กรุงธรรมราชปุระ/ตามพรลิงค์/นครดอนพระ(นครศรีธรรมราชมหานคร)กับพระพุทธศาสนา

พ.ค. 27

กรุงธรรมราชปุระ/ตามพรลิงค์/นครดอนพระ(นครศรีธรรมราชมหานคร)กับพระพุทธศาสนา

เจดีย์ซ้อน2 copy

ภาพพระบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกาและทรงศรีวิชัย(ยุคศรีวิชัย พ.ศ.1300)ภาพจากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์  ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ถ่าย ในงานประเพณีมาฆะบูชา เมื่อ ปี พ.ศ.2530 และภาพจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาหัวอิฐ

“”ประวัติชาติไทยมิได้เริ่มต้นที่สุโขทัย ดังนั้นประวัติศาสตร์ชาติไทยจึงจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ ให้ถูกต้อง ทันสมัย”"ข้อความจากเมืองนครศรีธรรมราชมหานคร สิ้นสุดตามพรลิงค์ ตั้งต้นชาวเสียม โดยประทุม ชุ่มเพ็งพันธ์ุ

เมือง ตามพรลิงค์คือเมืองที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายๆด้านที่เป็นแนวต้นแบบ ที่สำคัญแห่งหนึ่ง/ ยุคหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการก่อเกิดประเทศสยามและประเทศไทย…..

 ธรรมปุระมหานคร/ตามพรลิงค์คือหนึ่งมหานคร เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดประเทศสยามและประเทศไทย  เป็นที่น่าเสียดายที่หลักฐาน/เอกสารทางประวัติศาสตรช่วงก่อนปีพุทธศตวรรษที่ 15 ได้ถูกทำลายจากธรรมชาติและจากน้ำมือของ”คน” ที่ยังคงเหลืออยู่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การก่อกำเนิดของอาณาจักรตามพรลิงค์ส่วนนี้ หลงเหลืออยู่ในธรรมชาติและอยู่ต่างบ้านต่างเมืองได้บันทึกไว้โดยชาวต่างชาติที่เคยทำการค้าทางทะเลกับมหานครตามพรลิงค์ ที่รอดพ้นจากการถูกทำลาย ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจและศึกษาและมีอย่างหนึ่ง สังคมไทยมีวัฒนธรรม”"”ตามก้นฝรั่ง”"”ไม่เชื่อในประวัติศาสตร์ตัวเองความเป็นมาของตัวเอง จึงทำให้ประวัติศาตร์ชาติไทยตั้งแต่ยุคแรกเริ่มได้หายไปอย่างน่าสมเพชและน่าเสียดาย

ตามหลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ พร้อมทั้งเอกสารของชาวต่างประเทศที่ยังคงเหลือให้สืบค้นของประเทศที่เคยมาติดต่อค้าขายและนำเอาวัฒนธรรม/ศาสนาเข้ามาที่แต่ละประเทศ เช่นอินเดีย/ศรีลังกา/จีนและชาติอื่นๆในยุโรป พร้อมทั้ังตำนานพระบรมธาตุ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ศาสนาพุทธบริสุทธ์ิเข้ามาช่วงหลัังจากพระอโศกมหาราชได้มีการสังคยนา ครั้งที่ 3 เมือ พ.ศ.234 และได้มีพระสงฆ์เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาประมาณ พ.ศ.237 รุ่งเรืองสูงสุดถึงช่วงประมาณ พ.ศ.500 ศาสนาพุทธได้มีนิกายมหายาน เจริญสูงสุดตั้งแต่ช่วง พ.ศ.1100-ช่วง พ.ศ.1600 และช่วงประมาณ พ.ศ.1,600-1700  เมืองนครศรีธรรมราช และเจริญสูงสุดจน ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระพุทธศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ เนื่องจากเมืองนครศรีธรรมราชมีศูนย์พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ หลังจากลัทธิลังกาวงศ์ได้เผยแพร่มาสู่นครศรีธรรมราชมาก่อนอย่างมั่นคง แล้วจึงได้แพร่หลายไปสู่อาณาจักรอื่นๆ เช่น สุโขทัย ล้านนา ในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชทุกยุคทุกสมัย ทรงเป็น”พุทธศาสนูปถัมภก” ที่เอาใจใสทำนุบำรุงพระศาสนา ทำให้่ผู้ครองนคร จึงได้ชื่อว่า”"พระเจ้าศรีธรรมโศกราช”"และในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรภาณุ ได้ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกา ครอบองค์เดิมซึ่งเป็นศิลปศรีวิชัย

ในอดีตประเทศหรือผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศเหล่านี้เช่น ศรีลังกา/พม่า/ไทย(รวมถึงเมืองนครศรีธรรมราช)/ลาว ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการและตามโรงเรียน เพื่อพุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ต่อมาประเทศไทยได้ยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ในประเทศศรีลังกายังถือปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน

สำหร้บ เมืองนครศรีธรรมราช ยังมีร้านอยู่ร้านหนึ่งที่ยังคงเหลือที่ถือปฏิบัติอยู่ คือหยุดขายในวันพระ คือร้านป้าณี โภชนา(คุณสุภาพ ทิชินพงศ์) ตั้งอยู่ถนนพานยม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 

หยุดทุกวันพระ copy

พระบรมธาตุเจดีย์คือหลักฐานทางโบราณวัตถุ/โบราณคดี ที่ก่อสร้างขึ้นในยุคที่ศาสนาพุทธมีความเจริญสูงสุด ที่นำหลักพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่  แนวปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวอาณาจักร กรุงธรรมราชปุระ/ตามพรลิงค์/นครดอนพระ(นครศรีธรรมราชมหานคร)สืบมาถึงปัจจุบัน

S__21094435-700x518 copy

พระบรมธาตุเจดีย์ ถ่ายประมาณปี 2447 ช่วงรับเสด็จฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช ภาพจาก ถอดรหัส พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์  ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)

“ธรรมราชปุระ”กรุงธรรมราชปุระ เมืองโพธิราช หมายถึงเมืองที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำเมืองหรืออาณาจักร  พระราชาปกครองเมืองด้วยความเป็นธรรม ประชาราษฏร์อยู่ด้วยความสันติสุข มีศิลธรรม การปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธองค์ได้เข้าสู่วิถีชีวิตประจำวัน เป็นพื่นฐานของชีวิต ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรม /ประเพณี จนได้ชื่อเมืองแห่ง”ธรรมราชปุระ”ที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงที่สุด

“ศรีโพธิ์” หมายถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือการตรัสรู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ “โพธิราช”พระราชาผู้ทรงธรรมปกครอง ปกป้องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง 

สัญญาลักษณ์ของศาสนาดั้งเดิม เป็นรูปเคารพนิมิต น่าจะมี 3 ประเภท

1.ใช้ดอกบัวเป็นสัญญาลักษณ์องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า 

ดอกบัวหลวง

2.วงล้อหรือธรรมจักร หมายถึง พระธรรมรัตน หรือธรรมจักรคือวงล้อแห่งธรรม มีมาตั้งแต่ครั้งทรงแสดงประฐมเทศนาอันมีชื่อว่า”ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร” ก่อนปีเกิด พ.ศ.45 ปี และมาปรากฏในสุวรรณภูมิ ช่วง พ.ศ.218-500

Picture 1046945

ภาพจากวารสารพุทธสาสนา คณะธรรมธาน

3. ต้นพระศรีมหาโพธิ เมืองใดที่มีพุทธศาสนาสูงสุดจะต้องอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์มาประดิษฐาน ณ เมืองนั้น กรุงธรรมราชปุระมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่แตกหน่อมาจนถึงปัจจุบัน

3.1ที่วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร

พระศรีมหาโพธิ์ copy

ใบพระศรีมหาโพธิ์ copy

3.2 ที่วัดโพธิ์เสด็จ ซึ่งเดิมเป็นที่พักตอนนำต้นพระศรีมหาโพธิ์มายังเมืองตามพรลิงค์ เพื่อปลูกหลังจากสร้างพระบรมธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์วัดโพธิ์เสด็จ copy

เมืองที่มีร่องรอยว่าเป็นเมืองที่ได้รับเอาพระพุทธสาสนาและทำหน้าที่เผยแพ่พระพุทธศาสนามาตั้งแต่ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมารยวงศ์ คือ

1.กรุงธรรมราชปุระ (คือเมืองนครศรีธรรมราช)

2.กรุงสุวรรณปุระ(คือเมืองไชยา) 

