คัมภีร์พระนิพพานโสตร “ตำนานแห่งพระบรมธาตุ” เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 3

มี.ค. 25

คัมภีร์พระนิพพานโสตร “ตำนานแห่งพระบรมธาตุ” เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 3

ตอนที่ 2(ตอนที่ 3 ของจิตกรรมฝาผนังวัดวังตะวันตก) ตำนานแห่งการสร้างพระบรมธาต เมืองนครศรีธรรมราช  เรื่องราวของผู้ติดทองหลังพระ ที่ท่านได้สละเวลาของตนเองและครอบครัว เพื่อรังสรรค์เรืองราวของการสร้างพระบรมธาตุ  ซึ่งเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองคอน และชาวพุทธทั้วไปของ”คุณครูอุดร มิตรรัญญา”ให้เห็นถึงความยึดมั่นของพุทธมามะกะของชาวพุทธท่านหนึ่งที่มีความตั้งใจสร้างผลงานเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสานาในงานแบบจิตรกรรมฝาผนัง โดยไม่หวังผลตอบแทน/ไม่หวังลาภยศและ ไม่หวังชื่อเสียง“ทำเพื่อเป็นการทำบุญ”ท่านเคยปรารภไว้กับบุตรสาว

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0070 copy

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0071คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0072 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0073คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0074 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0075คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0076 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0077คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0078 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0079คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0080 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0081คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0082 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0083คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0084 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0085คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0086 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0087คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0088 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0089

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0090 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0091คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0092 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0093คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0094 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0095คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0096 copyคัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0097

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0098 copy

คุณค่า และข้อสังเกตในจิตรกรรมวัดวังตะวันตก

      จิตรกรรมในศาลาประโชติศาสนกิจ ถูกเขียนขึ้นในศาลาซึ่งเป็นพื้นที่ชุมนุมฆราวาสในหลากหลายโอกาส เป็นที่คนเข้าออกใช้งานมากกว่าอุโบสถ จิตรกรรมในศาลาหลังนี้จึงมีแนวทางต่างออกไป คือเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Narrative – เป็นเรื่องเป็นราว มีลำดับของเรื่องชัดเจนเป็นตอน ๆ แต่ละตอนนอกจากเนื้อเรื่องหลักในตอนนั้น ๆ ยังมีการแทรกบรรยากาศ และตัวละครที่ไม่ได้สำคัญกับเนื้อเรื่องในตอนนั้น ๆ เข้าไป แต่การแทรกนี้ก็ทำให้เนื้อเรื่องแต่ละตอนนั้นกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอย่างมาก คุณลักษณะเช่นนี้สะท้อนความตั้งใจที่จะให้จิตรกรรมพระนิพพานโสตร – ตำนานพระบรมธาตุ นี้เป็นเรื่องสำหรับชี้ชวนให้กันดู หรือชักนำบุตรหลานมาเล่าสู่ ไม่ใช่ของทำเพียงประดับ หรือเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
                    ในด้านเทคนิคการเขียน และการให้สี ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การเว้นช่องไฟในฉาก การให้สีหลากสี และการใช้ไม้ยืนต้นเป็นตัวจบเรื่องแต่ละตอน เป็นเทคนิคที่พบในงานฮูปแต้ม บนสิมอีสานด้วย อย่างไรก็ตามคุณลักษณะที่สอดคล้องกันนี้ อาจไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่เป็นวิธีการแสดงออกในทิศทางคล้าย ๆ กันของช่างที่ไม่ได้ดำเนินขนบ หรือถูกฝึกปรือมาแบบช่างภาคกลางก็ได้
แม้ว่าจิตรกรรมในวัดวังตะวันตก จะไม่ได้มีอายุยาวนานนัก และไม่ได้มีความเป็นเลิศด้านทักษะฝีมือ แต่ก็มีความสำคัญอย่างสูงในฐานะรอยต่อของความเปลี่ยนแปลงเทคนิคฝีมือทางงานช่าง ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่วิธีการเขียนภาพสมัยใหม่ นับว่าเป็นของน่าชมอยู่ อีกทั้งการเขียนเรื่องพระนิพพานโสตร ตำนานพระธาตุเมืองนคร ก็ยังพบที่นี่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังคงสมบูรณ์จนจบเรื่อง เหล่านี้เป็นสมบัติของวัดวังตะวันตก และเป็นสมบัติของเมืองนครศรีธรรมราชที่ล้ำค่าควรแก่การหวงแหนรักษาสืบต่อไป

                                                                                   ขอขอบคุณ

พระครูเหมเจติยาภิบาล(โสพิส อินทโสภิโต) วัดพระนคร/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช/คุณประสงค์ จิตต์มนัส ร้านเสือผิน

คุณศุภชัย แซ่ปุง /คุณวันดี ศรีเผด็จ(อมรศักดิ์)/คุณอุทุมพร(หมู) มิตรรัญญา/คุณอรุณรัตน ริเริ่มสุนทร/คุณนิเวศน์ มัชฌเศรษฐ์ /คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณปุณิกา พันธรังษี/คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์/คุณสมศักดิ์ ศรีสุข

 ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจและจากสถานที่ ต่างๆ ข้อมูลจากคัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนครและนานาของดีที่วัดวังตะวันตก กลางเมืองนคร หนังสือที่ระลึกการทอดกฐินวัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช,บุคคลที่นำ มาเผยแพร่ ความเป็นอดีตที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อเป็น””พุทธบูชา””ต่อพระบรมธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

ขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์  สรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรและบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อ การเผยแพร่
ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้น แล
ในนามของคณะผู้จัดทำ
นายโกมล พันธรังษีและครอบครัว“พันธรังษี

 

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *