ภาพแปะฟ้า-ย้อนรอยกำแพง-ริมกำแพงเมืองลิกอร์ ยุคหลัง พ.ศ.2230 ตอนที่ 1/2
พ.ย. 14
จดหมายเหตุรายวันสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ดังตอนหนึ่งว่า“เสด็จมาตามถนนในกำแพงเมืองจนรอบ มีกำแพงเชิงเทินใหญ่มาก นอกกำแพงน้ำทั้งนั้น คนทำนา”จากหลักฐานที่ยกมาข้างต้น แสดงให้เห็นสภาพคูเมืองได้ว่า ในปี 2431 คูเมืองยังมีอยู่ ยังไม่ถูกรุกล้ำเหมือนปัจจุบัน
เมืองคอน(นครศรีธรรมราช)เป็นเมืองที่มีีความยิ่งใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในแถบนี้มีตั้งแต่โบราณนับเป็นพันๆปีมาแล้ว ตั้งแต่ เมืองตามพรลิงค์ ประมาณปี พ.ศ.700 และมีบทบาทมาก่อนสุโขทัยจะเป็นราชธานีหลายร้อยปี และมีมรดกทางวัฒนธรรมทางประเพณีพร้อมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายที่บรรพบุรุษสังสมไว้ และที่สำคัุญที่ตกทอดเห็นได้ชัดเจนถึงความเป็นอาณาจักรที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่คือ”กำแพงเมือง”้จากโบราณเวลายามมีสงคราม เพื่อเป็นการป้องกันข้าศึกศัตรูที่มีความมั่นคงจะต้องมีกำแพงเป็นเครืองป้องกันเมืองและประชาชน
และจากหนังสือนิตยสารเทียนชัย ฉบับพิเศษ 4 พระบรมธาตุ หน้า 106 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับกำแพงเมืิอง “นครตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช)”ไว้ว่า “บันทึกของจาวจูเกาะ กล่าวว่าการไปนครตามพรลิงค์จากเมืองเจนคะ(เขมร)ใช้เดินทางเรือสิบวัน นครตามพรลิงค์มีกำแพงล้อมรอบ กำแพงกว้างและสูง ข้างบนกำแพงแข็งแรงมาก สำหรับป้องกันการุกรานของข้าศึก ดินแดนแห่งนี่ปลูกการบูีร มีช่างเงิน ช่างทองมาก”
และ วิศวกรเดอ ลามาร์ได้บรรยายเรืองเมืองนครศรีธรรมราชไว้อย่างน่าสนใจว่า”นครศรีธรรมราชคือเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในตะวันออก เมื่อก่อนเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่มีชื่อเดียวกัน เมืองนครศรีธรรมราชมีผังเมืองยาวและแคบมาก ตั้งอยู่บนสันทรายที่แยกตัวออกจากที่ลุ่ม ความยาวของสันทรายจากเหนือถึงใต้ และสภาพของสันทรายทำให้เมืองนครแข็งแรง ฯลฯ(จากบทความคุณค่าจากแผนที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งสำรวจและจัดทำโดย ม.เดอ ลามาร์ เมือ พ.ศ.2230 โดยคุณภูธร ภูมะธน)
ผมชอบที่ทรงบรรยายไว้เมือปี 2431 “นอกกำแพงน้ำทั้งนั้น คนทำนา” เมืิิอจินตนาการตาม เวลายืนบนกำแพงสูงตระหงานมีกำเพงเมืองทั้ง 4 ทิศและล้อมรอบมีน้ำทุกทิศทาง เป็นภาพที่สวยงามหน้าดู มีความยิ่งใหญ่ ถ้าจะให้ภาพชัดก็ต้องหนังของโรมัน จะเห็นว่าเมืองนครยิ่งใหญ่ไม่ด้อยกว่าชาติโรมันในอดีต เป็นแน่
