ย้อนรอยอดีต..ปัจจุบันแหลมชุมพุก(แหลมตะลุมพุก) ครบรอบ 48 ปีโดยคุณสถาพร พฤกษะศรี สายเลือดกวีเมืองคอน ครูตรึก พฤกษะศรี
ต.ค. 20
ผู้เขียนเป็นชาวหัวสวน หมู่ 7 ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง
ผู้เขียนมีภาพอดีตในความจำ(ถ้าถามว่าวัน/เดือน/ปีอะไรผู้เขียนจำไม่ได้)เพียงแต่พอจดจำเหตุการณ์ได้เนื่องจากอายุยังเด็กมากๆ บ้านที่ผู้เขียนอาศัยอยู่เป็นบ้านของปู่-ย่า(ปู่มด-ย่าแดง พันธรังษี)ตั้งอยู่ริมน้ำ คลองหัวสวน เป็นบ้านหลังใหญ่แบบทรงไทยโบราณ ยกพื้นสูงหลังคามุงด้วยกระเบื้องปูนของจีนรูปข้าวหลามตัด มีโรงข้าว(ที่เก็บข้าวที่เกี่ยวมาใหม่)ริมติดต่อโรงข้าวมีคอกวัว-คอกควาย บ้านปู่-ย่าในคืนเกิดเหตุเมื่อตื่นขึ้นมาตอนดึกด้วยความตกใจ ทั้งหมด ปู่ ย่า ลุง อา นั้งกันอยู่ที่บริเวณคอกวัว- คอกควายที่ปู่ทำยื่นออกไปเป็นที่นอนเฝ้าวัว-ควายยามคำ่คืนใต้ต้นมะม่วง(คัน)ต้นใหญ่ ประมาณ 2 คนโอบ ด้านนอกมีเสียงลมแรงมาก มีเสียงร้องโหยหวลเมื่อลมประทะกับสิ่งกีดขวางและมีเสียงดังสนั่นทั้งเสียงหัก-พังของต้นไม้ และบ้านเรือน ทั้งบริเวณมีน้ำเจิงนอง และเสียงกระเบื้องที่โดนลมแรงตกลงไปในน้ำ เหมื่อนเราร่อนหินไประยะไกลตลอดเวลา เสียงดังไม่ขาดสาย
พอขึ้นวันใหม่ บ้านทั้งหลังเหลือแต่โครงหลังคา กระเบื้องหายไปเกื่อบหมดและสภาพบ้านบางส่วนเสียหาย นี้คือภาพความจำอดีตสำหรับเหตุการณ์วาตภัยแหลมตะลุมพุก
- ภาพพายุโซนร้อน”แฮเรียต”ที่พัดถล่มแหลมตะลุมพุกเมื่อ 25 ตุลาคม 2505 (ภาพจากเวป)
- “ภาพแปะฟ้า”ย้อนรอย”อดีตแหลมตะลุมพุก” เพื่อเป็นการสดุดีถึงบุคคลบ้านเราคนหนึ่ง ที่เป็นนักเขียน/นักกวี/นักประวัติศาสตร์/นักกลอน/นักแต่งเพลง/“นักถ่ายภาพ”และอื่นๆ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญบุคคลหนึ่งของ“เมื่องคอน” จากหลักฐานการตีพิมพ์ลงในหนังสือ“สารานุกรมบุคคลสำคัญภาคใต้”จึงขอสดุดีและนำผลงานของท่านที่ได้บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาครบรอบ 48 ปี ในวันที่“ 25 ตุลาคม 2553 “ย้อนรอยอดีต“โดยบทประพันธ์ของครูตรึก พฤกษะศรี ซึ่งคุณครูได้อยู่ในเหตุการณ์ และพบเห็นผู้ประสพภัยด้วยตัวเอง ในวันพายุโซนร้อน“แฮเรียต” พัดถล่ม “แหลมตะลุมพุก” ในช่วงค่ำวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ซึ่งข้อมูลทั้งหมด “ย้อนรอย”โดย “คุณสถาพร พฤกษะศรี”ซึ่งเป็นสายเลือดของท่าน และบทประพันธ์เล่าถึงเหตุการณ์มหาวาตภัยที่เกิดขึ้นนี้ ได้จัดพิมพ์มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อต้นปี 2506 ในบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า “แหลมตลุมพุกพิลาป” เพื่อหารายได้จัดซื้่อเครื่องดนตรีเพิ่มเติมให้แก่วงดนตรีสากลโรงเรียนปากพนังโดยแบ่งเป็น 4 ตอน ตามลำดับ
ภาพถ่ายทางอากาศหมู่บ้านแหลมตะลุมพุกปัจจุบัน
ลูกเสือเดินทางไกลไปพักแรมที่แหลมตะลุมพุกก่อนเกิดพายุ
พักแรมแล้วรุ่งเช้าเดินทางกลับ
เมื่อเสร็จสรรพทุกคนก็รีบกลับโรงเรียน
ต้นไม้ใหญ่ยังโค่นล้มเมื่อโดนลมพายุ
สภาพที่เห็นเป็นหลักฐานเมื่อพายุพัดผ่านไป
อยากเห็นถึงที่ก็ต้องมีความลำบาก
ท่านผูกชมสนใจตามไปดูถึงที่
ยากเข็นเช่นไรขอไปให้ถึง
อาคารเรียนก่อนวาตภัยมาถึง ก่อสร้างเมื่อ กันยายน พ.ศ.2496
