“ประดู่”กับความทรงจำที่หายไปจาก ราชดำเนิน-สวนป่าราชฤดี..เมืองคอน

ก.ค. 20

“ประดู่”กับความทรงจำที่หายไปจาก ราชดำเนิน-สวนป่าราชฤดี..เมืองคอน

Picture 160

“”ร่มเงาประดู่”" ณ ย่านธุรกิจท่าวัง ภาพจากตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯที่ระลึกจากไปไม่มีวันกลับ ของนายพงษ์ศรี ภูมะธน 

                       เมืองคอนเป็นเมืองที่ร่มรื่น มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต ไม่เว้นตามถนนหนทางเต็มไปด้วยต้นหมาก-รากไม้-สิงสาราสัตว์  ไม่เว้นแม้นในตัวเมืองคอน ถนนราชดำเนิน สถานที่ต่างๆ อีกหลายสถานที่ในเมืองคอนในอดีตที่เกี่ยวเนืองกับการเป็นคนเมืองคอน  ให้เป็นการรำลึกความเป็นมา มีภาพรำลึกภาพหนึ่งที่ผู้เขียนได้เคยรับรู้จากคนเก่าคนแก่ของเมืองคอน คือคุณเสรี ชมภูโกศ ปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตแล้ว  ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเมืองคอนแก่ผู้เขียนว่า ถนนราชดำเนินจะมีการปลูกต้นประดู่ทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่วัดพระบรมธาตุถึงท่าวัง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน  ดอกประดู่จะบานและร่วงพร้อมกันทั้งต้น ลงบนถนนราชดำเนินตั้งแต่วัดพระบรมธาตุ ถึงท่าวัง ดอกประดู่จะเป็นลักษณะสีเหลืองแกมแสด เมื่อต้องแสงจะเป็นภาพที่สวยงาม เป็นภาพให้นึกถึงความงดงาม ที่หาไม่ได้อีกแล้ว และต้นประดู่ขนาดใหญ่ขนาด 1 คนโอบและโตกว่า ที่ปลูกมาเป็นร้อยๆปีต้องมาโค่นลงเพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ให้แก่ สมัยพล อ.ประภาส จารุเสถียร ในช่วงประมาณปีตั้งแต่ พ.ศ.๒๕0๕  โดยขนส่งทางเรือทางปากพนังโดยเรือเดินสมุทธชื่อ”หรินทร์” ซึ่งเดิมท่านเคยททำงานเกี่ยวกับการเดินเรือทะเล  เป็นที่น่าเสียดาย”ความร่มรื่น”นั้นนัก

                                                ผู้เขียนมีความสงสัยว่า”ต้นประดู่”ที่ปลูกริมถนนทั้งสองฝั่งถนนราชดำเนินเริ่มต้นและสิ้ันสุด ณ ที่ได เมือได้อ่านคำไว้อาลัยแด่หลวงสมุทอัษฎงค์ เมื่อ ๒0กย.๒๕๒๓  คุณเอกวิทย์ ณ ถลาง จึงมีคำตอบ ท่านเขียนบรรยายไว้ว่า”นคร้งนั้นเมืองนครศรีธรรมราชมีต้นประดู่ร่มรื่นตลอดทางตั้งแต่บริเวณหน้าวัดพระบรมธาตุ มาถึงหน้าโบสถ์พราหมณ์หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ถึงสะพานนครน้อย จวนผู้ว้าราชการจังหวัด ศาลาโกหก ตลาดแขก เจดีย์ยัก โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา เว้นบริเวณตลาดท่าวังอันเป็นย่านธุรกิจ และไปร่มรืนอีกช่่วงหนึ่งตั้งแต่เชิงสะพานราเมศร์ถึงสวนป่าซึ่งบัดนี่้เป็นสนามกีฬาประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ภาพเหล่านี้เป็นความทรงจำตลอดไป

25-tile

 ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณหน้าวัดพระบรมธาตุ โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ ภาพจากจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/จากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์  ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)pหอนาฬิกา444

ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณสุขศาลาและหนังวังเจ้าเมืองคอน พ.ศ.๒๔๗๗ จากสารนครศรีธรรมราชเรือนจำร่มเงาต้นประดู่บริเวณสะพานนครน้อยย้อนไปทางวัดพระบรมธาตุอันร่มรื่น ภาพจากจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/อาจารย์พวงผกา ตลิงจิตต์ อาจารย์ สุเบญจางค์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมลเบญจมราชูทิศ /คุณจรัส ยกถาวร  

