คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุ เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 2

ก.พ. 15

คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุ เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 2

+µÓ¹Ò¹¾ÃкÃÁ¸ÒµØ

จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดียวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน :คัมภีร์พระนิพพานโสตรตำนานแห่งพระธาตุเมืองนคร

                          เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง“มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2562 และสมโภชพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองหลังการบูรณะองค์พระบรมธาตุแล้วเสร็จ ที่เมืองนครศรีธรรมราช ที่บรรจุพระทันตธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในช่วง 13 -19 กุมพาพันธ์ 2562 และเป็นการเผยแพร่่ จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีใครเหมือน :คัมภีร์พระนิพพานโสตรตำนานแห่งพระธาตุเมืองนคร นานาของดีกลางเมืองนคร จากการรังสรรรค์ของคุณครูอุดร มิตรรัญญา  ให้เห็นถึงความยึดมั่นของพุทธมามะกะของชาวพุทธท่านหนึ่งที่มีความตั้งใจสร้างผลงานเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสานาในงานแบบจิตรกรรมฝาผนัง โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังชื่อเสียง“ทำเพื่อเป็นการทำบุญ”ท่านเคยปรารภไว้กับบุตรสาว

จิตรกรรมส่วนที่ 2 จิตรกรรมฝาผนัง”คัมภีร์พระนิพพานโสตร”ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนคร

จิตรกรรมภายในศาลาประโชติศาสนกิจ : กายภาพทั่วไป และข้อสังเกตจาก”คัมภีร์พระนิพพานโสตรตำนานแห่งพระธาตุเมืองนคร นานาของดีกลางเมืองนคร 

            “จิตรกรรมภายในศาลาประโชติศาสนกิจเขียนอยู่บริเวณแผงคอสองของศาลา ตำแหน่งที่เขียนจิตรกรรมสูงจากพื้นประมาณ ๓.๕๐ เมตร  ตัวจิตรกรรมสูงประมาณ ๒.๐๐ เมตร แสดงตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จิตรกรรมถูกเขียนขึ้นทั้ง ๔ ด้านของแผงคอสอง ยังคงสภาพสมบูรณ์ครบทั้งสี่ด้าน มีกลวิธีการเล่าเรื่อง โดยเริ่มจากมุมซ้ายมือของผนังด้านทิศใต้ ดำเนินเรื่องวนตามเข็มนาฬิกามาจบที่มุมขวามือของผนังด้านทิศตะวันออก แสดงเรื่องเป็นฉาก ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๒๗ ฉากคั่นแต่ละฉากด้วยไม้ยืนต้นหลากชนิด เช่น ทุเรียน สะตอ ขนุน เป็นต้น ในตอนแรกที่ผู้เขียนเข้าไปทำการบันทึกภาพจิตรกรรมชุดนี้นั้น แม้จะมีบางฉาก เช่นฉากที่ ๒๔ เป็นฉากกาทั้ง ๔ คือ กาขาว กาเหลือง กาแดง กาดำ รักษาพระบรมธาตุ จะง่ายต่อการตีความ แต่อีกกว่าครึ่งที่ยังตีความไม่ออก แม้ว่าจะมองออกอย่างคร่าว ๆ ว่าจิตรกรรมทั้งชุดเป็นตำนานการสร้างพระบรมธาตุก็จริง แต่ในบรรดาเอกสารตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายสำนวน อาจแบ่งเป็นสำนวนร้อยแก้ว ได้แก่ตำนานพระธาตุเมืองนคร ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช สำนวนร้อยกรองอย่าง พระนิพพานโสตร พระศรีธรรมาโศกกลอนสวน และตำนานพระบรมธาตุคำกาพย์ การที่จิตรกรจะเขียนจิตรกรรมเรื่องใดซักเรื่องมักจะต้องมีคัมภีร์แม่บทเล่มใดเล่มหนึ่งเป็นหลักยึด แล้วในบรรดาตำนานพระบรมธาตุหลากหลายสำนวนทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองเหล่านี้ จิตรกรใช้ตำนานเล่มไหนเป็นคู่มือนำทางในการเขียนหลังจากนำภาพจิตรกรรมชุดนี้เข้าปรึกษากับพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ อินฺทโสภิโต) พระเถรผู้มีความเชี่ยวชาญในประเด็นเกี่ยวกับเอกสารโบราณ และตำนานต่าง ๆ ของเมืองนคร ก็พบว่ากุญแจสำคัญที่บ่งชี้ว่าจิตรกรได้ใช้ตำนานเล่มใดเป็นคู่มือนั้นคือฉากแรกของจิตรกรรมชุดนี้ ซึ่งเป็นฉากพระเกษมเถระใช้อิทธิฤทธิ์กำบังกายเข้าไปคว้าเอาพระทันตธาตุองค์หนึ่งจากพระจิตกาธารในขณะที่เพลิงยังมอดไม่สนิทออกมา แล้วจะได้นำพระทันตธาตุองค์นี้ไปประดิษฐานยังนครทันตปุระ การกล่าวถึงฉากพุทธปรินิพพาน การถวายพระเพลิง และการลอบเข้าไปเอาพระเขี้ยวแก้วของพระเกษมเถระนี้ เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ปรากฏเฉพาะแต่ใน พระนิพพานโสตร เท่านั้น จึงเริ่มจับเค้าจากพระนิพพานโสตรนี้ลำดับเรื่องไปตามแต่ละฉาก ก็พบว่าเข้ากันกับจิตรกรรมได้อย่างสนิท และพากันไปจบลงที่ฉากตกลงแบ่งเขตการปกครองกันระหว่างพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กับท้าวอู่ทอง”ภาพพระนิพานโสตร copy

