ภาพแปะฟ้าเมืองคอน-วัดเสมาทอง(มเหยงค์)-เบญจมราชูทิศ-มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
ก.ค. 12
ภาพอดีตเมืองคอน-พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงประทับเหนื่อแท่นมิมบัรมัดยิด(ธรรมมาสน์) ที่มัดยิดซอลาฮุดดิน(อดีตคือวัดท่าช้าง)เมื่อคราวเสด็จเมืองคอน เมือ พ.ศ.2502 ภาพจากหนังสือ”รอยพระบาทยาตรายังจารึุก”ที่ระลึกงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
วัดมเหยงคณ์เป็นวัดที่สร้างก่อนการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช มีทั้งหมด 7 วัด และมีหลักฐานจารึกที่วัดมเหยงคณ์ มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 12 นับเป็นศิลาจารึกเก่ารองจากหุบเขาช่องคอย(ในพุทธศตวรรษที่ 11)เป็นจารึกที่แสดงให้เห็นที่เกี่ยวกับ”จีน”อันเป็นอารยธรรมจีนในนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพวัดมเหยงค์อดีตคือวัดเสามาทอง สร้างในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ภาพอดีตจากร้านโก้ปี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณสี่แยกตลาดแขก ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของสุเหร่าท่าช้าง (ซอลาฮุดดิน)ภาพอดีตถ่ายเมือ สมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจาก คุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี /ร้านคนสร้างภาพ ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณย่านตลาดแขก ร้านไทยโอชาขายข้าวหมกไก่ยุคแรก ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2490 ภาพจากร้านข้าวหมกไก่ โทยโอชา ตลาดแขก ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพมัสยิดซอลาฮุดดิน ตลาดแขก เดิมชื่อ”สุเหร่านอก”หรือสุเหร่าท่าช้าง อดีตเคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าช้าง อดีตวัดท่าช้างสร้างมาก่อนการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชและต่อมาเป็นวัดร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงจัดซื้อให้เป็นที่ตั้งของสุเหร่า ในราคา 42,935.-บาทเมื่อ พ.ศ.2499 ภาพอดีตจากสารนครศรีธรรมราช เอื่อเฟื้อจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2515 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพถนนกระโรมช่วงสี่แยกสุเหร่า เมือ พ.ศ.2510 ภาพอดีตจากรายงานกิจการ 2510 นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-น้ำท่วมบริเวณถนนพาดใกล้ตลาดแขก ภาพอดีตถ่ายเมือ มกราคม 2518 ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริวเวณถนนพาด ซุ้มรถไฟเชิงสะพานท่าเรียน ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2513 จากสารนครศรีธรรมราช เอื่อเฟื้อจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนและคุณทรงฤทธ์ิ ทศไพรินทร์ เจ้าหน้าที่ซุ้มเครื่องกันถนนกระโรม ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพสะพานท่าเรียนก่อนยังไม่เป็นถนนสีช่องจราจร มีคุณเล่า เทียน ซื่อ แซ่เล่า ขี่รถจักรยานยนต์ สองข้างทางจะมีต้นจามจุรีไปจนถึง วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2496 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพน้ำท่วมบริเวณเชิงสะพานท่าเรียน เมื่อ พ.ศ.2518 ภาพจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี /คุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณคลองแดน ก่อนจะถึงตลาดหัวอิฐ ถนนกะโรม ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติ มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งต่อมาโดนถมโดยเอกชนทำตลาด รัฐแพ้คดีความ ลักษณบ้านเรือนของบริเวณนี้่จะต้องทำสะพานยื้นเดินเข้าบ้านคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร ได้ถ่ายกับเพื่อนๆ เมือ พ.ศ.2512 ขณเรียนอยู่ที่โรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีนาคม 2559
