ภาพแปะฟ้าเมืองคอน- ย่านท่าเรือท่าวัง วัดจันทาราม-ถนนศรีปราชญ์

ม.ค. 18

ภาพแปะฟ้าเมืองคอน- ย่านท่าเรือท่าวัง วัดจันทาราม-ถนนศรีปราชญ์

241193 - Copy

x151021093109606843581.jpg.pagespeedด่านศุลกากรนครศรีตั้งอยู่ริมคลองบริเวณสะพานราเมศวร์ ตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2481

ณ ดินแดนท้องน้ำตรงนี้อดีตเคยมีเรือสำเภา 3 หลัก เข้ามาจอดทอดสมอเทียบท่าขนส่งสินค้า เข้า-ออก หน้าด่านภาษีซึ่งสร้างอยู่ ณ เชิงสะพาน ด่านศุลกากรนครศรีตั้งอยู่ริมคลองบริเวณสะพานราเมศวร์ ตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2481
ประวัติเดิมการสร้างตะพาน ผู้สร้างครั้งแรกคือ หลวงระงับประจันตคาม(#ผู้ติดทองหลังพระอีกท่านหนึ่ง) เป็นผู้สร้างตะพานท่าวัง โดยใช้เสาไม้เคี่ยม 34 เสา และตั้งชื่อว่า”ตะพานอำเภอเมือง” และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2449 เป็น”สะพานราเมศวร์”ข้อมูลภาพและภาพจากอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ อาจารย์ชาลี  ศิลปรัศมี สารนครศรีธรรมราช ด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2564

231326-horz

ภาพอดีตคลองท่าวัง ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายจากหลังบ้านคุณวาทิต ชาติกุล เมือ ธันวาคม 2564 

ศรีทวีฝั่งเหนือ-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณหน้าวัดศรีทวีที่มีการปรับปรุงรางน้ำ ทั้งด้านทิศเหนือแหละทิศให้ตของถนน ภาพจากรายงานการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2564

249729

จากคุณวันพระ สืบสกุลจินดา

คำกลอนของท่านเจ้าคุณม่วง ผู้ให้กำเนิดวิชาความรู้ด้านต่างๆ เป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนแก่เยาวชนของภาพใต้ ซึ่งท่านได้ประพันธ์ไว้ และนี้คือวัดหนึ่งในคำกลอน “”ใครยากเป็นช่างไปอยู่วัดจัน”

IMG_0003

 ประวัติท่านเจ้าคุณม่วง หรือพระรัตนธัชมุนี อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์

    ท่านเจ้าคุณม่วง หรือพระรัตนธัชมุนี อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองนามองค์หนึ่งในสมัยของรัชกาลที่ 5 เจ้าคุณม่วงผู้ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในด้านการสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนา การศึกษาและการพัฒนาบ้านเมือง โดยเป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิกการศึกษาของภาคใต้ และวางรากฐานการศึกษาจนเจริญมาตราบเท่าทุกวันนี้

    ชาติภูมิของท่านเจ้าคุณม่วงเป็นชาวบ้านเพิง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เกิดเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2396 ได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร และเข้าอุปสมบทที่วัดท่าโพธิ์ โดยมีพระครูการาม (จู) เจ้าอาวาสในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ตลอดมาจนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ จากพระครูการาม(จู)

    ปี พ.ศ.2432 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการพระศาสนาในหัวเมืองภาคใต้ เจ้าคุณม่วงได้เข้าเฝ้าหลายครั้ง และมีความเลื่อมใสในพระองค์มาก จึงทูลขอตามเสด็จมาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ โดยโปรดให้พักอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม และบวชแปลงจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุตนิกาย ต่อมาเมื่อสอบไล่แปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ 4 ประโยคแล้ว เจ้าคุณม่วงจึงลากลับไปอยู่วัดท่าโพธิ์ตามเดิม

    ปี พ.ศ.2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้ และได้แวะประทับ ณ เมืองนครศรีธรรมราช เจ้าคุณม่วงซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระมหาได้เข้าเฝ้าหลายครั้งด้วยกัน เมื่อทรงทราบว่าเป็นผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัย ประกอบกับว่าเป็นสหชาติ (เกิดปีเดียวกัน) จึงทรงตั้งให้เป้นพระราชาคณะที่ “พระศิริธรรมมุนี”