เป็นที่น่าสังเกตุของนักประวัติศาสตร์อีกประการหนึ่งคือเมืองคอนมีกำแพงเมืองหรือคูเมืองเกิน 1 ชั้นที่เห็นกันอยู่หรือไม่ เป็นที่น่าสงสัยว่ารอบๆเมืองโบราณมีหมู่บ้านที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย”กำแพง” อยู่สี่ทิศและมีแนวเนินดินใหญ่และยาว น่าจะเป็นกำแพง เมื่อขุดลงไป 2-3 เมตรจะพบแผ่นอิฐแผ่นโตๆ มากมายฝังอยู่ หมู่บ้านเหล่านั้นคือ1.กำแพงถม หรือแพงถม อยู่ทางทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุเจดีย์2.กำแพงเซา หรือ แพงเซา อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขององค์พระบรมธาตุเจดีย์3. กำแพงโคกหรือ แพงโคก อยู่ทางทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันคือตำบลท่าไร่4.กำแพงสูง หรือ แพงสูง อยู่ทางทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันคือบ้านแพงสูงหรือแคสูง(ข้อมุลจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร)
บทส่งท้ายในหนังสือกำแพงเมืองฯ ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เรามีความสามารถสูงทั้งในการสร้างและการทำลาย กำแพงเมืองนครศรีธรรมราอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวนครและชาติไทยฯปัจจุบันเหลืออยู่เพียงหน่อยนิดพอเป็นอุทาหรณ์ให้เห็นฝีมือของการทำลายของคนรุ่นต่อมา เราอาจลืมคิดไปว่า เศษอิฐ เศษหิน เศษปูน ซึ่งแม้นจะแตกหักทำลายไปก็คือความเป็นนครศรีธรรมราช “
ลักษณะที่ตั้งเมืองลิกอร์(นครศรีธรรมราช)ในแผ่นที่โลกภาพจากหนังสือรายงานการสัมมนาประวัิตศาสตร์ นครศรีธรรมราช โดยคุณภูธร ภูมะธน /จากหนังสือแผนที่ภาคใต้ของสยามและบริเวณใกล้เคียง ห้องสมุดส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โดยคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนและนี้กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ที่คงเหลือหลังจากกำแพงถูกทำลายด้วยธรรมชาติ” และมือผู้มีอำนาจและคนเมืองคอนเราเอง ยุคต่อมา”
ภาพอดีตเมืองคอน กำแพงเมืองคอน รัชกาลที่ 5 ทรงถ่ายเมือ พ.ศ.3 กค.2448 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ข้อมูลจากหนังสือ เรื่องจัดราชการเมืองนครศรีธรรมราช ลว.7 มค.รศ115 ของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มอบโดยอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-กำแพงเมืองคอน รัชกาลที่ 5 ทรงถ่ายเมื่อ 3 กค.2448 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ข้อมูลจากเรื่องจัดราชการเมืองนครศรีธรรมราช ลว.7 กค.ร.ศ.115 ของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มอบโดยอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพกำแพงเมืองคอนถ่ายเมื่อ พ.ศ.2470 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ข้อมูลภาพจากกองโบราณคดี มอบโดยอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตกรรมนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-อดีตคือคูเมืองของกำแพงเมืองคอนปัจจุบันคือคลองหน้าเมือง ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ภาพอดีตเมืองคอน-กำแพงเมืองคอนรัชกาลที่ 5 ทรงถ่าย เมื่อ พ.ศ.2448 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน,คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ นครศรีธรรมราช ข้อมูลภาพจากอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตกรรมนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพกำแพงเมืองและเขื่อนกันน้ำที่คูเมืองของเมืองคอนภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ภาพอดีตกำแพงเมืองคอน-ถูกรื้อทำลายเมื่อ พ.