พระนิพพานโสตรคืออะไร

             พระนิพพานโสตร หรือพระนิพพานสูตร เป็นวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง ใช้ฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์เป็นพื้น ประกอบด้วยกาพย์จำนวน ๓ ชนิด คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘xiii เนื้อหาแบ่งเป็นสองส่วน ใหญ่ ๆ คือส่วนว่าด้วยพุทธประวัติ และเหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพานจนกระทั่งถึงสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งส่วนนี้ไม่ เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กับส่วนที่สองคือส่วนที่ว่าด้วยพระทันตธาตุ การเสด็จมายังหาดทรายแก้วของพระทันตธาตุ โดยพระนางเหมชาลา เจ้าชายทนธกุมาร การเสด็จไปยังลังกาของพระทันตธาตุ การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุลงบนหาด ทรายแก้ว และเรื่องราวอีกเป็นอันมากต่อมาจนกระทั่งการสถาปนาเมืองนครศรีธรรมราช และจบลงที่ศึกท้าวอู่ทองดังกล่าวไป แล้วข้างต้น ทั้งนี้ตัวพระนิพพานโสตรเอง ยังแสดงให้เห็นร่องรอยการหยิบยกเอาคัมภีร์สำคัญของลังกาหลายเล่ม อาทิ มหาวงศ์ ถูปวงศ์ ทาฐาธาตุวงศ์ มาพลิกแพลงใช้ในโครงเรื่อง สะท้อนความรุ่มรวยของสรรพตำราบาลี สิงหล ทเี่ คยอดุ มสมบรู ณ์อย่ใู นหอ ตำราเมืองนครสมัยโบราณ และความเชี่ยวชาญคัมภีร์ของปราชญ์เมืองนครแต่เก่าก่อน วรรณกรรมพระนิพพานโสตร ถูกจดบันทึกด้วยอักษรไทยลงบนหนังสือบุดขาวพบแพร่หลายมากในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช และบางจังหวัดในภาคใต้ อายุของต้นฉบับอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕                              พระนิพพานโสตรสำคัญอย่างไร คนปักษ์ใต้รู้ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครจากอะไร หากใช้ความนิยมของนักวิชาการสมัยใหม่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่ตำนานพระบรมธาตุ และตำนานเมืองนครศรีธรรมราชฉบับร้อยแก้ว เพราะเนื้อหาสั้น กระชับ และเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่ามาก ทว่าตำนานฉบับร้อยแก้วนี้มีความขาดห้วงของเรื่องราวอยู่มาก เนื้อความหลาย ๆ ตอนในส่วนที่เป็นปรัมปรานั้นไม่ค่อยปะติดปะต่อกัน ราวกับมีลักษณะที่จะตัดทอนประเด็นที่ผู้แต่งตำนานร้อยแก้วเห็นว่าไม่ค่อยสมเหตุสมผลออกไป หากจะทำความเข้าใจความคิดอ่าน และปรัมปราคติที่คนปักษ์ใต้มีต่อพระธาตุเมืองนครอย่างถ่องแท้แล้ว ตำนานฉบับร้อยแก้วนั้นยังไม่ค่อยตอบโจทย์นัก ทั้งหลาย ๆ เรื่องที่บอกเล่ากันก็ไม่ปรากฏอยู่ในตำนานสำนวนเหล่านี้ แต่ทว่ารายละเอียดส่วนที่เป็นปรัมปราคติทั้งหลายกลับปรากฏรวมอยู่ในพระนิพพานโสตรทั้งสิ้น ทั้งเรื่องพระนางเหมชาลา พระทนธกุมาร เรื่องเงินตรานโม เรื่องภาพยนตร์ เรื่องกาทั้ง ๔ เรื่องพลิติ พลิมุ่ย เอาอัฐิบุตรปั้นรูปพระทรงม้า เรื่องการฝังซ่อนสมบัติของผู้ที่มาไม่ทันการสร้างพระธาตุ ราวกับว่าความเชื่อ ความคิดอ่านทั้งหมดที่แวดล้อมพระบรมธาตุนั้นถูกบรรจุอยู่ในพระนิพพานโสตร หรือในทางกลับกันอาจเป็นพระนิพพานโสตรนี้เองที่เป็นต้นเค้าของปรัมปราคติ และความเชื่อทั้งหลายที่บอกกล่าวเล่าสู่กันในชาวนครมาแต่โบราณ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการสืบทอดเรื่องราวในสมัยโบราณที่มีลักษณะเป็นมุขปาฐะผ่านวาระสำคัญต่าง ๆ หรือผ่านวัฒนธรรมการสวดด้านที่สูญหายไปจากเมืองนคร และเพิ่งเริ่มฟื้นฟูกันใหม่ไม่นานมานี้ การบอกเล่าด้วยกลอนนั้นรื่นหู จดจำได้ง่าย ทั้งอาจตัดลดตกแทรกประเด็นปลีกย่อยเข้าไประหว่างโครงเรื่องหลักเพื่อความบันเทิงในแต่ละวาระ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเย็นโดยกวีผู้เป็นนายของภาษา ในประเด็นนี้ประกอบกับการพบฉบับคัดลอกของพระนิพพานโสตรกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ก็เป็นหลักฐานอันมั่นเหมาะอันหนึ่ง ที่ยืนยันความนิยม และอิทธิพลของพระนิพพานโสตรที่มีต่อสังคมปักษ์ใต้สมัยโบราณซึ่งเสื่อมคลายลง และไม่คุ้นเคยกันแล้วในปัจจุบัน แต่หากท่านผู้อ่านที่พอคุ้นเคยกับปรัมปราคติเกี่ยวกับพระบรมธาตุอยู่บ้าง หากได้พิจารณาเรื่องประกอบจิตรกรรมถัดลงไปด้านล่างนี้ ก็อาจพบกับหลาย ๆ เรื่องที่เคยผ่านการรับรู้ พบคำตอบของตำนานอันไม่รู้ที่มา ราวกับว่าบรรพชนของเรากำลังกระซิบอยู่ข้างหูจากอดีตอันแสนไกล

