ย้อนรอยอดีตภาพ “งานบุญประเพณีสารทเดือนสิบ เมืองคอน”

ต.ค. 01

ย้อนรอยอดีตภาพ “งานบุญประเพณีสารทเดือนสิบ เมืองคอน”
ภาพวาดต้อนรับงานบุญสารทเดือนสิบจากคุณแนบ ทิชินพงศ์  ปี พ.ศ.2510 จากที่ระลึกงานเดือนสิบ 27 กย.-6 ตค.2510 จากอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ อดีตอาจารย์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ฉบับกันยายน 2538
          เมืองคอนมีประวัติสืบย้อนหลังไปได้เป็นพันปี เคยเป็นเมืองเอกที่มัี่งคั้งสมบูรณ์ด้วยทรัีพยากร เคยแข็งแกร่งที่สุดด้วยอำนาจและเคยรุ่งเรืองที่สุดด้วยศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันก่อกำเนิดจากพุทธศาสนาและพราหมณ์ จึงกลายเป็นแม่บททางวัฒนธรรมไทยหลายแขนงจนถึงปัจจุบัน
          ประเพณีงานบุญสารทเืดือนสิบก็เป็นอีกแขนงหนึ่งมาแต่โบราณ ที่ชาวเมืองคอนคงรักษาไว้อย่างมั่นคงแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันความรัก ความหวงแหนต่อกันของชาวเมืองคอน และเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา นานแสนนานและยังคงปฎิบัติสืบไป
         ความเป็นมา เทศกาลเดือนสิบ เป็นเทศกาลประกอบด้วยผลบุญที่จัดขึ้นด้วยสาเหตุหลายประการ คือ
  • ตามความชื่อทางพุทธศาสนาเชื่อว่าตั้งแต่แรม 1-15 ค่ำ เดือนสิบ เป็นระยะเวลาที่เปรตถูกปล่อยให้ขึ้นมาเยี่ยมญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์ บรรดาลูกหลานจึงพากันไปทำบุญที่วัด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลัยไปแล้วที่ขึ้นจากนรก
  • ปลายเดือนสิบ เป็นระยะเวลาที่พืชพันธ์ต่างๆกำลังให้ผล ชาวเมืองที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร ต่างก็แสดงความชื่นชมด้วยการจัดงานทำบุญตามประเพณี แล้วนำผลิตผลทางการเำกษตรของตนมาถวายพระ
  • เป็นการแสดงความสนุกสนานประจำปีร่วมกัน
  • เพื่อนำพืชผลและอาหารที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรไปทำบุญ เพื่อจะให้พระภิกษุสงฆ์ได้เก็บไว้เป็นเสบียงในฤดูฝน
กิจกรรมที่สำคัญที่ชาวเมืองคอนปฏิบัติตามลำดับวันดังนี้
  • วันแรม 13 ค่ำ เรียกว่า”วันจ่าย” เป็นวันที่ชาวเมืองจะซื้อของตระเตรียมไว้สำหรับจัดหมรับ
  • วันแรม 14 ค่ำ เรียกว่า”วันยกหมรับ” ชาวเมืองจะชวนไปวัดพร้อมกันทั้งยกหมรับ และนำอาหารไปถวายพระด้วย ขนมที่ใ้ประกอบหมรับในประเพณีมีหลายอย่าง แต่ที่จำเป็นและขาดเสียไม่ได้มี ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมกง นอกจากนี้ชาวเมืองจะเอาขนมและอาหารส่วนหนึ่งไปวางไว้ที่ที่ต่างๆตรงทางเข้าวัด ริมกำแพงวัด โคนต้นไม้ ฯลฯ เพื่อแผ่ส่วนกุศลไปยังผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า”ตั้งเปรต”การตั้งเปรตนิยมสร้างร้านขึ้นมา เรียกว่า”หลาเปรต”เมือเอาของมาตั้งเปรตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะผูกสายสิญน์ไว้กับหลาเปรต และปลายข้างหนึ่งจะให้พระภิกษุจับเพื่อสวดบังสกุล เพื่อเผยแผ่ส่วนกุศลไปยังผู้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อเสร็จพิธีพระภิกษุจะเก็บสายสิญน์ ผู้คนทั้งเฒ่าแก่หนุ่มและเด็กๆ ต่างเฮโลกันเข้าไปแย่งของที่ตั้งเปรตเรียกว่า”ชิงเปรต” เชื่อกันว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนนั้นให้กุศลแรง
  • วันแรม 15 ค่ำ เป็นวัน”สารท”ชาวเมืองจะชวนกันนำอาหารไปถวายพระอีกวันหนึ่งเรียกว่า”วันหลองหมรับ”มีการทำบุญเลี้ยงพระบังสกุล เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ
(ข้อมูลจากหนังสือ คู่มือนำชม นิทรรศการทางวัฒนธรรม”ชีวิตไทยปักษ์ใต้ ครั้งที่ 2 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์ 2521)
ขนมงานบุญเดือนสิบที่สำคัญ
ขนมเดือนสิบ ภาพจากอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร และนักศึกษาวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทน เรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้น แผ่ดังแพ มีน้ำหนักเบา ย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้

ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทน แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลา มีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้

ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทน ลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่น ต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้า มีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน

ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนม คล้ายเบี้ยหอย

ขนมกง (ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน

1..ภาพอดีตย้อนการปฎิบัติย้อนรอยงานบุญประเพณีสารทเดือนสิบ”เมืองคอน”
วันจ่าย” ตรงกับวันแรม 13 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนคร ต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ
ภาพอดีตจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันบริเวณหน้าวัดศรีทวี-หน้าสถานีรถไฟ ที่จ่ายตลาด”วันจ่าย” ถ่ายเมือ กย.2555
2..”วันทำบุญ วันยกหมรับ”
“วันยกหฺมฺรับ” ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคน บ้านไกล้เรือนเคียง ไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้ 
การฉลองหมฺรับและการบังสุกุลวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า วันหลองหมฺรับ“ มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสุุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้กระทำพิธีกรรมในวันนี้่ บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เิกิดทุขเวทนาด้วยความอดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูไป
ภาพอดีตหมรับโบราณ(ปี2520)จากหนังสือ”เมืองนครศรีธรรมราช โดยคุณวิเชียร ณ นคร,คุณสมพุทธ ธุระเจน,คุณชวน แสงแก้ว,คุณฉัตรชัย ศุกระกาญจน์,คุณปรีชา นุ่นสุข  ประเพณีสำคัญของนครศรีธรรมราช คุณดิเรก พรตตะเสน สารนครศรีธรรมราช สารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน นครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์สารคดี

การตั้งเปรตและการชิงเปรตเสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้วกก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ ตามบริเวณวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า ตั้งเปรต“ เป็นการแผ่ส่วนกุศล ใ้ห้เป็นสาธารณะทาน แก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติหรือญาติไม่ได้มาร่วมทำบุญได้่ บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้น เพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า หลาเปรต” (ศาลาเปรตเมื่องตั้งขนม ผลไม้ และและเงินทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้ว มาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ ก็จะเก็บสายสิญจน์ การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า ชิงเปรต“ ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกันเข้าไปแย่งขนมกันอย่างคึกคัก เพราะความเชื่อว่า ของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว วัดบางแห่งสร้างหลาเปรตไว้สูง โดยมีเสาเพียงเสาเดียว เสานี้เกลาจนลื่นและชะโลมด้วยน้ำมัน เมื่อถึงเวลาชิงเปรต เด็กๆ แย่งกันปีนขึ้นไป หลายคนตกลงมาเพราะเสาลื่น และอาจถูกคนอื่นดึงขาพลัดตกลงมา กว่าจะมีผู้ชนะการปีนไปถึงหลาเปรต ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงมีทั้งความสนุกสนาน และความและความตื่นเต้น

ขอบคุณข้อมูลจากoknation.net
การตั้งเปรต-การชิงเปรต
ภาพจากสารนครศรีธรราช
3..การทำรถหมรับ-ขบวนรถประกวดหมรับ
เอื่อเฟื่อภาพการทำรถหมรับประกวดโดย อาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตรและน้องตั้ม เพ็ชรดำ นักศึกษาวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
การประกวดหมรับในงานบุญเดือนสิบ”เมืองคอน”ในปีต่างๆ
ภาพอดีตจากหนังสือประเพณีฯของคุณดิเรก พรตตะเสน
ภาพอดีตจากหนังสือประเพณีฯคุณดิเรก พรตนะเสน สารนครศรีธรรมราช เวปต่างๆและหนังสือเพื่อความเข้าใจในแผ่นดินนครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์สารคดี
4..กิจกรรมรื่นเริงประเภทต่างๆงานบุญประเพณีเดือนสิบ เมืองคอน
Picture-2544504-500x373 copy
Picture-216-500x389 copy
Picture-2544503-500x403 copy
Picture-2544501-500x409 copy
Picture-2544502-500x435 copy
Picture-2544500-500x420 (1) copy
พิธีเปิดงานบุญสารทเดือนสิบ ปี 2514โดยนายพันธุ สายตระกูล ผวก.นครศรีธรรมราช ณ.ศาลาประดู่หกสนามหน้าเมือง เมืองคอนและยามกันยา-ราตรี ณ.สนามหน้าเมือง เมืองคอนภาพจากหนังสือที่ระลึกงานเดือนสิบ 27 กย-6 ตค.2510  ภาพอดีตถ่ายโดยคุณสุทิน รัตโนภาสจรูญ ห้องช่าง จากสารนครศรีธรรมราช ตุลาคม 2514
Picture-2544494 copy
ขอขอบคุณ คุณศุภชัย แซ่ปุง ที่มอบภาพตั้วงานเดือนสิบ ปี 2507 ครับ
 

