เก็บตก”ภาพแปะฟ้าเมืองคอน”ช่วง”หอนาฬิกา-ศาลากลาง-สวนศรีธรรมาโศกราช-ตลาดแขก”

ม.ค. 11

เก็บตก”ภาพแปะฟ้าเมืองคอน”ช่วง”หอนาฬิกา-ศาลากลาง-สวนศรีธรรมาโศกราช-ตลาดแขก”

           เพราะเหตุ “เมืองคอน”มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน จึงมีภาพประวัติศาสตร์เหล่านี้ จากหลายๆท่านทั้งเป็นชาวเมืองคอน,และเคยอาศัยที่เมืองคอนได้กรุณาให้ภาพและข้อมูลภาพโดยมีความตั้งใจที่นำเสนอภาพเพื่ออนุชนรุ่นหลังได้เห็นความเป็นมาของเมืองคอน“เพื่อมิให้ภาพประวัติศาสตร์เหล่านี้่หายไปกับตัวและจุดเล็กๆ-กลุ่มเล็กๆของท่านเพื่อประสงค์ตอบแทนแผ่นดินเกิด”

pหอนาฬิกา2-copy copy

       ภาพอดีตสามแยกสุขศาลา ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2477,พ.ศ.2520และ พ.ศ.2541 ภาพโดยอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ (สารนครศรีธรรมราช)อาจารย์เสงี่ยม โกฏิกุล โรงเรียนเบญจมราชูทิศ(หนังสือกำแพงเมืองมรดกทางวัฒนธรรมของชาวนครโดย คุณชวน เพชรแก้ว,คุณปรีชา นุ่นสุข) ภาพปัจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2554

ภาพอดีตเมรุที่เผาศพและที่ตั้งศพของคุณน้อยใหญ่และเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ณ วัดสวนป่าน ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2458 ภาพจากอาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์,คณจรัส ยกถาวร,ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2554

  • วัดสวนป่าน

              ประวัติวัดสวนป่าน สร้างในปี พ.ศ.2442  โดยท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี(ม่วง เปรียญ)เดิมอยู่ในตำลพระเสื้อเมือง วัดสวนป่านเป็นส่วนหนึ่งบริเวณวังของกษัตริย์หรือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีสภาพเป็นเนินสูงมาก่อน เรียกว่า”กระหม่อมโคก” เป็นเนินสูงคล้ายๆภูเขาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประมาณ 900 ปีมาแล้ว และเมื่อตั้งวัง ก็ยังรักษาไว้เพื่อเป็นที่เลี่ยงช้าง มีโรงช้างใหญ่อยู่ 3 โรง  การมีช้างไว้ใกล้วังเป็นประเพณีโบราณของกษัตริย์และเมื่อ รัชกาลที่ 5 ได้จัดรูปแบบการปกครองหัวเมืองออกเป็นมลฑล เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และเพื่อให้สถานที่ราชการอยู่ในบริเวณเดียวกันพระยาศรีสุธรรมมนตรี(หนูพร้อม ณ นคร)ได้ยกวังกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชให้เป็นที่ทำการศาลากลางจังหวัีดและศาลจังหวัด นับเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติ โดยแบ่งที่สวนดอกไม้ทางทิศเหนือเป็นมรดกตกทอดแก่พระยานครกุลเชษฐ์ ทางทิศใต้ยังคงเป็นที่เลี้ยงช้างและปลูกต้นป่านมาเพือผูกช้างและเมือกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป แต่บริเวณที่ดังกล่าวยังคงเรียน”สวนป่าน”จนมาถึง พ.ศ.2442 ท่านเจ้าคุณรัตนฑัชมุนี(ม่วง เปรียญ)ได้ตั้งวัดเนื่องจากเป็นที่รกร้างอยู่ใกล้กับศาลากลางและศาลดูไมเป็นที่เจริญหูเจริญตาโดยให้ชื่อว่า “วัดสวนป่าน”(ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือที่ระลึกในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระภัทรธรรมธาดา อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนป่านและเจ้าคณะอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช)และอุโบสถ์และภายในอุโบสถ์ เป็นศาสนสถานที่งดงามภายในมีงานจิตรกรรมฝาผนังฝีมือจิตรกรชั้นเยี่ยมของเมืองนครคืออาจารย์แนบ พิชินพงศ์ ที่มีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองนคร

ภาพจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระภัทรธรรมธาดา(สมพร ปสนฺนจิตฺโต)อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนป่านและเจ้าคณะอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช  วันอาทิตย์ที่่ 3 เมษายน 2548

ภาพอดีตบริเวณหน้าศาลากลาง ถ่ายเมื่อ ตุลาคม  พ.ศ.2529 หนังสือ 8 เดือนในนครศรีธรรมราช เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง ภาพปัจจุบันถ่านเมือ ธันวาคม 2554

      ภาพอดีตบ่อน้ำเจ้าพระยานครจาก คุณชวลิต อังวิทยาธร สารนครศรีธรรมราช และข้อมูลจากอาจารย์พอพล อุบลพันธุ์ ประวัติบ่อน้าเจ้าพระยานครโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ จากสารนครศรีธรรมราช

         ภาพต้นตะเคียนที่ปลูก เพื่อความร่มรื่นแก่ศาลากลาง โดย เรือตรีสุกรี  รักษ์ศรีทอง พร้อมด้วยคณะกรรมการจังหวัด เมื่อ ธันวาคม 2529(8 เดือน ใน นครศรีธรรมราช)  ภาพความร่มรื่น ถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2554

ภาพอดีตคณะผู้พิพากษาหน้าศาลแขวงในบริเวณหน้าอาคารศาล(ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี) (ภาพศาลแขวงนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2508จากคุณอรรถ ศิริรักษ์) ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 2553

ภาพที่ทำการรัฐบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ภาพจากสำนักศิลปากรที่ 14 สารนครศรีธรรมราช อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2448 จุดตั้งอาคารตามข้อสันนิษฐาน่าจะตั้งบริเวณหลังศาลากลางหลังปัจจุบัน

  • วัดเสมาเมือง

  • ศิลาจารึกวัดเสมาเมือง ที่เป็นข้อยืนยันถึงความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ของเมืองคอนในอดีต

คำแปลศิลาจารึกวัดเสมาเมือง

ภาพจากหนังสือ โบราณสถานในเขตควบคุมดูแลรักษาสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เล่มที่ 1

ภาพวาด”กรุงศรีวิชัย”ในอดีต (ภาพจากหนังสือจุฬา นครศรีธรรมราช 23 ตค.2513)ตามข้อสันนิษฐานของผู้เขียนน่าจะวาดตามคำบอกเล่าจากจดหมายเหตุพงศาวดารของชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย ยุโรป ที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีวิชัย

  • ประวัติวัดเสมาเมือง

        วัดเสมาเมืองสร้างโดย”พระเจ้าศรีธรรมโศกราช หลังจากสร้างองค์พระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เพียง 18 ปี แห่งกรุงศรีวิชัย โดยสร้างวัดเสมาเมืองเมือ พ.ศ.1318 โดยพระองค์เลือกเอาทำเลที่เป็นใจกลางเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้น เพื่อให้เป็นวัดศูนยฺ์กลางทีมีพระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษาเป็นแห่งแรก นับว่าวัดเสมาเมืองเป็นวัดต้นกำเนิดของบรรดาวัดทั้งหลายในเมืองนครศรีธรรมราช  ถ้านับระยะเวลาตั้งแต่ปีเริ่มตั้งวัดเสมาเมืองจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2516)เป็นเวลา 1,198 ปี เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดที่จะพึงมีค้นคว้าหลักฐานมายืนยันได้ วัดนี้ตั้งก่อนอาณาจักรสุโขทัย ถึง 444 ปี ก่อนกรุงศรีอยุธยา 575 ปี ก่อนกรุงธนบุรี 993 ปี ก่อนกรุงเทพมหานคร 1,007 ปี ( ความรู้เรือง วัดเสมาเมือง โดยครูน้อม อุปรมัย หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์ พระครูวัตตปาโมชช์  12 พค.2516)

        จะเห็นว่าวัดเสมาเมือง มีความสำคัญมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ จึงมีสิ่งที่คู่มากับวัดที่ยังหลงเหลืออยู่หลายประการ เช่น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2 บ่อ  เพื่อใช้ในงานรัฐพิธีต่างๆ มีพระพุทธรูปที่สำคัญ วิหารสำเภา

pอดีตเรือนจำ2542-copy copy

ภาพอดีตเรือนจำกลาง ถ่ายเมือ พ.ศ.2542 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช  ภาพปัจจุบันสวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราชถ่ายเมือ กันยายน 2553

ปัจจุบันคือสวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช ที่อยู่ใจกลางเมือง

            ภาพอดีตคลองหน้าเมือง เมืองคอน รัชกาลที่ 5 ทรงถ่าย เมือ ร.ศ.117 ภาพเรือมาด เรือเป็ด เรือขุด จอดริมตลิ่งเมืองนครศรีธรรมราช ภาพจากศิลปากรที่ 14 เมืองคอน, สารนครศรีธรรมราช, อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จากหนังสือนครศรีธรรมราชในอดีต ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2554 คลองหน้าเมืองแห้งขอด

Picture-193 copy

ภาพอดีต  มุมหนึ่งด้านทิศใต้ของหอสมุดประชาชนนครศรีธรรมราช สนามหน้าเมือง ในวโรกาสวันปิยะมหาราช 23 ตุลาคม 2504 ประชาชนทุกหมู่เหล่าชาววเมืองคอน ได้วางพวงมาลาเพื่อถวายสักการะต่อพระองค์ท่าน(ยังไม่มีบรมรูปของ รัชกาลที่ 5 ที่สนามหน้าเมือง)ภาพ จากคุณอรรถ  ศิริรักษ์

            ภาพอดีตกลุ่มนักเรียนผู้โชคดี  เป็นนักเรียนโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากนักเรียนดีเีด่นด้านมรรยาท ได้เข้าเฝ้าสมเด็จย่าอย่างใกล้ชิด- เข้าร่วมประชุม-การบริการทางการแพทย์อาสาของสมเด็จย่า ที่ทรงมาประชุมที่ศาลาประชาคม(หลังเก่า) ณ สนามหน้าเมือง เมืองคอน ดูกันเองนะครับ ใครเป็นใคร ภาพอดีตถ่ายเมือ 12 กค.2520 ภาพจากคุณสุรพีร์  สมรูป

pซุ่มประตูรับเสด็้จ-ร6-copy copy

ภาพอดีตซุ่มประตูรับเสด็จ ร.6 บริเวณตลาดแขก เมื่อปี 11 กค.พ.ศ.2458 ภาพจากอาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ,ข้อมูลจากอาจารย์พอพล อุบลพันธุ์และจากหนังสือรวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช(หน้า246)ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2554

ภาพอดีตต้นกำเนิดสามล้อในเมืองคอน ภ่ายบริเวณตลาดแขก นายหลิว ฮวดถ่ายกับพระยาพหลพลพยุหเสนาตรวจราชการที่เมืองคอน เมือ พ.ศ.2493 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2554

ทะเบียนรถสามล้อในอดีตและรถสามล้อในปัจจุบันบริเวณตลาดคูควาง

ภาพอดีตบริเวณวัดมเหยงค์ งานฉลองปีมังกรทอง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2495 ภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2554

 

ภาพอดีตงานฉลองปีมังกรทอง บริเวณหน้าวัดมเหยงค์ ภาพอดีตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2495 จากคุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ พ.ศ.2554

  • วัดมเหยงคณ์

ประวัติวัดมเหยงคณ์ 

            วัดมเหยงคณ์เป็นวัดเก่าแก่มีอายุใกล้เคียงกับวัดเสมาเมืองและวัดเสมาชัย เดิมชื่อ”วัดเสมาทอง”  เนื่องจากกาลเวลาทำให้วัดทรุดโทรม เจ้าพระยานคร(น้อย)ได้ทำการบูรณะวัดเสมาทอง เมือ พศ.ศ2364-2366เมื่อคราวยกทัพไปตีเมืองไทรบุรีชนะอันยิ่งใหญ่ แต่ก็ได้ล้างผลาญชีวิตผู้คนไปมาก ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นบาปอันใหญ่หลวงเจ้าพระยานคร(น้อย)จึงขอบรรเทาบาปเหล่านั้นด้วยการบูรณะวัดและศาสนาเป็นการทดแทน ด้วยเหตุนี้้จึงเลือกบูรณะวัดเสมาทองให้คืนสู่สภาพดังเดิมและเปลี่ยนชื่อวัดเป็น”วัดมเหยงคณ์” และในวัดมีศิลาจารึกปัจจุบันได้นำไปเก็บไว้ที่ หอวชิรญาณ กรุงเทพมหานคร  ลงทะเบียนจารึกหลักที่ 27(หรือหลัีกที่ น.ศ.10) ข้อความในศิลาจารึกเป็นภาษาสันสกฤษ ตัวอักษรเป็นแบบที่ใช้ในเขมร ระหว่าง พ.ศ.1100-1300 มีใจความว่าด้วยเรื่องการบำรุงคณะพราหมณ์ในเมืองนคร ด้วย ธูปประธีป พวงมาลัย ธงพิดาน จามร เป็นต้น

