ภาพแปะฟ้าเมืองคอน- ตลาด””หลาด…อดีตหลาดในเมืองคอน””ตอนที่ (๑)
มิ.ย. 27
ผู้เขียนขอนำด้วยตลาดหรือ”หลาด”ของเมืองคอนที่เป็นเอกลักษณ์ ของเมืองคอนคือหลาดหน้าวัดพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งท่านที่มาจำจ่ายใช้สอยแล้วยังมีโอกาสอันเป็นมหามงคลที่ได้สักการะพระบรมธาตุเจดีย์ จับจ่ายด้วยบรรยากาศที่มีความอบอุ่น อบอวนไปด้วยความเป็นเมืองแห่งธรรม เมืองแห่งอารยะธรรม ที่สืบทอดอันมาเป็นเวลายาวนาน
ต้นแบบหรือความเป็นมาของหลาดหรือตลาด น่าจะมาจากรูปแบบการตลาดของชาวโปสตุเกส ที่เข้ามาแพร่หลายในเมืองคอนตามความเห็นของผู้เขียน หลาดคงมาก่อนที่ชาวโปตุเกสนำมา ของเดิมอาจไม่ใช่หลาดที่ใหญ่โต เมือทำการค้ากับชาวต่างชาติ จึงมีรูปแบบใหม่และใหญ่เพื่อทำการค้า
ในการเขียนผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่า ที่ผู้เขียนเป็นความเห็นของผู้เขียนมิได้เขียนในเชิงวิชาการและตามหลักฐานที่ผู้เขียนพบเจอะ ผู้เขียนได้เข้ามาอยู่ตัวเมืองคอน ในปี พ.ศ.2516 ซึ่งระยะเวลาอาจมีความแตกต่าง จากการพูดคุย สัมภาษณ์ผู้รอบรู้ของเมือง ถือเสมือนเป็นการร่วมกันศึกษา ความแตกต่างของพื้นที่ก่อนที่จะมาเป็น”ตลาดหรือหลาด”ให้ผู้คนได้มาใช้สอยพื้นที่ ณ ปัจจุบันครับ
“เรืองของตลาด หรือหลาด” ด้วยเรืองราวที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆของการใช้ชีวิต/การดำรงชีวิตรองมาจาก การศึกษาธรรมะ/ศึกษาธรรมชาติ คือ
“หลาดหรือตลาด” ของคน/มนุษย์ทุกนาม และของชาวเมืองคอนหรือชาวปักษ์ใต้
การใช้ชีวิตหรือการดำรงชีวิตที่รอดมาได้ ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งตั้งแต่คนยุคโบราณต้องมีการแลกเปลี่ยน การมีชีวิต/การดำรงชีวิตที่รอดปลอดภัยมาได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายๆด้าน หลายประการ ชีวิตเพื่อดำรงอย่างถูกต้อง เพื่อความเป็น”ปกติสุข” เพื่อความมีสันติสุข เพื่อความสุขของชีวิต ต้องมีกรอบการใช้ชีวิต ชีวิตจะไม่พบกับความเดือดร้อน ส่วนหนึ่งต้องศึกษา”ธรรม” เป็นแนวนำมี”สัมมาทิฏฐิ” แนวทางแห่ง”มรรค”เป็นกรอบ/เป็นแนวทาง การใช้ชีวิต แล้วครอบครัว/สังคมจะมีสุข ความสำคัญของการใช้ชีวิตที่สำคัญต่อมาก็ต้องมีอาหาร มีการแลกเปลี่ยนปัจจัยต่างๆเพื่อความอยู่รอด และที่ๆมีการแลกเปลี่ยนปัจจัยต่างๆคือ”หลาดหรือตลาด” ยุคแรกๆการแลกเปลี่ยนโดยการให้/ แลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า ยุคต่อๆมาการแลกเปลี่ยน มีสิ่งที่สมมุติที่เป็นกลางคือเงินตรา/เปลือกหอย/หรือสิ่งของอื่นๆ/มีราคาในการแลกเปลียน/หลาดหรือตลาดจึงมีความสำคัญรองลงมา เมืองคอน เป็นเมืองที่มีอดีตอันยาวนาน ประกอบกับการที่ตั้งของเมืองอยู่ริมทะเลยุคโบราณการติดต่อ สื่อสารกันจะใช้การเดินเรือเป็นหลัก เมืองคอน เป็นท่าเรือที่สำคัญมาแต่อดีต เป็นแหล่งชุมชน เป็นเมืองใหญ่ มาทุกยุคทุกสมัย ย่อมเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนสินค้าประเภทต่างๆ มีการและเปลี่ยนทางการค้าหลายรูปแบบทั้งเงินตรา สินค้า บาง”หลาด”ยังคงมีอายุยืนยาว เปลี่ยนผลัดมาจนถึงปัจจุบัน บาง”หลาดหรือตลาด”ยังคงทิ้งร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองที่เป็นฐานความเจริญ ผลัดเปลี่ยนผ่านถัดมา เพื่อเมืองคอน ได้มีนักประวัติศาสตร์ของเมืองคอนและที่ได้ผ่านเข้ามาในเมืองคอนหลายๆท่านที่ได้เสียสละค้นคว้าความเป็นมาของเมืองคอน และได้ร่วมกันจัดทำเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งต่อรุ่นต่อรุ่นเพือการสืบค้นเช่น สารนครศรีธรรมราช วิทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ของหลายๆท่าน และได้สืบ-เสาะ-แสวงหา ค้นคว้า ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบุคคล/คณะบุคคลที่น่ายกย่อง ทำเพื่อเมืองคอน
