พระเทวราชโพธิสัตว์ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย “จตุคาม-รามเทพ” ตอนที่ 1

มิ.ย. 01

พระเทวราชโพธิสัตว์ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย “จตุคาม-รามเทพ” ตอนที่ 1

 

page

 ร่องรอยความรุ่งเรือง จากศรีรามเทพนครสุ่การพลิกฟื้นคืนอาณาจักรทะเลใต้ก่อนส่งต่อความยิ่งใหญ่เป็นสิบสองนักษัตรแห่งศรีธรรมราชนคร ภายใต้ดวงตราเทวราชและบารมีแห่งโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ

สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมามีความต้องการ เพื่อความหลุดพ้น พ้นจากความทุกข์ จึงเสาะหา แสวงหา ทุกแนวทางเพื่อความหลุดพ้นให้พ้นจากความทุกข์  จึงก่อเกิดหลักปฏิบัติต่างๆ ตามความเชื่อ ความศรัทธาที่ได้ประสพพบมา รุ่นแล้ว รุ่นเล่า

จุดเริ่ม จากเกิดเมื่อบุคคลได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ลมพายุ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว มีดาวหางปรากฏขึ้น
ก็เกิดความกลัวจึงขวนขวายหาที่พึ่ง โดยคิดว่าปรากฏ การณ์เหล่านั้น มีเทพเจ้าบันดาลให้เกิดขึ้นจึงได้อ้อนวอนบนบานศาลกล่าว ขอให้เทพเจ้า-ลัทธิผีเหล่านั้น โปรดระงับสิ่งเหล่านั้นเสีย

  • จากการที่ผมได้รับภาพจากท่านพระครูเกษมพัฒนกิจ โดยคุณสายันห์ ยรรยงค์นิเวศน์(ป๋อง โฟโต้)และหลายๆท่าน จึงได้สืบค้น ข้อมูลต่างๆ จากคำบอกเล่า จากตำราต่างๆ ผมมิใช่นักประวัติศาสตร์ เพียงเป็นผู้เขียนสมัครเล่นผู้หนึ่งเพื่อนำข้อมูลที่ทราบนำมาเผยแพร่ เพื่อเมืองคอน
  • การเกิดศ่าสนา-ลัทธิต่างๆของมนุษย์ชาติ

ลิขิตโดยพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ)ถ่ายถอดโดยพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ )
เหตุแห่งการเกิดศาสนา-ลัทธิต่างๆ ก่อนมาเป็นพระเทวราชโพธิสัตว์ จตุคามรามเทพ
ธรรมชาติของมนุษย์เร่ร่อน เขานับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ แลบางพวกนับถือศาสนาผี แลบางพวกนับถือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์
เหตุความเชื่อสิ่งเหล่านี้สาเหตุมาจากมีสัญชาติญาณของความกลัวอยู่ในใจ พอมีความกลัวอยู่ในใจจึงหาวิธีการรับมือกับความกลัว รับมือกับความกลัวมี 3 วิธี
1..สู้
2.ถอยหนี
3.สยบยอม
ศาสนา-ลัทธิต่างๆเกิดจากความกลัวและความต้องการของมนุษย์ เช่น กลัวภัยธรรมชาติ กลัวการลงโทษจากผู้มีอำนาจเหนือตน เป็นต้น ศาสนาพุทธก็เช่นเดียวกัน เกิดจากกลัว ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
“เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระองค์เสด็จออกไปประพาสอุทยาน ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น พระองค์ได้พบกับสิ่งอัศจรรย์
ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตคือ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย พระองค์ดำริว่า “อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายเหมือนกับมนุษย์ทุกคน
ทำอย่างไรหนอเราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? ทรงค้นพบธรรม อริสัจสี่ หลักธรรมสูงสุดของพระพุทธศาสนา”
มนุษย์มีกลวิธีสู้กับสัตว์ร้าย บางครั้งก็สู้ได้ บางครั้งก็หนีได้ บางครั้งหนีแล้วก็หนีไม่พ้น เมื่อหนีไม่พ้นก็เกิดการสยบยอม ประนีประนอม
ระหว่างสุู้กับหนี ก็คือการน้อมนอบต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่คิดว่ามีอำนาจเหนือตนเอง เช่นยุคแรกๆ มนุษย์ยังมีพวกเร่ร่อนอยู่ นับถือ
สัตว์ศักดิ์สิทธ์ เพราะมนุษย์มีความใกล้ชิดกันมาก พวกทุ่งหญ้านับถือสัตว์ร้าย เช่นเสือ สิงโต พวกหากินตามริมน้ำนับถือจาระเข้ งู เพราะอยู่กับมันประจำ มีการบูชาบวงสวงเทพเจ้าสิ่งเหล่านี้ อาจนำเครื่องบูชาไปบบนขอนไม้ โขดหิน เพื่อความสะบายใจของตนเองและให้ได้รับการคุ้มครองจากสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น กรณีของเสือ สิงโต ทีมีบทบาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นหัวหน้าหรือจ่าฝูงของเสือ ของสิงโต ของงู ของจาระเข้ ที่เป็นใหญ่ กรณีของเสือ สิงโต ที่มนุษย์ยุคแรก นำมาบูชา เนืองจากเป็นสัตว์ดุร้าย โดยเอาเสือ สิงโตที่มีบทบาท/เป็นหัวหน้าหรือจ่าฝูง ตัวที่ถุกนำมาบูชาโดยการทำเป็นรูปบูชา 

