ภาพแปะฟ้าเมืองคอน- ย่านท่าเรือท่าวัง วัดจันทาราม-ถนนศรีปราชญ์
ม.ค. 18
ด่านศุลกากรนครศรีตั้งอยู่ริมคลองบริเวณสะพานราเมศวร์ ตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2481
ณ ดินแดนท้องน้ำตรงนี้อดีตเคยมีเรือสำเภา 3 หลัก เข้ามาจอดทอดสมอเทียบท่าขนส่งสินค้า เข้า-ออก หน้าด่านภาษีซึ่งสร้างอยู่ ณ เชิงสะพาน ด่านศุลกากรนครศรีตั้งอยู่ริมคลองบริเวณสะพานราเมศวร์ ตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2481
ประวัติเดิมการสร้างตะพาน ผู้สร้างครั้งแรกคือ หลวงระงับประจันตคาม(#ผู้ติดทองหลังพระอีกท่านหนึ่ง) เป็นผู้สร้างตะพานท่าวัง โดยใช้เสาไม้เคี่ยม 34 เสา และตั้งชื่อว่า”ตะพานอำเภอเมือง” และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2449 เป็น”สะพานราเมศวร์”ข้อมูลภาพและภาพจากอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ อาจารย์ชาลี ศิลปรัศมี สารนครศรีธรรมราช ด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2564
ภาพอดีตคลองท่าวัง ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายจากหลังบ้านคุณวาทิต ชาติกุล เมือ ธันวาคม 2564
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณหน้าวัดศรีทวีที่มีการปรับปรุงรางน้ำ ทั้งด้านทิศเหนือแหละทิศให้ตของถนน ภาพจากรายงานการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2564
จากคุณวันพระ สืบสกุลจินดา
คำกลอนของท่านเจ้าคุณม่วง ผู้ให้กำเนิดวิชาความรู้ด้านต่างๆ เป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนแก่เยาวชนของภาพใต้ ซึ่งท่านได้ประพันธ์ไว้ และนี้คือวัดหนึ่งในคำกลอน “”ใครยากเป็นช่างไปอยู่วัดจัน”
ประวัติท่านเจ้าคุณม่วง หรือพระรัตนธัชมุนี อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์
ท่านเจ้าคุณม่วง หรือพระรัตนธัชมุนี อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองนามองค์หนึ่งในสมัยของรัชกาลที่ 5 เจ้าคุณม่วงผู้ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในด้านการสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนา การศึกษาและการพัฒนาบ้านเมือง โดยเป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิกการศึกษาของภาคใต้ และวางรากฐานการศึกษาจนเจริญมาตราบเท่าทุกวันนี้
ชาติภูมิของท่านเจ้าคุณม่วงเป็นชาวบ้านเพิง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เกิดเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2396 ได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร และเข้าอุปสมบทที่วัดท่าโพธิ์ โดยมีพระครูการาม (จู) เจ้าอาวาสในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ตลอดมาจนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ จากพระครูการาม(จู)
ปี พ.ศ.2432 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการพระศาสนาในหัวเมืองภาคใต้ เจ้าคุณม่วงได้เข้าเฝ้าหลายครั้ง และมีความเลื่อมใสในพระองค์มาก จึงทูลขอตามเสด็จมาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ โดยโปรดให้พักอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม และบวชแปลงจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุตนิกาย ต่อมาเมื่อสอบไล่แปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ 4 ประโยคแล้ว เจ้าคุณม่วงจึงลากลับไปอยู่วัดท่าโพธิ์ตามเดิม
ปี พ.ศ.2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้ และได้แวะประทับ ณ เมืองนครศรีธรรมราช เจ้าคุณม่วงซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระมหาได้เข้าเฝ้าหลายครั้งด้วยกัน เมื่อทรงทราบว่าเป็นผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัย ประกอบกับว่าเป็นสหชาติ (เกิดปีเดียวกัน) จึงทรงตั้งให้เป้นพระราชาคณะที่ “พระศิริธรรมมุนี”
ในปีต่อมา พ.ศ.2442 โปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งสมัยนั้นมีอาณาเขตตลอดไปถึง จ.ปัตตานี มีหน้าที่อำนวยการศึกษาในมณฑลด้วย ท่านได้จัดการบริหารกิจการคณะสงฆ์และการศึกษาได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่โปรด ปรานของรัชกาลที่ 5 และต่อมาท่านเจ้าคุณม่วงได้เลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนกระทั่งเป็น “พระรัตนธัชมุนี” ในปีพ.ศ.2466 สมัยรัชกาลที่ 6
ผลงานสำคัญของท่านเจ้าคุณม่วงคือ จัดตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นที่หอฉันวัดท่าโพธิ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2434โดยเป็นผู้อำนวยการสอนเอง และมีพระภิกษุจรจากมหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพฯมาเป็นครูผู้ช่วย ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนหลวงมีชื่อว่า “โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา” แล้วเปลี่ยนมาเป็น เป็น “ศรีธรรมราช” มีฐานะเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำเมืองนครศรีธรรมราช ปัจจุบันคือ “โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” นับเป็นโรงเรียนเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุด และมีรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของท่านประดิษฐานอยู่