ศ.2439 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ภาพอดีตกำแพงเมืองคอน ถูกริ้อทำลายเมือ พ.ศ.2439 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ภาพอดีตกำแพงเมืองคอน ที่ยังคงเหลือจากการถูกรื้อทำลายด้านทิศเหนือภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ประวัติกำแพงเมืองคอน
ขนาด-ลักษณะกำแพงเมือง
ภาพลักษณะผังและป้อมภาพจำลอง ด้านทิศเหนือเพื่อการซ่อมและบูรณะกำแพงเมือง เมืองคอน ข้อมูลและภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
การถูกรื้อ- ทำลายกำแพง-คูเมืองโบราณของเมืองคอนจากมือผู้มีอำนาจหลายหมู่ หลายคณะและการรุกล้ำคนเมืองคอน
ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2439(ร.ศ.115)เจ้าพระยายมราช(ปั้นสุขุม)ครั้งยังเป็นพระยาสุขุมนัยวินิตสั้งให้ริ้อกำแพงด้านตะวันออก(ชาวบ้านเรียกว่าแพงออก) กำแพงด้านตะวันตก (ชาวบ้านเรียกว่า แพงตก)และกำแพงเมืองด้านใต้ซึ่งชำรุด เพื่อเอาอิฐมาทำถนนเลียบริมกำแพงทุกด้าน
ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2479 กระทรวงมหาดไทยได้ขอรื้อกำแพงเมืองโบราณด้านทิศเหนือ ตั้งแต่เชิงสะพานนครน้อยไปทางทิศตะวันตกสุดแนวกำแพงเมืองรวมทั้งขอรื้อป้อมที่มุมกำแพงเพื่อสร้างโรงเลื่อยจักรสำหรับฝึกหัดวิชาชีพแก่นักโทษ(ปัจจุบันสร้างกำแพงใหม่ตามแนวกำแพงเดิมของกรมศิลปากร)
ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2483 เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชขออนุญาตถื่อสิทธิ์ทำประโยชน์ในที่ดินที่เป็นซากแนวกำแพงเมืองโบราณด้านใต้ทั้งหมดเพื่อทำประโยชน์ตามที่เทศบาลขอ
ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2485 เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ได้ขออนุญาตตัดรื้อปลายสุดของกำแพงเมืองด้านทิศเหนือทางซีกตะวันออก เพื่อสร้างสะพานข้ามคลองนครน้อย
ครั้งที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2495 จังหวัดนครศรีธรรมราชขออนุญาตรื้่อตัวป้อมบนกำแพงด้านทิศเหนือ(ป้อมประตูชัยเหนือ)เพื่อสร้างสะพานนครน้อยรื้อออกเพียง 2 เมตรจากเดิม
ครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2506 จังหวัดนครศรีธรรมราช ขออนุญาตรื้อป้อมเดิม เคยรื่อแล้ว 2 เมตร เมือ พ.ศ.2495 โดยขอรื้ออีก 10 เมตร เื่พื่อขยายถนนและสะพาน
(ข้อมูลจาก กำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวนเพชรแก้ว ปรี่ชา นุ่นสุขและสารนครศรีธรรมราช)
และปัจจุบันร่องรอยกำแพงเมือง-ตีนกำแพงเมืองคอนที่ยังคงเหลือและ…คงเหลือให้ลูกหลานปัจจุบันดู
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพร่องรอยประตูเมืองไชยศักดิ์ (ด้านทิศเหนือ) ปี พ.ศ.2495 และ พ.ศ.2500 จังหวัดนครศรีธรรมราช ขอตัดป้อมประตูชัยศักดิ์ เพื่อขยายถนนและสร้างสะพานนครน้อย ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ประวัติสะพานนครน้อย
เดิมเีรียกว่า”สะพานพระครูเทพมุนี เป็นสะพานไม้สร้างเมือ ร.ศ.117 พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณ์ถูปาฏมาภิบาล(ปาน)เป็นผู้สร้างรีบทำกันทั้งกลางวันกลางคืน เพื่อให้ทันเวลารับเสด็จพระบาทสมเด็จประปิยะมหาราช เสด็จประพาส ร.ศ.117 (พ.ศ.2441)
ต่อมาได้สร้างใหม่เป็นสะพานคอนกรีตด้วยเงินในกองมรดก เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(พร้อม ณ นคร)ให้ชื่อใหม่ว่า “สะพานนครน้อย”
และได้สร้างขึ้นใหม่ โดยได้ขยายทั้งส่วนกว้างและยาว เนืองจากของเดิมแคบและชำรุดมีนายสันต์ เอกมหาชัย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
(ข้อมูลจาก เดือนสิบ 27 ความรู้เรืองเมืองนครศรีธรรมราช โดยขุนอาเทศคดี สารนครศรีธรรมราช)
ภาพอดีตเมืองคอน-คูเมืองด้านทิศเหนือ(ติดสนามหน้าเมือง)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2527 ภาพจากอนุสาร อ.ส.ท. ฉบับเดือน ตุลาคม 2527และ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพกำแพงด้านทิศเหนือ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-(ภาพที่มีความเห็นแตกต่างกัน) ภาพคูเมืองด้านทิศเหนือ(คลองหน้าเมือง) รัชกาลที่ 5 ทรงถ่าย ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2556 ภาพอดีจาก สารนครศรีธรรมราช/หนังสือเจ้าพระยานครน้อย(เจ้าน้อย)ผู้สำเร็จราชการจอมทัพตะวันตกแห่งแดนใต้ ประเทศไทย ศรีธรรมโศกราชองค์ที่ 5 หน้า 15
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพคูเมืองด้านทิศเหนือ(คลองหน้าเมือง) ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพคูเมืองด้านทิศเหนือ คลองหน้าเมือง (สะพานที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จราชดำเนินเมื่อ 18 พค.2519)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพคูเมืองด้านทิศเหนือ(หลังจวน)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพสวนสาธรณะบริเวณกำแพงเมือง เมืองคอนยุคหนึ่ง ประชาชนจะนำบุตรหลานเที่ยวชมสวนสัตว์ประเภทต่างๆ ที่บริเวณกำแพงเมือง ถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2536 ภาพจาก คุณเจริญ อังคสุวรรณ(แบน รักในหลวงห่วงประเทศ)
ภาพอดีตเมืองคอน-“ผิวกำแพง”ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพ”ผิวกำแพงด้านทิศเหนือเฉียงตะวันออก ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพป้อมกำแพงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ (ปลายกำแพงด้านทิศเหนือ) เมือ พ.ศ.2485 เทศบาลขอรื้อป้อม เพื่อทำถนน-สะพานหลังจวน ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
เพียงแค่ให้ลูกหลานชาวเมืองคอนรู้จักเมืองคอนในอดีต
ขอขอบคุณข้อมูล/ข้อมูลภาพจาก
สารนครศรีธรรมราช
คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
รายงานสัมมนาประวัิติศาสตร์ นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 6 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มอบให้โดยคุณอำนวย ทองทะวัย