            มายุคหลังมนุษย์เริ่มมีความคิด ประดิษฐ์อะไรมากขึ้น นำมาทำเป็นรูปคนหน้าเสือ หน้าสิงโต หน้าวัว หน้างู หน้าจระเข้ พวกบางเผ่าเช่น พวกอัฟฟริกา สักผิวหนังตัวเองให้ลายเหมื่อนจระเข้ เพราะกลัวว่าจาระเข้จะทำร้าย ทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองเหมือนจระเข้ พวกอัฟฟริกาที่นับถือสิงโตก็เอาขนนกมาสวนหัวตัวเองเพื่อให้เป็นเผ่าสิงโต/เผาหมี อยู่ที่ว่ามนุษย์อยู่หรือใกล้ชิดสัตว์ประเภทใหนมากที่สุด ก็จะใช้วิธีการแบบสัตว์นั้น
     ยุคหลังมนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งในยุคหินใหม่ ได้อาศัยอยู่ตามถ้ำ นับถือถ้ำเป็นที่อยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้าแห่งขุนเขา ค่อยกลายจากการนับถือสัตว์มาเป็นคล้ายกับมนุษย์ รูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ อาจมีรูปร่างหน้าตาที่ใหญ่โตมากกว่า มีอำนาจมากกว่า พวกที่อยู่อาศัยอยู่ตามป่าก็นับถือต้นไม้ใหญ่ ไม้ที่อยู่มาเป็น 100 ปีย่อมมีเทพารักษ์อาศัยอยู่ เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไม้ตะเคียน อยู่มานานจนต้นใหญ่โต ยิ่งรุ่นปู่ย่า ตายาย บอกว่าเห็นมานาน เขายิ่งนับถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น มีเทพารักษ์อาศัยอยู่ รักษาอยู่ เพื่อบรรเทาความหวาดกลัว สิ่งไดที่มีความเชื่อว่า มีอำนาจเกินกว่าอำนาจของเรา มีอาหาร ดินฟ้าอากาศ ความปลอดภัย จึงบูชาเซ็นสวง ด้วยดอกไม้ ของหอม เนื้อสัตว์ แม้บูชาด้วยเลือดของสัตว์ แม้ด้วยเลือดของคน
ในยุคสัมฤทธิ์มีถ้วยชามที่ใช้เป็นอุปรณ์บูชา เป็นรูปมนุษย์นั้งคุกเข่า รูปช้าง รูปเสือ รูปสิงโตและสัตว์อื่นๆ ที่มีรูปมนุษย์คุกเข่าแสดงถึงความจำยอมหรือสยบยอมต่ออำนาจเหล่านั้น
มนุษย์มีพัฒนาการมากขึ้นจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าแห่งขุนเขา เทพเจ้าต้นไม้ เมื่อมีคนรวมกันมากขึ้นจึงมีการจัดการเรืองของสังคม เมื่อจัดการแล้วมีมติให้มีหัวหน้าคน เป็นระบบผู้นำ ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆเพื่อความอยู่รอดของสังคมนั้นๆ หัวหน้าทำประโยชน์ให้กับสังคมคนหมู่บ้านนั้น ตำบลนั้นอยู่เย็นเป็นสุข หัวหน้าเป็นคนมีความสามารถด้านการปกครอง ทั้งมีความสามารถเป็นผู้นำด้านการสงคราม ปกครองชุมชนด้วยความเป็นธรรม เมตตาธรรม และเมื่อชุมชนขยายมากขึ้น ทรัพยากรที่มี มีน้อยลง หัวหน้าหรือผู้ปกครองมองเห็นแก่ชุมชนตัวเอง จึงมีการป้องกันทรัพยากรต่างๆ เช่นแหล่งทำนา แหล่งทำสวน แหล่งล่าสัตว์ หวงแหนไว้เพื่อเผ่าหรือชุมชนตัวเอง เมื่อมีการแก่งแย้่งกันจากเผ่าอื่นย่อมเกิดสงคราม เมื่อมีหัวหน้าหรือผู้นำที่่มีความสามารถ เห็นแก่เผ่าตนเอง ย่อมเป็นบุคคลสำคัญของเผ่านั้น เมื่อผู้นำเสียชีวิตลง จึงเกิดความอาลัย เกิดความรัก