ภาพแปะฟ้า”เมืองคอน”ช่วงท่าโพธิ์-สวนราชฤดี”(สวนหลวง รัชกาลที่ 5 ในอดีต)

เม.ย. 04

ภาพแปะฟ้า”เมืองคอน”ช่วงท่าโพธิ์-สวนราชฤดี”(สวนหลวง รัชกาลที่ 5 ในอดีต)

pโบสถ์วัดท่าโพธิ์ยุคแรก-560x700 copy

ศาลาหลวงพ่อโพธิ์(วัดท่าโพธิ์เก่า)ในอดีต-ปัจจุบัน บริเวณ โรงเรียนวัดท่าโพธิ์และต้นโพธิ์(โพธิ์ล้อม) ภาพอดีตจากหนังสือพระกฐินพระราชทานวัดท่าโพธิ์โดยคณะพุทธบริษัท 21 ตค.2522

            ผู้เขียนนั้งคิดเล่นๆว่า เมื่่อมีเรื่อของชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายที่ท่าเรื่อท่าโพธิ์(ท่าวัง)ในอดีตถึงบริเวณนี้ แล้วมีคำถามว่า “ตลิ่งของทั้งสองฝั่ง”อยู่ตรงบริเวณไหนล๊ะ?

              ผู้เขียนมีข้อสันนิษฐานถึงความกว้างของแม่น้ำ โดยธรรมชาติโดยเฉพาะ”ชาวเมืองคอน”จะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ ริมท่าน้ำ สถานที่สำคัญต่างๆย่อมอยู่ใกล้แม่น้ำ(ริมตลิ่ง) ผู้เขียนได้เข้าไปในวัดชะเมา มีศาลาพระพุทธรูปเก่าองค์หนึ่งที่ผิดแผกไปจากอาคารอื่นในวัด คือศาลาพระพุทธรูปชาวบ้านเรียกว่าพระสูงหันไปทางทิศตะวันออกและพระสูงก็หันพระพักตร์ไปทางทิิศตะวันออก ข้อสันนิษฐานก็คือ ริมตลิ่งหรือท่าน้ำจะอยู่บริเวณนี้ ถ้าดูประวัติท่าโพธิ์เดิมตั้งอยู่ ณ.บริเวณโรงเรียนวัดท่าโพธิ์(ปัจจุบัน)และมีโบสถ์และพระพุทธรูป(หลวงพ่อโพธิ์)หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เท่ากับว่าสถานที่ทั้ง 2 จุดนี้จะต้องเชื่อมโยงกัน คือศาลาพระสูง-ศาลาหลวงพ่อโพธิ์จะต้องอยู่กันคนละฝั่งตลิ่งของแม่น้ำ  ซึ่งจะมีความกว้างโดยประมาณ 700-800 เมตร

                ถ้าข้อสันนิษฐานของผู้เขียนถูกต้อง(ไม่ใช่หลักวิชาการ)คงเป็นท่าเรือใหญ่ ที่มีเรือสำเภาขนาดใหญ่เข้ามาติดต่อค้าขาย และเป็นท่าเรือที่สำคัญของโลกในอดีต(ประวัติความเป็นมาของวัดท่าโพธิ์ โดยครูน้อม อุปรมัย)

               ผู้เขียนได้อ่านบทความทางวิชาการเรือง”พระมหากษัตริย์กับวัดพระมหาธาตุฯและนครศรีธรรมราช เขียนโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์” โดยท่านได้เขียนบทความไว้ว่า”สมัยก่อนคลองท่าวังกว้างและลึกมากเรือกปั่นฝรั่งเศสเข้ามาจอดถึงวัดท่าโพธิ์ ใกล้วัดประดู่ วัดแจ้่ง นิวาสสถานเดิมเจ้าพระยานครสมัยกรุงธนบุรีเป็นวัดฯลฯและท่านเชื่อว่าเดิมวัดประดู่ วัดแจ้งเป็นที่ตั้งคลังสินค้าของฝรั่งแห่งหนึ่ง(จากหนังสือที่ระลึกสักการะพระสุธรรมมาธิบดี 28 เมย.2533 หน้า60)

pพระเดิมวัดชะเมา1-525x700 (1) copy

ศาลาหลวงพ่อสูงบริเวณริมกำแพงวัดชะเมาด้านตะวันออก(ปัจจุบันได้ถูกรื้อทิ้งแล้ว)ถ่ายเมื่อ ตุลาคม พ.ศ.2553 