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพโรงรมควันยางพาราของร้านเล่าเทียนเฮง รับซื้อยางพาราส่งออกไปต่างประเทศ ไปประเทศมาเลเซียในสมัยนั้น ปี2500 บริเวณถนนกะโรม ปัจจุบันคือช่วงบริเวณธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขากะโรม-โก้พงศ์ซุปเปอร์มาเก็ต ของคุณเล่าเทียนซื่อ คุณเล่าเทียนซื่อ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หลังสถานีรถไฟ โดยมีกิจการค้าไม้-รับซือหมาก-รับซื้อยางพารา ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีนาคม 2559
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพตลาดหัวอิฐก่อนการปฏิรูปและหลังปฏิรูป ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2498 ภาพโดยคุณดิเรก พรตตะเสน สารนครศรีธรรมราช ภาพป ัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ประวัติตลาดหัวอิฐข้อมูลจากอนุสรณ์งานฌาปนกิจอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ เมือ 2 สิงหาคม 2551 เดิมการค้าของเมืองนครที่สำคัญคือ ศูนย์กลางการค้าบ้านหัวท่า โดยอาศัยเรือทั้งชาวเหนือ ชาวลานสะกา ชาวนอก และการคมนาคมโดยอาศัยคลองท่าดี และเป็นท่าที่สำคัุญสัมพันธ์กับวัดพระบรมธาตุ เป็นที่จอดเรือ ต่อมาเลยกลายเป็นท่าเรือที่สำคัญมาแต่โบราณ เมือการโดยสารทางเรือหมดความสำคัญลง ช่วงต่อมาหันมาใช้รถยนต์ จึงเกิดตลาดใหม่เส้นทางรถยนต์ถนนนครศรีฯ-ลานสกาตรงใต้ต้นยางใหญ วัดโพธิ์เสด็จชื่อว่า””ตลาดแสงอรุณ””แต่ผู้คนไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่ในช่วงแรก แต่กลับนิยมอีกแห่งซึ่งอยู่ตรงข้ามของตลาดเดิม เป็นของนายประสงค์ สิงหโกวินท์ มีผู้นิยมจนเป็นตลาดการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของภาพใต็ ได้ชื่อว่า””หัวอิฐตลาดไม่เคยหลับ””
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพตลาดหัวอิฐ เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภาพใต้ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2515 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช เอื่อเฟื้อจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพพาหนะที่ใช้บริเวณตลาดหัวอิฐ อดีต-ปัจจุบัน ภาพอดีตโดยคุณสุทิน รัโนภาสจรูญ สารนครศรีธรรมราช เอื่อเฟื้อจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ถ่ายเมือ พ.ศ.2515 ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ มกราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณวัดหัวอฺิฐ ต.โพธิเสด็จ อ.เมือง นครศรีธรรมราช(คลองที่ต้นโพธิ์ประสูติผ่านเพื่อไปปลูกยังวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร) ภาพโดยคุณกวี กาญจนาภา สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพน้ำท่วม เมือ มกราคม 2518 บริเวณหน้าโรงเรียนไตรภูมิ ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
ประวัติโรงเรียนไตรภูมิวิทยา แต่ก่อนเคยมีบทบาทด้านการพัฒนาเมืองนครเป็นอันมาก เดิมชื่อ”โรงเรียนทักษิณวิทยา” ตั้งอยู่บริเวณปากซอบสารีบุตร(บ้านเช่า) ก่อตั้งเมือประมาณปี พ.ศ.2504 และได้ย้ายไปตั้งที่ศาลเจ้ากวนอู ใกล้บริวเณสี่แยกท่าวังเมื่อ ประมาณ พ.ศ.2506 และย้ายจากบริวเวณศาลเจ้ากวนอู ไปตั้งที่ตลาดหัวอิฐ เมื่อ พ.ศ.2513 โดยเปลียนชื่อใหม่เป็น “”โรงเรียนไตรภูมิวิทยา””จนมาถึงปัจจุบัน(ข้อมูลจากคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้))
