ย้อนรอยอดีต..ปัจจุบันแหลมชุมพุก(แหลมตะลุมพุก) ครบรอบ 48 ปีโดยคุณสถาพร พฤกษะศรี สายเลือดกวีเมืองคอน ครูตรึก พฤกษะศรี

ต.ค. 20

ย้อนรอยอดีต..ปัจจุบันแหลมชุมพุก(แหลมตะลุมพุก) ครบรอบ 48 ปีโดยคุณสถาพร พฤกษะศรี สายเลือดกวีเมืองคอน ครูตรึก พฤกษะศรี

ผู้เขียนเป็นชาวหัวสวน หมู่ 7 ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง 

ผู้เขียนมีภาพอดีตในความจำ(ถ้าถามว่าวัน/เดือน/ปีอะไรผู้เขียนจำไม่ได้)เพียงแต่พอจดจำเหตุการณ์ได้เนื่องจากอายุยังเด็กมากๆ บ้านที่ผู้เขียนอาศัยอยู่เป็นบ้านของปู่-ย่า(ปู่มด-ย่าแดง พันธรังษี)ตั้งอยู่ริมน้ำ คลองหัวสวน เป็นบ้านหลังใหญ่แบบทรงไทยโบราณ ยกพื้นสูงหลังคามุงด้วยกระเบื้องปูนของจีนรูปข้าวหลามตัด มีโรงข้าว(ที่เก็บข้าวที่เกี่ยวมาใหม่)ริมติดต่อโรงข้าวมีคอกวัว-คอกควาย บ้านปู่-ย่าในคืนเกิดเหตุเมื่อตื่นขึ้นมาตอนดึกด้วยความตกใจ ทั้งหมด ปู่ ย่า ลุง อา นั้งกันอยู่ที่บริเวณคอกวัว- คอกควายที่ปู่ทำยื่นออกไปเป็นที่นอนเฝ้าวัว-ควายยามคำ่คืนใต้ต้นมะม่วง(คัน)ต้นใหญ่ ประมาณ 2 คนโอบ ด้านนอกมีเสียงลมแรงมาก มีเสียงร้องโหยหวลเมื่อลมประทะกับสิ่งกีดขวางและมีเสียงดังสนั่นทั้งเสียงหัก-พังของต้นไม้ และบ้านเรือน ทั้งบริเวณมีน้ำเจิงนอง และเสียงกระเบื้องที่โดนลมแรงตกลงไปในน้ำ เหมื่อนเราร่อนหินไประยะไกลตลอดเวลา เสียงดังไม่ขาดสาย

พอขึ้นวันใหม่ บ้านทั้งหลังเหลือแต่โครงหลังคา กระเบื้องหายไปเกื่อบหมดและสภาพบ้านบางส่วนเสียหาย  นี้คือภาพความจำอดีตสำหรับเหตุการณ์วาตภัยแหลมตะลุมพุก

  • ภาพพายุโซนร้อน”แฮเรียต”ที่พัดถล่มแหลมตะลุมพุกเมื่อ 25 ตุลาคม 2505 (ภาพจากเวป)

 

  • “ภาพแปะฟ้า”ย้อนรอย”อดีตแหลมตะลุมพุก” เพื่อเป็นการสดุดีถึงบุคคลบ้านเราคนหนึ่ง ที่เป็นนักเขียน/นักกวี/นักประวัติศาสตร์/นักกลอน/นักแต่งเพลง/“นักถ่ายภาพ”และอื่นๆ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญบุคคลหนึ่งของ“เมื่องคอน” จากหลักฐานการตีพิมพ์ลงในหนังสือ“สารานุกรมบุคคลสำคัญภาคใต้”จึงขอสดุดีและนำผลงานของท่านที่ได้บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาครบรอบ 48 ปี ในวันที่ 25 ตุลาคม 2553 “ย้อนรอยอดีต“โดยบทประพันธ์ของครูตรึก พฤกษะศรี ซึ่งคุณครูได้อยู่ในเหตุการณ์ และพบเห็นผู้ประสพภัยด้วยตัวเอง ในวันพายุโซนร้อน“แฮเรียต” พัดถล่ม “แหลมตะลุมพุก” ในช่วงค่ำวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ซึ่งข้อมูลทั้งหมด “ย้อนรอย”โดย “คุณสถาพร พฤกษะศรี”ซึ่งเป็นสายเลือดของท่าน และบทประพันธ์เล่าถึงเหตุการณ์มหาวาตภัยที่เกิดขึ้นนี้ ได้จัดพิมพ์มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อต้นปี 2506 ในบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า “แหลมตลุมพุกพิลาป” เพื่อหารายได้จัดซื้่อเครื่องดนตรีเพิ่มเติมให้แก่วงดนตรีสากลโรงเรียนปากพนังโดยแบ่งเป็น 4 ตอน ตามลำดับ

