“เดือน ๕ สงกรานต์งานวัดแต่แรกของเมืองคอน” ๑๑-๑๓ เมษายน ปี ๒๕๖๐
เม.ย. 17
ภาพ”สงกรานต์ ลานพระบรมธาตุ”เจดีย์ทราย ถ่ายโดยคุณยูถิกา พันธรังษี
“พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช คือมรดกของคนไทย ชาวพุทธและชาวเมืองคอน ที่แสดงถึงความเป็นอารยะมาแต่โบราณกาล”
เพราะเหตุแห่งนี่เมืองคอนจึงก่อเกิดขนบธรรมเนียม-ประเพณี ที่สืบเนื่องจากการมีพระพุทธศาสนา ที่มีพระบรมธาตุเจดีย์ที่ประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วอย่างมากมาย ที่แสดงถึงความกตัญญู การสร้างอาชีพ การมีวิถีแห่งการดำรงชีพ การมีศิลป การมีประเพณี การมีวัฒนธรรมต่างๆ อันยาวนาน และมีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีต บางอย่างยังคงดำรงอยู่ บางอย่างเริ่มเลือนหายไป
ในปีนี้ ได้มีคณะทำงานนำโดยคุณเฉลิม จิตรามาศ คุณวันพระ สืบสกุลจินดา คุณจรัญ อินทมุสิกและอีกหลายๆท่านได้พยายามสืบค้น เกี่ยวกับประเพณีที่เริ่มเลือยหายไปคือประเพณี”เดือน๕สงกรานต์งานวัดแต่แรก” ที่มีการอัญเชิญพระพุทธสิหงค์ ขึ้นเบญจาเพื่อสงน้ำ ณ ลานวัดพระบรมธาตุ มีการก่อเจดีย์ทราย แต่งกายแบบย้อนยุค เดิมเพื่อให้ชาวพุทธเข้าวัด มีกุศโลบายนำทรายเข้าวัดที่หายไปจากติดไปกับผู้ที่มาทำบุญหรือเดินผ่านวัด ยังก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีความกลมเกลียวซึ่งจะต้องขนทรายจากที่ต่างๆต้องช่วยและร่วมมือกัน และให้ผลแก่ลูกหลาน-ลูกเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างรูปแบบการก่อเจดีย์เป็นที่สนุุกสนาน
โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
๑.ร่วมสมโภชและสักการะพระบรมธาตุเจดีย์ในยามค่ำคืน
๒.อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประธานวิหารโพธิ์ลังกาขึ้นเบญจาสรงน้ำอย่างโบราณและสมโภชน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการสรงน้ำ
๓.ร่วมกุศลก่อเจดีย์ทรายในหาดทรายแก้วและรื้อฟื้นประเพณีจุดเปรียง(ตะเกียงเปลือกหอย)ให้สว่างทั่วบริเวณ
๔.ฟังพระธรรมเทศนาอธิษฐานตั้งสัจจะสัญญาถวายเป็น”พุทธบูชา”
๕.ชมมหรสพพื้นบ้านในบรรยากาศย้อนยุค
*แลโนราดินโบราณถวายมือบูชาพระธาตุ ๑๒ คณะ/* ปูสาดคล้าแลหนังลุง ฟังเพลงบอกทอกสงกรานต์
/*อาบน้ำผู้เฒ่าผู้แก แม่แก/*กวีลำนำบูชาพระธาตุ โดยสำนักกวีน้อยเมืองนคร/*ชวนแต่งกายตามอย่างชาวนคร ผ้าขาวม้าคาดเอวเสื้อเขียวเฒ่า ผ้าถุง เสื้อลูกไม้ เตียงโจงนุ่งจีบ ห่มสไบ/*นั้งสามล้อโบราณย้อนประวัติศาสตร์ไปรอบลานวัด/*จ่ายหลาดวัดพระธาตุ สาดจูด หนมจาก หนมโค ข้าวเกีียบว่าว ฯลฯ
โดยมีขอบเขตรูปแบบ
๑.สงกรานต์ลานพระบรมธาตุ
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประธานวิหารโพธิ์ลังกาขึ้นเบญจาสรงน้ำอย่างโบราณ/สมโภชน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการสรงน้ำ/ฟังพระธรรม ร่วมสมโภชและสักการะพระบรมธาตุเจดีย์ในยามค่ำคืน
การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ เพื่อสรงน้ำ เป็นศิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่(สงกรานต์)ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยก่อนน่าจะมีพร้อม ๆ กับแห่สงกรานต์ตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ กำหนดวันตามสุริยคติ ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษบริบูรณ์ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เชื่อกันว่าพิธีนี้เป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1700 – 1800 สมัยพญาศรีธรรมโศกราช พญาจันทรภาณุ และพญาพงษาสุระ 3 พี่น้องครองเมืองนครศรีธรรมราช
๒.ขึ้นเบญจาสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ณ ลานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
“เบญจา” แปลว่า ๕ ส่วนคำว่า “ขึ้นเบญจา” ในที่นี้ คือการประดิษฐ์บุษบกเรือนยอดทรงปราสาทขึ้น ๕ ชั้น ประดับด้วยหยวกฉลุลายที่เรียกตามกรรมวิธีเฉพาะว่า “แทงหยวก” ซึ่งเป็นงานปราณีตศิลป์โบราณในพื้นที่นครศรีธรรมราชแขนงหนึ่งซึ่งกำลังสูญหาย
พิธี”ขึ้นเบญจา”เป็นพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวปักษ์ใต้ และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญูกตเวทิตาของลูกหลานทีมีต่อผู้ที่อาวุโส รวมถึงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ วิธีการจัดโดยให้มีโรงพิธีแบบจตุรมุข (คือมีมุขสี่ด้านตรงกลางมียอดแหลม)โดยมีเสา สี่เสามีหลังคา1-5ชั้น แล้วแต่ท้องถิ่นหรือฐานะของผู้จัด ตั้งแท่นหรือที่นั่งกลางโรงพิธี ในวันงานประเพณีสงกรานต์ของงานประจำปี เพื่ออาบน้ำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนนั้น ที่ชุมชนนั้นมีความเคารพ ยกย่อง นับถือมากๆ ในการทำนั้นเฉพาะของตระกูลจะทำโดยการจะนำเรือขนาดย่อม นำไปไว้ในที่สูง(ต้นมะขาม)นำน้ำไว้ในเรือ แล้วใช้ไม้ไผ่(เสมือนหางพญานาคราชอยู่ด้านบน)หลุงปล้องออก เพื่อนำน้ำลงมาทางลำไม้ไผ่ไปยังโรงพิธี อาจฝังไว้ในดินหรือตกแต่งให้สวยงามเสมือนลำตัวพญานาค แล้วปล่อยน้ำไปอีกด้านหนึ่ง(ด้านต่ำ)ทำเป็นหัวพญานาคราช น้ำจะออกทางหัวพญานาคราชคล้ายกับฝนตกเป็นฝอยจากปากพญานาคราช แล้วอัญเชิญญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ”ขึ้นสู่เบญจา”ในระหว่างนั้นพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ให้ชยันโต สวดชัยมลคลคาถา อวยพร เมือน้ำโปรยปรายจากปากพญานาคราช ด้วยพ่นน้ำแก่ผู้ที่เคารพแล้วลูกหลานจะช่วยกันรดน้ำ-อาบน้ำมีบุตร-หลานหรือผู้ใกล้ชิดช่วยขัดถูที่ปลายเท้า ตามแขนขาหรือร่างกายจาก เมื่ออาบน้ำเสร็จก็เปลี่ยนเสือผ้า ชุดใหม่แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ แล้วท่านก็ให้พรแก่ลูกหลาน
รูปแบบการขึ้นเบญญจา
๒.๑ การขึ้นเบญจาแบบชาววัด