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพที่ทำการแขวงการทางนครศรีธรรมราช(หลังแรก)ตั้งอยู่ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชและบริเวณแขวงการทางนครศรีธรรมราชปัจจุบัน ภาพอดีตจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน และจากพร้อมรำลึก พร้อม ณ นคร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ม กราคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพศาลเจ้าทวดทอง ภาพอดีตจากศาลเจ้าทวดทอง ตำบลโพธิ์เสด็จ /สารนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2513 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ประวัติศาลเจ้าทวดทอง(ข้อมูลคุณดิเรก พรตตะเสน จากสารนครศรีธรรมราช) นายทองเดิม เป็นคนคลองดิน มีครอบครัวเร่ร่อนไปอยู่ ณ เมืองไทรบุรี เมื่อ รัชกาลที่ 2 เมืองไทรบุรีแข็งเมือง จึงให้เจ้าพระยานคร ไปปราบโดยมีนายทอง ช่วยเหลือโดยเปิดประตูเมือง จนเจ้าพระยานครได้รับชัยชนะ จึงประทานรางวัลแต่นายทองไม่ขอรับ ขอเพียงได้กลับมาอยู่ที่ นครเหมือนเดิม นายทองเป็นคนมีอายุยืนที่ไทรบุรีมีอายุประมาณ ร้อยปี มีคาถาอาคม มาอยู่ที่นครอีกเป็นร้อยปี เมื่ออายุมากเริ่มมัีความศักดิ์สิทธิ์และได้หายตัวไป มีปฏิหาริย์หลายครั้ง ตอนหลังญาติรุ่นเหลนได้สร้างศาลา เป็นที่เคารพของลูกหลานและเปลี่ยนชื่อบ้านบริเวณนั้นเป็น “”บ้านทวดทอง””
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณบ้านทวดทอง(หน้าศาลเจ้าทวดทอง)ภาพจากศาลเจ้าทวดทอง ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณตลาดทวดทอง(ตลาดเสรี)ถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2541 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2558
เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
(การเรียนดี ฝีมือเก่ง กีฬาเยี่ยม มารยาทยอด)
โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการแก่วุวชน เพื่อยุวชนได้นำความรู้ ประสพการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โรงเรียนต้องให้ความรู้ทุกอย่าง ทางด้านอาชีพ สุขอนามัย ศิลปวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านการเมือง การปกครอง ความเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรู้เหล่านี้เพื่อนำไปใช้ชีวิต เพื่ออยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
-
ประวัติโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ.2434 เปิดคราวแรกมีนามว่า“โรงเรียนศรีธรรมราช” ณ วัดท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 1 เมษายน 2441(ร.ศ.117) พระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนธโช) ผู้อำนวยการ การศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี ร่วมกับพระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลในสมัยนั้น รับสนองพระราชดำริองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนีขึ้น เปิดการสอนที่วัดท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2442 เปิดโรงเรียนใหม่ในวัดท่าโพธิ์อีกหลังหนึ่ง มีนามว่า“โรงเรียนสุขุมภิบาลวิทยา” อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 2456 ได้เปลี่ยนชื่อจาก“โรงเรียนสุขุมภิบาล” มาเป็น“โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” อันเป็นนามมงคลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัีว รัชกาลที่ 6 และย้ายออกมาอยู่อาคารเรีัยนหลังใหม่นอกกำแพงวัดด้านใต้ โดยเปิดสอนตั้งแต่ มัธยมปีที่ 1-6 แต่นั้นมา และมีนักเรียนชั้น ม.6 วัดท่าโพธิ์ จำนวน 15 รุ่น(พ.ศ.2464-2478)
พ.ศ.2479 ได้ย้ายจากวัดท่าโพธิ์ ไป ณ.บริเวณสนามหน้าเมืองของบริเวณวัดพระสูง บนเนื้อที่ 8 ไร่
พ.ศ.2519 ได้ย้ายจากบริเวณสนามหน้าเมือง ไปอยู่ที่ 159 หมู่ที่ 3 ถนนนาพรุ-ท่าแพ ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช บนเนื่อที่ 88 ไร่ 1 งาน 89 ตารางวา จนถึงปัจจุยัน
พ.ศ.2520 ได้สร้างรูปเหมือนท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี(ม่วง รตนธโข)
วันที่ 22 กันยายน 2536 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯได้ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และหอสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ผู้ให้กำเนิด””โรงเรียนเบญจมราชูทิศ””และโรงเรียนในจังหวัดภาคใต้ จำนวน 21 โรง
