เมืองแห่งพุทธ-ศิลป์ ถิ่นอารยะธรรม เมืองนครฯ
เม.ย. 27
เมืองคอน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ เมืองแห่งนักปราชญ์ เมืองแห่งนักกวี เมืองแห่งศิลป-วัฒนธรรม เมืองแห่งนักปฏิมากรรม มีประบรมธาตุยอดทองคำเป็นบ่อเกิดและศูนย์ลกลาง-รูปแบบการใช้ชีวิต
มีชาวอำเภอเมือง ตอนหลังท่านไปเป็นครูสอนที่โรงเรียนปากพนังวิทยา อำเภอปากพนัง เมืองคอน ท่านเป็นบุคคลหนึ่งผู้สร้างปฎิมากรรม-ภาพศิลปะปูนปั้นแบบนูนต่ำขึ้นคือ คุณครูเอื่ยม อมรสถิตย์ ปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตแล้ว ครอบครัว เดิมอยูที่ตำบลปากนคร อำเภอเมือง ซึ่งท่านได้ศึกษาที่วิทยาลัยเพาะช่าง เป็นนักศึกษารุ่นแรกและได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการปั้นรูปการออกแบบต่างรับงานทั่วประเทศ และได้ย้ายไปอยู่จังหวัดสงขลา ท่านเป็นผู้สร้างปฎิมากรรมแบบนูนต่ำ เล่าเรืองราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นงานศิลปปูนปั้นแบบนูนตำแบบปั้นปูนสด และได้มีการบันทึกภาพไว้โดยคุณครูตรึก พฤกษะศรี ในราวช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๕
เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่าปฎิมากรรมชุดนั้นได้หายสาบสูญไป ตามกาลเวลา ตามเหตุปัจจัย ยังคงเหลือเฉพาะภาพที่คุณครูตรึก พฤกษะศรี ได้บันทึกไว้ และได้หายไปหนึ่งภาพคือตอน เจ้าชายสิทธัตถะ ออกจากเมืองโดยได้ทรงพญาม้ากัณฐกะะเพื่อออกจากวังไปยังมุ่งสู่แม่น้ำอโนมานที แคว้นมัลละ และมีนายฉันนะ
ภาพเหล่านี้ เป็นภาพที่ทรงคุณค่าแก่เมืองคอน ที่คุณครูเอื่ยม อมรสถิตย์ ที่ถ่ายจากความจริงถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานที่ประจักษ์
พระนางสิริมหามายา ประสูติพระมหาบุรุษที่สวนลุมพินี เมือขึ้น ๑๕ คำ่เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ เดือนหก ปีจอ ก่อน พ.ศ. ๘๐ ปี
เมื่อประสูติได้ไม่กี่วัน อิสิตฤาษีหรือกาฬเทวิลดาบสเข้าเยี่ยม ได้เห็นปฏิหาริย์ของพระราชกุมาร จึงได้ทำการถวายบังคม
เมื่อยังทรงพระเยาว์ได้นั้งสมาธิภายใต้ต้นไม้จนได้ฌานสมาบัติในคราวแรก อันเป็นพระราชพิธีแรกนาขวัญ อันเป็นพระราชพิธีของกษัตริย์ครั้งโบราณ
ทรงประลองยุทธกิฬาตามพระราชประเพณีเมื่อได้จบการศึกษาแล้ว ซึ่งการประลองยุทธครั้งนั้น ได้มีเจ้าชายเทวทัตร่วมอยู่ด้วย
ท้าวมหาพรหมได้หลั่งน้ำประสาทพรชัยในการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายสิทธัตถะ-เจ้าหญิงยโสธรา หลังจากที่ทรงชนะการประลองยุทธด้านการกิฬาในการเลื่อกคู่ตามประเพณี วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ ฉลู ก่อน พ.ศ. ๖๕ ปี
ทรงพบเทวทูต ๔ คือ คนแก่-คนเจ็บ-คนตาย -สมณะ ในระหว่างทาง ซึ่งได้มาเป็นเหตุให้พระองค์ออกบวช
ก่อนที่จะหนีออกบวช ในคืนวันนั้นทรงแอบมองดูพระนางยโสธรา-ราหุลเป็นครั้งสุดท้าย
ทรงอออกจากวังด้วยม้ากัณฐกะซึ่งมีความยาว ๑๘ ศอก และนายฉันนะ ไปยังแม่น้ำอโนมาเพื่อออกบรรพชา
(ภาพทดแทนเรื่องราวที่ขาดหายไปจากฐานบันใดขึ้นลานพระทักษิณ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล)
ทรงตัดพระโมลี อธืฐานเพศเป็นบรรพชิต ที่ฝั่งแม่น้ำแม่น้ำอโนมานที เมื่อ วันจันทร์ แรม๑ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ ก่อน พ.ศ.๕๑ ปี
ทรงบำเพ็ญทุกกิริยา ที่ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสที่ใต้ต้นโพธิ์
ถูกพญามาร-เสนา ผจญที่ใต้ต้นโพธิ์ เมื่อ วันพุธ ขึ้น ๑๕ เดือน ๖ ปีวอก ก่อน พ.ศ.๔๕ ปี
ทรงต่อสู้กับพญามาร-เสนา จนได้ชัยชนะ จึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเดือนจะใกล้รุ่งของ วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก ก่อน พ.ศ.๔๕ ปี
วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ เดือน ๘ ปีระกา ก่อนพ.ศ.๔๕ ปี ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ที่สารนารถ(ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน)กับปัจวัคคีย์
ทรงเทศนาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา บนชั้นดาวดึงส์ หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๗ พรรษา และทรงจำพรรษาบนดาวดึงส์
ทรงเป็นประธานในการถวายพระเพลงพระพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสด์ุ
ทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุและทรงแจ้างข่าวการปรินิพพานของพระองค์เองให้พระภิกษุทราบ
วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ก่อน พ.ศ.๑ ปีที่ภายใต้ต้นรังเมืองกุสินรา
โทณพราหมณ์ ผู้เฒ่าห้ามทัพซึ่งกำลังจะเกิดสงครามขึ้น เพราะพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
คุณครูเอี่ยม อมรสถิตย์ ท่านเป็นผู้ออกแบบพระพุทธสิหิงค์จำลอง รุ่นที่ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ในขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเททอง ณ หน้าพระวิหารหลวง วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมือ พ.ศ.๒๕๓๕ และหล่อจากโรงงาน”อมรสถิตย์”ของท่านที่จังหวัดสงขลา
เพราะสองท่านนี้ จึงได้มีเรืองราวดีๆเหล่านี้
คุณครูเอี่ยม อมรสถิตย์ ผู้สร้างปฏิมากรรม ภาพศิลปะปูนปั้นแบบนูนต่ำ
คุณครูตรึก พฤกษะศรี ผู้บันทึกภาพ และภาพประวัติศาสตร์อีกมากมาย
ขอขอบคุณ
คุณสถาพร พฤกษะศรี
คุณทศพร จิตพิศุทธิ์
คุณศุภชัย แซ่ปุง
คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
คุณขวัญชัย มานะจิตต์