            ปัจจุบันในวัดมเหยงคณ์ เป็นวัดขนาดเล็กที่มีอุโบสถ์สวยงาม โดยเฉพาะปูนปั้นที่หน้าบันเป็นฝีมือของชาวเมืองเพชร ที่มาก่อสร้างในช่วงปี พ.ศ.2513-2514(ข้อมูลจาก ที่ระลึกในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระภัทรธรรมธาดา อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนปานและเจ้าคณะอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช โดย ผ.ศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ )

และในวัดมเหยงคณ์ ยังมีงานปติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูงที่สร้างแบบโบราณ ด้วยความปราณีตงดงามยิ่งชิ้นหนึ่งของเมืองคอน (ถ่ายเมือ ตุลาคม 2540 โดยอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ สารนครศรีธรรมราช)

ลิงค์ส่วนที่เชื่อมโยง หอนาฬิกา http://www.gotonakhon.com/2010/09/12/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/

ศาลากลาง http://www.gotonakhon.com/2010/09/25/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99/

 หอพระอิศวร หอพระนารายณ์http://www.gotonakhon.com/category/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%81-%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2/page/2/

ช่วงประตูเืมือง กำแพงเมือง http://www.gotonakhon.com/2010/10/15/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7/

  • ภาพเก็บตก-ภาพประวัติศาสตร์ทั้งหมดนี้จะมีขึ้นมาได้ผู้เขียนได้รับความกรุณาจากหลายๆท่าน ทำให้เกิด www.gotonakhon.com หรือ เมืองคอน.com

เริ่มต้นด้วย

ข้อมูลภาพเบื้องต้น จากคุณอรรถ ศิริรักษ์,คุณพยอม ปิดมิด,คุณสารัตน์(นิก) สำนักศิลปากรที่ 14 ,คุณบัณฑิต พูนสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,คุณอธิวิทย์ วรวัฒน์ศุภรัฐ(ทาญาติคุณชวลิต อังวิทยาธร) คุณสถาพร พฤกษะศรี,คุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง(ทาญาติ คุณเอี่ยมเล้ง  แซ่ปุง)ลุงสนิท-อาจาร์ยเปล่งศรี เพชรประเสริฐ,อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์,คุณปราโมทย์ ด่านสกุล,คุณสุภาพ ทิชินพงค์,อาจารย์บุญยืน ศรีจงกล,คุณอุดม อ่อนประเสริฐ,คุณสงัส แก้วประดิษฐ์,คุณธาตรี อัครกุล,คุณจรัส ยกถาวร,คุณสุรพีร์ สมรูป,คุณเกษรา พันธรังษี,คุณยูถิกา พันธรังษี,คุณปุณิกา(ศรีรัตน์) พันธรังษี

อุปกรณ์การดำเนินการ เช่นกล้องถ่ายรูป ฮาร์ดิสการเก็บข้อมูล และภาพจากคุณกฤษณ์ เลขาพันธุ์

โปรแกรมเวป”เมืองคอน.com” จากคุณเจษฎา พันธรังษี

ข้อมูลด้านต่างๆ คุณประวัติ(น้าหวัด) ภิรมย์กาญจน์ ,พระครูใบฎีกาวีระปานเนียม,คุณมนต์ศักดิ์  วาดอักษร,อาจารย์นะมา โสภาพงค์,อาจารย์เสงี่ยม โกฏิกุล,อาจารย์พอพล อุบลพันธุ์,คุณพรศักดิ์ เติมทอง,อาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร์,คุณขวัญชัย มานะจิตต์,คุณดวงเดือน ภูมิพงศ์

เวปต่างๆ ,หนังสือประวัติต่างๆ,หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,สารนครศรีธรรมราช,เอกสารของคุณประชุม ชุมเพ็งพันธุ์,และท่านที่ยังไม่เอ๋ยนามทุกๆท่าน

18 comments

  1.  