จากการที่ เมืองตามพรลิงค์ ธรรมราชปุระ นครดอนพระ นครปาตลีบุตร เดิมพลเมืองมีศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่พลเมืองเคารพนับถือ  จะเห็นโบราณสถานโบราณวัตถุที่ยังคงเหลือแบบปูพรมของ”ตีรถะ”ในกลุ่มมัณฑละอันศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และมีศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นที่เคารพนับถือคู่กัน และได้เปลี่ยนมาเป็นศาสนาพุทธสิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ก่อให้เกิดสังคม/ประเพณีแบบใหม่และศานาสถาน โดยการสร้างวัดมาตั้งแต่ยุคต้นพุทธศตวรรษ  หลักฐานยืนยันที่แสดงให้เห็นว่า เมืองตามพรลิงค์ /ธรรมราชปุระ/ นครดอนพระ เป็นเมืองพระ พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธามีการสร้างวัดวาอยู่มากมาย ที่ยังคงเหลือและ ที่พังทะลายไปตามกฎไตรลักษณ์และสรรสร้าง บูรณะ ที่ยังคงเหลือพอสืบเค้าให้เห็นเป็นจำนวนมากแบบปูพรม ในเขตเทศบาลและใกล้เคียงพอสืบค้นสรุปได้คือ

1.วัดลุ่ม วัดร้าง ตั้งอยู่ที่สนามบินค่ายวชิราวุธ ทภ.4

2.วัดบ่อกลม วัดร้าง เดิมตั้งอยู่ที่สนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช

3.วัดกุฎิ(ป่าสุด/วัดป่าทุ) วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนอำมาตย์พิยานุสรณ์

4.วัดชุมแสง วัดร้าง  ปัจจุบันเป็นช่วงตรงข้ามสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช/วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

5.วัดประตูโกบ วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานทีตั้งวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราชตอนใต้

6.วัดแจ้งวรวิหาร วัดที่มีพระสงฆ์อยู่ 

Picture 1046963 copy

7.วัดประดู่พัฒนาราม วัดมีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046962 copy

8.วัดมะขามชุม วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา(อนุบาล)

9.วัดหนองบัว มีพระสงฆ์อยู่

10.วัดโมฬี วัดร้าง ปัจจุบันรวมกันกับวัดชะเมา

11.วัดสมิตฐาน วัดร้าง ตั้งอยู่ที่ฌาปนสถานวัดชะเมา ปัจจุบันรวมกันกับวัดชะเมา

12.วัดประตูเขียน วัดร้าง บางส่วนของวัดชะเมาด้านตะวันออกปัจจุบันรวมกันกับวัดชะเมา

13.วัดชะเมา มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046961 copy

14.วัดใหญ่ชัยมงคล มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046960 copy

15.วัดท่าโพธิ์ใหม่ (วังเจ้าพระยานครพัฒน์)ปัจจุบันคือวัดท่าโพธิ์มหาวิหาร  มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046970 copy

16.วัดท่าโพธิ์เก่า วัดร้าง ตั้งอยู่บริเวณของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์

17.วัดโพธิ์ วัดร้าง ปัจจุบันรวมกันกับวัดจันทาราม

18.วัดจันทาราม มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046959 copy

19.วัดเท วัดร้าง ปัจจุบันบริเวณหน้าสถานีรถไฟ(ที่โรงกลึงศรีทวี)ตรงข้ามวัดศรีทวี(วัดท่ามอญ)

20.วัดท่ามอญ(ศรีทวี) มีพระสงฆ์อยู่Picture 1046969 copy

21.วัดโพธิ์มอญ วัดร้าง ปุัจจุบันคือบริเวณชุมชนบ้านนอกโคกหน้าสถานีรถไฟด้านทิศเหนือ

22.วัดคิด วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณถนนวัดคิดหลังธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขาท่าวัง/ปั้มเชลล์

23.วัดชมภูพล วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณถนนชมภูพล ข้างโรงแรมทักษิณ/สหไทยสรรพสินค้า

24.วัดสมิท วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณวิกหนังอินทรา ถึงถนนเนรมิต

25.วัดสำฤทธิ์ วัดร้าง ปัจจุบันคืออาคารพาณิชด้านหลังโรงแรมไทยโฮเต็ล

26.วัดเสาธงทอง มีพระสงฆ์อยู่

P1000409 copy

พระพุทธสิหิงค์ พระประธานวัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

27.วัดวังตะวันตก  เดิมเป็นวังของหม่อม ในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046956 copy