จาก””สนามหน้าเมือง/อาคารป่าสาคู/อาคารคอกไก่ /ค่ายบางระจัน สนามหน้าเมือง””สู่ตำบลโพธิ์เสด็จ””
อาคารเรียนของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ””อาคารยืนยง””อาคารป่าสาคู””ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2510 (ปัจจุบันคือศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร เขต 11 นครศรีธรรมราช) ภาพจากอาจารย์เดชา นุ่นพันธ์/คุณWirat Wattanaerk ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
โรงอาหารยุคเก่า.. สนามหน้าเมือง
ภาพอาคารเรียน””อาคารคอกไก่””ยุคสนามหน้าเมือง “” ถ่ายเมือ พ.ศ.2517
แปลงเกษตรเก่า..ยุคหน้าเมือง
ห้องพักครูเก่า….ยุคหน้าเมือง
ห้องสมุดเก่าของเรา….ยุคหน้าเมือง
วารสารเล่มแรก 2498 และฉบับ 100 ปีของเรา
สนามบาสของเรา….ยุคหน้าเมือง
หอเกีียรติยศสถานที่เก็บประวัติ-เรื่องราว/กิจกรรมของชาวขาว-แดง เพื่ออนุชนรุ่นหลัง
เมื่อเข้ามาในบริเวณโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จะมีหอเกียรติยศ เป็นสถานที่่ๆเก็บเรืองราว ประวัติความเป็นมารวมถึงกิจกรรมด้านต่างๆของนักเรียน/ศิษย์เก่า/ ครูอาจารย์เพื่อสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ด้วยรักและผูกพัน
ด้วยความรักและผูกพันธ์กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศมาไม่น้อยกว่า 48 ปี ปัจจุบันอาจารย์เดชา นุ่มพันธ์ เป็นผู้ดูแลหอเกียรติยศของเราชาวขาว-แดง
ภาพอดีตโรงอาหาร(กองทัพเดินด้วยท้อง)ยุคใสเจริญยุคแรก ภาพอดีตจากอาจารย์เดชา นุ่นพันธ์
บทบาทด้านต่างๆของ(อดีต)นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
บทบาทของ(อดีต)นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศต่อชาติ ศาสน์ กษัติรย์
ตามคำบอกเล่าของ “”ยุวชนทหารจำรัส หนุมาศ “”(และจากหนังสือเหรียญชัยสมรภูมิ จากคุณศิรนทร์ภรณ์(พี่กุ้ง) อัจจิมางกูร “ยุวชนทหารรำลึก คุณวิน เลขะธรรม)ยุวชนทหารจำรัส หนุมาศศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ช่วงปี พ.ศ.2484-2486 เมื่อยามเกิดสงครามเมือสงครามโลกครั้งที่ 2 “”ญีปุ่นบุกท่าแพ”” เมื่อ 8 ธันวาคม 2484 ยุวชนทหารของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้เข้าร่วมสงครามครั้งนั้น โดยได้รับการฝึกหน่วยที่ 55 จำนวน ประมาณ 30-40 คน ชั้นที่เป็นยุวชนมี 3 ชั้น
1.นักเรียนชั้น ม.4 ได้เป็นยุวชนชั้นปีที่ 1
2.นักเรียนชั้น ม.5 ได้เป็นยุวชนชั้นปีที่ 2
3.นักเรียนชั้น ม.6 ได้เป็นยุวชนชั้นปีที่ 3
โดยทำการฝึกที่หน้าอาคาร 1 ใต้ต้นจามจุรี ช่วงบ่ายทุกวัน ยุวชนทหารที่ทำการฝึกจะมีเฉพาะจังหวัดใหญ่ เช่น สงขลา ชุมพร นครศรีธรรมราช เมือสงครามได้เข้าตะลุมบอนกับทหารญี่ปุ่นที่ อนุสาวรีย์วีรไทยจนสงครามยุติและการฝึกยุวชนทหารได้ลอกเลียนแบบอย่งมาจากยุวชนของนาซีเยอรมัน
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ถ่ายภาพกับยุวชนทหารจำรัส หนุมาศ ยุวชนทหารเฉลิม พงศ์วัชร์ ยุวชนทหารดวง พลสิทธิ์ ยุวชนทหารเฟื่อง ไสยวงศ์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552
ภาพอดีต ยุวชนทหารหน่วยฝึกที่ 55 ถ่ายเมือ 8 ธันวาคม 2552 ยุวชนทหารจำรัส หนุมาศ ยุวชนทหารเฉลิม พงศ์วัชร์ ยุวชนทหารดวง พลสิทธิ์ ยุวชนทหารเฟื่อง ไสยวงศ์ ยุวชนทหารวิน เลขะธรรม ภาพจากคุณวาทิต ชาติกุล
ภาพอดีตยุวชนทหารหน่วยการฝึกที่ 55 เบญจมราชูทิศ ยุวชนทหารนิเวส อัจจิทมางกูร ยุวชนทหารเฉลิม พงศ์วัชร์
ภาพยุวชนทหารหน่วยการฝึกที่ 55 เบญจมราชูทิศยุวชนทหารจำรัส หนุมาศ
บัตรประจำตัวยุชนทหาร ภาพจากคุณวาทิต ชาติกุล
บทบาทของ(อดีต)นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศต่อบริบททางการเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์ ศิลป วัฒนธรรม วรรณกรรม
อาจารย์นะมา โสภาพงศ์ นักวิชาการท้องถิ่น/หน้าที่ เป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลปกรรมหนังสือวารสาร””นครศรีธรรมราช””แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม วรรณกรรมและอื่นๆของเมืองคอนมาตั้งแต่เริ่มแรกของวารสารทำให้คนเมืองคอนรู้จักประวัติ””เมืองตัวเอง”มากขึ้น
