แก่นพุทธศาสตร์ตามประสาผู้อ่าน

ส.ค. 29

แก่นพุทธศาสตร์ตามประสาผู้อ่าน

 

 

                                                                                                                                          ภาพและพิมพ์คำกลอน โดย น.ส.ยูถิกา พันธรังษี

           ผู้เขียนได้เคยเริ่มอ่านงานเขียนของท่านพุทธทาส เมือประมาณ ปี 2526 เรื่อง "แก่นพุทธาสตร์" เป็นเล่มแรก อ่านครั้งแรก ครั้งสอง ไม่เคยจะเข้าใจ อ่านอย่างไรถึงจะเข้าใจ  เมื่ออ่านไม่เข้าใจก็ไม่อ่านทิ้งหนังสือดังกล่าวเป็นคราวๆๆคราวละ หลายๆปี จนมาถึง ประมาณปี 2533 ได้พูดคุยกับผู้มีวิธีการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส(คุณไพรัช) เมื่อได้พูดคุยท่านบอก "การอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส"จะต้องเริ่มอ่านจากหนังสือ"คู่มือมนุษย์" จะพออ่านเข้าใจ(พออ่านเข้าใจ)ผมขอย้ำ เพราะหลายๆท่านที่อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสแล้วต้องวางลงคราวละหลายๆปี ผมพออ่าน อ่านไป พอจะเข้าใจบ้าง ดีกว่าแต่ก่อนที่อ่านแล้วต้องวางลงหลายๆปี ยิ่งอ่านไปๆ ยิ่งมีคำถาม ยิ่งไม่เข้าใจ " คนเราเกิดมาทำไม?" เกิดมามีแต่เรืองวุ่นวาย ในบางเรื่องบางราวเราไม่ได้กระทำใช้ชีวิตแบบเรียง่ายอยู่ในศีลธรรมอยู่ในความถูกต้อง แต่ต้องมารับผลกรรมที่ไม่ได้กระทำ อ่านไปยิ่งไม่เข้าใจในหลักทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว(ตามความเข้าใจแต่เดิม)

             จากที่ได้อ่านหนังสือของท่านพุทธทาส หลายๆเล่มได้ฟังเทปคลาสเซ็ท(ไม่มีแผ่นซีดีถ้ามีก็ค่อนข้างแพง)ความเข้าใจเริ่มพอมีบ้าง ถึงได้เข้าใจว่า

              ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราทั้งนั้นเป็นคนตัดสินใจ ตัดสินใจแบบคนไม่รู้ความจริงว่าทุกสิ่งต้องมี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตาม"กฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" แต่เรามายึดถือ"ต้องเป็นของเรา" ต้องเป็นตัวกู" พอมีความรู้สึกว่าต้องเป็นของกู ขั้นต่อไปเริ่มมี"ทิฐิ"เข้ามาครอบ ความรู้สึก สติตัวเอง พอถึงขั้นนี้แล้ว(มีความโกรธ)จะทำอะไรค่อนข้างรุนแรงตามอารมย์โดยไม่มีความรู้สึกนึกคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น การตัดสินของกูต้องถูกต้อง และขอให้กูได้กระทำ ได้ระบายตามทิฐิ ตามอารมย์ตัวเอง  ผลการกระทำอันนั้น จะค่อยๆส่งผลของการกระทำออกไปเรื่อยๆ(ทุกอย่างมีการส่งผลจากการกระทำ จะช้าหรือเร็ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆเป็นตัวช่วยเร่งให้เร็วหรือให้ช้า) บ้างอย่างที่เกิดตามมาเราแก้ได้ บางอย่างแก้ไขไม่ได้ก็จะส่งผลถึงอนาคต จากที่ได้ข้อคิดจากการอ่านจึงได้รวมคำถาม(คำกลอนท่อง)สั้นๆ เล่นๆไว้ให้ตัวเองอ่าน(ท่อง)ซึ่งได้จากการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส "หนังสือชื่อ"เกิดมาทำไม","นิพพาน จุดหมายปลายทางของชีวิต" "ตัวกู-ของกู" หนังสือคำกลอนของท่านพุทธทาส,คำกลอนโบราณไม่ทราบผู้แต่ง ฯลฯ เห็นว่าเป็นคำสอนใจได้ดี เลยให้ลูกสาวของผู้เขียนท่องจำ เผื่อว่าวันหนึ่งข้างหน้าเมื่อพบเจอปัญหาชีวิต ณ.วันนี้เขาอาจจะท่องแบบไม่เข้าใจความหมาย แต่เมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจชีวิตมากขึ้นเขา"ฉุกคิด" "โพล่งทางความคิด" ได้ขึ้นมา อาจมีปัญญาดวงตาเห็นธรรมก่อนผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลาย(รวมทั้งตัวผู้เขียน)ก็ได้ "ภูมิธรรม"ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่แยกผู้ใหญ่และเด็ก  ถึงแม้นจะเป็นเด็กในวันนี้ก็เถอะ เป็นของไม่แน่นอน ผู้เขียนเองก็ใช่ว่าจะไปถึงไหน ยังวนอยู่ในวัฎฏจักรของกิเลสมี รัก โลภ โกรธ หลง เหมือนภายเรือในอ่าง เพียงให้ได้รู้(เพื่อเป็นลายแทงชีวิต)เผือไว้ว่า วันหนึ่งข้างหน้าเมือถึงวาระสุดท้ายของชีวิต จะได้"ตกกระใดพลอยกระโจน"ถึง"จุดหมายปลายทาง"(ถ้ามีโอกาส)ตามความตั้งใจ

                หากท่านที่ได้อ่านมีความสนใจเกี่ยวกับ"ท่านพุทธทาส"ขอเชิญคลิกที่เวป "ท่านพุทธทาส.com" (เวปเพื่อนบ้าน)

               ทุกท่านที่ชอบการอ่านหนังสือ (หนังสือทุกประเภท,ทุกเรื่องราว)หรือมีแนวคิดที่พออ้างอิงเพื่อการสืบค้นจากผู้ที่สนใจในอนาคต ก็เชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น ถ้าเป็นไปได้ ตั้งเป็นกระทู้ หัวข้อ เสนอแนวคิด จากหนังสือของใคร เพื่อการสืบค้นต่อไป ขอเชิญครับ

6 comments

  1. พรศักดิ์ เติมทอง /

    คอลัมน์ที่ 2 (ศีลมี 5 ข้อ) ท่านเขียนสลับข้อกันครับ..ระหว่างข้อ 3 กับข้อ 4 โปรดแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อมิให้ท่านผู้อ่านสับสนนะครับ…ขอบคุณครับ…
    …Mr.T/PEA.S2 /  24 ก.ย.2553

  2. "สมัครใจ ดับไม่เหลือ เมื่อไม่เอา ก็ดับเรา ดับตน ดลนิพาน"
    = ชอบค่ะ

  3. ความคิดเห็นที่ 1 ผมขอขอบคุณมากสำหรับข้อที่ท่านแจ้งให้ผมแก้ไขเกี่ยวกับศีล  ผมได้แก้ไขเป็นที่เรียยร้อยแล้ว   

    ขอบคุณมากๆครับ

    ความคิดเห็นที่ 2 สำหรับผมตั้งใจไว้อย่างนั้น ไม่ทราบว่าจะทำได้แค่ไหน

    ขอขอบคุณครับ

    มล.พัน

  4. เราชินที่จะวิ่งอยู่เสมอ เราวิ่งเพราะเรามีความกลัว และเมื่อเราวิ่ง เราไม่สามารถจะดูแลตัวเราและคนที่เรารักได้ เราวิ่งเหมือนดั่งเช่นองคุลีมาร ที่วิ่งตามพระพุทธองค์  พระพุทธองค์ตรัสถามองคุลีมารว่า เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากที่ไม่หยุดจากหนังสือ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

  5. คุณ B.Suppanart

    คำสอนของท่าน ติช นัท ฮันห์ เป็นอมตะธรรมตลอดกาลครับ

    มล.พัน 9 พย.2553

  6. หนังสือ ชื่อว่า แก่นพุทธศาสน์ นะครับ

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>