๑.ตลาด”หลาดหน้าพระธาตุ” ภาพหลาดพระธาตุ ภาพศิริมงคล ถ่ายโดยคุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ
หลาดหน้าพระธาตุ ประเพณีวัฒนธรรม อาหารการกินของชาวนครศรีธรรมราช มารวมอยู่ที่นี่ “หลาดหน้าพระธาตุ” จัดขึ้นทุกวันเสาร์เวลา16.00น. ถึง 22.00น. บนถนนหน้าวัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชหลาดหน้าพระธาตุเป็นอีกหนึ่งตลาดนัดย้อนยุคที่แฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ของความเป็นนครศรีฯได้อย่างลงตัว
ความเป็นมาของหลาดหน้าพระธาตุ ตลาดหน้าพระธาตุเกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชนและชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช บรรยากาศของตลาดนั้น เหมือนเราเดินย้อนกาลเวลาไปเมื่อ 50-60 ปีก่อน พ่อค้าแม่ค้าต่างแต่งตัวย้อนยุคนุ่งผ้าถุงสวยๆมาขายของ มีอาหารพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก ทั้งคาวหวาน ให้เลือกกินกันอย่างจุใจตลอดสองข้างทาง ที่สำคัญภาชนะที่ใส่อาหารนั้นเน้นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บรรยากาศของ”หลาดหน้าพระธาตุ” นอกจากอาหารอร่อยๆ แล้วยังมีลานการแสดงความสามารถของลูกหลานชาวนครศรีฯ และบูทกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมเช่นเพ้นท์ผ้าบาติก แกะสลักหนังตลุง ของที่ระลึกที่นักเรียนนำมาขายเป็นรายได้เสริม สำหรับการจัดกิจกรรม “หลาดหน้าพระธาตุ” หรือถนนคนเดินหน้าวัดพระมหาธาตุ ภายใต้สโลแกน “ตลาดต้องชม บนถนนสายธรรม” เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นไปตามนโยบายของนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว “นครศรีดี๊ดี นครศรีดีกว่าเดิม” โดยมีการนำผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน สินค้าต่าง ๆ อีกมากมาย มาจัดแสดงและจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้แวะ ชม ชิม ช้อป และการสาธิตและแสดงศิลปวัฒนธรรมได้เริ่มเปิดจ่ายครั้งแรกเมือ เสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ภาพอดีต ถ่ายเมื่อ 1 กันยายน 2506 (ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์) ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ 17 กันยายน 2553
ภาพโดยคุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ/คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศน์( ป๋องโฟโต้)
๒.ตลาด”หลาดท่าชีย์“
“ท่าชีย์”ในแผนที่ กัลปนา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ข้อมูลภาพจากท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร และคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