ท่าเรือสมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเจ้าน้อย-525x700 copy

        ภาพอดีตท่าเรือ-เรือสำเภา ที่เมืองท่าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(เจ้าน้อย) น่าจะเป็นบริเวณท่าเรือท่าวัง(บริเวณหน้าวังของเจ้าจอมปราง)ภาพจากหนังสือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(เจ้าน้อย)ผู้สำเร็จราชการ จอมท้พตะวันตกแห่งแดนใต้ ประเทศไทย” ศรีธรรมาโศกราชองค์ที่ 5″ (ช่วง พ.ศ.2354)

  • ประวัติวัดท่าโพธิ์วรวิหาร
  •           ประวัิติวัดท่าโพธิ์เก่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2027 ตรงกับรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ และโดนเผ่าจากพวกโจรสลัด เมื่อ พ.ศ.2181 และหน้าวัดท่าโพธิ์เก่านั้นมีสัญญาลักษณ์ของความเป็นท่าโพธิ์อยู่อย่างหนึ่ง คือ “ต้นโพธิ์พันธุ์พื้นเมือง(โพธิ์ล้อม)” ซึ่งชาวพุทธได้ปลูกไว้ตั้งแต่สมัยศรีวิชัยหลายร้อยปีมาแล้ว ลำต้นสูงใหญ่ขนาด 3 คนโอบและคนต้นเป็นโพลงคนลอดเข้าได้ พวกโจรสลัดจึงเอาไฟครอกพร้อมเผาวัดท่าโพธิ์เก่า จนต้นโพธิ์ล้มตายและคงเหลือแต่”ตอ”อีกหลายร้อยปี(จากหนังสือพระกฐินพระราชทานวัดท่าโพธิ์ 21 ตค.2522)
  •            เมื่อเจ้าพระยานครพัดเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจึงสร้างวัดท่าโพธิ์ขึ้นใหม่ พ.ศ.2327 ห่างจากวัดเดิมไปทางเหนือประมาณ  ๔๐  เมตร  และได้สร้างรั้วเป็นรูปพัด  ปลูกต้นโพธิ์ไว้ริมคลองท่าวังเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวัด วัดท่าโพธิ์เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดสมัยพระรัตนธัชมุนี(ม่วง)เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๗๗ ได้รับการยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวงชั้นวรวิหาร สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.๒๔๖๐ 

ภาพอดีตขบวนแห่นาครอบอุโบสถ์ก่อนจะทำพิธีบรรพชา-อุปสมบท บริเวณอุโบสถ์วัดท่าโพธิ์(ใหม่) ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2555

pอุโบสถ์วัดท่าโพธิใหม่111 copy

ภาพอดีต อุโบสถ์วัดท่าโพธิ์ ถ่ายเมื่อช่วงบูรณะ เมื่อ พ.ศ.2518 จากหนังสือประวัติวัดท่าโพธิ์พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณพระราชไพศาลมุนี(ย้อย มาสาลเถระ) 27 เมย.2520 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2555

ภายในอุโบสถ์ของวัดท่าโพธิ์วรวิหาร เป็นที่เก็บอัฐิของเจ้าพระยานครพัฒน์ อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

  • อดีตบริเวณที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศนครศรีธรรมราช(น.ศ.1)

pเบญจมราชูทิศอดีต copy

 ภาพอดีตคือที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ (น.ศ.1)โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งโดยพระรัตนธัชมุนี(เจ้าคุณม่วง)อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ.2441 ภาพอดีตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2472 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2555จากหนังสือที่ระลึกในการที่คณะศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 พย.2526

pครูโอบ1-copy copy

             ภาพอดีตคณะครูและท่านม่วง(ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี)และคุณครูมี จันทร์เมือง ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2472 ,คุณครูโอบ ปักปิ่นเพชร และคณะแสดงละครรีวิว ถ่ายรูปหน้า ณ.อาคารเบญจมราชูทิศที่วัดท่าโพธิ์ ภาพจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายโอบ ปักปิ่นเพชร 28 เมษายน 2539( 99 ปี ชีวิตครูโอบ ปักปิ่นเพชร)