ภาพถ่ายทางอากาศหมู่บ้านแหลมตะลุมพุกปัจจุบัน

2-ลูกเสือเดินทางไกลไปพักแรมที่แหลมพะลุมพุกก่อนเกิดลมพายุ copy

ลูกเสือเดินทางไกลไปพักแรมที่แหลมตะลุมพุกก่อนเกิดพายุ

3-พักแรมแล้วรุ่งเช้าเดินทางกลับ copy

พักแรมแล้วรุ่งเช้าเดินทางกลับ

4-เมื่อเสร็จสรรพทุกคนก็รีบกลับโรงเรียน copy

เมื่อเสร็จสรรพทุกคนก็รีบกลับโรงเรียน

5-ต้นไม้ใหญ่ยังโคนล้มเมื่อโดนลมพายุ copy

ต้นไม้ใหญ่ยังโค่นล้มเมื่อโดนลมพายุ

สภาพที่เห็นเป็นหลักฐานเมื่อพายุพัดผ่านไป

7-อยากเห็นถึงที่ก่อต้องมีความลำบาก copy

อยากเห็นถึงที่ก็ต้องมีความลำบาก

8-ท่านผูกชมสนใจตามไปดูถึงที่ copy

ท่านผูกชมสนใจตามไปดูถึงที่

9-ยากเขนเช่นไรขอไปให้ถึง copy

ยากเข็นเช่นไรขอไปให้ถึง

10-อาคารเรียนก่อนวาตภัยมาถึง-ก่อสร้างเมื่อ-กันยายน-พ.ศ.-2496

อาคารเรียนก่อนวาตภัยมาถึง ก่อสร้างเมื่อ กันยายน พ.ศ.2496

2505_2 copy

 เมื่อพายุผ่านไปอาคารเรืยนสองชั้นเหลือเพียงชั้นเดียว ถ่ายภาพโดยคุณครูวิไล พฤกษะศรี เมื่อตอนเช้าวันที่ 26 ต.ค. 2505

 

12-นักเรียนที่เคราะห์ร้ายกำลังช่วยกันขนโต็ะ-ม้านั่ง-ไปอาศัยเรียนในวิหารวัดต่อไป copy

นักเรียนที่เคราะห์ร้ายกำลังช่วยกันขนโต๊ะ ม้านั้ง ไปอาศัยเรียนในวิหารวัดต่อไป

  • โรงเรียนประจำอำเภอปากพนังก็เจอเข้าเหมื่อนกัน

 