ตามหลักฐานและความเห็นของผู้เขียน”ท่าชีย์”ในแผ่นที่ กัลปนา(ให้เป็นทานพระศาสนา)เกี่ยวกับที่ดิน-การบำรุงรักษาของเมืองคอนในอดีต ได้กล่าวถึง”ท่าชีย์”มาตั้งแต่ยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา ช่วงประมาณ พ.ศ.2150 ของพระเจ้าทรงธรรม กษัติย์กรุงศรีอยุธยา ให้เห็นถึงความสำคัญมาตั้งแต่ยุคโบราณ พอจะประมวลได้ว่า หลาดท่าชีย์ เป็นแหล่งการจับจ่ายซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้ามาตั้งแต่ยุคโบราณ และสถานที่แห่งนี้มีโบราณสถานที่สำคัญของศาสนาพราหม์ณนิกายไศยนิกายคือ”ฐานประสยม”ซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างอาคารยุคเดียวกับโบราณสถานโมคคลาน มีขนาดไล้เลี้ยกัน จึงให้เห็นความสำคัญ
เหตุแห่งชือ”ท่าชีย์”เนืองจากสถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพรามหณ์เมืองคอน ในการทำเกี่ยวกับศาสนกิจของพรามหณ์จะต้องแต่งชุดสีขาว และเป็นท่าเรือที่ชาวเมืองคอนจะมาจอดที่ประตูท่าชีย์เพื่อมาติดต่อค้าขาย มาเพื่อนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ จึงได้เรืยกชื่อเป็น”ท่าชีย์”
๓.ตลาด”หลาดท่าม้า”
“ตลาดสดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช” ตั้งอยู่บนบริเวณที่เคยเป็นคอกม้าใหญ่ หรือคอกม้าหลวง ตามประเพณีเดิมของเจ้าผู้ครองเมืองที่ต้องมีม้าไว้ประดับบารมี หรือใช้ราชการยามศึกสงคราม ซึ่งถือเป็นที่ดินมรดกของตระกูล ณ นคร กลายเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จนเกิดเป็นตลาด และด้วยบริเวณใกล้เคียงกันเป็นท่าให้ม้าลงไปกินและอาบน้ำปัจจุบันคือ”บ้านบ่อซับ”สะพานท่าม้า” ตลาดแห่งนี้จึงเรียกว่า “ตลาดท่าม้า” ซึ่งภายหลังเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เมื่อ พ.ศ. 2500 ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้ปรับปรุงพัฒนาตลาดแห่งนี้ให้มีความสะอาด สวยงาม และคงทนแข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากตลาดเดิมได้ทรุดโทรมลงตามอายุการใช้งาน เพื่อให้ตลาดยังคงเป็นที่จับจ่ายซื้อหาเครื่องใช้ไม้สอยของชาวเมือง อยู่เคียงคู่เมืองนครศรีธรรมราช และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ชวนให้ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองต่อไปประมาณรัชกาลที่ 5 สร้างเป็นตลาดท่าม้าขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนในละแวกนั้นได้มาซื้อขายสินค้า ผู้คนส่วนใหญ่
และที่สำคัญผู้ปกครองหรือกษัตริย์จะต้องมีคือคอกช้าง คอกม้าเพื่อทำศึกสงครามและตามคำบรรยายของครูน้อม อุปรมัย คอกม้าของกษัติรย์เมืองคอน คือ ตลาดท่ามัาปัจจุบันและมีท่าให้ม้ากินน้ำและอาบน้ำคือสะพานท่าม้าบ้านบ่อน้ำซับ(สำหรับที่เป็นโรงช้างคือบริเวณวัดสวนป่านและวัดท่าช้างปัจจุบันบริเวณสุเหร่าตลาดแขก)อดีตคือบริเวณคอกม้าใหญ่(คอกม้าหลวง)ของวังกษัตริย์เมืองคอน ตามราชประเพณีของกษัตริย์ผู้ครองเมืองหรือประเทศ ต้องมีม้า ไว้ประดับบารมีหรือไว้ใช้ในราขการสงครามและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ตามคำบรรยายของครูน้อม อุปมัย ทางสถานีวิทยุ ม.ท.บ.5 เมื่อ 11 กพ.2516
“”ท่าม้า””ในแผนที่ กัลปนา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ข้อมูลภาพจากท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร และคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
๔.ตลาด”หลาดหน้าเมือง”
ความเป็นมาของ”หลาดหน้าเมือง” ได้มีตลาดจ่ายที่หน้าเมือง โดยสินค้าทีนำมาขายมาจากสิ้นค้าพื้นเมืองแท้ๆโดยจ่ายเฉพาะ”เสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลาช่วงเช้า-เที่ยง” โดยจะมีแม่ค้าจากนอกเมืองส่วนหนี่งมาจากอำเภอชะอวด โคลกคลาม บ้านวังวัว จะนั่งรถไฟมาจากเขาชุมทองตั้งแต่เช้ามืด เมื่อลงจากสถานีรถไฟแล้วจะหาบมาขายที่สนามหน้าเมืองและเมือขายของเสร็จก็จะกลับรถไฟช่วงบ่าย ของที่นำมาขายแบบ แบกะดินสองข้างถนนบริเวณสนมหน้าเมืองจะเป็นของสดๆๆและปลอดสารพิษ(ขอมูลจากคุณสถาพร พฤกษะศรี)
ตลาดนัดสนามหน้าเมือง จ่ายในวันเสาร์-อาทิตย์จากหนังสือ นครศรีธรรมราช 32 นครแห่งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม บนด้ามแหลมทอง ถ่ายเมือ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532 ตามประวัติเดิมตลาดสดอยู่ที่ตลาดคลองทา เนื่องจากบริเวณเดิมมีความรุงรังสกปรก จึงได้ย้ายตลาดสดจ่ายที่สนามหน้าเมืองชั่วคราว(พ.ศ.2513)จนกว่าจะสร้างตลาดใหม่ ในสมัยนายไสว สวัสดิสาร เป็นนายกเทศมนตรีเมือง นครศรีธรรมราช จากหนังสือสารนครศรีธรรมราชปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ ประจำเดือน มีค.2513
ในทุกๆเสาร์ อาทิตย์ ผู้เขียนอยู่ในช่วง พ.ศ.2527 จะต้องเดินชมตลาดสนามหน้าเมืองทุกเสาร์ อาทิตย์ สาเหตุใกล้ที่ทำงาน จะต้องเข้าเวรยามในวันศุกร์และออกเวรยามในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์เช้า เมือออกเวรก่อนที่จะกลับบ้านพักจะต้องเดินชมตลาดเพือซื้อของกิน ของใช้แล้วกลับที่พักเป็นนิจ
สภาพของตลาดสนามหน้าเมือง พ่อค้า แม่ค้าจะตั้งขายของตั้งแต่บริเวณริมถนนราชดำเนิน บริเวณสะพานนครน้อยจนถึงบริเวณน้ำพุสนามหน้าเมืองและบริเวณลานสนามหน้าเมืองเกือบเต็มสนาม
พ่อค้า แม่ค้าจะตั้งของเป็นร่องแบบแบกะดิน ประมาณ2-3 เมตร เพื่อให้ผู็ซื้อเดินตามร่องเดิน พ่อค้า แม่ค้าจะมาจากอำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ มะม่วงสองต้นและบริเวณใกล้เคียง สินค้าที่นำมาขายตั้งแต่สินค้าจาการเกษตร พืชสวน พืชไร่ ผลไม้ตามฤดูกาล ของกินของใช้ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ ของเก่ามือสอง ของใหม่ และมีสินค้าหลากหลายให้เลือซื้อ สินค้าจะขายในราคาเป็นธรรมแก่ผู้ซื้อ ผู้ขายและมีความสด ใหม่และมีทั้งน้ำชา กาแฟ ขนมกับแกล้มพื้นบ้าน รวมไปถึงขนมจีนที่ลือชื่อของเมืองคอน และหลาดหน้าเมืองได้ย้ายไปที่ใหม่คือ หลาดเสาร์ อาทิตย์ถนนพัฒนาการคูขวางในช่วงปี พ.ศ.2535
ตลาดก่อนวันจ่ายงานเทศกาลเดือนสิบ บริเวณสนามหน้าเมือง ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2477(ภาพจากหนังสืองานประจำปีนครศรีธรรมราช)
๕.ตลาด”หลาดท่าช้าง/หลาดแขก”
บริเวณตลาดแขก หลาดแขกหรือหลาดท่าช้าง นายหลิว ฮวดถ่ายกับพระยาพหลพลพยุหเสนาตรวจราชการที่เมืองคอน เมือ พ.ศ.2493 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2554
ภาพอาคารที่อยู่อาศัย/อาคารพาณิชย์”สองชั้นคือบริเวณหลาดแขกหรือหลาดท่าช้าง บริเวณสี่แยกตลาดแขกที่อาคารไม้มีลักษณะเป็นไม้มีบานประตูแบบพับ ด้านซ้ายเคยมีโศกนาฎกรรม”ควายหลุดมาจากโรงฆ่าสัตว์หน้าจรัสพิชากรและมาขวิดอยู่ในบ้านตาย””ผู้ตายคือคุณตะวัน รัตนนาคิน อายุ 80 ปี ภาพจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ถ่ายเมื่อ พศ2502 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2559