ผัน หลังแลเมืองนคร สำนักงานคณะกรรมการกองฟื้นฟูประวัิติศษสตร์งานเดือนสิบ นครศรีธรรมราช 2531โดยปรีชา นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ที่ ระลึกเนื่องในโอกาส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเินินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเปิดอาคารที่ทำการศาลแขวง นครศรีธรรมราช
กำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว ปรีชา นุนสุข
คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์
คุณภูธร ภูมะธน
อาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ นครศรีธรรมราช
คุณถกล ธีระนันทกุล
คุณอรรถ ศิริรักษ์
คุณศุภชัย แซ่ปุง
คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
อาจารย์เสงี่ยม โกฏิกุล อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์และอาจารย์ของห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศทุกท่าน
คุณวิน เลขะธรรม
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
คุณปุณิกา(ศรีรัตน) พันธรังษี
คุณอุดม กระจ่างจิตร(โก้เข่ง) ร้านขายก๋วยเตี๋ยวประตูชัย
คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์
คุณขวัญชัย มานะจิตต์
เวป โอเคเนชั่นและเวปต่างๆ
สวัสดีครับผู้จัดทำ
อ่านเรื่องกำแพงเมืองน่าสนใจเพราะผมพยายามสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองนครอยู่
เขียนว่า ตอน 1 /2 แสดงว่ามีตอน2 ใช่ไหมครับมีมาอีกเมื่อไหร่ครับ
นอกจากนี้ไม่ทราบว่าได้ทำเรื่อง ตัวเมืองนครศรีธรรมราชไหมครับ ที่เป็นเมืองจริงๆ มีวังและอื่นๆ หากทำแล้วต้องรบกวนขอข้อมูล หากยังไม่ทำผมเสนอว่าน่าทำผมจะคอยติดตาม
โดยความเคารพ
ศุภชัย แกล้วทนงค์
คุณSupachai Klaewtanong ยังมีอีก 1 ตอนครับ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแนวกำแพงและคูเมืองตามสภาพเมืองในอดีตเท่าที่หาได้(แนวถนนศรีธรรมโศก/ ถนนศรีธรรมราช) รายละเอียดเกี่ยวกับวัง เท่าที่พอหาได้ครับ สำหรับตัวเมืองหมายถึงภาพที่เป็นมิติเมืองหรือเปล่า??(ไม่ทราบเข้าใจถูกต้องไม่) ผมตั้งใจจะทำครับ แต่คงลำบากสักนิดเพราะต้องมีค่าใช้จ่าย ผมเพียงแต่ทำสนุกๆ ใช้ทุนส่วนตัวทั้งหมด คงลำบากสักนิด ความตั้งใจถ้ามีโอกาสว่า จะทำครับ ขอบคุณครับสำหรับการติดตามครับและคำชี้แนะครับ
ติดตามตลอดครับ ขอเป็นกำลังใจในความอุตสาหะ
คุณนิธิพัฒน์
ขอขอบคุณครับ สำหรับกำลังใจครับ
รบกวนหย่อยนะคับ ผมอยากรู้ว่ากำแพงแบบปักเสาพูนดิน กับกำแพงที่เหนในปัจจุบันมันต่างกันยังไงคับ
ขอขอบคุณครับ คุณอิทธิศักดิ์ ราชภูชงค์ ที่ติดตามและสอบถามเกี่ยวกับกำแพง ทำให้นึกถึงอดีตแถวอำเภอปากพนังเสมือนเป็นวัฒนธรรมของชาวปากพนังในอดีต
ตามความเข้าใจของผม(ไม่ใช่วิชาการ) การทำกำแพงตั้งแต่โบราณน่าจะมีทำกัน 3 แบบ และเมืองคอนเราก็มีทั้ง 3 แบบ(ตามประวัติศาสตร์)
1.โดยการปลูกต้นไผ่แบบมีหนามเป็นกำแพง โดยปลูกล้อมรอบเมืองทั้งหมด เพื่อป้องกันข้าศึกโดยเฉพาะโจรสลัดและความปลอดภัย
2.ทำกำแพงแบบ”ปักเสาพูนดิน”โดยใช้ไม่เคี่ยมตัดเป็นท่อนแล้วปักไปรอบเมืองด้านในเมืองก็เอาดินถม ด้านนอกกำแพงก็ขุดเป็นแนวเพื่อเป็นคูเมือง แต่ก่อนเมืองคอนมีป่าและของป่ามากมายเป็นสินค้าของเมืองตามพรลิงค์(ผมจำไม่ได้แล้วว่าอ่านมาจากหนังสือเล่มไหน)ไม้เคี่ยมเป็นไม่เนื้อแข็งทนแดด ทนฝน ทนต่อดินฟ้าอากาศ โดยปักเป็นแนวล้อมรอบเมือง ส่วนด้านในเมืองจะพูนดินสามารถที่จะขึ้นไปดูข้าศึกและรักษาความปลอดภัย คุณนึกถึงกำแพงเมืองปัจจุบันของเมืองคอน ที่สนามหน้าเมือง ปัจจุบันเป็นการก่ออิฐกัน ถ้าเป็นแบบโบราณก็ปักไม้เคี่ยมแทนอิฐที่ก่อ จะมีความสูงไม่มากเท่าก่อด้วยอิฐ
3.แบบก่ออิฐแบบปัจจุบัน
เมือตอนเด็กผมอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ที่อำเภอปากพนังท่านจะปลูกต้นสังแก(ภาพษากลางผมไม่แน่ใจเรียกว่าอะไร)และต้นไผ่ไว้รอบบริเวณบ้านต้นสังแก เป็นไม้เนื้อแข็งมีมีปุ่มแหลมคล้ายหนามตลอดทั้งต้นล้อมรอบบริเวณพื้นที่บ้านหลายไร่และเมือต้นโตและมากยังสามารถนำไปทำเป็นไม้ฟืนเพื่อหุ้งต้มอาหาร เพราะแต่ก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้
และพื้นที่บริเวณอำเภอปากพนังใกล้ทะเลก็นำไม้ไผ่ไปปลูกล้อมบริเวณบ้าน มีประโยชน์เพื่อความปลอดภัยและป้องกันลมทีมีความรุนแรงตลอดยิ่งบริเวณใกล้ๆแหลมตะลุมพุก
อยากเห็นอดีต ขอบคุณดีมากเลยครับ
ผมเข้าเรียน ป.1 ปี 2493 พอขึ้น ป.4 ก็มีหนังสือภูมิศาสตร์ จำได้ว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชในยุคก่อชื่อว่า “ศิริธรรมนคร” มาหายไปตอนไหนและทุกวันนี้ไม่ได้ยินชื่อนี้เลย มาได้ยินแต่ตามพรลิงค์ แล้วก็มานครศรีธรรมราชเลย ไม่มีที่ใดกล่าวถึงชื่อดังว่าเลย ขอท่านผู้รู้มาบอกหน่อยครับ
คุณสวัสดิ์ ทองเทพ ขอบคุณครับ คงหาหนังสือภูมิศาตร์ที่ว่าลำบากนะครับ “ศิริธรรมนคร” ปัจจุบันชื่อนี้มีเฉพาะในหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ น่าเสียดายนะครับ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองนครมีนักประวัติศาตร์หลายๆท่าน ได้วิจัย ค้นคว้า เขียนไว้เป็นจำนวนมากแม้นว่า เอกสารโบราณจริงๆถูกทำลายไปจำนวนมาก แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่ละความพยายาม ค้นคว้า และวิจัยไว้ เช่นของคุณปรีชา นุ่นสุข คุณดิเรก พรตเสน ครูน้อม อุปรมัย แต่หนังสือเหล่านั้นนอนแช่เย็นอยู่ในห้องสมุด ไม่มีผู้ที่มีบทบาทนำออกเผยแพร่ บางท่านบิดเบือนประวัติศาตร์ของเราอีก กรรมของเมืองเราไม่เนียะ กรณีของตามพรลิงค์ ผมว่าคงเกี่ยวกับอายุเมืองมากกว่า ที่หลายๆท่านนำมากล่าวครับ
มีอีกหลายประเด็นครับที่น่าส่งสารเมืองนครศรีธรรมราช บรรณรักษ์ประจำห้องสมุดบางแห่ง ไม่รู้จักนักประวัติศาสตร์เมืองนคร ผมเคยถามเรืองคุณครูน้อม อุปรมัยเพื่อจะขอดูข้อมูล เขาไม่รู้จักเขาถามผมว่า ครูน้อมไหน?? ผมเลยงงเหมือนกัน นักสอนประวัติศาตร์ ไม่รู้จักประวัติท้องถิ่นของเมืองนครสักเท่าไหร่ แต่ถ้าถามเรือง AEC ตอบได้หมด แล้วเมืองนครจะอยู่อย่างไรในอนาคต คงพอจะมองภาพออกนะครับ