Picture-176666-700x444 copy

               ภาพอดีตคุณพงษ์สิทธิ์ ภูมะธน พร้อมคณะลูกเสือสมุทธเสนา  ถ่าย ณ อาคารเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ วัดท่าโพธิ เมือพ.ศ.2481 ภาพจากหนังสือตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯ ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ นายพงษ์ศรี ภูมะธน เมื่อ 3 มิย.2551

Picture-1777777-700x448 copy

          ภาพอดีตคณะจัสแบนด์ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ถ่าย ณ อาคารเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ  เมื่อ พ.ศ.2481 ภาพจากหนังสือตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของนายพงษ์ศรี ภูมะธน 3 มิย.2551(หนังสือจากคุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร)

ซุ้มวัดท่าโพธิ์(ใหม่)บริเวณทางทิศใต้

ศาลเจ้ามำโจ๊ว อำเภอเมือง ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร(ถ่ายโดยอาจารย์อนิรุทธ์ พันธุ์พิทย์แพทย์ ผู้แต่งเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชและหนังสือ”สวัสดี ! ศรีธรรมราช”)เมื่อ พ.ศ.2494) ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ กพ.2555

pตลาดเย็น copy

ภาพอดีตภาพงานบวชนาคของอาจารย์อนิรุทธ์  พันธุ์ทิพย์แพทย์นั้งรถม้า ผู้แต่งเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชและบทความเชิงวิชาการที่สำคัญคือ “สวัสดีศรีธรรมราช” ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2492 -บริเวณสี่แยกตลาดเย็น ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช ปี่ที่ 32 ฉบับที่ 2 กพ.2545  ภาพปัจจุบันถ่าย เมื่อ กพ.2555

Picture 1046226-horz copy

ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณ”ตลาดท่าตีน”ปัจจุบันคืนตลาดเย็นข้างวัดใหญ่ชัยมงคล ขบวนพาเหรดการแข่งขันก๊ฬาภายในของโรงเรียนทักษิณวิทยา เปิดสอนที่ศาลเจ้ากวนอูในอดีต  ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506 ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ และภาพปัจจุบันถ่าย เมือ กรกฎาคม 2557

Picture-159999-700x589 copy

        ภาพอดีตภาพคณะนักเรียนและครูโรงเรียนสุวรรณศิลป์ ถ่ายเมือ 6 กพ.2509 ภาพจากหนังสือ ตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ นายพงษ์ศรี ภูมะธน และภาพปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคโนโลยี่สถาปัตย์นคร ถ่ายเมือ มีค.2555(หนังสือจากคุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร)

pเก๋งจีนวัดประดู่2 copy

เก๋งจีนบริเวณวัดประดู่ภาพอดีตจากหนังสือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(เจ้าน้อย)ผู้สำเร็จราชการจอมทัีพตะวันตกแห่งแดนใต้ ประเทศไทย” ศรีธรรมาโศกราช” องค์ที่ 5 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีค.2555