    ทดสอบ post รูป :D

  2. เยี่ยมยอด ไม่มีเปลี่ยนเลยน่ะครับ สำหรับความรู้ดีดีแบบนี้

  3. คุณNakhonup999
          ขอบคุณครับ สำหรับสิ่งดีๆที่ให้และแนะนำครับ

  4. นายธนาวุฒิ นาคสีห์ /

    ดูแล้วนึกถึงอดีตเก่าๆที่เคยผ่านมาเหมือนกันครับ แม้จะคนละยุคกัน   ผมอยู่ท่าศาลา มีภาพอดีตของท่าศาลาไหมครับ  

  5. คุณธนาวุฒิ
                     ความตั้งใจจะเขียนเวียนไปทุกที่ของเมืองคอน ของท่าศาลามีแต่น้อย แต่ก็จะพยายาม ผมคิดว่าสักระยะหนึ่งจะไปที่ท่าศาลา เพื่อหาภาพเก่าๆ ผมเคยไปทำงานที่ท่าศาลา คงพอจะหาได้บ้าง ผมตั้งใจไว้อย่างนั้น
    ขอบคุณครับที่แวะชม
    มล.พัน 31 มค.2555

  6. หนึ่งครับผม /

    ภาพสมเด็จย่าเสด็จร่วมเป็นองค์ประธานในการประชุมที่มีนักเรียน กัลยาณีเข้าเฝ้าร่วมฉายพระรูป มีอาจารย์ชายท่านหนึ่งรวมอยู่ด้วยเป็นผู้มีพระคุณกับผม เคยสั่งสอนและให้ผมได้ทำงาน ปัจจุบันท่านเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุไปหลายปีแล้ว   คือ อาจารย์โกมล พันทวีศักดิ์ครับ พี่ชื่อเหมือน นามสกุลคล้ายกับพี่เลย….

  7. kittipart Chaowalittawin /

    สุดยอดเลยครับ … เมืองคอนบ้านเราเคยยิ่งใหญ่ แต่กลับไม่มีใครมีเผยแพร่ประวัติ รูปภาพ ได้สมบูรณ์ให้ลูกหลานได้อ่าน และภูมิใจ  ผมชอบมากครับ website นี้ อย่างน้อยๆๆ ก็พอเห็นประวัติ เรื่องราว รูปภาพ ที่ไม่เคยเห้นมาก่อน เยี่ยมมากกับความตั้งใจของ website นี้…

  8. คุณ kittipart
                        ขอบคุณครับสำหรับคำติชม จริงๆแล้ว"ความเป็นอดีตเมืองคอน"ทางภาพถ่าย-ความยิ่งใหญ่ นั้นมีมากมายครับ ที่ผมได้เข้าไปพบแค่เล็กน้อยมากๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วเขาจะเก็บหลักฐานต่างๆไว้กับบ้าน และก็มีช่วงหนี่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ถูกเผา-ถูกทำลาย(โดยผู้มีอำนาจของบ้านเมือง) ทำให้เป็นการขาดช่วงอดีต-ปัจจุบัน ไม่ทราบว่าจะโทษใครดี "สำหรับประวัติศาสตร์เมืองคอน"
                        ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
  9. นายกมล นาคะสุวรรณ /

    ผมภูมิใจที่เป็นเลือดเนื้อนครศรีธรรมราช ภูมิใจที่เป็นศิษย์อาจารย์นะมา โสภาพงศ์ อาจารย์เสงี่ยม โกฏิกุล อาจรย์ท่านอื่น ๆ และเป็นศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศครับ ยังเปี่ยมล้นด้วยความทรงจำดี ๆ ครับ

  10. คุณกมล นาคะสุวรรณ
    ดีใจครับสำหรับขาว-แดงที่เข้าเยี่ยมชม ผมรุ่น18/20 ครับ มีอะไรติ-แนะนำได้ครับ ถือเสมือนส่งเสริมอดีตเพื่อย้อนหลังของเมืองคอนครับ

  11. ยอดเยี่ยมมากๆครับ ทำให้นึกถึงอดีตเก่าๆ ได้เยอะ อยากหาดูแบบนี้มานานแล้ว เพิ่งเจอนี่แหละ เป็นกำลังใจให้กับผู้จัดทำครับ