เมื่อพายุผ่านไปอาคารเรืยนสองชั้นเหลือเพียงชั้นเดียว ถ่ายภาพโดยคุณครูวิไล พฤกษะศรี เมื่อตอนเช้าวันที่ 26 ต.ค. 2505
นักเรียนที่เคราะห์ร้ายกำลังช่วยกันขนโต๊ะ ม้านั้ง ไปอาศัยเรียนในวิหารวัดต่อไป
- โรงเรียนประจำอำเภอปากพนังก็เจอเข้าเหมื่อนกัน
- ย้อนรอยภาพอดีตรำลึกวาตภัยแหลมตะลุมพุกผ่านมาแล้ว 48 ปี
- ตอนที่ 1
- เริ่มเกิดพายุโซนร้อน “แฮเรียต” พัดผ่านเข้ามาทางแหลมตะลุมพุก ในตอนค่ำของวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ทำให้บ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยของชาวตำบลบ้านแหลมตะลุมพุก หายไปในทะเลเกื่อบหมด ดังภาพที่ปรากฏ ผู้คนที่รอดตาย ไปติดอยู่บนต้นไม้บ้าง ขึ้นไปอยู่บนหลังคาบ้าง ส่วนที่ทนกับแรงน้ำ แรงลมไม่ไหวก็เสียชีวิต หายไปในทะเลบ้าง บ้านพักทับบ้าง ส่วนที่รอดตายบางคนเหลือแต่ร่างกาย เสื้อผ้าหายไปหมด บางคนก็สติฟั่นเฟือน รุ่งเช้าผู้คนที่รอดตาย ก็พยายามช่วยเหลือกัน บ้างก็ร่ำร้อง ผู้ประคองตัวเองได้ ก็ตามหาญาติ อาหารก็ไม่มีกิน ต้องหามะพร้าวอ่อนกินประทังชีวิตไว้ก่อน ผู้ที่แข็งแรงพอจะเดินได้ ก็พยายามเดินมุ่งหน้าเข้ามาในอำเภอปากพนัง เพื่อแจ้งให้ทางการได้ทราบถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชม. เมื่อทางอำเภอได้รับทราบก็ร่วมมือกับพ่อค้า ประชาชนช่วยเหลือถึงแม้นในตัวอำเภอเสียหายเหมื่อนกันแต่ยังน้อยกว่า
ย้อนรอยภาพอดีตรำลึกวาตภัยแหลมตะลุมพุก มีต่อตอน 2 ครับ
ทำดีแล้วทำต่อไปขอเป็นกำลังใจสู้ๆเพื่อคนเมืองคอน
ผมขอขอบคุณ คุณณัฐ ที่ให้กำลังใจ เมื่อมีกำลังใจแบบนี้ก็ต้องสู้ครับ คุณณัฐ มีภาพเก่าๆหรือจะของพรรคพวกเพื่อนฝูง ก็ส่งร่วมได้นะครับ
มล.พัน 20 พย.2553
หาดทรายสวย วิวทิวทัศน์งาม
นามแหลมตะลุมพุุก สู้ศึกวาตะภัย
สอง พัน ห้า ร้อย ห้า ชาวเมืองคอน
โศกเศร้าน้ำริน สิ้นเนือประดาตัว
อาจารย์ทำดีแล้ว คนคอน..สู้สู้
คุณจำลอง
ขอบคุณครับสำหรับบทกลอนและำกำลังใจครับ หวังว่าคงมีบทกลอนดีๆมาฝากอีกนะครับ
ขอบคุณบทความ และเรื่องราวในอดีต ที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวและการป้องกันภัยมากขึ้นค่ะ
–
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณ
ขอยคุณครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆคะ
ข้อมูลดีมากเลยคับ ภาพก้อสวย
ขอขอบคุณสำหรับบทความ เรื่องราวในอดีต ที่ทำให้ได้ความรู้ และเข้าใจเรื่องราวของการเกิดภัยพิบัติและการป้องกันภัยพิบัติ
การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยธรรมชาติหรือจากการกระท า
ของมนุษย์ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆของโลก
อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ อุทกภัย ตลอดจนภัยพิบัติอื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมวล
มนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้นอย่างช้าๆไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งเป็น
อันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลกต่างๆ เพื่อจะได้ปรับวิถึชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในขณะนี้
ขอบคุณสำหรับข้อความที่มีไว้ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้รู้และเพื่อจะได้รู้จักป้องกันตนเองได้