  • วัดประดู่พัฒนาราม
pวัดประดู่-500x500 copy
ประวัติวัดประดู่พัฒนาราม
ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
            วัดประดู่พัฒนาราม หรือ วัดประดู่ หรือ วัดโด  เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ กษัตริย์ไทย และเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีต วัดประดู่ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ทั้งหมด 19 ไร่54.7 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 7062 เล่มที่ 71 หน้าที่ 62 อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1815 ได้รับวิสุงคามสีมา พ.ศ. 1820 เป็นวัดฝ่ายมหานิกาย
            ตำนานการสร้างวัด มีอยู่ 2 ระยะ ดังปรากฏในหนังสือ น้อมรำลึก โดยน้อย อุปรมัย (อดีต ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช และอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร) กล่าวว่า
            ในระยะแรก สมัยสมเด็จพระราเมศวร ได้อพยพพลเมือง จากทางภาคเหนือ แถวแคว้นล้านนา และทางภาคอีสานบางส่วน ให้มาตั้งถิ่นฐานทางภาคใต้ รวมทั้งเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ได้ผสมผสานกับชนพื้นเมือง
ในการนี้  บุคคลที่สำคัญยิ่งท่านหนึ่ง ชื่อว่า พระพนมวัง ภริยาชื่อ นางเสดียงทอง ถูกส่งให้มาควบคุมดูแลพลเมือง และช่วยพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกันนี้ ได้นิมนต์พระภิกษุ ให้มาช่วยสร้างวัดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวในของพลเมือง พระภิกษุรูปนั้นชื่อว่า พระมหาเถรอนุรุธ ได้จัดการสร้างวัดทางด้านทิศเหนือชานเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งบริเวณพื้นที่เป็นดอนทราย หรือ หาดทราย มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มไปหมด สภาพเป็นป่ารกชัด แต่มีต้นประดู่ขึ้นอยู่มาก เมื่อสร้างวัด จึงให้ชื่อว่า วัดประดู่ ภาษาภาคใต้เรียกว่า วัดโด
วัดประดู่ ในระยะแรกรุ่งเรือง อยู่ไม่นานก็ร้างเจ้าอาวาส และวัดก็รกร้างลง ได้รับการ ปฏิสังขรณ์ เป็นครั้งคราว เมื่อมีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่บางครั้ง
ข้อมูลจาก สารนครศรีธรรมราช ปีที่ 28 ฉบับที่ 4 เมษายน 2542 กล่าวว่าพี่สาวของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) ชื่อ หญิง หรือ คุณหญิง เป็นผู้เสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เป็นผู้สร้างวัดประดู่
มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ปี พ.ศ.2319 พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงตั้งให้เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และมารับตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. 2325  2327 มีชายาชื่อ หม่อมทองเหนี่ยว มีธิดา 1 องค์ ชื่อ เล็ก หรือ คุณเล็ก คุณเล็กได้สมรสกับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) จากบันทึกอันนี้ แสดงให้เห็นว่า วัดประดู่ มีอยู่ก่อนแล้ว จึงอาจเป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ สร้างถาวรวัตถุ ต่างๆขึ้น โดยคุณหญิง ซึ่งตรงกับหลักฐานใน พงศาวดาร เมืองนครศรีธรรมราช เขียนโดย หลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) ว่าเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) ได้สนับสนุนการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดประดู่ครั้งใหญ่ มีการขุดคลอง ด้านทิศตะวันออก ขุดสระน้ำด้านทิศตะวันตก หน้าวัด สร้างกำแพงหนาขนาดกับทางเดิน (ถนนราชดำเนิน ตอนนั้นยังไม่มีถนนและชื่อถนน เป็นเพียงแต่ทางเดิน)
ต่อมา พ.ศ.2470 ในรัชกาลพระบาลสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตระกูล ณ นคร ได้บูรณะอุโบสถ ทั้งหมด ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น พร้อมกับ
จัดสร้างซุ้มพัทธสีมา เป็นศิลปะจีนประยุกต์ ดังปรากฏอยู่ปัจจุบัน

ข้อมูลจากเวปของวัดประดู่พัฒนาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ภาพอดีตแม่ชีระเบียบ พันธรังษี ถ่ายรูปบริเวณหอกลอง ตรงบริเวณหน้าโบสถ์ของวัดประดู่พัฒนาราม  ถ่ายเมือ พ.ศ.2524 ถาพปัจจุบันถ่ายเมือ 10 มิถุนายน 2555

pเก๋งจีนวัดแจ้ง copy

         เก๋งจีนวัดแจ้งที่ประฐานอัฐิเจ้าจอมปราง ภาพอดีตจากหนังสือโบราณสถานในเขตควบคุมดูแลรักษาสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช เล่มที่ 1 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีนาคม 2555

จดีย์บรรจุอัฐิภายในเก๋งจีนวัดแจ้ง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีนาคม 2555

  • ประวัติโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา

โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยมิชชันนารีอเมริกันเพรศไบทีเรียนเพื่อเผยแพร่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เมื่อเริ่มแรกได้เปิดโรงเรียนเล็ก ๆ ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนอเมริกันสกูลฟอร์บอย (เอ เอ็ม ซี) ตั้งอยู่ที่ตำบล คลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคือ คริสตจักรเบธเลเฮ็ม) ในปี พ.ศ. 2452 โดยมีศาสนาจารย์อาร์ ดับดลิวโพสท์ เป็นครูใหญ่ ต่อมา มิสลาริยา เจ คูเปอร์ รับหน้าที่ต่อ ในปี พ.ศ. 2458 ได้มีการย้ายเด็กหญิงซึ่งแต่เดิมได้รับมาเรียนรวมกับเด็กชาย มาตั้งที่ ตำบล ปากพูน (ปัจจุบันคือตำบลท่าวัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกอนุบาลในปัจจุบัน)โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนศึกษากุมารี” โดยมิสมิลเลอร์ เป็นครูใหญ่ และมิสเฮเลนแมกเคกก์ ได้รับหน้าที่ต่อมา

ในปี พ.ศ. 2461 – 2466 ศาสนาจารย์เอคเคิ้ลส์ และศาสนาจารย์เอฟ แอล สไนเตอร์ได้ผลัดเปลี่ยนกันจัดการดูแลโรงเรียนอเมริกัน หลังจากนั้นมิซซิส เฮเลน แมกเคกก์ ได้รับหน้าที่ต่อ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2473 ครูพลอด ณ นคร ก็ได้รับหน้าที่เป็นครูใหญ่

่ในปี พ.ศ. 2484 โรงเรียนอเมริกันก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา” ได้ย้าย นักเรียนมัธยมศึกษามาตั้งในสถานที่ใหม่ คือทีตำบลปากพูน (โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา แผนกประถมศึกษา – มัธยมศึกษา ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นที่ดินของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานแก่มิชชันนารี ส่วนนักเรียนประถมศึกษายังอยู่ที่เดิมจนกระทั่งอาคารเรียนก่อสร้างเสร็จ จึงได้ย้ายนักเรียนประถมศึกษาไปอยู่ด้วยกัน

pศรีธรรมราชเก่า1 copy

ภาพอดีตอาคารเรียนโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2484 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ กพ.2555

จุดเริ่มต้น เขตสวนหลวงราชฤดี สมัยรัชกาลที่ 5

5 comments

  1. ความรู้เมืองคอนไม่มีวันสูญหายไปจริงๆจากเว็บดีดีแห่งนี้


    ขออนุญาตเผยแพร่ตามระเบียบน่ะครับ

  2. คุณNakhonkup999
                    ผมจะพยายามเท่าที่ทำได้ครับ เผยแพร่ต่อได้เลยครับ
                    ขอบคุณครับ
  3. เด็กๆประถม มัธยมในบ้านเราน่าจะมาที่เว็บนี้ให้มากๆน่ะครับ
    ได้ความรู้ดีดี แบบไม่ต้องเข้าห้องสมุดก็ได้ครับ อิอิ

  4. บังเอิญเหลือเกินที่มีโอกาสได้เข้าเวบนี้ เข้ามาแล้วไม่ผิดหวังจริงๆ ได้อ่านเรื่องเก่าๆ เมืองนครฯ ได้เห็นภาพครูผู้มีพระคุณของผมคือคุณครูพงษ์ศรี ภูมะธน และรุ่นพี่ปี 2509 ผมจบ ม.ศ.3 ปี 2513 จาก ร.ร.สุวรรณศิลป์วิทยา ผมไม่มีโอกาสมาร่วมงานฌาปนกิจศพท่านเพราะไม่ทราบความเคลื่อนไหวจริงๆ  ไม่ทราบว่าท่านใดมีหนังสือที่ระลึกในงานศพท่านบ้าง ขอความกรุณาช่วยแบ่งปันสักเล่มนะครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ครับ

  5. อาทิตย์ พัฒนกิจจำรูญ /

    ผมก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ผูกพันกับนครศรีฯ

ส่งความเห็นที่ nakhonkup999 ยกเลิกการตอบ

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>