pงานเดือนสิบในอดีตสนามหน้าเมืองสารนคร21-420x500 copy
ภาพถ่ายมุุมสูงงานบุญเดือนสิบ บริเวณสนามหน้าเมืองภาพจากสารนครศรีธรรมราช
Picture-228-500x416 copy
ภาพอดีต พ.ศ.2467 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตการออกร้านภายในงานบุญเดือนสิบ ภาพจากสารนครศรีธรรมราช
  • งานประเพณีสารทบุญเดือนสิบประจำปี 2501,2504,2505และกิจกรรมด้านต่างๆ
page-467x700-copy copy
Picture-1881-563x700 copy
Picture-1891-558x700 copy
Picture-192-553x700 copy
5
Copy-of-ร้านงานเดือนสิบ-สนามหน้าเมือง2501อรรถ-339x500 copy
แชมป์ชกิฬาชกมวยงานเดือนสิบ-2501อรรถ-500x335 copy
Picture-2544497-500x332 (1) copy
ภาพอดีตซุ้มประตูหนังสือ”นครศรีธรรมราช” ปี พ.ศ.2520โดยคุณวิเชียร ณ นคร คุณสมพุทธ ธุรเจน คุณชวน เพชรแก้ว คุณฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ คุณปรีชา นุ่นสุข
ภาพอดีตการออกร้านของหน่วยงานราชการ,เอกชน,สถาบันการศึกษา ปี 2501,2504,2505และผลการแข่งขันกีฬาชกมวย(แชมป์)และกีฬาแบตมินตัน ประจำปี 2505ในงานบุญเืดือนสิบเมืองคอน บริเวณสนามหน้าเมือง ภาพอดีตถ่ายโดยคุณอนันต์ ศิริรักษ์ (ท่านถึงแก่กรรมแล้ว)มอบภาพโดยคุณอรรถ ศิริรักษ์ สถานที่แข่งสนามแบตมินตันในอดีต-ปัจจุบันคือศูนย์กีฬาในร่มของ อบจ.นครศรีธรรมราช ถ่ายเมื่อ กย.2555
  • การแข่งขันกีฬาประเภทอื่นในงานสารทบุญเืดือนสิบ”เมืองคอน”ในอดีต”
  pแข่งทูนของงานเดือนสิบ-500x315 copy
ภาพอดีตจากnakhonkup999(หอจดหมายแห่งชาติ)
Picture-217-305x500 copy
ภาพอดีตการแข่งขันปั้นจักรยานและวิ่งทนในงานบุญสารทเดือนสิบ ภาพจากที่ระลึกงานเดือนสิบ 27 กย-6 ตค.2510 จากสารนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตการชนวัว ในงานบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นกีฬายอดฮิตของงานประเภทหนึ่ง
การประกวดและแข็งขันประเภทหัตกรรมและประเพณีพื้นบ้าน
การโต้วาที-เพลงบอก-กลอนในงานบุญเดือนสิบรุ่นใหญ่
ภาพอดีตจากกิจกรรมต่างๆ ภาพจากสารนครศรีธรรมราช
กีฬาวัวชน
Picture-2544493-353x500 copy
Picture-2544496-500x312 copy
ภาพอดีตกีฬาวัวชนในงานบุญสารทเดือนสิบจากสารนครศรีธรรมราช,หนังสือนครศรีธรรมราช โดยคุณวิเชียร ณ นคา คุณสมพุทธ ธุรเจน คุณชวน เพชรแก้ว คุณฉัตรชัย ศุกระกาณจน์ คุณปรีชา นุ่นสุข,สารคดีเพื่อความเข้าใจในแผ่นดินนครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์สารคดี
รื่นเริงประเภทอื่นๆในงานบุญเดือนสิบ”เมืองคอน”ในอดีต
Picture-231-472x700 copy
ภาดอดีตจากสารนครศรีธรรมราช
  • การประกวดนางสาวนครศรีธรรมราชในงานบุญสารทเดือนสิบในปีต่างๆ
IMG_0106-500x339 copy
IMG_0104-500x500 copy
ภาพอดีตการประกวดนางสาวนครศรีธรรมราชในงานบุญสารทเดือนสิบปีต่างๆ จาก2510 จากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรีและสารนครศรีธรรมราช จากหนังสือที่ระลึกงานเดือนสิบ 27-6 ตค.2510
5..ประวัติการจัดงานประเพณีงานบุญสารทเดือนสิบ”เมืองคอน”
ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2465 จัดที่วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร
         ในระยะแรกจัดงานเดือนสิบในระยะเวลาทำบุญวันสารท คือระหว่างวันแรม 13 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ บริเวณทางทิศใต้ของพระวิหารหลวง เพื่อซ่อมแซมพระวิหารในวัดพระบรมธาตุวรวิหาร
ที่จัดงานครั้งแรกที่บริเวณทิศใต้ของพระวิหารหลวง
เริ่มจัดงานบุญสารทเดือนสิบที่ สนามหน้าเมือง พ.ศ.2466โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชและผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อสร้างศรีธรรมราชสโมสร(สโมสรข้าราชการ) 
พ.ศ.2467-2476 ศรีธรรมราชสโมสร เป็นผู้ดำเนิการ 
เพื่อหาได้ได้สมทบทุนก่อสร้างตึกศีธรรมราชสโมสรและเสร็จในปี พ.ศ.2467
พ.ศ.2477 มีนายมงคล รันตนวิจิตร ส.ส.นครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ
พ.ศ.2482 เทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อหารายได้บำรุงเทศบาล
พ.ศ.2487-2488 จังหวัดนครศรีธรรมราชและเทศบาลนครศรีธรรมราช งดจัดงานเนื่องจากอยู่ในระยะสงครามเอเชียบูรพา
พ.ศ.2504 คณะกรมการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ 
พ.ศ.2504-2511 จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ 
เพื่อหารายได้ใช้ในกิจการสารณประโยชน์
พ.ศ.2512-2514 ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะการรมการจังหวัดและหน่วยงานต่างๆ 
เพื่อรักษาประเพณีและเพื่อหารายได้ตั้ง”มูลนิธิงานเดือนสิบสงเคราะห์การศึกษา”
พ.ศ.2516 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ดำเนินการ
เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมและเพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งไปสมทบมูลนิธิงานเดือนสิบสงเคราะห์การศึกษา
พ.ศ.2518 จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อรักษาประเพณีและหารายได้เพื่อใช้จ่ายในกิจการสาธารณประโยชน์
พ.ศ.2520 จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำิเนินการ
เพื่อให้ประชาชนนม้ัสการพระบรมธาตุและชมพิพิธภัณฑ์
เพื่อให้ประชาชนได้มีความสนุกสนานรื่นเริงและมีความรู้ พักผ่อน
เพื่อหารายได่บำรุงสาธารณประโยชน์
พ.ศ.2522 จังหวัดนครศรีธรรมราชกับหน่วยงานราชการและเอกชน เป็นผู้ดำเนินการ
วัตถุประสงค์เหมื่อนปีก่อนๆ
พ.ศ.2523 จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ 
วัตถุประสงค์เหมื่อนปีก่อนๆ
พ.ศ.2524-2525 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ
พ.ศ.2526-2529 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดำเนินการ
พ.ศ.2530-2534 จังหวัดนครศรีธรรมราชและหน่วยงานราชการ เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช
(ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช  ฉบับ กันยายน 2538)
ภาพจากอาจารย์ สมชายเปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตกรรมนครศรีธรรมราช
ขอขอบคุณ เวปต่างๆที่ได้นำข้อมูลมาประกอบ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ข้อมูลและภาพ