  • ย้อนรอยภาพอดีตรำลึกวาตภัยแหลมตะลุมพุกผ่านมาแล้ว  48 ปี 
  • ตอนที่ 1
  •              เริ่มเกิดพายุโซนร้อน “แฮเรียต” พัดผ่านเข้ามาทางแหลมตะลุมพุก ในตอนค่ำของวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ทำให้บ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยของชาวตำบลบ้านแหลมตะลุมพุก หายไปในทะเลเกื่อบหมด ดังภาพที่ปรากฏ ผู้คนที่รอดตาย ไปติดอยู่บนต้นไม้บ้าง ขึ้นไปอยู่บนหลังคาบ้าง ส่วนที่ทนกับแรงน้ำ แรงลมไม่ไหวก็เสียชีวิต หายไปในทะเลบ้าง บ้านพักทับบ้าง ส่วนที่รอดตายบางคนเหลือแต่ร่างกาย เสื้อผ้าหายไปหมด บางคนก็สติฟั่นเฟือน รุ่งเช้าผู้คนที่รอดตาย ก็พยายามช่วยเหลือกัน บ้างก็ร่ำร้อง ผู้ประคองตัวเองได้ ก็ตามหาญาติ  อาหารก็ไม่มีกิน ต้องหามะพร้าวอ่อนกินประทังชีวิตไว้ก่อน ผู้ที่แข็งแรงพอจะเดินได้ ก็พยายามเดินมุ่งหน้าเข้ามาในอำเภอปากพนัง เพื่อแจ้งให้ทางการได้ทราบถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชม. เมื่อทางอำเภอได้รับทราบก็ร่วมมือกับพ่อค้า ประชาชนช่วยเหลือถึงแม้นในตัวอำเภอเสียหายเหมื่อนกันแต่ยังน้อยกว่า

ย้อนรอยภาพอดีตรำลึกวาตภัยแหลมตะลุมพุก  มีต่อตอน 2 ครับ

16 comments

  1. ณัฐ โชติสุต /

    ทำดีแล้วทำต่อไปขอเป็นกำลังใจสู้ๆเพื่อคนเมืองคอน

  2. ผมขอขอบคุณ คุณณัฐ ที่ให้กำลังใจ เมื่อมีกำลังใจแบบนี้ก็ต้องสู้ครับ คุณณัฐ มีภาพเก่าๆหรือจะของพรรคพวกเพื่อนฝูง ก็ส่งร่วมได้นะครับ  
    มล.พัน 20 พย.2553

  3. นายจำลอง ขุนทองจันทร์ /

    หาดทรายสวย   วิวทิวทัศน์งาม
    นามแหลมตะลุมพุุก  สู้ศึกวาตะภัย
    สอง พัน ห้า ร้อย ห้า  ชาวเมืองคอน
    โศกเศร้าน้ำริน            สิ้นเนือประดาตัว
                                             อาจารย์ทำดีแล้ว คนคอน..สู้สู้

  4. คุณจำลอง
    ขอบคุณครับสำหรับบทกลอนและำกำลังใจครับ หวังว่าคงมีบทกลอนดีๆมาฝากอีกนะครับ

  5. ศิรินทร์ /

    ขอบคุณบทความ และเรื่องราวในอดีต ที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวและการป้องกันภัยมากขึ้นค่ะ

  6. นางสาวณัฏฐธิดา หนูฟอง /

    ขอบคุณค่ะ

  7. เยาวลักษณ์ สีหาปัญญา /

    ขอบคุณ

  8. ชมภูนุช เพ็งพุฒิ /

    ขอบคุณค่ะ

  9. ณิชาพัฒน์ นันทพัทธ์เมธี /

    ขอบคุณ

  10. ชัยยศ กัณหา /

    ขอยคุณครับ

  11. อัญชลี /

    ขอบคุณข้อมูลดีๆคะ

  12. ดำรง ขาวผ่อง /

    ข้อมูลดีมากเลยคับ ภาพก้อสวย

  13. ขอขอบคุณสำหรับบทความ เรื่องราวในอดีต ที่ทำให้ได้ความรู้ และเข้าใจเรื่องราวของการเกิดภัยพิบัติและการป้องกันภัยพิบัติ

  14. การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยธรรมชาติหรือจากการกระท า
    ของมนุษย์ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆของโลก
    อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ อุทกภัย ตลอดจนภัยพิบัติอื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมวล
    มนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้นอย่างช้าๆไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งเป็น
    อันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทาง
    ธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลกต่างๆ เพื่อจะได้ปรับวิถึชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในขณะนี้

  15. ขอบคุณสำหรับข้อความที่มีไว้ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้รู้และเพื่อจะได้รู้จักป้องกันตนเองได้

ส่งความเห็นที่ นางเกษณีย์ บาลทิพย์ ยกเลิกการตอบ

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>