องค์ราชันดำ จตุคาม-รามเทพ”แห่งอาณาทะเลใต้ ตอนที่ 2
มิ.ย. 13
เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร พระอิสริยยศของในหลวงรัชกาลที่ 10 ขณะนั้น เสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลทรงขึ้นบันจุดวงหัวใจเมืองบนยอดเสาหลักเมือง และทรงเจิมเสาหลักเมือง และทรงพระสุหร่ายเสาหลักเมืองและเสาบริวารทั้งสี่ทิศ ทรงผูกผ้าแพรเสาหลักเมือง ทรงเปิดศาลบริวารทั้งสี่ทิศ ในการนี้คณะผู้จัดสร้างศาลหลักเมืองได้ทูลเกล้าถวายวัตถุมงคลมีพระผงสุริยันจันทราทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ พระพุทธสิหิงค์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อผงแดงปิดทอง จำนวนที่ทูลเกล้าถวายนั้นไม่ทราบแน่ชัดและในครั้งนั้นได้จัดสร้างเหรียญปรกใบมะขามพระเทวราชโพธิสัตว์จตุคามรามเทพเพื่อโปรยทาน (พลีแจก) ให้กับประชาชนผู้เข้าร่วมในพิธี ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
- หลังจากที่วิญญาณในร่างทรงได้กล่าวว่า””มึงไปเอากระดาษและดินสอมา””แล้วบอกให้ว่า””ให้เอาภาพลายสะเก็ดภาพ”บอกว่ามึงเอาไปให้ไอ้หนวดดู มันจะรู้ว้ากูเป็นใคร””และท่านขุนพันธ์ พล.ต.ต.ได้บอกกล่าวทำให้ชาวนครศรีธรรมราชรู้จักกับเชื้อสายกษัตริย์สุวรรณภูมิผู้ยิ่งใหญ่คือ “ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ”และท่านได้อันเชิญท่านทั้งสองมาเป็นเทวดาประจำหลักเมืองในเวลาต่อมา
และภาพการตามพิธีกรรม-ความศรัทธา-ความเชื่อต่างๆ(ตอนที่ 2)ของชาวนครศรีธรรมราชได้ปรากฎ
ลักษณะของหลักเมือง สร้างตามแนวคิดเรื่องศิลปศรีวิชัย องค์เสาหลักเมือง ทำด้วยไม้ตะเคียนทอง จากภูเขายอดเหลือง ในอำเภอนพพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นไม้เข้าลักษณหลักเมือง ไม้ที่เข้าตำราที่จะทำหลักเมืองจะต้องขึ้นอยู่บนจอมปลวก แล้วกิ่งใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก
ขนาดหลักเมือง::ขนาดความสูง 294 เซนติเมตร เส้นรอบวงกว้าง 94 เซนติเมตร
- สลักลวดลายพรรณาโลกธรรมตามคติความเชื่อ พุทธศาสนามหายานว่าด้วยกฎแห่งกรรม ปลายเสาสลักเป็นรูปเค้าพระพักตรีจันทรภาณุ(องค์จตุคาม-รามเทพ)กษัตรอย์ผู้ยิ่งใหญแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ มีรูปพรหมสี่หน้า เป็นลักษณของ เทวดาผู้พิทักษ์ปกปักรักษาบ้านเมือง
-
ปลายยอดสุดคือ ยอดชัยหลักเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจิมและทรงสุหร่าย เมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ.2530 ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร
- ส่วนศาลหลักเมืองสร้างขึ้นตามแนวคิดเรื่อง พุทธเจดีย์แบบศรีวิชัย ทรงเหมราชลีลา มีศาลบริวารสี่ทิศ(ศาลจตุโลกเทพ::หมายถึงดิน น้ำ ลม ไฟ มีหน้าที่ป้องกันหลักเมืองให้อยู่ยื่งยืนนาน)ประกอบด้วย ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระบันดาลเมือง ศาลพระพรหมเมือง
ภาพจากคุณสายันห์ ยรรยงค์นิเวศน์ ถ่ายช่วงปี 2530
ภาพขั้นตอนการทำหลักเมืองเพิ่มเติม แบบคู่ร่างและความศรัทธา
เข้าสักการะหลักเมือง ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ และผู้ใหญ่ปัญญา บัวจันทร์ ถ่ายเมื่อ สิงหาคม พ.ศ.2530
พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ )
ภาพและเอกสาร ความลับของฟ้า องค์จตุคามรามเทพ โดยพระครูเกษมพัฒนกิจ
พระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ โดยไทยสะกอ #ฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช
จตุคาม รามเทพ พระเทวราชโพธิสัตว์ แห่งอาณาจักศรีวิชัย มอบโดยผู้ใหญ่ปัญญา บัวจันทร์
คุณทศพร จิตต์พิศุทธื์
คุณสายันห์ ยรรยงค์นิเวศน์(ป๋อง โฟโต้)และหลายๆท่าน
เหตุเกิดที่เมืองนคร โดยคุณศุชัย แซ่ปุง
คุณขวัญชัย มานะจิตต์
จตุคาม รามเทพ พระเทวราชโพธิสัตว์ แห่งอาณาจักศรีวิชัยมอบโดยคุุณอรรถ ศิริรักษ์
คุณพยอม ปิดชิดร้านคนสร้างภาพ นครศรีธรรมราช
คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
คุุณเพ็ญศรี สุขศรีนวล