9 comments

  1. ผลงานยอดเยี่ยม เต็มเปี่ยมด้วยเนื้อหาสาระเช่นเคย คืดถึงเมืองคอนครับ วันนี้ทำบุญหนแรก(รับตายาย) แล้ว 

  2. คุณเดโช
                        ต้องขอขอบคุณที่คุณช่วยเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการขุดถนนพัฒนาการคูขวาง ผมต้องขออนุญาตเอาข้อมูลที่คุณเขียนcopyไปในเฟสชื่อ"ประเทศคอน"เขาถกกันเกี่ยวกับเรื่องการขุดถนนพัฒนาการคูขวาง เลยกระจ่างในเรื่องนี้ คุณจะเข้าไปดูก็ได้เขาเอารูปการขุดถนนไปเขียนกัน
                         ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

  3. หนึ่งโมแอ็ด /

    ยังขาดภาพตั๋วเข้างานเดือนสิบเก่าๆของผมพี่เอามาลงด้วยสิครับ…..

  4. คุณหนึ่ง
                  ช่วยส่งทางเมล์ไดไม่ช่วงนี้ไม่ได้ไป ต้องไป กทม.จะได้ลงได้จะได้สมบูรณ์"งานเดือนสิบครับ"

  5. คุณหนึ่ง
         หรือจะขึ้นภาพบนcomment ก็ได้ครับจะได้สมบูรณ์ขึ้น

  6. คุณโกมล
          ยินดีครับ ตอนนี้ผมสมัครเป็นเพื่อนกับประเทศคอนแล้วเพื่อที่จะได้รับทราบความเคลื่อนไหวของเมืองคอนบ้าง

  7. ผมงานยอดเยี่ยมทุกชิ้นงาน ทุกเนื้อหาครับ น่ายกย่องมากๆครับ
     
    ขอเป็นกำลังใจให้เสมอครับ 

  8. หน้าเพจชุมชนเกี่ยวกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช

  9. คุณ nakhonkup999
          ขอบคุณมากๆเลยสำหรับกำลังใจที่มีตลอดมาครับ

ส่งความเห็นที่ หนึ่งโมแอ็ด ยกเลิกการตอบ

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>