28.วัดสำรอ วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณด้านหลังวัดบูรณาราม

29.วัดบูรณาราม มีพระสงฆ์อยู่ 

Picture 1046958 copy

30.วัดวังตะวันออก เดิมเป็นวังของหม่อม ในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046957 copy

 31.วัดพระเงิน วัดร้าง ตั้งอยู่ที่สวนพระเงินบริเวณข้างเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช

32.วัดเจดีย์ยักษ์(วัดเสมาเงิน) วัดร้าง อยู่บริวเวณเจดีย์ยักษ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

33.วัดประตู วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณด้านตะวันตกกุโบว์อิสลาม

34.วัดหูน้ำ วัดร้าง ปัจจุบันคือยริเวณสุสานคริสเตียน /ตลาดคลองทา/คิวรถตู้ประจำนครศรีธรรมราช

35.วัดเสามาทอง (วัดมเหยงค์) ตั้งอยู่บริเวณตลาดเสมาทอง ปัจจุบัน คือวัดมเหยงค์ มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046955 copy

36.วัดท่าช้าง วัดร้าง ปัจจุบันคือที่ตั้งกองกำกับตำรวจภูธรนครศรีธรรมราชและสุเหร่าฮุดลาดีน ตลาดแขก 37.วัดหัวอิฐ มีพระสงฆ์อยู่

P1000500 copy

พระประจำวัดหัวอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

38.วัดโพธิ์เสด็็จ มีพระสงฆ์อยู่ สร้างมาตั้งแต่ เมืองมีชื่อว่า เมืองไสเลนก่อนจะมาเป็นเมืองตามพรลิงค์

P1000465 copy

พระประจำวัดโพธิเสด็จ ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช

39.วัดพระวิหารสูง วัดร้าง ปัจจุบันคือ บริเวณหอพระสูง โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

40.วัดชายตัง วัดร้าง ปัจจุบันคือศูนย์สื่อสารกระทรวงมหาดไทยเยืองพระสูงไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ

41.วัดล่าง วัดร้าง ปัจจุบันคือโรงละครแห่งชาติ สนามหน้าเมือง

42.วัดประตูขาว วัดร้าง ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาล ณ นครอุทิศ

43.วัดสารีบุตร วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณซอยสารีบุตร

44.วัดสระเกศ วัดร้าง ปัจจุบันคือ บริเวณจวนผู้ว่้าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

45.วัดมุมป้อม มีพระสงฆ์อยู่Picture 1046968 copy 

46.วัดหน้าพระคลัง วััดร้าง  ตั้งอยู่ที่ บ้านพักนายอำเภอ/บ้านพักอธิบดีศาล ตรงข้ามโรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง

47.วัดเสมาชัย วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนเทศลาลวัดเสมาเมือง

48.วัดเสมาเมือง มีพระสงฆ์อยู่ 

Picture 1046954 copy

49.วัดป่าขอม(นอก)วัดร้าง ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนจรัสพิชากร

50.วัดป่าขอม(ใน) วัดร้างตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนจรัสพิชากร

51.วัดบุญนารอบ มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046967 copy

52.วัดสวนป่าน มีพระสงฆ์อยู่ 

Picture 1046953 copy

53.วัดโรงช้าง วัดร้าง  ตั้งอยู่ที่ทำการสัตว์แพทย์ยังหวัด /ที่ติดกำแพงศาลากลางทางทิศใต้

54.วัดสะพานยม วัดร้าง ปัจจุบันคือ บริเวณสะพานยม

55.วัดดิงดง วัดร้าง ปัจจุบันคือบริเวณถนนพานยม/ซอยดิ่งดง

56.วัดธารามา วัดร้าง อยู่ระหว่างวัดดิ่งดงกับวัดสระเรียง ซอบธารามา

57.วัดศรีธรรมาวดี วัดร้าง ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดสระเรียง

58.วัดสระเรียง มีพระสงฆ์อยู่ 

Picture 1046952 copy

59.วัดสิงห์ วัดร้าง ตั้งอยู่ที่ หน้าวัดพระบรมธาตุติดกำแพงวัดสระเรียงด้านทิศใต้อยู่ระหว่างวัดสระเรียงกับวัดหน้าพระบรมธาตุ

60.วัดหน้าพระบรมธาตุ มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046951 copy

61.วัดประตูลัก วัดร้าง ตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของวัดหน้าพระบรมธาตุ ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดหน้าพระบรมธาตุ

62.วัดไตรลักษณ์ วัดร้าง ตั้งอยู่ที่ติดกับวัดหน้าพระบรมธาตุด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวัดหน้าพระบรมธาตุ

63.วัดราหู วัดร้าง ตั้งอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของวัดหน้าพระบรมธาตุ ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดหน้าพระบรมธาตุ

64.วัดมังคุด วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ

65.วัดพระเดิม วัดร้าง ตั้งอยู่บริเวณวิหารพระนอนข้างศาลา 100 ปี ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร

66.วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร  มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046950 copy

67.วัดแม่ชี วัดร้าง บริเวณด้านหลังโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ

68.วัดพระนคร มีพระสงฆ์อยู่

P1000425 copy

พระประจำวัดพระนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

69.วัดหลังพระ วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสุเหร่า บริเวณสามแยกถนนหลังวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร

70.วัดชายคลอง(วัดชลเฉนียน) มีพระสงฆ์อยู่

P1000430 copy

พระประธานวัดชายคลอง อำเภอเมือง จังหวีดนครศรีธรรมราช

71.วัดหน้าพระลาน มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046966 copy

72.วัดหัวท่า วัดร้าง ตั้งอยู่บริเวณบ้านหัวท่า

73.วัดสระโพธิ์  วัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตลาดจ่ายสี่แยกประตูใชยใต้

74.วัดศรภ (สพ)วัดร้าง ตั้งอยู่ทางทิศใตัของวัดท้าวโคตร ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดท้าวโคตร

75.วัดธาราวดี(วัดไฟไหม้)  วัดร้าง ตั้งอยู่ที่ติดกับวัดท้่าวโคตรด้านทิศเหนือ  ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดท้าวโคตร

76.วัดวา วัดร้าง ปัจจุบันได้รวมกันกับวัดท้าวโคตร

77.วัดประตูทอง  วัดร้าง ตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกถนนราชดำเนิน ระหว่างปากตรอกวัดโคกธาตุกับสะพานป่าเหล้า

78.วัดท้าวโคตร มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046949 copy

79.วัดโคกธาตุ มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046965 copy

80.วัดชายนา. เป็นส่วนหนึ่งของวัดท้าวโคตร ได้แยกไปตั้งใหม่ปัจจุบันคือวัดชายนา มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046964 copy

81.วัดหอไตรย์ วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของวิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช

82.วัดสวนหลวง ตะวันตกเดิมคือสวนหลวงของวังของเมืองพระเวียงในอดีต ปัจจุบันคือวัดสวนหลวง

Picture 1046948 copy

83.วัดสวนหลวงตะวันออก วัดร้าง เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวังเมืองพระเวียง ปัจจุบันคือ เป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตนครศรีธรรมราช

84.วัดพระเสด็จ วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาต สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 8

85.วัดบ่อโพง วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

86.วัดกุฎิ วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

87.วัดเพชรจริกตะวันออก วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานีผสมเทียม(ปศุสัตว์)จังหวัดนครศรีธรรมราช

88.วัดเพชรจริกตะวันตก  มีพระสงฆ์อยู่ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดเพชรจริก

Picture 1046947 copy

89.วัดพระเวียงตะวันตก วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านเด็ก ศรีธรรมราช

90.วัดพระเวียงตะวันออก วัดร้าง ปัจจุบันเป็นปั้มน้ำมัน /ที่อาศัยของประชาชน

91.วัดคอกวัว วัดร้าง ตั้งอยู่ที่บ้านพักตำรวจ ตำบลศาลามีชัย

92.วัดคูพาย(เดิม) วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช

93.วัดศาลามีชัย มีพระสงฆ์อยู่

Picture 1046946 copy

94.วัดเจดีย์เอน วัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของปั้มน้ำมัน ปตท.หัวถนน

95.วัดคูพายใหม่ ถนนพัฒนาการคูขวาง มีพระสงฆ์อยู่

P1000448 copy

พระประธานวัดคูพาย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

และวัดที่อดีตเคยอยู่ในย่านชุมชนของเมือง ของตามพรลิงค์/เมืองพระเวียง/เมืองธรรมราชปุระ/นครดอนพระซึ่งอยู่ในไม่ห่างไกลจากพระบรมธาตุเจดีย์ตามประวัติแล้วเป็นวัดที่สร้างมาจากยุคโบราณ