คิดว่าอย่างไรผู้นำยังคงอยู่กับเรา ถึงแม้เสียชีวิตแล้วผู้นำยังคงอยู่กับเรา จึงเกิดลัทธิบูชาตัวบุคคล หรือวีรบุรุษขึ้นมา เช่นพระอินทร์ของอินเดีย พระอินทร์เป็นเทวดาสูงสุดของอินเดียก่อนที่จะมานับถือ พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ ของกรีกนับถือพระศูทร พระเจ้าแห่งสายฟ้า ลักษณะเหมือนพระอินทร์ของอินเดีย คือเทพเจ้าแห่งสงครามและความเจ้าชู้ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเผ่า มีการสมรสเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเผ่า ลูกสาวเผ่านั้นแต่งกับลูกชายเผ่าโน้น แล้วหัวหน้าเผ่าโน้น เป็นญาติกับเผ่านั้น แต่ละเผ่าเป็นอยู่อย่างเป็นสุข
        เมื่อมนุษย์พัฒนามากขึ้น มีการสร้างรูปเคารพมากขึ้น มีการเสกสรรปั้นแต่งมากขึ้น ทำให้เกิดสังคมพหุนิยมเป็นสังคมยอมรับความแตกต่าง เมื่ออยู่รวมกันการนับถือเทพเจ้าของตนเองเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเกิดความขัดแย้งกัน จึงทำให้เกิดการผสมผสานกัน ทำให่้พัฒนาการเป็นเทพ ทำให้เทพมีหลายองค์ ในอินเดียในยุคแรกถื่อพระอินทร์ เป็นเทพสูงสุด มีพระพรหม พระนารายณ์ และยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ซึ่งเป็นลักษณอวตาร ของแต่ละองค์ พวกนับถือสัตว์ เช่นช้างก็นับถือพระพิฆเนศ พวกนับถือลิงขาว หรอลิงเผือก ก็นับถือหนุมาน ฯลฯ
จากการผสมผสานทางวัฒนธรรม มักมีตำนานมาจากร่างอวตาร เช่นมาจากพระนารายณ์ พระพรหม พระศิวะ ฯลฯ ทำให้ชุมชนลดการขัดแย้ง เนืองจากมีแหล่งที่มาของการนับถือมาจากแหล่งเดียวกัน
มีบางกลุ่มที่ปฏิเสธการบวงสวง การอ้อนวอนเทพเจ้า มนุษย์จะพ้นภัยด้วยตนเองพวกนี้เป็นพวก อเทวนิยม ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ เช่นพุทธ เชน 
เวลาผ่านไป การผสมผสาน เป็นรูปแบบต่างๆ รวมถึงการนับถือร่วมกันตามรูปแบบต่างๆ จากเดิมที่นับถือบุคคล ผู้ที่มีความสามารถ ทั้งด้านการปกครอง ด้านการสงครามเป็นนักรบป้องกันภัย-ดูแลปกปัก ปกป้องแก่กลุ่มชน ได้รับการยกย่องดังเทพเจ้า เช่นเมืองตามพรลิงค์ มีกษัตริย์คือพระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ พระองค์ขยายอาณาเขตกว้างขวาง โดยมีเมือง บริวารถึง 12 เมือง ต่อมาถูกขนานนามเป็น”องค์ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ” ตามคติพราณ์ผู้เป็นหัวหน้า หรือผู้ปกครอง/กษัติย์เป็นดังองค์เทพ และก่อนมาเป็นท้าวเทวราชโพธิสัตว์ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นพราหณ์มาก่อน เมื่อนับถือศานาพุทธ จึงได้รับการยกย่องเป็นเทวราชโพธิสัตว์ ตามคติของพุทธมหายานและหินยานจากเหตุผลการผสม ผสานทางวัฒนธรรม พราหมณ์ -พุทธคือ
1.เทพเจ้าแห่งนักรบ
2.ท้าวจตุคามรามเทพคือพระนาราย์อวตาร
3.ยกขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์