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0044 copyบรรยายฉาก1คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0046 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0047 คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0048 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0049คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0050 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0051คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0052 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0053คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0054 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0055คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0056 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0057คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0058 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0059คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0060 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0061คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0062 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0063คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0064 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0065คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0066 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0067คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0068 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0069

คุณค่า และข้อสังเกตในจิตรกรรมวัดวังตะวันตก

หลังจากได้ติดตามจิตรกรรมทั้งสองแห่งในวัดวังตะวันตกมาแล้ว ส่วนนี้จะเป็นการขมวดปมตอนสุดท้าย ซึ่งยังต้องถือว่าเป็นเพียงข้อสรุปเบื้องต้นจากการทำงานในระยะเวลาอันสั้นของผู้เขียนเท่านั้น
จิตรกรรมในอุโบสถหลังใหม่ และในศาลาประโชติศาสนกิจ แม้ว่าจะมีเทคนิควิธีเขียนเหมือนกัน โดยช่างกลุ่มเดียวกัน มีกลวิธีในการแบ่งห้องด้วยไม้ยืนต้นเหมือน ๆ กัน แต่วิธีการเล่าเรื่องนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก
                                จิตรกรรมทศชาติชาดกในอุโบสถหลังใหม่ มีวิธีการเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Symbolic – เชิงสัญลักษณ์ อย่างสูง จิตรกรเลือกเขียนชาดกแต่ละตอนด้วยฉากสำคัญเพียงฉากเดียว ซึ่งฉากที่ถูกเลือกมานั้นก็เป็นฉากที่นิยมเขียนกันทั่วไป หรือเป็นฉากไคลแมกซ์ของชาดกเรื่องนั้น ๆ การเขียนทศชาติชาดกในอุโบสถหลังใหม่ จึงไม่ใช่การเขียนเพื่อเล่าเรื่องให้รู้เรื่อง แต่เป็นการเขียนในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้ครบเรื่อง จิตรกรรมที่นี่จึงอาจไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อจะดู แต่มีนัยยะเชิงสัญลักษณ์ และการทำขึ้นเพื่อ”เป็นพุทธบูชา”