สะพานนครน้อย-tileกำแพงเมือง8ร่มเงาต้นประดู่บริเวณสะพานนครน้อยย้อนไปทางวัดพระบรมธาตุอันร่มรื่น มองทางทิศตะวันออก ภาพจากจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน /นิราสปากพนังหลวงประคองคดี พ.ศ.2482Picture 2544579

“ร่มเงาศาลาประดู่หกต้น” ศาลาโกหก” ศาลาโดหก” หน้าเมืองเมืออดีต  ที่พักของประชาชนที่เข้าเมืองไม่ได้ ด้วยเดิมประตูเมืองปิด-เปิดเป็นเวลาถ้าเข้าเมืองไม่ทันต้องนอนพักที่ศาลาหน้าเมือง เพื่อรอประตูเมืองเปิด ชั้นเดิมเป็นศาลาสร้างด้วยไม้ขนาดไม่ใหญ่นัก ทุกเมืองจะต้องมีศาลาไว้หน้าเมือง  ข้อมูลจาก ข้อมูลรายวัน จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมาลายู พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ รศ.121 /คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน

IMG_00781-copyIMG_0080-copy

ร่มเงาประดู่ การประชุมของคณะกรรมการเพื่อจัดงานประจำปี พ.ศ.2477 ณ.ศาลาประดู่หก(งานเดือนสิบ)ภาพจากคุณบัณฑิต พูลสุขหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี

Picture 1046613IMG_2150-copy

ร่มเงาประดู่ P1060574

06-tile

   ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณพลับพลาที่ประทับสนามหน้าเมือง ภาพจากจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/คุณศุภชัย แซ่ปุงถนนราชดำเนิน 2504(อรรถ)

ใต้ร่มเงาประดู่ ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์และคณะในงานเทศกาลเดือนสิบ  นำโดยท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช  คุณอนันต์ศิริรักษ์ ฯลฯ เตรียมพร้อม ณ ร่มเงาประดู่หน้าถนนราชดำเนิน กองกำกับสถานีตำรวจนครศรีธรรมราช ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ.๒๕0๔ จากคุณอรรถ ศิริรักษ์Picture 478-tile

ร่มเงาประดู่  ณ บริเวณสถานีตำรวจภูธรและโรงเรียนการช่างสตรี ภาพจากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์  ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) จากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิimg006ต้ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณเจดีย์ยักษ์ ภาพจากคุณจรัส ยกถาวรPicture 2544990ร่มเงาประดู่ช่วงราชดำเนินภาพจากจากคุณหงกิม(โก้กิ้ม)/คุณอรุณรัตน์/คุณบริพันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร

2011-01-24 16-32-15_0091-tileหน้าเทศบาล

ร่มเงาประดู่  ณ บริเวณสี่แยกตลาดแขก ย่านท่าวังและ หน้าเทศบาลนคร นครศรีธรรมราชภาพจากคุุณศุภชัย แซ่ปุง8โรงพยาบาลมิชชันนารีเมืองนคร พ.ศ-tile11ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณโรงพยาบาลมิชชันนารี โบสถ์คริสและโรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/คุณชวลิต อังวิทยาธรUntitled-422-tile

ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณย่านธุรกิจสี่แยกท่าวังจากอดีต ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ อาจารย์สุเบญจางค์ เบญจมราชูทิศ คุณจรัส ยกถาวร906350_10203636176799321_5261033969186417703_o222-tile

ร่มเงาประดู่ ณ บริเวณสี่แยกท่าวัง ภาพจากอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางทองพูน ทองสมัคร 27 ตค.25282011-02-14 20-20-17_0210

ร่มเงาประดู ช่วงถนนราชดำเนิน ภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร สารนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2477

Picture 160ร่มเงาประดู่ ณ ย่านธุรกิจท่าวัง ภาพจากตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯจากไปไม่มีวันกลับของนายพงษ์ศรี ภูมะธน กำแพงเมือง10ใต้ร่มเงาประดู่บริวเวณสะพานราเมศร์ จากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน

และเมื่อถึงเวลาปัจจุบัน “ต้นประดู่”ที่เคยสมบูรณ์ตามท้องถนนจากวัดพระบรมธาตุ จนถึงสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจบันไม่มีเลยก็ว่าได้ เป็นที่หน้าเสียดาย “ความเป็นธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์ของเมือง