บริเวณย่านตลาดแขก ร้านไทยโอชาขายข้าวหมกไก่ยุคแรก ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2490 ภาพจากร้านข้าวหมกไก่ โทยโอชา ตลาดแขก ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2558
“รูปแบบแผงแม่ค้า”ที่นำของมาขายในตลาดแขกหรือตลาดท่าช่าง ในช่วง ปี พ.ศ.2516 ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ไปจำจ่ายซื่อของในตลาดแขกหรือตลาดท่าช้างเมื่อได้อาศัยอยู่ ณ วัดเสามาเมือง ภาพจากอาจารย์นะมา โสภาพพงศ์
๖.ตลาด”หลาดผีหีบ”
คิวรถรับจ้างตลาดผีหีบ ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2542สารนครศรีธรรมราช
๗.ตลาด”หลาดคลองทา/หลาดยาว”
ประวัติตลาดคลองทา คือ”คลองทา”เป็นคลองสายนี้ที่ทอดจากทิศใต้ไปทิศเหนือเชื่อมกัยคลองท่ามอญ แบ่งตลาดท่าวังออกเป็นฟาตะวันตกและฟากตะวันออก เป็นคลองมีลักษณะล้อมรอบสันทรายแต่โบราณ ที่”คลองทา”ล้อมรอบเรียกว่า”บ้านนอกโคก”หรือ”กระหม่อมโคก”ตามยุคแรกของ”ตามพรลิืงค์” คลองทาคือคูเมืองล้อม”บ้านนอกโคก”หรือ”กระหม่อมโคก” เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 และต่อมามีเศรษฐีและชาวบ้านหลายๆท่านบุกรุกทำให้คลองไม่มีทางไหล ตื้นเขินและทางเทศบาลได้ทำเป็นถนนและเป็นตลาดในเวลาต่อมา(ข้อมูลจากนามภูมิในนครศรีธรรมราช หนังสือรายงานการสัมมนาประวัีติศาสตร์ ครั้งที่ 4 โดยคุณดิเรก พรตตะแสน มอบโดยคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช)
ตลาดคลองทามีความสำคัญมากเพราะสะดวกต่อการติดต่อของ”ชาวเหนือ “ในการติดต่อค้าขายมีการจ่ายเป็นประจำทุกวัน จากการพูดคุยกับคุณสง่า อินทมาส คุณกานดา สุวรรณทิพย์ หลาดแห่งนี้มีการจำจ่ายมาก่อน พ.ศ.2500 แต่เนืองจากยุคต่อมาประชาชนมากขึ้นทำให้ตลาดแออัดและทำให้จราจรขัดข้อง นายกเทศมนตรีสมัยนายไสว สวัสดิสารจึงได้ย้ายมาจ่ายที่สนามหน้าเมือง เมื่อ พ.ศ.2513 เพื่อรอสร้างตลาดที่ถาวรที่ ตลาดสดพัฒนาการคูขวาง ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช มีค.2513ถนนจำเริญวิถีหลังวิกดาวในอดีต ถ่ายเมือ พ.ศ.2518 ภาพจาก คุณเจริญ อังคสุวรรณ(แบน รักในหลวงห่วงประเทศ)
๘.ตลาด”หลาดเช้า/หลาดเสาธงทอง
เมื่อประมาณ 50 กว่าปีก่อนตามคำบอกเล่าของคุณส่ง่า อินทมาส ตอนที่ พ่อท่านคล้ายมาเมืองคอน พ่อท่านได้พักที่ศาลาไม่มีฝาผนังทั้งสี่ทิศ บริเวณหลาดเช้าเสาธงทองและออกบิณฑบาตรทุกๆเช้า ตอนนั้นคุณสง่า อินทมาส อายุ 14 ปี ขอบเขตจุดจ่ายของหลาดคือบริเวณถนนทางเข้าโรงแรมไทยโฮเต็ล และบางตอนของถนนเนรมิต ไปสุดถนนชลวิถีทั้งสองข้างและบริเวณของวัดเสาธงทอง
ความคิดเดิมของผู้เขียน ได้ให้คุณประวัติ ภิรมกาญจน์ เขียนเกี่ยวกับตลาดของเมืองคอน ก่อนที่ท่านได้ละโลกนี้ไปเมือ 21 ตุลาคม 2562 ด้วยอายุ 77 ปีและท่านได้เขียนเกี่ยวหลาดไว้ได้บางส่วน ในส่วนที่ท่านได้ทราบเนื่องจากท่านได้ใช้ชีวิตในย่าน ท่าม้า ท่าวังมายาวนาน ท่านได้บันทึกไว้ว่า” หลาดเช้า ซึ่งเป็นหลาดของวัดเสาธงทอง ในสมัยนั้นคณะกรรมการวัดลงมติ มีมติทุบอุโบสถ์(อาจชำรุดมาก)เป็นหลาดให้เทศบาลเช่าและทำอาคารพานิช มาถึงยุคนายไสว สวัสดิสาร นายกเทศบาลนครศรีธรรมราช ได้ขออนุเคราะห์ที่ดินของ”พ่อเจียง ลิมปิชาติ ” พ่อเจียง ลิมปิชาติเห็นแก่ความเจริญจึงยกที่ดินเพื่อเทศบาลทำเป็นหลาดสดคูขวางหรือหลาดเช้าแห่งใหม่ ทางวัดจึงได้มีโรงแรมไทยโฮเต็ลมาถึงทุกวันนี้
ตลาดเช้า(ตลาดเสาธงทอง)ภาพอดีตน้ำท่วมเมื่อปี 2518 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมษายน 2554
๙.ตลาด “หลาดเช้า”ตลาดคูขวาง หลาดสดเทศบาลนครศรีธรรมราช
หลาดสดคูขวาง เป็นหลาดที่รวมสินค้าที่ใหญ่แห่งหนึ่งของเมืองคอน เมืองคอนเป็นเมืองมั้งคั้งด้วยทรัพยากร ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา มาตั้งแต่โบราณ มีของกิน ของใช้ที่ขึ้นชื่อมาแต่อดีต ทั้งด้านสินค้าการเกษตร แหล่งอาหารทะเล พืชผักผลไม้ อาหารการกิน หลาดคูขวางจึงเป็นแหล่งจำจ่ายแห่งหนึ่ง ที่ผู้คนมาจากททุกทิศ-ทุกทาง ทั้งแม่ค้า พ่อค้า ผู้ซื้อ มาจกาอำเภอเมือง อำเภอท่าศาลา อำเภอลานสกา อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอปากพนัง ฯลฯรวมไปถึงชาวต่างจังหวัดที่เข้าค้าขายในหลาดสดคูขวาง
ตลาดหรือหลาดสดคูขวางได้เริ่มเปิดจ่ายทุกวัน ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลผู้คนยิ่งมากที่มาจับจ่ายใช้ซอย หลาดคูขวางได้เริมก่อตั้งและจ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ. 2522 ซึ่งในช่วงนั้นบ้านของผู้เขียนได้มาอยู่ ณ ถนนพัฒนาการคูขวาง และข้อมูลจากคุณมนต์ศักดิ์วาดอักษร บ้านผู้เขียนได้มาพักอาศัยใกล้บริเวณที่ทิ้งขยะของเทศบาลนครศรีธรรมราชทางไปถนนอ้อมค่าย ปัจจุบันคือ “ชุมชนคูขวาง”
ยุคนายไสว สวัสดิสาร นายกเทศบาลนครศรีธรรมราช ได้ขออนุเคราะห์ที่ดินของ”พ่อเจียง ลิมปิชาติ ” พ่อเจียง ลิมปิชาติเห็นแก่ความเจริญจึงยกที่ดินเพื่อเทศบาลทำเป็นหลาดสดคูขวางหรือหลาดเช้าคูขวาง แห่งใหม่ตามที่เราๆท่านได้ใช้อยู่ทุกวันนี้
ภาพหลาดเช้า”คูขวาง ที่ถูกรื้อและสร้างใหม่ในปัจจุบัน ภาพจากคุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
๑0.ตลาด”หลาดหน้าวัดท่ามอญ/หลาดใหม่”หรือ”หลาดโก้งโค้ง”
ความเป็นมาของหลาดหน้าวัดท่ามอญสุดทางของสถานีรถไฟบ้านนอกโคก หลาดหน้าวัดท่ามอญ หลาดใหม๋ หรือหลาดโก้งโค้ง(เนื่องจากการตั้งของขายตั้งแบกะดิน ผู้ซื้อจะต้องก้มลงซื้อหรือตอราคาของ) ปรากฏหนังแผ่นที่กัลปนา สมัยพระเจ้าทรงธรรม ช่วง ประมาณ พ.ศ.2150
ยุคก่อนหน้าสถานที่สถานีรถไฟบริเวณสะพานยาวเป็นทุ่งที่ใหญ่มาก การสรรจรไปมาจะต้องใช้เรือ ชาวนอกท่าจะนำของทางเหนือมาขายจะนำมาทางบ้านเตาหม้อปัจจุบันแล้วข้าม”ทุ่งท่าลาด”มาขายบริเวณที่ตลาดหน้าวัดท่ามอญหรือหลาดใหม่ และถ้ามองถึงยุคโบราณบริเวณนี้เป็นท่าเรือที่พรุกพร่านไปด้วยผู้คน ชาวจีนที่มาอาศัยในเมืองคอนยุคแรกๆส่วนหนึ่งน่าจะขึ้นเรือ ได้อาศัยบริเวณนี้และทำงานก่อนจะโยคย้ายไปสู่จัดอื่นๆเช่นย่านท่าวังในเวลาต่อมา
“”หลาดท่ามอญ””ในแผนที่ กัลปนา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ข้อมูลภาพจากท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนครและ คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
ภาพบริเวณหลาดหน้าวัดท่ามอญ หรือหลาดใหม่ เมืออดีตภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน คุณบัณฑิต พูลสุขหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี
ถนนยมราช บริเวณหน้าวัดศรีทวี ที่เคยเป็นหลาดหน้าวัดท่ามอญ/หลาดใหม่”ปัจจุบันด้านสวนอาหารลานโพธิ์ ภาพดนตรีที่นำขบวนแห่ศพของชาวนคร เชื้อสายจีน จากที่บ้านตั้งศพ สู่สุสานตงฮัวหน้าสนามบินค่ายวชิราวุธ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2497 ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2559
ถนนยมราชช่วงหน้าวัดศรีทวีที่เคยเป็นหลาดหน้าวัดท่ามอญ/หลาดใหม่”ปัจจุบัน เป็นอาคารพาณิชย์เก่า ภาพจากศุภชัย แซ่ปุง ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2497 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือตุลาคม 2559
พิธีแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับของชาวเมืองคอนเชื้อสายจีน”บริเวณถนนยมราชช่วงหน้าวัดศรีทวีที่เคยเป็น หลาดหน้าวัดท่ามอญ/หลาดใหม่”ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2499 ภาพจากคุณมณีรัตน์คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
แผนผังตลาดแห่งความทรงจำของคุณมณีรัตน์ สุวรรณภูมิเมื่อเยาวัย จากคุณมณีรัตน์คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ คุณปุณิกา พันธรังษี
นักศีกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินทางโดยรถไฟมาเมืองคอน เมื่อ พ.ศ.2505 ชุมอยู่ที่หลังสถานีรถไฟซึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของหลาดหน้าวัดท่ามอญ/หลาดใหม่”หรือ”หลาดโก้งโค้ง”ในอดีตภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2554
๑๑.ตลาด”หลาดท่าตีน/ตลาดเย็น” ตลาดวัดใหญ่
ภาพงานบวชนาคของอาจารย์อนิรุทธ์ พันธุ์ทิพย์แพทย์นั้งรถม้า ผู้แต่งเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชและบทความเชิงวิชาการที่สำคัญคือ “สวัสดีศรีธรรมราช” ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2492 -ขบวนผ่านบริเวณสี่แยกตลาดเย็น ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช ปี่ที่ 32 ฉบับที่ 2 กพ.2545 ภาพปัจจุบันถ่าย เมื่อ กพ.2555
บริเวณ”ตลาดท่าตีน”หลาดเย็น”หลาดวัดใหญ่ชัย”มงคล ที่ขบวนพาเหรดการแข่งขันกีฬาภายในของโรงเรียนทักษิณวิทยาผ่าน เปิดสอนที่ศาลเจ้ากวนอูในอดีต ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506 ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ และภาพปัจจุบันถ่าย เมือ กรกฎาคม 2557
*********มีต่อหลาดต่อตอน ๒**********
ข้อความ ความคิดของผู้เขียน
หากท่านที่มีข้อมูลช่วยกรุณาท้วงติงและเสนอแนะต่อผู้เขียนด้วยครับ
จากหลักฐาน ข้อมูลต่างๆที่พบ จะพบว่าเกี่ยวโยงกับจุดเริ่มต้นจากพระศาสนาเป็นหลัก ในการจัดทำแผ่นที่กัลปนา(ให้เป็นทานศาสนา)จะเป็นการแบ่งเขตการทะนุบำรุงพระศาสนา ที่มาที่ไปของปัจจัยในการบำรุงพระศาสนา ต่อมาผลพลอยได้อย่างอื่นประกอบต่อมาเช่น ความเป็นอยู่ของทวยราช ทั้งประเพณีวัฒนธรรม การคมนาคม สภาพทั่วไปของพื้นที่ฯลฯ จากเหตุผลดังกล่าวหลักญฐานทางประวัติศาตรชี้นแรกๆมาจากพระศานาเป็นหลัก
จากเดิมพื้นที่ของเมืองสยาม ติดต่อกับทะเล มีแม่น้ำมากมายในพื้นที่ ทำให้มีความสะดวกในการเดินทาง-สรรจรในทางน้ำเพื่อติดต่อกันในการเชื่อมสัมพันธทั้งทางด้านการค้า ทางด้านความเป็นอยู่ฯลฯ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ชุมทางของแม่น้ำจึงเป็นที่รวมของชุมชน ที่รวมเป็นที่ตั้งของตลาดหรือหลาดของเมืองคอน