๒.๒ การขึ้นเบญจาแบบชาวบ้าน
-ภาพพิธี”ขึ้นเบญจา”ของชุมชนบ้านหัวสวน-คลองใหม่(พ่อท่านมุ่ยวัดป่าระกำเหนือเป็นผู้ควบคุมนักโทษสร้าง)-วัดโบสถ์”หมู่ที่ 7 ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ของบ้านตระกูล”พันธรังษี”ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2496
๓.จุดเปรียง(ตามตะเกียงเปลือกหอย)ก่อเจดีย์ทรายให้สว่างท้วนทั่วบริเวณ ธงประดับ
อธิษฐานตั้งสัจจสัญญา ถวายเป็น”พุทธบูชา”
๔.ชวนกันแต่งกายย้อนยุค
อาบน้ำผู้เฒ่า แม่แก่
กวีลำนำบูชาพระธาตุ โดยสำนักกวีน้อยเมืองนคร
ชวนแต่งกายตามอย่่างชาวเมืองคอน ผ้าขาวม้าคาดพุง
จ่ายหลาดวัดพระธาตุ สาดจูด หนมจาก หนมโค นุ่งผ้าถุง เสือลูกไม่้ เตียวโจงนุ่งจีบ ห่มสะไบ
เรืองราวหล่านี้จะผ่านไปอย่างทรงคุณค่าหรืออย่างไร้ค่า สืบต่อไปอันเป็นเวลายาวนานแสนนาน ก็อยู่ที่ชาวเมืองคอนจะมองหรือรักษาสืบไป
ขอขอบคุณภาพจากเฟสบู๊ค/ภาพจาก
๑.คุณเฉลิม จิตรามาศ ๒.คุณวันพระ สืบสกุลจินดา ๓.คุณChatckai Suk ๔.คุณChanakarn Sooungsark ๕.Supparook Weeranoapich ๖.คุณยูถิกา พันธรังษี ๗.คุณปุณิกา พันธรังษี ๘.คุณเวทัณญะ เกตุแก้ว ๙.ทุกๆท่านที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีครั้งนี้
บทส่งท้ายเบื้องหลัง ก่อนจะมาเป็นงาน”เดือน ๕ สงกรานต์แต่แรกของเมืองคอน” ปี ๒๕๖๐
ร่วมประชุม หารือ
เปลือกหอยทำเทียนไข
สำหรับในปีถัดไปๆลุงเฉลิม จิตรามาศแจ้งว่าจะจัดในรูปแบบเดิมแต่จะเพิ่มความเป็นนครศรีธรรมราชเพิ่มขึ้น โดยการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลรูปแบบ สงกรานต์แต่แรกของเมืองคอน ให้มากขึ้นโดยร่วมกับคุณวันพระ สืบสกุลจินดา คุณจรัญ อินทมุสิกและอีกหลายๆท่านและหน่วยงานต่างๆ เช่น เกียวกับโรงหนังลุง ฯลฯมีพิธีที่ยิ่งใหญ่และเข็มขลังขึ้นต่อไป
ท้ายที่สุด
ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจ พร้อมทั้งผู้ให้ข้อมูลจากเอกสาร,บุคคลที่นำมาเผยแพร่ เพื่อเป็น“”พุทธบูชา””ต่อพระบรมธาตุขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์และบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ที่เป็นแหล่งก่อเกิด ประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อการเผยแพร่ขอให้กุศลแห่งธรรมทานนี้ให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้นแลในนามของคณะผู้จัดทำ รวมไปถึง คุณเฉลิม จิตามาศ คุณวันพระ คุณจรัญ อินทมุสิกและทุกๆท่านที่ร่วมการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งนายโกมล พันธรังษีและครอบครัว”พันธรังษี” ทุกท่าน
ขอบพระคุณสำหรับการร่วมบันทึก “ภาพจำ” ของการ “รื้อฟื้น” ประวัติศาสตร์ของ “ศิลปวัฒนธรรม” ของเมือง”นครศรีธรรมราช” ในครั้งนี้ครับ
ด้วยความยินดีครับ ทีเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาตร์ ของเมืองคอนเพื่อเมืองคอนบ้านเราครับ