ขุนพันธรักษ์ราชเดช “”ผู้พิทักสันติราษฎร์เพื่อปวงชน..ที่แท้จริง””
อาจารย์น้อม อุปรมัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเกี่ยวกับประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์/ประเพณีวัฒนธรรมของเมืองนครศรีธรรมราช
นายพ่วง สุวรรณรัฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย
นายดิเรก พรตตะเสน นักวิชาการท้องถิ่น.ที่ค้นคว้าทางประวัติศาสาตร โบราณคดี คติชนวิทยาที่เกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราช
ขุนอาเทศคดี(กลอน มัลลิกะมาส) อัยการ สมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช นักประวัติศาสตร์ท่องถิ่น/ศิลปวัฒนธรรม ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราช(บุคคล 5 แผ่นดิน)
นายอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์(กวีนิพนธ์)
ครูแนบ ทิชินพงศ์ ผูัมีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาจิตกรรมประจำปี 2534
ครูตรึก พฤกษะศรี อาจารย์ภาษาไทย/ นักวรรณกรรม /ศิลปะ /ประวัติศาสตร์
การเรียนดี ฝีมือเก่ง กีฬาเยี่ยม มารยาทยอด
เพื่อการเรียนรู้…สิ่งประดิษฐทางคณิตศาตร์
อัญเชิญมงกุฎ 5 จากอาคารยืนยง ….เพื่อเป็นศิริมงคล..ขวัญกำลังใจยุคหน้าเมือง
วงโยทวาทิต……ใช้ชุดลูกเสือเท่านั้น
เวียนเทียน ณ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร
ไหว้ครู..บูชาอาจารย์…..ณ ห้องประชุมยุคหน้าเมือง
แถว……กีฬานักเรียน เดินไปๆ……… สนามกีฬาจังหวัด
ร่วมงานประเพณีงานเดือนสิบ ณ สนามหน้าเมือง
จิตอาสาและจิตสาธารณะด้วยกิจกรรม…ลูกเสือของเรา
การแสดงงานศิลปของโรงเรียน…ยุคสนามหน้าเมือง
ณ..ปัจจุบันบ้านใสเจริญ
ภาพอดีตเมืองคอน-บ้านบริเวณบ้านยวลแหล ต.โพธิ์เสด็จ นครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2442 เมื่อคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองคอน ภาพจากหนังสือ สารนครศรีธรรมราช/พร้อมรำลึก พร้อม ณ นคร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณโรงเลื่อยจักรบ้านตาล ถนนนครศรี-ลานสกา ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ภาพจาก แกะคอลแลคชั่น ในงานบำเพ็ญกุศลและบรรจุศพ นายแกะ ธรรมสุนทร 19 มกราคม 2535 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามหาชัยหมู่ที่4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรรมราช โดยช่วงแรกได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชใน พ.ศ.2500(ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2448 โดยใช้กุฏิของพระวัดท่าโพธิ์เป็นสถานที่เรียนมีนักเรียนฝึกหัดครูรุ่นแรก22คนและทำการสอนชั่วคราวที่อาคารห้องสมุดประชาชนสนามหน้าเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนที่อยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน) ยกระดับฐานะเป็น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์2512 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏพ.ศ.2538 วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2547 สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ณ ที่แห่งนี้คือแหล่งหนึ่งที่ก่อเกิดเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองคอน ก่อเกิด วิชาการ การค้นคว้าเกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราชในอดีตรวมทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมและด้านอื่นๆของเมืองนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการสำรวจตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากสารนครศรีธรรมราชและคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพดร.ก่อ สวัสดีพาณิชย์ รมว.กระทรวงศึกษาธิการและครูน้อม อุปรมัย ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช เมือ 14 กันยายน 2501 ภาพจากอาจารย์เดชา นุ่นพันธ์,นางสาวภัทธดา รอบคอบ หอเกี่ยรติยศและสมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช
ภาพอดีต นักศีักษาโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช รุ่นแรกยุคสนามหน้าเมือง ภาพจากอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
อาคารเรียนช่วงสมัยโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช
เอกลักษณ์……….ไทยๆ ณ.เชิงเขามหาชัย
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณสิริธงไชย อดิเทพสถิตย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2509 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2509
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2509
กองทัพเดินด้วยท้อง ณ โรงอาหารยุคต้นโรงเรียนผึกหัดครูนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2509
ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้เชิงเขามหาชัย
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2509
เหนื่อยหนัก………พักสักหน่อย
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2509
สู่วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2530
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพนักศึกษาวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชถ่าย ณ หน้าอาคารบริเวณเชิงเขามหาชัย เมือ พ.ศ.2530 ภาพอดีตจาก รวมเรืองเก่าที่เขามหาชัย
รวมพลัง…สามัคคี
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2530
กองทัพ……ยังต้องเดินด้วยท้อง
เรียนๆๆ….แล้วก็เรียน
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2530
สู่สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2538
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช “”ศรัทธามหาชัย 50″” ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ต่างช่วงสมัย
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
พระพุทธสิหิงค์มิ่งมหาชัย ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2558
อาคารทันสมัย ณ.เชิงเขามหาชัย
ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ขอขอบคุณ
สารนครศรีธรรมราช
คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
คุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี
100 ปี เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช จากอาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล
วันเบญจมราชูทิศ 10 กรกฎาคม ผ่าน 111 ปี ความภูมิใจชาวขาว-แดง/ภาพชาวขาว-แดง จากอาจารย์เดชา นุ่นพันธ์
คุณชวลิต อังวิทยาธร
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
คุณWirat Wattanaerk เบญจมราชูทิศ
คุณjiraporn kanchna เบญจมราชูทิศ
รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมรราช ครั้งที่ 1/ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาคใต้ /จากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
คุณสืริธงไชย อดิเทพสถิตย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คุณประชุมพร(หมอเล็ก)-คุณศิรนทร์ภรณ์(พี่กุ้ง) อัจจิมางกูร
คุณวาทิต ชาติกุล
อนุสรณ์งานฌาปนกิจนายนะมา โสภาพงศ์
ที่ระลึก พ่วง สุวรรณรัฐ
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนอาเทศ
จากน้อมรำลึก
คุณประวัติ ภิรมกาญจน์
คุณอรรถ ศิริรักษ์
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
คุณธวัลรัตน์ แซ่ใช้
หนังสือ “แกะคอลแลคชั่น”
อนุสรณ์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไในในการพระราชทานเพลิงศพนายอังคาร กั้ลยาณพงศ์ 27 มกราคม 2556
อดีต คือรากฐานของปัจจุบัน ชื่นชมและชื่นชอบครับ นิธิพัฒน์
ขอบคุณครับ
เป็นสถานที่ดี และกำลังจะเปิดน่าจะมีคนสนใจไป แต่ คน
พนักงานขี้ขโมย ลักของนักท่องเที่ยวร้าน ขนมจีนพนักงานหญิง 2 ท่าน
ครวตรวจสอบด่วน