1.วัดมะม่วงสองต้น วัดร้าง ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้ง อบจ.มะม่วงสองต้น

2.วัดเตาปูน เคยเป็นวัดร้างและได้ฟื้นฟู บูรณขึ้นมาใหม่

3.วัดนาสน

4.วัดมะม่วงตลอด

5.วัดราชประดิษฐ์

6.วัดหว้ายาน(หว้าเทียน)

7.วัดมะม่วงขาว

8.วัดช่องอำไพ วัดร้าง อยู่ใกล้วัดมะม่วงขาว ปัจจุบันมีเฉพาะที่นาให้ราษฎรเช่าทำกิน

9.วัดค้นนาราม(วัดหัวนา)

10.วัดหนองแตน

11.วัดวังวัว วัดร้าง อยู่ตรงข้ามฝั่งตะวันออกของวัดหนองแตน

12.วัดพระเพรง

13.วัดพระเขียน

14.วัดน้ำรอบ

15.วัดนาคู วัดร้าง

16.วัดกัด

17.วัดทุลัง(วัดประตูคลัง)

18.วัดทุ่งแย้

 

ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจและจากสถานที่ ต่างๆ พร้อมทั้งผู้ให้ข้อมูลจากเอกสาร,บุคคล ที่นำ มาเผยแพร่ ความเป็นมาของพุทธศาสนาพุทธที่เข้ามาในเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อเป็น””พุทธบูชา””ต่อองค์พระศาสดา

ขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ เจ้ากรรมนายเวรและบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อ การเผยแพร่
ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้น แล
ในนามของคณะผู้จัดทำ
นายโกมล พันธรังษีและครอบครัว“พันธรังษี”

ขอขอบพระคุณ/เอกสารจาก

อาจารย์แนบ ทิชินพงศ์/คุณพยอม ปิดชิดร้านคนสร้างภาพ/คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)ถ่ายภาพ/คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร

คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ เมืองนครศรีธรรมราชมหานคร/สวัสดีตามพรลิงค์/ตามพรลิงค์ วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คุณ ยูถิกา พันธรังษี มอบหนังสือของคุณธรรมทาส พานิช ประวัติศาสตร์ ไชยา นครศรีธรรมราช/ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย/ประวัติศาสตร์สมัยศรีวิชัย ภาคศรีโพธิ พ.ศ.100-1450

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช :พัฒนาการของรัฐบนคาบสมุทธไทยในพุทธศตวรรษที่ 11 – 19  นายปรีชา นุ่นสุข  สรรหามาให้โดยคุณจิรัญดา สุขเนาว์/คุณอนุสรณ์ จันทร์ช่วย/คุณปุณิกา พันธรังษี

โดยไทยสะกอ พระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ/คุณฉันทิพย์ พันธรักราชเดช

คุณอำนวย ทองทะวัย มอบหนังสือรายการการสัมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 /5 /6

รายงานการวิจัยเรือง การศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทย  ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา นุ่นสุข  คุณอำนวย ทองทะวัย อนุเคราะห์ให้ศึกษา 

คุณดิเรก พรตตะเสน ประวัติศาสตร์และโบราณคดี นครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราชโดย วิเชียร ณ นคร/สมพุทธ ธุรเจน/ชวนเพชรแก้ว/ฉัตรชัย ศุกรกาญจน์/ปรีชา นุ่นสุข มอบให้โดยคุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรรินทร์ร้านข้าวมันไก่เมืองตรัง

คุณประวัติ ภิรมกาญจน์/คุนสถาพร พฤกษะศรี/คุณโชคชัย สุดสาย

ราชวงศ์สยาม โดยแสงเทียน ศรัทธาไทย

สารนครศรีธรรมราช

คุณเฉลิม จิตรามาศ

คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก)/คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณอัจจิมา  เชตวรรณ/คุณวาทิต ชาติกุล/คุณอรรถ ศิริรักษ์

อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัยและศรีธรรมราชมหานคร(เมือง 12 นักษัตร) สำนักงานการท่่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช

หนังสือพระประธานประจำวัดสิริวัฒนมงคลแห่งนครศรีธรรมราช

www.surin.ru.ac.th

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>