และสร้างรูปเคารพ เป็นผู้ดูแลโบราณสำคัญทางศาสนาคือพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุของพระสัมาสัมพุทธเจ้า
               จากเหตุการณ์ที่ไม่สงบในบ้านเมืองนครศรีธรรมราชด้านต่างๆ เช่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้น จี้ ฆ่า จับตัวเรียกค่าไถ่ เรียกค่าคุ้มครอง หวย มีบ่อนการพนัน มีเจ้าพ่อผู้ทรงอิทธิพล เจ้าพ่อครอบครัวดัง เรียกค่าคุ้มครอง สาระพัดของความเลวร้าย ด้วยแรงศรัทธา ต่ออดีตคือคือผู้สร้าง จรรโลง ปกปัก รักษาเมือง คือพระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์(เมืองนครศรีธรรมราช)มาในอดีต จึงได้อัญเชิญ-จำลองเป็นหลักเมืองโดยไห้มีรูปแบบมรจากรูปเคารพบริเวณวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร มาปธดิษฐาน ณ สนามหน้าเมืองอย่างปัจจุบัน 

ผู้ที่มีส่วนร่วมที่สำคัญในการนำอัตลักษณ์ของบุคคลสำคัญคือ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ สร้างรูปเคารพ ณ สนามหน้าเมืองตามพิธีกรรม-ความศรัทธา และรูปแบบอาณาจักรศรีวิชัยศรีวิชัย เพื่อพิทักษ์รักษาเมือง และผู้ที่มีส่วนสำคัญคือ
1. พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช (ขุนพันธ์)

2.พ.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล(ยศขณะนั้น ตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช)

3.พี่น้องชาวเมืองคอน พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน คหบดี ร่วมกันสร้างรูปเคารพจนสำเร็จอย่างปัจจุบัน