     ในปีต่อมา พ.ศ.2442 โปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งสมัยนั้นมีอาณาเขตตลอดไปถึง จ.ปัตตานี มีหน้าที่อำนวยการศึกษาในมณฑลด้วย ท่านได้จัดการบริหารกิจการคณะสงฆ์และการศึกษาได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่โปรด ปรานของรัชกาลที่ 5 และต่อมาท่านเจ้าคุณม่วงได้เลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนกระทั่งเป็น “พระรัตนธัชมุนี” ในปีพ.ศ.2466 สมัยรัชกาลที่ 6

      ผลงานสำคัญของท่านเจ้าคุณม่วงคือ จัดตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นที่หอฉันวัดท่าโพธิ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2434โดยเป็นผู้อำนวยการสอนเอง และมีพระภิกษุจรจากมหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพฯมาเป็นครูผู้ช่วย ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนหลวงมีชื่อว่า “โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา” แล้วเปลี่ยนมาเป็น เป็น “ศรีธรรมราช” มีฐานะเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำเมืองนครศรีธรรมราช ปัจจุบันคือ “โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” นับเป็นโรงเรียนเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุด และมีรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของท่านประดิษฐานอยู่

พ.ศ. 2468 แผนกฝึกหัดครูถูกยกเลิกไป พ.ศ. 2473 มีหนังสือราชการเรื่องการแยกโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชออกเป็น 3 โรงเรียน คือ

  1. “แผนกชาย” เป็น “โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  2. “แผนกสตรี” เป็น “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปัจจุบัน คือ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
  3. “แผนกช่างถม” เป็น “โรงเรียนประถมวิสามัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

     เจ้าคุณม่วงได้ปฏิบิตหน้าที่ผู้อำนวยการศึกษามณฑลนครศรีฯด้วยความเสียสละและ อดทน โดยเดินทางออกตรวจและจัดการโรงเรียนตามอำเภอต่างๆ ของเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา จะนะ เทพา หนองจิก ตานี ยะหริ่ง และสายบุรีเป็นเวลาถึง 190 วัน จัดตั้งโรงเรียนได้ 21 โรง โดยใช้ทุนจากเงินที่ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนช่วยกันเรี่ยไรบริจาคมาดำเนินการเป็นส่วนใหญ่

      สมัยนั้นการคมนาคมเต็มไปด้วยความยากลำบาก โดยมากจะเป็นการเดินทางด้วยเรือแจวและเรือพาย บางครั้งก็ต้องเดินเท้า บางแห่งเป็นป่าก็ต้องใช้ช้างเป็นพาหนะ หรือไม่ก็ต้องนอนค้างแรมในเรือ แต่ท่านก็ฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายมาได้อย่างราบรื่น โดยมีข้าราชการและผู้นำท้องถิ่น ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

      นอกจากจะเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงเรียนฝ่ายสามัญแล้ว ท่านเจ้าคุณม่วง ยังริเริ่มก่อตั้งแผนกวิชาช่างถม ขึ้นที่ โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา เป็นโรงเรียนแรก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมอัมีค่าของท้องถิ่นให่มีอายุยืนยาว สืบไป สละเงินนิตยภัตของท่านเป็นเงินเดือนครูและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จนกระทั่งทางราชการได้รับช่วงไปเป็นโรงเรียนหลวงประเภทวิสามัญ

      ด้วยเหตุที่ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนา การศึกษา และสังคมไว้อย่างมาก รวมทั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ให้การอุปสมบทกุลบุตรไว้มากมายจึงทำให้มีลูก ศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก

เจ้าคุณม่วงถึงกาลมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2477 รวมอายุได้ 82 ปี 62 พรรษา ทรงมำพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้รับงานบำเพ็ญกุศลศพไว้ในพระบรม ราชูปถัมภ์ และพระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศ ในงานพระราชทานเพลิงศพมีประชาชนนับหมื่นมาเข้าขบวนแห่โกศศพจากวัดท่าโพธิไป สู่เมรุสนามหน้าเมืองซึ่งสร้างเป็นกรณีพิเศษ ขบวนแห่นั้นยาวถึง 100 เส้น นับเป็นขบวนที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชเลยทีเดียว

 

Picture 10470171-vert

ภาพอดีตเมืองคอน บริเวณถนนศรีปราชญ์ช่วงหลังวัดจันทาราม ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2562

ว-084-16_นพวิชัย_23ตค2515-horz

ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน”ภาพธรรมมาส อันวิจิตรสวยงามของวัดจันทาราม ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล

หน้ากุฏิวัดจันทาราม-tile

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณหน้ากุฏิ  ปี 2512 ที่มีลวดลายอันสวยงามภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพบริเวณเดียวกัน ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล เมือ ธันวาคม 2564IMG_00132-horz

ภาพอดีตบริเวณวัดจัน ปี 2512 เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวรรณวิทย์ ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ 

SAM_2485-tile

SAM_2502-tile

ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน” ถ่ายก่อนบูรณะ ปี2554

10720342_663552790427670_482449863_o

หน้าบรรณวันจัน

10729112_663552583761024_1038142277_n-tile

ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน” ถ่ายก่อนบูรณะ ปี2557 ถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ์

0d4e0bea-e6fc-40e3-bd57-10830b820c69-tile

fa0b48c2-0505-4e58-be44-3eb69a2af992-tile

ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน” ถ่ายหลังบูรณะบูรณะ  เมื่อ 22 ธันวาคม 2564 โดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล

81-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพแห่เทียนพรรษาบริเวณหน้าโบสถ์วัดจันทาราม ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร คุณสายัณห์  ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ 22 ธันวาคม 2564 โดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล 

Picture 1047010-tile-vert

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนศรีปราชญ์ เดิมคือโรงแรมทักษิณ ปัจจุบันคือโรงแรม B2 ภาพจากรายการกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2564

Picture 1047015-tile

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนชมภูพล ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2562 ธันวาคม 2564

240652-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณตรงข้ามห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล

240653-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูล บิ๊กซี และมาเป็นห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล

เดิมบริเวณนี่เคยเป็นที่ตั้งของโรงเลื่อยจักรโดยใช้จักรไอน้ำของนายแกะ ธรรมสุนทร และช่วงหนึ่งของชีวิตที่กำลังศึกษาในช่วงปิดเทอมของโรงเรียนเบญจมราชูทิศได้เข้ามาทำงานเพื่อหาค่าใช้จ่ายและค่าเทอมประมาณปี 2519

Picture 1047013-tileภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณหลังวัดวังตะวันออก หน้าไมอามี่ไนท์คลับเดิม ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณขวัญชัย มานะจิตต์ ข้อมูลภาพจากคุณปราโมทย์ ด่านสกุล 

 

240654-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพศาลาเทศบาลถ่ายเมือ พ.ศ.2442 ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ภาพปัจจุบันจากกูเกิลPicture 1047014-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนกาชาด ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2562

Picture 1047019-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนชลวิถีย้อนไปถนนกาชาด ภาพจากรายงานกิจการ2510 ภาพปัจจุบันถ่าเมื่อ ธันวาคม 2562

Picture 1047007-vert

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพถนนชลวิถีมองย้อนไปถนนเนรมิต ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล

Picture 10470061-vert

ภาพอดีตบริเวณสี่แยกกาชาด มองย้อนไปถนนเนรมิต จะมองเห็นโรงสีข้างของขุนบวร ภาพจากรายการกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2562

DCIM100MEDIADJI_0011.JPG

ภาพวิทบาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช มุมสูง ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล ภาพด้านหน้าวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราชถ่ายเมือ ธันวาคม 2564

ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

วิทยาลัย “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า” เปิดท าการสอนครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2481 โดย ใช้สถานที่ของโรงเรียนศิลปหัตถกรรม (หน้าวัดวังตะวันออก) รับนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียนหลักสูตร 2 ปี ส าเร็จแล้วเทียบเท่าประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช มีประวัติโดยสังเขป ดังนี้ ปี พ.ศ.2481   - วิทยาลัยฯ มีชื่อว่า “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า” เปิดท าการสอนครั้งแรกโดยใช้สถานที่ของโรงเรียนศิลปหัตถกรรม  หน้าวัดวังตะวันออก รับนักเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เรียนหลักสูตร 2 ปี ส าเร็จแล้วเทียบเท่าประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น ปี พ.ศ.2482  – ย้ายมาตั้งที่ถนนราชด าเนิน ใกล้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน โดยใช้สถานที่ของวัดพระเงิน  ซึ่งเป็นวัดร้าง ปี พ.ศ.2491 – เปิดสอนหลักสูตรการช่างสตรีและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราช” ปี พ.ศ.2516 – ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช” ปี พ.ศ.2523  – กระทรวงศึกษาธิการประกาศแยกวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชออกเป็นวิทยาลัยเอกเทศ  วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช/ข้อมูลบางส่วนจากวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช/จากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ 

โรงเรียนการช่างสตรี วิชาเรียนมี3แผนก 1แผนกอาหาร 2แผนกผ้า 3แผนกคหกรรม

298992_285344534831837_1933809487_n-horz

ภาพอดีตเมืองคอน ภาพวิทยาลัยอาชีวศึกษา ขณเป็น”โรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณคุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก) ภาพปัจจุบันจากกูเกิล

IMG_00052

IMG_00051-horz

พิธีไหว้ครู 2514  ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ

IMG_00011-horz

ช่วงเรียน มศ.6 ถ่ายช่วงใกล้จบ สมัยนั้นจะไปจ้างร้านมาถ่ายภาพ น่าจะเป็น ร้านห้องช่าง ซึ่งยุคนั้นเป็นที่นิยม อยู่ตรงข้ามกับวิทยาลัยฯเรียน มศ.6 ถ่ายช่วงใกล้จบ สมัยนั้นจะไปจ้างร้านมาถ่ายภาพ ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ

การเรียนยุคนั้ันจะใช้หลักสูตรการเรียน 7+3+2(กรณีสายสามัญ)สายอาชีพ  ม.ศ.6

IMG_00122-horz

ถ่ายภาพหมู่ก่อนจบการศึกษา 2515  และเรียนจบวิชาการตัดเสื้อโดยตัดชุดไทย เมื่อเสร็จนักเรียนแต่ละท่านต้องสวมใส่ของตนเองถ่ายรูป ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ 

ความร่มรื่นเมืออดีตทั่วอาณาบริเวณ

IMG_00131-horzIMG_00032-horz

ความร่มรื่นภายในวิทยาลัย กับภาพความสำเร็จของการเรียนวิชาตัดเสื้อและวิชาทำผม  ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ

  • กาลเวลาเปลื่ยนไป กาลเวลาย่อมกลืนกินทุกสรรพสิงความร่มรื่นภายในวิทยาลัย ยังคงเหลือแต่ป่าคอนกรีต

240392-horz

ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2564

Picture 1047016-horz

ภาพอดีตเมืองคอน บริเวณถนนมเหยงค์ ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล

Picture 1047005-tile

 ภาพอดีตเมืองคอน ภาพถนนพะเนียด ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2564

ขอขอบคุณ

รายงานกิจการ ปีพ.ศ.2510 นครศรีธรรมราช

คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณปราโมทย์ ด่านสกุล/JILL JILL จิว จิว /Sriroj James Anutaraset/คุณยุรี อังวิทยาธร

 

2 comments

  1. นายสุเมธ /

    ภาพบริเวณห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูล บิ๊กซี และมาเป็นห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532
    จากภาพน่าจะปี 2534 ครับ

    • นายสุเมธ /

      ภาพบริเวณห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูล บิ๊กซี และมาเป็นห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532….
      ตรงนั้นเมื่อก่อนเป็นโรงเลื่อยไม้เก่า และมีอาคารบ้านไม้เป็นแถว เรียกแถวนั้นว่าหน้าโรงเลื่อย สามารถเดินทะลุไปตลาดสดคูขวางได้ นับว่าเป็นป่าในเมืองก็ว่าได้ พอปี 2529 – 2534 มีการรื้อถอนบ้านเก่าเป็นสนามกว้างสร้างห้างสรรพสินค้า

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>