วิสาขบูชา/วันพระใหญ่ ที่เมืองคอน.2558

มิ.ย. 01

วิสาขบูชา/วันพระใหญ่ ที่เมืองคอน.2558

         จากหลักฐาน ที่มีร่องรอยที่ได้รับเอาพระพุทธศาสนาของกรุงธรรมราชปุระ(นครศรีธรรมราชโบราณ) ได้รับเอาคำสังสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ราวประมาณ พ.ศ.273 โดยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งประเทศอินเดีย ได้ส่งพระธรรมทูตสองพี่น้อง มีพระอุตตรเถระ กับพระโสณะเถระ เป็นหัวหน้าการเผยแพร่ศาสนาพุทธมาถึงกรุงธรรมราชปุระ และค่อยๆหยี่งรากลงลึก ยุคทองของพุทธศานาในช่วง พุทธศตวรรษที่ 10 – 18 และยังคงความรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน   และหลักฐานที่สำคัญที่แสดงถึงความเจริญ/ความศรัทธาสูงสุดทางพระพุทธศานาของกรุงธรรมปุระคือการสร้างพระเจดีย์เพื่อครอบพระทันธาตุ(พระเขี้วแก้ว กรามซ้ายบน) ณ.บริเวณหาดทรายแก้ว โดยมีเมืองทางพุทธศานาจำนวน 12 เมือง ได้ร่วมกันสร้าง-และซ่อมแซมให้คงอยู่คู่กับเมืองพุทธศาสนาด้วยความศัทธา มาเป็นระยะๆจวบจนปัจจุบัน              พระธาตุ copy

        เอื้อเฟื้อภาพจากคุณวาทิต ชาติกุล 

            จากการที่ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองในกรุงธรรมปุระและเมือง 12 นักษัติย์ ทำให้ก่อเกิดความเป็นอยู่ที่มีความร่มเย็น ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมที่สืบเนืองจากศาสนามาอย่างมากมาย              

            <วันวิสาขบูชา> เป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพุทธสานิกชน เป็นตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖  ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพาน ในวันเดียวกันของพระพุทธเจ้า       

             วันวิสาขบูชา”วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ด้วยเหตุตามที่กล่าวมา วันวิสาขบูชา จึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อถึงวันเช่นนี้    

              ชาวกรุงธรรมปุระถ้วนหน้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมใจกันน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า ประกอบพิธีบูชาด้วยการปฏิบัติโดยนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตด้วยความเคารพเป็นอย่างยิ่ง

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา/วันพระใหญ่

ทำบุญตักบาตร

ตักบาตร1 copy

เอื้อเฟื้อภาพจากคุณวาทิต ชาติกุล

แห่ผ้าขึ้นธาตุ

แห่ผ้าขึ้นธาตุ copy

เอื้อเฟื้อภาพจากคุณวาทิต ชาติกุล

เวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์

เวียนเทียน copy

เพื่อเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชาโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช/มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช/สถานศึกษาได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ประวัติและเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของวันวิสาขบูชา และมีอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตรวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชและนักศึกษาได้ร่วมกิจกรรมในวาระดังกล่าว ณ ศาลาประชาคมโรงละครองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช สนามหน้าเมือง

SAM_0771 copy

SAM_0574 copy

SAM_0773 copy

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า ”สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”

SAM_0613 copy 2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย SAM_0616 copy ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

<ทุกข์> คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

<สมุทัย> คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก “ตัณหา” อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

<นิโรธ> คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

<มรรค> คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ

3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

SAM_0623 copy เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึงการบำเพ็ญบารม่ใน 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ 

เตมิยชาดก  ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี – เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามพระโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง 5 SAM_0593 copy ชนกชาดก ชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี – มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี SAM_0595 copy สุวรรณสามชาดก ชาติที่ 3 เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี – สุวรรณสามชาดก (สุ) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี SAM_0597 copy เนมิราชชาดก ชาติที่ 4 เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี – เนมิราชชาดก (เน) เป็นชาติที่ 4 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลีนำทิพยรถมารับไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับและเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี SAM_0599 copy มโหสถชาดก ชาติที่ 5 เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี SAM_0602 copy ภูริทัตชาดก ชาติที่ 6 เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี SAM_0604 copy จันทชาดก ชาติที่ 7 เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี SAM_0606 copy นารทชาดก ชาติที่ 8 เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี SAM_0608 copy วิทูรชาดก ชาติที่ 9 เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี SAM_0610 copy เวสสันดรชาดำ ชาติที่ 10 เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร SAM_0611 copy

รวม copy
SAM_0779

กิจกรรมประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชา โต๊ะหมู่ copy ประกวดป้ายส่งเสริมคุณ.ธรรมความดีสากล 5 ประการ SAM_0625 copy   SAM_0627 copy ประกวดการจัดนิทรรศการ SAM_0629 copy   SAM_0631 copy   SAM_0636 copy  การแข่งขันวาดภาพ “พุทธประวัติ”  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธประวัติ1 copy ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธประวัติ2 copy ผู้ส่งพุทธประวัติ copy

กว่าจะสำเร็จต้องมีความมุ่งมั่นและศรัทธา

ร่างแบบ/

ร่างแบบ copy

แบบร่าง copy

แกะ/

แกะ copy

วาด

วาด copy

ตกแต่ง

ประกอบภาพ2 copy

ลงสี/

ลงสี copy

ประกอบ/องค์ประกอบ

ทากาว copy

ประกอบภาพ copy

 

องค์ประกอบภาพ copy

อ2 copy

ขอขอบคุณ

รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 /6 ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาพใต้ มอบโดยคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

บทความคำบรรยายอบรมมัคุเทศน์นักเรียน ณ วัดพระนคร โดยอาจารย์ชาลี ศิลปรัศมี

ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย โดยคุณธรรมทาส พานิช มอบโดยคุณยูถิกา พันธรังษี

อาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

คุณวิริยะ ชอบกตัญญู /คุณพงษ์พัฒน์ บุญอุ้ม /คุณศิวกร บัวทอง/ คุณศรายุทธ พาตุบุตร

คุณปรีชา จักราพงศ์/คุณอรรพงศ์ ดุลย์เภรี/คุณธีรยุทธ แซ่ไหน/คุณสมศักดิ์ จักราพงศ์

คุณวาทิต ชาติกุล

เวปกะปุก.com /วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>