมุข (คือมีมุขสี่ด้านตรงกลางมียอดแหลม)โดยมีเสา สี่เสามีหลังคา1-5ชั้น แล้วแต่ท้องถิ่นหรือฐานะของผู้จัด ตั้งแท่นหรือที่นั่งกลางโรงพิธี ในวันงานประเพณีสงกรานต์ของงานประจำปี เพื่ออาบน้ำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนนั้น ที่ชุมชนนั้นมีความเคารพ ยกย่อง นับถือมากๆ
ในการทำนั้นเฉพาะของตระกูล”พันธรังษี”จะทำโดยการจะนำเรือขนาดย่อม นำไปไว้ในที่สูง(ต้นมะขาม)นำน้ำไว้ในเรือ(ตามภาพสเก็ตโดยคุณอุดม อ่อนประเสริฐ)แล้วใช้ไม้ไผ่(เสมือนหางพญานาคราชอยู่ด้านบน)หลุงปล้องออก เพื่อนำน้ำลงมาทางลำไม้ไผ่ไปยังโรงพิธี อาจฝังไว้ในดินหรือตกแต่งให้สวยงามเสมือนลำตัวพญานาคแล้วปล่อยน้ำไปอีกด้านหนึ่ง(ด้านต่ำ)ทำเป็นหัวพญานาคราช น้ำจะออกทางหัวพญานาคราชคล้ายกับฝนตกเป็นฝอยจากปากพญานาคราช
แล้วอัญเชิญญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ”ขึ้นสู่เบญจา”ในระหว่างนั้นพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ให้ชยันโต สวดชัยมลคลคาถา อวยพร เมือน้ำโปรยปรายจากปากพญานาคราชด้วยพ่นน้ำแก่ผู้ที่เคารพแล้วลูกหลานจะช่วยกันรดน้ำ-อาบน้ำมีบุตร-หลานหรือผู้ใกล้ชิดช่วยขัดถูที่ปลายเท้า ตามแขนขาหรือร่างกายจาก เมื่ออาบน้ำเสร็จก็เปลี่ยนเสือผ้า
ชุดใหม่แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ แล้วท่านก็ให้พรแก่ลูกหลาน
ในภาพที่ปรากฏของตระกูล”พันธรังษี”ปัจจุบันส่วนใหญ่ท่านได้ละโลกนี้ไปแล้วมี ทวดชุม ปู่มด ย่าแดง ทวดผ่อง ทวดหม่อง ทวดจู ทวดนิ่ม ทวดเสน ฯลฯ ถ่ายรูปหน้า”เบญจา”หลังจากลูกหลานได้ทำพิธีอาบน้ำเรียบร้อยแล้ว

  • เริ่มต้นภาพบรรยากาศ”ประเพณีสงกรานต์ที่ครอบครัว” ซึ่งปัจจุบันถือเป็นวันครอบครัวประจำชาติ 

  • ภาพบรรยากาศ”ประพณีสงกรานที่หน่วยงานราชการ” ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจะมีประเพณี”สรงน้ำพระ”รดน้ำดำหัวและขอพรจากผู้ที่เคารพจากทุกหน่วยงานปฏิบัติมาเป็นประเพณี(ภาพจากคุณเกริกกิจ สังข์สวัสดิ์ แผนกประชาสัมพันธ์การไฟฟ้าเขต 2 (ภาคใต้)จังหวัดนครศรีธรรมราช)

  • ภาพบรรยากาศสาดน้ำ”สงกรานต์”ทั่วๆไป(ภาพจากเวป)

2 comments

  1. สงกรานต์ปีนี้ขอให้สนุกทุกๆท่านน่ะครับ
    หลังจากต้องเผชิญกับน้ำท่วมมานานหลายวันแล้วครับ

  2. ศักดา วิมลจันทร์ /

    ขอบคุณสำหรับเว็บดีๆ
    ผมไม่มีโอกาสอ่านหนังสือที่ท่านกล่าวถึง ท่านก็ไม่ได้บอกว่าประเพณีสรงน้ำพระมีเค้ามาจากการสรงน้ำศิวลึงค์ แต่ผมอ่านเว็บท่านแล้ว คิดอย่างนั้น และเห็นว่าเป็นการเชื่อมต่อทางคติความเชื่อที่แนบเนียนดี

ส่งความเห็นที่ nakhonkup999 ยกเลิกการตอบ

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>