P1060523-tile

 ไร้เงาประดู่ หน้าวัดพระบรมธาตุและโรงเรียนวัดพระบรมธาตุP1060535-tile

ไร้ร่มเงาประดู่หน้าสุขศาลา หน้าวังเจ้าเมือง เรือนจำนครศรีธรรมราชP1060544-tile

ไร้ร่มเงาแม่้นได้ชื่อว่า”ศาลาประดู่หก” P1060588-horzpagepage2

กำลังสร้างประวัติศาตร์หน้าใหม่”ศาลาประดู่หกต้น”ศาลาโหก”P1060601-tileไร้เงาประดู่ บริเวณน้ำพู หน้าสถานีตำรวจภูธรนครศรีธรรมราชP1060611-tile

ไร้เงาประดู่สี่แยกตลาดแขก หน้าเทศบาลนคร นครศรีธรรมราชP1060623-tileไร้เงาประดู่หน้าโบสถ์คริส โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยาและโรงพยาบาลมิชชันนารีP1060628-tile

ไร้เงาประดู่ ย่านธุรกิจท่าวังและร้านนครพันธ์P1060649ไร้เงาประดู่สะพานราเมศร์ถึงสวนป่าราชฤดีP1020041

ชื่อวิทยาศาสตร์ - Pterocarpus indicus Willd.

ชื่ออื่นๆ - ประดู่อังสนา, ประดู่บ้าน, ดู่ป่า (เหนือ), อะนอง, ดู่

ชื่ออื่นๆ (อังกฤษ) - Burma Padauk


ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลม แตกกิ่งก้านสาขากว้าง มีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ

ใบ – เป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว

ดอก -  ออกเป็นช่อบริเวณโคนก้านใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่ สีเหลือง แต่ดอกเล็ก ส่งกลิ่นหอมไกล ออกดอกก่อนฤดูฝน ดอกจะบานพร้อมกันและโรยพร้อมกัน

ผล – มีขนเล็กๆปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร


ประโยชน์

เนื้อไม้ ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล ใบอ่อนใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว แก้ผดผื่นคัน ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย เนื้อไม้ประดู่นำไปใช้ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานสูง เนื้อไม้มีสีสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตบแต่งชักเงาได้ดี จากการเปรียบเทียมกับไม้สักที่ประเทศพม่าพบว่าไม้ประดู่มีความแข็งมากกว่าไม้สัก 2 เท่า และหนักกว่าร้อยละ 24 ค่าความแข็ง 925 กก. และมีความทนทานตามธรรมชาติ (การทดลองฝังดิน) เฉลี่ย 14 ปี ดังนั้นการใช้ไม้ประดู่ในการก่อสร้างจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนไม้ขนาดเล็กใช้ทำไม้ปาร์เก้ ไม้ประสานแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นไม้ชุบซีเมนต์ได้ฟืนและถ่านไม้ประดู่ให้ความร้อน 5,022 และ 7,539 แคลอรี่ต่อกรัมตามลำดับ เปลือกไม้ประดู่ใช้ย้อมผ้าได้และให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังแก่นให้สีดำคล้ำใช้ย้อมผ้า

ประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์ ประดู่เป็นไม้เรือนยอดกลมโต แข็งแรงจะช่วยป้องกันลมและคลุมดิน ให้ร่มเย็นชุ่มชื้นและรองรับน้ำฝนลดแรงปะทะหน้าดินน้อยลงประกอบกับระบบรากหยั่งลึกแผ่กว้าง เช่นเดียวกับเรือนยอด จะช่วยยึดดินไม้ให้พังทลายได้ง่ายและรากมีปมใหญ่ ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในรูปไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย ใบหนาแน่นเมื่อร่วงหล่นผุพัง เพิ่มธาตุอาหารอินทรียวัตถุแก่ดินอย่างมาก


ความเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง

ข้อมูลจากhttp://www.satitm.chula.ac.th/cudbiomap/plants_pages/pradu.html

ขอขอบคุณ

คุณเสรี ชมภูโกศ /คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์

ตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯนายพงษ์ศรี ภูมะธน จากไปไม่มีวันกลับ/อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนางทองพูน ทองสมัคร วันที่ 27 ตุลาคม2528

คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/คุณอรรถ ศิริรักษ์/อาจารย์พวงผกา ตลิงจิตต์ อาจารย์ สุเบญจางค์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล  เบญจมราชูทิศ

สารนครศรีธรรมราช/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/คุณอำนวย ทองทะวัย ราชภัฎนครศรีธรรมราช

คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์  ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) /คุณศุภชัย แซ่ปุง

คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณปุณิกา พันธรังษี/คุณสุรินทร์ ศิริพันธุ์/คุณขวัญชัย มานะจิตต์

 

 

 

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>