ขณะที่จิตรกรรมในศาลาประโชติศาสนกิจ ถูกเขียนขึ้นในศาลาซึ่งเป็นพื้นที่ชุมนุมฆราวาสในหลากหลายโอกาส เป็นที่คนเข้าออกใช้งานมากกว่าอุโบสถ จิตรกรรมในศาลาหลังนี้จึงมีแนวทางต่างออกไป คือเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Narrative – เป็นเรื่องเป็นราว มีลำดับของเรื่องชัดเจนเป็นตอน ๆ แต่ละตอนนอกจากเนื้อเรื่องหลักในตอนนั้น ๆ ยังมีการแทรกบรรยากาศ และตัวละครที่ไม่ได้สำคัญกับเนื้อเรื่องในตอนนั้น ๆ เข้าไป แต่การแทรกนี้ก็ทำให้เนื้อเรื่องแต่ละตอนนั้นกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอย่างมาก คุณลักษณะเช่นนี้สะท้อนความตั้งใจที่จะให้”จิตรกรรมพระนิพพานโสตร – ตำนานพระบรมธาตุ นี้เป็นเรื่องสำหรับชี้ชวนให้กันดู หรือชักนำบุตรหลานมาเล่าสู่ ไม่ใช่ของทำเพียงประดับ หรือเป็นพุทธบูชาเท่านั้น”
                              ในด้านเทคนิคการเขียน และการให้สี ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การเว้นช่องไฟในฉาก การให้สีหลากสี และการใช้ไม้ยืนต้นเป็นตัวจบเรื่องแต่ละตอน เป็นเทคนิคที่พบในงานฮูปแต้ม บนสิมอีสานด้วย อย่างไรก็ตามคุณลักษณะที่สอดคล้องกันนี้ อาจไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่เป็นวิธีการแสดงออกในทิศทางคล้าย ๆ กันของช่างที่ไม่ได้ดำเนินขนบ หรือถูกฝึกปรือมาแบบช่างภาคกลางก็ได้
แม้ว่าจิตรกรรมในวัดวังตะวันตก จะไม่ได้มีอายุยาวนานนัก และไม่ได้มีความเป็นเลิศด้านทักษะฝีมือ แต่ก็มีความสำคัญอย่างสูงในฐานะรอยต่อของความเปลี่ยนแปลงเทคนิคฝีมือทางงานช่าง ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่วิธีการเขียนภาพสมัยใหม่ นับว่าเป็นของน่าชมอยู่ อีกทั้งการเขียนเรื่องพระนิพพานโสตร ตำนานพระธาตุเมืองนคร ก็ยังพบที่นี่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังคงสมบูรณ์จนจบเรื่อง “เหล่านี้เป็นสมบัติของวัดวังตะวันตก และเป็นสมบัติของเมืองนครศรีธรรมราชที่ล้ำค่าควรแก่การหวงแหนรักษาสืบต่อไป”       (ต่อตอน 3)

ขอขอบคุณ

 พระครูเหมเจติยาภิบาล(โสพิส อินทโสภิโต) วัดพระนคร/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช/คุณประสงค์ จิตต์มนัส ร้านเสือผิน

คุณศุภชัย แซ่ปุง /คุณวันดี ศรีเผด็จ(อมรศักดิ์)/คุณอุทุมพร(หมู) มิตรรัญญา/คุณอรุณรัตน ริเริ่มสุนทร/คุณนิเวศน์ มัชฌเศรษฐ์ /คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณปุณิกา พันธรังษี/คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์/คุณสมศักดิ์ ศรีสุข

 ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจและจากสถานที่ ต่างๆ ข้อมูลจากคัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนครและนานาของดีที่วัดวังตะวันตก กลางเมืองนคร หนังสือที่ระลึกการทอดกฐินวัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช,บุคคลที่นำ มาเผยแพร่ ความเป็นอดีตที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อเป็น””พุทธบูชา””ต่อพระบรมธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

ขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์  สรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรและบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อ การเผยแพร่
ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้น แล
ในนามของคณะผู้จัดทำ
นายโกมล พันธรังษีและครอบครัว“พันธรังษี”

 

 

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>