  12. คุณเดโช ถนอมสังข์
            ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจ ผมคิดว่าจะทำไปเรื่อยๆ อาจจะช้าไปบ้างคงติดตามและฝากช่วยเผยแพร่ด้วยนะครับ
    ขอบคุณครับ

  13. ขอบคุณมากๆนะคะที่กรุณาสร้างเว็บไซต์นี้ขึ้นมา ทำให้รักและภูมิใจในเมืองนครมากขึ้นเลยคะ
    / รุ่นน้องเบญจมฯเหมือนกันคะ แต่รุ่น 103 ค่ะ ขอบคุณอีกครั้งคะ _/\_

  14. คุณ nokyooong
                     ขอบคุณครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชม คงเรียกว่าศิษย์น้องคงจะได้ ช่วงหลังผมไม่แน่ใจ รุ่น 103 จะพ.ศ.อะไร ศิษย์พี่จะเรียกว่ารุ่น 18/20 เรียกตามพ.ศ.ปีที่จบหรือจะเรียกเป็น รุ่นบุกเบิกใน ขาว-แดงสถานที่ใหม่ ครับ 
    มล.พัน

  15. อนุชา /

    ผมภูมิใจอดีตเมืองคอนและปัจจุบัน ผมขอแก้ไขบทความด้านล่าง ชื่อ นายหลีฮวดใช้ ครับ ไม่ใช่ นายหลิวฮวดไช้ ครับ
     
    "ภาพอดีตต้นกำเนิดสามล้อในเมืองคอน ภ่ายบริเวณตลาดแขก นายหลิว ฮวดถ่ายกับพระยาพหลพลพยุหเสนาตรวจราชการที่เมืองคอน เมือ พ.ศ.2493 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2554" 
    ปัจจุบันร้านหลีฮวดใช้ยังรับซ่อมรถสามล้อ 
    ขอบคุณครับ
     

  16. คุณอนุชา
                ขอขอบคุณด้วยความจริงใจ  ผมยินดีเป็นอย่างมากและต้องการให้ประวัติบ้านเราถูกต้องที่สุด เพื่ออนุชนรุ่นต่อไป รับ-สืบสานต่อในสิ่งที่ถูกต้องเท่าที่ทำได้และถ้าหากคุณมีภาพและข้อมูลอย่างอื่นผมยินดีที่จะนำลงในเวป ถือว่าเพื่อบ้านเรา เมืองคอน ครับ

  17. นายกมล นาคะสุวรรณ /

    อยากให้บูรณะคลองคูเมืองนครศรีธรรมราชของเราโดยรอบ เพื่ออนุรักษ์เหมือนเช่นเมืองอื่นๆ ที่ทำได้สวยงามน่าดูมาก ไม่ว่าโคราช เชียงใหม่เป็นต้น

  18. นายกมล นาคะสุวรรณ /

             ทุก ๆ ปี ช่วงสงกรานต์หรือเป็นช่วงปีใหม่สำหรับบางปีที่กลับมาบ้านเป็นต้องอยากไปในตัวเมืองนคร ยังมีอะไร ๆ หลงเหลือให้หวนคิดถึงเมือครั้งยังวัยเด็กอยู่บ้าง แต่ก็หายไปเยอะ เปลี่ยนแปลงไปก็มาก แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นแล้วคิดว่าไม่น่าจะเป็นไป คือพื้นที่โดยรอบทั้งหอพระอิศวร และ หอพระนารายณ์ เมื่อก่อนกว้างขวางกว่านั้น แต่ปัจจุบันเห็นมีคนบุกรุกเข้าไปแบ่งเขตพื้นที่สร้างบ้าน ทำเช่นนั้นได้ด้วยเหรอ งงครับ นอกจากเราชาวนครไม่ได้อนุรักษ์ไว้แล้วยังทำลายกันเสียอีก
             เมื่อก่อนเข้าไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ภายใน แต่ต่อมาต้องไปไหว้และไปดูที่พิพิธภัณฑ์ ก็พอรับได้เพราะกลัวคนขโมยหรือทำลาย เสียดายครับ
             อีกจุดหนึ่งคือบ้านเก่าเสาใหญ่ ๆ หลังสโมสร หอพระสูงและเบญจม ได้กลายเป็นตึกเสียเกือบทั้งหมด หรือว่าเราแก่ไปเสียแล้ว ที่ยังมานึกเสียดายต่อสิ่งเหล่านี้

ส่งความเห็นที่ komol ยกเลิกการตอบ

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>