พ.ศ. 2468 แผนกฝึกหัดครูถูกยกเลิกไป พ.ศ. 2473 มีหนังสือราชการเรื่องการแยกโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชออกเป็น 3 โรงเรียน คือ
- “แผนกชาย” เป็น “โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
- “แผนกสตรี” เป็น “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปัจจุบัน คือ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
- “แผนกช่างถม” เป็น “โรงเรียนประถมวิสามัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
เจ้าคุณม่วงได้ปฏิบิตหน้าที่ผู้อำนวยการศึกษามณฑลนครศรีฯด้วยความเสียสละและ อดทน โดยเดินทางออกตรวจและจัดการโรงเรียนตามอำเภอต่างๆ ของเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา จะนะ เทพา หนองจิก ตานี ยะหริ่ง และสายบุรีเป็นเวลาถึง 190 วัน จัดตั้งโรงเรียนได้ 21 โรง โดยใช้ทุนจากเงินที่ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนช่วยกันเรี่ยไรบริจาคมาดำเนินการเป็นส่วนใหญ่
สมัยนั้นการคมนาคมเต็มไปด้วยความยากลำบาก โดยมากจะเป็นการเดินทางด้วยเรือแจวและเรือพาย บางครั้งก็ต้องเดินเท้า บางแห่งเป็นป่าก็ต้องใช้ช้างเป็นพาหนะ หรือไม่ก็ต้องนอนค้างแรมในเรือ แต่ท่านก็ฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายมาได้อย่างราบรื่น โดยมีข้าราชการและผู้นำท้องถิ่น ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
นอกจากจะเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงเรียนฝ่ายสามัญแล้ว ท่านเจ้าคุณม่วง ยังริเริ่มก่อตั้งแผนกวิชาช่างถม ขึ้นที่ โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา เป็นโรงเรียนแรก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมอัมีค่าของท้องถิ่นให่มีอายุยืนยาว สืบไป สละเงินนิตยภัตของท่านเป็นเงินเดือนครูและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จนกระทั่งทางราชการได้รับช่วงไปเป็นโรงเรียนหลวงประเภทวิสามัญ
ด้วยเหตุที่ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนา การศึกษา และสังคมไว้อย่างมาก รวมทั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ให้การอุปสมบทกุลบุตรไว้มากมายจึงทำให้มีลูก ศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก
เจ้าคุณม่วงถึงกาลมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2477 รวมอายุได้ 82 ปี 62 พรรษา ทรงมำพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้รับงานบำเพ็ญกุศลศพไว้ในพระบรม ราชูปถัมภ์ และพระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศ ในงานพระราชทานเพลิงศพมีประชาชนนับหมื่นมาเข้าขบวนแห่โกศศพจากวัดท่าโพธิไป สู่เมรุสนามหน้าเมืองซึ่งสร้างเป็นกรณีพิเศษ ขบวนแห่นั้นยาวถึง 100 เส้น นับเป็นขบวนที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชเลยทีเดียว
ภาพอดีตเมืองคอน บริเวณถนนศรีปราชญ์ช่วงหลังวัดจันทาราม ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2562
ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน”ภาพธรรมมาส อันวิจิตรสวยงามของวัดจันทาราม ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณหน้ากุฏิ ปี 2512 ที่มีลวดลายอันสวยงามภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพบริเวณเดียวกัน ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล เมือ ธันวาคม 2564
ภาพอดีตบริเวณวัดจัน ปี 2512 เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวรรณวิทย์ ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน” ถ่ายก่อนบูรณะ ปี2554
ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน” ถ่ายก่อนบูรณะ ปี2557 ถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ์
ใครยากเป็นช่าง”ไปอยู่วันจัน” ถ่ายหลังบูรณะบูรณะ เมื่อ 22 ธันวาคม 2564 โดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพแห่เทียนพรรษาบริเวณหน้าโบสถ์วัดจันทาราม ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร คุณสายัณห์ ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ 22 ธันวาคม 2564 โดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนศรีปราชญ์ เดิมคือโรงแรมทักษิณ ปัจจุบันคือโรงแรม B2 ภาพจากรายการกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2564
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนชมภูพล ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2562 ธันวาคม 2564
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณตรงข้ามห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูล บิ๊กซี และมาเป็นห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล
เดิมบริเวณนี่เคยเป็นที่ตั้งของโรงเลื่อยจักรโดยใช้จักรไอน้ำของนายแกะ ธรรมสุนทร และช่วงหนึ่งของชีวิตที่กำลังศึกษาในช่วงปิดเทอมของโรงเรียนเบญจมราชูทิศได้เข้ามาทำงานเพื่อหาค่าใช้จ่ายและค่าเทอมประมาณปี 2519
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณหลังวัดวังตะวันออก หน้าไมอามี่ไนท์คลับเดิม ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณขวัญชัย มานะจิตต์ ข้อมูลภาพจากคุณปราโมทย์ ด่านสกุล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพศาลาเทศบาลถ่ายเมือ พ.ศ.2442 ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ภาพปัจจุบันจากกูเกิล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนกาชาด ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2562
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพบริเวณถนนชลวิถีย้อนไปถนนกาชาด ภาพจากรายงานกิจการ2510 ภาพปัจจุบันถ่าเมื่อ ธันวาคม 2562
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพถนนชลวิถีมองย้อนไปถนนเนรมิต ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล
ภาพอดีตบริเวณสี่แยกกาชาด มองย้อนไปถนนเนรมิต จะมองเห็นโรงสีข้างของขุนบวร ภาพจากรายการกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2562
ภาพวิทบาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช มุมสูง ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล ภาพด้านหน้าวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราชถ่ายเมือ ธันวาคม 2564
ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
วิทยาลัย “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า” เปิดท าการสอนครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2481 โดย ใช้สถานที่ของโรงเรียนศิลปหัตถกรรม (หน้าวัดวังตะวันออก) รับนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียนหลักสูตร 2 ปี ส าเร็จแล้วเทียบเท่าประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช มีประวัติโดยสังเขป ดังนี้ ปี พ.ศ.2481 – วิทยาลัยฯ มีชื่อว่า “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า” เปิดท าการสอนครั้งแรกโดยใช้สถานที่ของโรงเรียนศิลปหัตถกรรม หน้าวัดวังตะวันออก รับนักเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เรียนหลักสูตร 2 ปี ส าเร็จแล้วเทียบเท่าประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น ปี พ.ศ.2482 – ย้ายมาตั้งที่ถนนราชด าเนิน ใกล้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน โดยใช้สถานที่ของวัดพระเงิน ซึ่งเป็นวัดร้าง ปี พ.ศ.2491 – เปิดสอนหลักสูตรการช่างสตรีและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราช” ปี พ.ศ.2516 – ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช” ปี พ.ศ.2523 – กระทรวงศึกษาธิการประกาศแยกวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชออกเป็นวิทยาลัยเอกเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช/ข้อมูลบางส่วนจากวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช/จากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
โรงเรียนการช่างสตรี วิชาเรียนมี3แผนก 1แผนกอาหาร 2แผนกผ้า 3แผนกคหกรรม
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพวิทยาลัยอาชีวศึกษา ขณเป็น”โรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณคุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก) ภาพปัจจุบันจากกูเกิล
พิธีไหว้ครู 2514 ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
ช่วงเรียน มศ.6 ถ่ายช่วงใกล้จบ สมัยนั้นจะไปจ้างร้านมาถ่ายภาพ น่าจะเป็น ร้านห้องช่าง ซึ่งยุคนั้นเป็นที่นิยม อยู่ตรงข้ามกับวิทยาลัยฯเรียน มศ.6 ถ่ายช่วงใกล้จบ สมัยนั้นจะไปจ้างร้านมาถ่ายภาพ ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
การเรียนยุคนั้ันจะใช้หลักสูตรการเรียน 7+3+2(กรณีสายสามัญ)สายอาชีพ ม.ศ.6
ถ่ายภาพหมู่ก่อนจบการศึกษา 2515 และเรียนจบวิชาการตัดเสื้อโดยตัดชุดไทย เมื่อเสร็จนักเรียนแต่ละท่านต้องสวมใส่ของตนเองถ่ายรูป ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
ความร่มรื่นเมืออดีตทั่วอาณาบริเวณ
ความร่มรื่นภายในวิทยาลัย กับภาพความสำเร็จของการเรียนวิชาตัดเสื้อและวิชาทำผม ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
- กาลเวลาเปลื่ยนไป กาลเวลาย่อมกลืนกินทุกสรรพสิงความร่มรื่นภายในวิทยาลัย ยังคงเหลือแต่ป่าคอนกรีต
ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ธันวาคม 2564
ภาพอดีตเมืองคอน บริเวณถนนมเหยงค์ ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันจากกูเกิล
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพถนนพะเนียด ภาพจากรายงานกิจการ 2510 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2564
ขอขอบคุณ
รายงานกิจการ ปีพ.ศ.2510 นครศรีธรรมราช
คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณปราโมทย์ ด่านสกุล/JILL JILL จิว จิว /Sriroj James Anutaraset/คุณยุรี อังวิทยาธร
ภาพบริเวณห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูล บิ๊กซี และมาเป็นห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532
จากภาพน่าจะปี 2534 ครับ
ภาพบริเวณห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูล บิ๊กซี และมาเป็นห้างสรรพสินค้าสหไทย ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงค์นิเวศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2532….
ตรงนั้นเมื่อก่อนเป็นโรงเลื่อยไม้เก่า และมีอาคารบ้านไม้เป็นแถว เรียกแถวนั้นว่าหน้าโรงเลื่อย สามารถเดินทะลุไปตลาดสดคูขวางได้ นับว่าเป็นป่าในเมืองก็ว่าได้ พอปี 2529 – 2534 มีการรื้อถอนบ้านเก่าเป็นสนามกว้างสร้างห้างสรรพสินค้า