ตามกัลปนา ตลาดหรือหลาดที่มีอายุราว 300-500 ปีจนถึงปัจจุบันจึงอยู่ที่บริเวณริมน้ำ เรืองจุดรวมของแม่น้ำหลายสาย ตามกัลปนา ที่จัดทำขึ้นในพระเจ้าทรงธรรม ช่วง พ.ศ.2150 ของเมืองคอนพอสรุปได้คือ
1.ตลาดสบ หลาดสบหรือวัดท้าวโคตร
2.ตลาดท่ามอญหรือหลาดท่ามอญ(ศรีทวี)
3.ตลาด หลาดท่าช้างหรือหลาดแขก
4.คลาดท่าชีย์หรือหลาดท่าชีย์
5.ตลาดท่าม้าหรือหลาดท่าม้า
6.กรณีของตลาดท่าแพหรือหลาดท่าแพ ซึ่งเป็นหลาดที่สำคัญ ที่รวมของแม่น้ำ และออกอ่าวปากพญา แม้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามาคลองท่าแพ เพราะคลองท่าแพเป็นแม่น้ำใหญ่ที่สำคัญ ในการจัดทำแผนที่กัลปนา ผู้จัดทำได้เข้ามาทางแม่น้ำปากนคร ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญคู่กันกับแม่น้ำท่่าแพ ทั้งสองเป็นแม่น้ำที่สำคัญของเมืองคอนตั้งแต่โบราณมา
7.ตลาดหัวท่าหรือหลาดหัวท่า เป็นหลาดอีกแห่งหนึ่งที่อยู่คู่มากับเมืองคอน เป็นที่รวมของแม่น้ำ 5 สาย เป็นที่จอดเรือของผู้คนที่มานมัสการพระบรมธาตุ ในกิจกรรมต่างที่เกี่ยวโยงกับพระบรมธาตุ เช่นแห่ผ้าขึ้นธาตุ วิสาขบูชา มาฆบูชา จึงเป็นแหล่งหลาดที่สำคัญอีกที่หนึ่งและสลายไปตามกาลเลาเมือการสรรจรเปลี่ยนจากทางน้ำเป็นทางบก
สารนครศรีธรมราชได้เคยสำรวจตลาดนัด หรือหลาดนัดในนครศรีธรรมราช ในปี พ .ศ.2538 มีจำนวน 176 สถานที่ (ปัจจุบันน่าจะมีมากกว่านี้) ซึ่งนัดจ่ายใน 1 สัปดาห์โดยกำหนดเอาวันดังกล่าวดังนี้
1.หลาดนัดจ่ายวันอาทิตย์ มีจำนวน 31 สถานที่
2.หลาดนัดที่จ่ายวันจันทร์ จำนวน 32 สถานที่
3. หลาดนัดที่จ่ายวันอังคาร จำนวน 29 สถานที่
4. หลาดนัดที่จ่ายวันพุธ จำนวน 29 สถานที่
5.หลาดนัดที่จ่ายวันพฤหัส จำนวน 30 สถานที่
6. หลาดนัดที่จ่ายวันศุกร์ จำนวน 27 สถานที่
7.หลาดนัดที่จ่ายวันเสาร์ จำนวน 39 สถนที่
ขอขอบคุณ
พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร
คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
คุณมณีรัตน์- คุณวีรภัทธ สุวรรณภูมิ
ชิตรำลึก ชิต ณ นคร อนุสรณ์งานฌาปนกิจ นางชิต ณ นคร 27 มกราคม 2548
อนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายนะมา โสภาพพงศ์ 2 สิงหาคม 2551
คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณสายันต์ ยรรยงนิเวศน์
คุณป้ายุพา บวรรัตนารักษ์/คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช
คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ/ คุณสถาพร พฤกษศรี
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร ร้านหนังสือเก่าหลาด เสาร์-อาทิตย์ถนนพัฒนาการคูขวาง
สารนครศรีธรรมราช
คุณพร้อม คุณวนิดา(เล็ก) ไชยพหล/คุณขวัญชัย มานะจิตต์
คุณไพรัช วุ่นศิลป /ผช.ปัญญา บัวจันทร์
คุณสง่า จันทมาส ร้านน้ำชาหน้าวัดมุมป้อม
บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพนางเจือ สุมนสุขภาร
คุณกานดา สุวรรณทิพย์ ขายข้าวแกงในวัดวังตะวันตก
คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์ ผู้ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ในเมือง และท่านได้เสียชีวิตแล้ว
คุณกวินวัชร์ สินวราเวโรจน์/คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณปุณิกา พันธรังษี
ร.ต.สวัสดิ์ คุณนวลศรี ดิษฐ์อำไพ
เพจต่างๆ