  • “ความเป็นมาพระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ “
    •       “”จากลายลักษณ์กระเบื่องจาร สู่ลานทรายแก้ว ถึงแล้วแดนอาถรรพ์ เมื่อสองพันสามร้อยปีเศษ เทศน์ประกาศธรรมสอน ณ ดอนทรายแห่งนี้ เป็นสักขี่เมืองธรรมะ พระโสณะเคยนั่ง สั่งสอน ทวยราษฎร์ เป็นนักปราชญ์เลื่องลือคือ นครดอนพระ””
    • จากหลักฐานกระเบื้องจารแผ่นที่ 719 หน้า 2)โดยไทยสะกอ #ฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช
  •                  จากหลักฐานการจารกระเบื้องที่มีจำนวนมากเกี่ยวกับประวัติ พระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ เพื่อมิให้มีข้อผิดพลาดจากหลักฐาน ผู้เขียนขอนำ บทเขียนของ”ไทยสะกอ”ในตำนานท้าวจตุคาม-ท้าวรามเทพ พระอุดโชค ปฐมกษัตริย์ ศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ตอนผู้พิทักทะเลใต้ มาโดยทั้งหมด เพื่อเป็นการยืนยันว่า ศาสนาพุทธได้เข้ามาถึงถิ่นฐานเมืองช้างค่อม (นครศรีธรรมราช)เมื่อประมาณ พ.ศ.235 ดังนี้
  • “”คาบสมุทรทะเลใต้ เป็นดินแดนอาถรรพ์ ที่ประทับของสิ่งศักดิ์สทิธิ์ อยูในอำนาจการปกครองของพระมหาเทพพรหมเทพ หาดทรายแก้วทะเลรอบแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเมืองช้างค่อม และเมืองนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นประตูรับ พระพุทธศาสนา เมื่อปลายปีฉลู ประมาณ พ.ศ.235 พระสมณทูตที่พระเจ้าอโศกมาหาราชส่งมาเผยแพร่ พระพุทธศาสนาโดยทางเรือ มาขึ้นแผ่นดินสุวรรณภูมิที่ตำบลท่าเรือ เมืองช้างค่อม(นครศรีธรรมราช)
  • ตามคำพระโสณะทำนาย เมืองวันที่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน6 พ.ศ.264 กล่าวว่า สุวรรณภูมิ(ราชบุรี สุพรรณบุรี)จะตั้งอยู่ได้แค่ พ.ศ.1040 แล้วจะย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองช้างค่อม(นครศรีธรรมราช) เกิดอาณาจักรศรีวิชัยสุวรรณภูมิ
  • ใน พ.ศ.272 ขุนเดือนเด่นฟ้าสุวรรณภูมิ ได้สร้างเมือง-สร้างพระธาตุทรงศรีวิชัยไว้ก่อนแล้วและตั้งเป็นฐานทัพเรือใหญ่จนเป็นเจ้าสมุทรในสมัยนั้น
  • กระเบื้องจารแผ่นที่ 74 หน้า 1 กล่าวว่า ขณะสร้างเมืองศรีวิชัยตรงกับปี พ.ศ.1023 และมาขนคนไปจากสุวรรณภูมิอีก 15,000 คนในปี พ.ศ.1026 ขุนอินทรไสเรนทร์ และขุนอินเขาเขียว โอรสสองพี่น้องของพระเจ้าจันทรภาณุ ครองสุวรรณภูมิ เมือ่ พ.ศ.1000 เป็นกษัติริย์องค์สุดท้ายของสุวรรณภูมิ(เมื่อตั้งเมืองใหม่ย่อมนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อถือมาด้วย)เพราะคนสุวรรณภูมิมีความเคารพครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นต้นครูสายวิชาต่างๆ และต้นครูนั้นล้วนเป็นลูกของขุนอินทร์เขาเขียว และขุนหญิงกวักทองมา อันเป็นบรรพบุรุษของคนไทย ขุนอินทรไสเรนทร์ และขุนอินเขาเขียวได้วางรากฐานความเชื่อ และแนะนำให้ช่าวเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมินับถือต้นครู คือขุนชายทั้ง 12 นักษัติ และขุนหญิง(แม่ซื้อ)ทั้ง 7 วัน ดวงตรานักกษัติจึงเป็นตราเมืองนครศรีธรรมราชในกาลต่อมา และเมื่อสิ้นท่านทั้งสอง((ขุนอินทรไสเรนทร์ และขุนอินเขาเขียว)) ชาวเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ยกย่องท่านเสมือนเทพ เนื่องจากมีบารมีมากเป็นที่นับถือของชาวเมือง จึงปั้นรูปท่านทั้งสองไว้ในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ถือเสมือนเป็นเสื้อเมือง ทรงเมืองโดยเขียนว่า “ขัตุคามและรามเทพ” เพื่อบอกอนุชนรุ่นหลังให้รู้ว่า ทั้งสองท่านเป็นเชื้อสายกษัตริย์นักปกครองเป็นผู้ปกปักรักษาลูกหลาน เหมื่อนเทพเจ้า และปั้นเทวรูปพระเทวาธิราชยืน ไว้บนผนังเหนือขึ่นไปจากรูปปั้นของท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ ในท่าประทับยืนสง่า โดยมีสองมือท้าวสะเอวและอีกสองมือมีมือขวาถือจักรเพชร มือซ้ายถือตรีเพชร ถือเสมือนเป็นพระหลักเมืองผู้ประสิทธประสาทความผาสุกแก่ลูกลานให้ประสบสุข สำเร็จ ปลอดทุกข์ ปลอดภัย
  • ในปัจจุบันหลายท่านคงได้ประจักษ์แล้วว่าดินแดนอาถรรพ์หากทรายแก้วแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวมาเบื้องต้นประทับอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร””
  • ตามคำบอกเล่าจากคุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช ถึงตำแหน่งที่ตั้งของศาลหลักเมือง ณ สนามหน้าเมืองมีหลักเหตุผล  2 ประการคือ
  • 1.เนื่องจากองค์ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพที่อยู่ปัจจุบัน หากมีผู้จะทำการสักการะด้วยแรงศรัทธา ในเวลาช่วงเย็นไม่สามาถเข้าบริวเวณวัดพระบรมธาตุได้
  • 2.จุดศาลหลักเมืองปัจจุบันได้ศูนย์-ตามระยะแนวเดียวกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์

จากสาเหตุ -จากเหตุแห่งความศรัทธาดังกล่าว เป็นแรงปลักดัน ให้ก่อเกิดพลังถึงแนวทางความยิ่งใหญ่แก่ชาวนครศรีธรรมราชได้ร่วมแรงร่วมใจกันจึงได้เกิดภาพและการกระทำเหลานี้จนสำเเร็จตามจุดมุ่งหมายและเป็นที่เล่าลือ

และในระหว่างดำเนินการได้มีพิธีกรรมต่างๆที่สำคัญ การดำเนินการตามแบบของเมืองสิบสองนักษัตร  จุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีพิธีต่างๆเช่น เผาดวงชะตาเมือง ลอยดวงชะตาเมือง เก็บตะปูป่าช้า ณ วัดชะเมา สะกดหินหลัก ปลุกยักษ์วัดพระบรมธาตุ พลิกธรณี เทพชุมนุมตัดชัย ตอกหัวใจสมุทธ ฝังหัวใจเมือง ฯลฯ  พิธีกรรมตต่างๆ ตามแบบโบราณ

ในพิธีกรรมตามแบบฉบับของเมืองสิบสองนักษัตร ท่านพล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช (ขุนพันธ์)ได้อัญเชิญท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ ให้มาเป็นเทวดาประจำหลักเมือง เพื่อเป็นศิริมงคลแก่เมืองนครศรีธรรมราช

และในระหว่างการดำเนินการ ได้มีการสร้างวัตถุมลคลรุ่นแรก เพื่อมอบเป็นของสมณาคุณแก่ประชาชน ทีมีจิตศรัทธา ร่วมช่วยเหลือสร้างหลักเมือง-ศาลหลักเมือง โดยไม่หวังผลกำไร

ภาพขั้นตอน-พิธีกรรมต่างๆตามแบบประเพณีแต่โบราณ ผู้เขียนได้ภาพ-บรรยายภาพต่างๆจากท่านพระครูเกษมพัฒนกิจ โดยคุณสายันห์ ยรรยงค์นิเวศน์(ป๋อง โฟโต้)และหลายๆท่าน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

ขอขอบพระคุณ

พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ )

ภาพและเอกสาร ความลับของฟ้า องค์จตุคามรามเทพ เขียนโดย พงศธร เทพแสงพราว มอบโดยพระครูเกษมพัฒนกิจ 

พระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ เขียนและมอบโดยไทยสะกอ #ฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช

จตุคาม รามเทพ พระเทวราชโพธิสัตว์ แห่งอาณาจักศรีวิชัย มอบโดยผู้ใหญ่ปัญญา(แช่ม) บัวจันทร์

คุณสายันห์ ยรรยงค์นิเวศน์(ป๋อง โฟโต้)และหลายๆท่าน

เหตุเกิดที่เมืองนคร เขียนโดย มอบโดยคุณศุชัย แซ่ปุง

คุณทศพร จิตต์พิศุทธ์ิ

คุณเอกชัย สังข์รัตน์

คุณขวัญชัย มานะจิตต์

คุุณอรรถ ศิริรักษ์

คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *