เดิน-วิ่งราตรีข้ามปีบูชาพระธาตุ-นมัสการ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “เมืองคอน” ปี 2554-2555

ธ.ค. 28

เดิน-วิ่งราตรีข้ามปีบูชาพระธาตุ-นมัสการ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “เมืองคอน” ปี 2554-2555

                 

เส้นทางการวิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ออกแบบโดยนายเนติบัญชร ขุนรักษ์ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พศ.2546

                       เป็นที่น่ายินดีที่สถานที่หลายแห่งเริ่มมีกิจกรรมช่วงขึ้นปีใหม่ เช่นการสวดมนต์-การวิ่งช่วงปีใหม่(ที่สนามหลวง)และหนึ่งเดียวในเมืองไทยที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2546 ของ”เมืองคอน”เมืองต้นแบบหลายประเพณีที่มีมาตั้งแต่พระเจ้าศรีธรรมโศกราช และกำลังจะเป็นประเพณีอีกประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคลของประชาชนและบ้านเมือง และยังส่งเสริมการออกกำลังกาย คือ การบูชาพระธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการเดิน-วิ่งบูชา-ข้ามปี(จากปีพ.ศ.หนึ่งสู่อีกพ.ศ.หนึ่ง)และนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 สถานที่    ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่  เป็นกิจกรรมที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองคอน อันเนื่องมาจากบารมีของพระบรมธาตุเจดีย์  ความเป็นจริงสถานที่สำคัญของ”เมืองคอน”ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,500 ปี พื้นฐานเดิมของเมืองคอน มีศาสนาหลากหลายย่อมมีสิ่งที่ชาวเมืองเคารพนับถือย่อมมีมากมาย แต่เพื่อความเป็นมงคลคือ ” 9″ ตามความเชื่อและสาเหตุหนึ่งที่ที่สถานที่ทั้ง 9 แห่งอยู่ในย่านเดียวกัน คงมาจากพระบรมธาตุเป็นศูนย์กลางของสถานสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นที่เคารพและบูชา

    • ประวัติและสถานที่ 9 ศักดิ์สิทธิ์มีประวัติและความเป็นมาคือ

 

    • 9.พระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระทันตธาตุ(วัดพระมหาธาตุวรวิหาร)

 

               ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้เท้าความตั้งแต่สมัยพุทธ ครั้งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วมีการแบ่งและประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่ต่าง ๆ โดยในคราวถวายพระเพลิงนั้นพระเกษมมหาเถระได้กำบังกายเข้าในกองเพลิงอัญเชิญพระทันตธาตุออกไปถวายพระเจ้าสิงหราชแห่งนครป่าหมาก ต่อมาเรียกนครนี้ว่า ทนธบุรี มีกษัตริน์เมืองต่าง ๆ ยกทัพมาเชิงพระทันตธาตุนี้มิได้ขาด กระทั่งกษัตริย์หนุ่ม ๕ พระองค์ยกทัพเข้าประชิดเมือง พราะเจ้าสิงหราชคาดการณ์ว่ายากจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงให้พระราชธิดา ราชบุตร พระนางเหมชาลา พระทนทกุมาร อัญเชิญพระทันตธาตุลงกำปั่นหนีไปกรุงลังกาเพื่อถวายแก่พระเจ้ากรุงลังกาที่ได้มาทูลของหลายครั้งแล้วแต่เรือกำปั่นถูกพายุพัดแตกกลางทะเลซัดทั้งสองฝั่งแล้วเดินทางถึงหาดทรายแก้วฝังพระทันตธาตุที่ซ่อนในพระเกศาของพระนางเหมชาลาลง ณ หาดทรายแก้ว จนเมื่อพระมหาเถรพรหมเทพพบเข้า ได้นำสองกุมารอัญเชิญพระทันตธาตุต่อไปยังลังกา ถวายต่อพระเจ้าทศคามมุนีสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพร้อมผูกภาพยนตร์รักษาไว้ในลังกา แล้วให้อัญเชิญพระบรมสารีริก ๒ ทะนาน ประทานให้พระนางเหมชาลาและเจ้าทนทกุมารอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว ที่พระทันตธาตุเคยมาสถิต ก่อนจะเสด็จกลับทนธบุรีที่ศึกสงบลงแล้ว โดยที่หาดทรายแก้วนั้น ต่อมาเมื่อพระเจ้าธรรมโศกราช แห่งเมืองเอาวราชทรงอพยพผู้คนหนีไข้ห่าลงมาทางใต้ตามลำดับถึงหาดทรายแก้ว แก้ไข้ห่าได้สำเร็จด้วยพิธีทำเงินตรานะโมแล้ว ให้ขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ แก้ภาพยนตร์ได้แล้วทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้น
                “ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนี้แม้ว่าจะมีผู้กล่าวว่าเป็นของที่สร้างคลุมพระสถูปองค์เดิมศิลปศรีวิชัย แบบพระบรมธาตุเจดีย์ของอำเภอไชยา จากตำนานของเมืองคอน สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ใน พ.ศ.1098 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และช่วงปี พ.ศ.1773 ได้สร้งเจดีย์ครอบแบบลังกา พระเจดีย์นี้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะได้กลายเป็นแบบอย่างให้แก่พระสถูปเจดีย์อีกหลายๆ องค์ ซึ่งสร้างขึ้นมาในสมัยหลัง ๆ จนทุกวันนี้ พระเจดีย์พระธาตุนครศรีธรรมราชกลายเป็นเจดีย์ทีส่งอิทธิพลในทางศิลปะสถาปัตยกรรมไปยังเจดีย์ในภาคต่าง ๆ ทางภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย ”        
  

  • 8.หอพระนารายณ์

pพระนารายณ์-copy copy

            หอพระนารายน์ ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับหอพระอิศวร คนละฟากของถนนราชดำเนินในอำเภเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเทวสถานของพรามณ์ ลัทธิไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือพระนารายน์เป็นเทพสูงสุด มีเทวรูปพระนารายน์ประดิษฐานอยู่ อายุประมาณ พุทธศัตวรรษที่ ๑๐-๑๑ เทวรูปองค์นี้เป็นเทวรูปศิลปแบบอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้พบ ปัจจุบันได้ย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานนครศรีธรรมราช

  • 7.ศาลหลักเมือง เมืองคอน

pศาลหลักเมืองเมืองคอน-copy1 copy

       สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานหลักเมือง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับภาคเอกชนก่อสร้างศาลขึ้นบนที่ดินราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532 ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพรบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542

        องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทองที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 2.94 เมตร เส้นรอบวง 0.95 เมตร ลวดลายที่แกะสลัก ตั้งแต่ฐานซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์) หรือเทวดารักษาเมือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการแกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้ และนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ ประกอบพิธีเบิกเนตรหลักเมือง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมยอดชัยหลักเมืองเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมือง ในวันรุ่งขึ้น

        นอกจากนี้ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน จะมีการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะปีพุทธศักราช 2528-2530 มีการประกอบพิธีกรรมถึง 12 พิธีกรรม อาทิ พิธีกรรมลอยชะตาเมือง พิธีกรรมสะกดหินหลักเมือง พิธีกรรมปลักยักษ์เทวดาฯ เป็นต้น

        จึงนับว่าศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชแห่งนี้ ได้บังเกิดขึ้นด้วยความประณีตบรรจงอย่างมีภูมิหลัง และมีเอกลักษณ์เฉพาะ อีกทั้งจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวไทยใต้ในอดีต และสองถึงความพยายามอนุรักษ์สร้างสรรค์ของชาวไทยใต้ปัจจุบันไว้อีกด้วย

  • 6.อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5

                นายสันต์ เอกมหาชัย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำริให้สร้างขึ้นเพื่อความสะดวกของข้าราชการและประชาชนในการประกอบพิธีถวายบังคม ในวันที่ 23 ตุลาคมพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 สร้างด้วยทองสำริด ขนาดเท่าองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมพลทหารบก พระหัตถ์ขวาทรงคทาวุธ พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ ประทับยืนบนแท่นสูงประมาณ 3.50 เมตร ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นลานกว้างของสนามหน้าเมือง พระชานุเบื้องซ้ายย่อลงเล็กน้อยสิ่งก่อสร้างที่รวมเป็นพระบรมรูปและบริเวณนี้ได้แก่ องค์พระบรมรูป (ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง)ปัจจุบันพระบรมรูปองค์นี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครศรีธรรมราชทั่วไป และเป็นสถานที่วางพวงมาลาและถวายบังคมในวันปิยมหาราชทุกปี 

  • 5 อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

                  พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์นครศรีธรรมราชโบราณในสมัยที่ยังเรียกว่า “ตามพรลิงค์” 

                  พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ปัทมวงศ์ 
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อราว ๆ พ.ศ. ๑๐๙๘ ในชั้นแรกบุคคลทั่วไปเรียกว่า “สิริธัมนคร” ในศิลาจารึกเมืองไชยาเรียกว่า “ตามพรลิงค์” หรือในจดหมายเหตุของจีนเรียกว่า  ตั้งมาหลิ่ง” เป็นต้น การที่เรียกเมืองตามพรลิงค์ว่า “นครศรีธรรมราช” นี้ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (หลักที่ ๑)เป็นครั้งแรกชื่อนี้มีเค้ามูลที่จะเชื่อถือได้ว่า เป็นราชอิสริยยศที่ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราชว่า ศรีธรรมราช” คงจะถือเป็นประเพณีสืบต่อเนื่องกันมาหลายองค์ จึงเป็นเหตุให้ไทยขนานนามราชธานีนี้ตามพระนามราชอิสริยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ว่า”นครศรีธรมราช”ก่อนการตั้งกรุงสุโขทัย เมืองที่ทรงสร้างดังกล่าวเป็นมหานครใหญ่มีอำนาจมาก มีกำแพงปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน นอกจากนั้นยังมีเมืองขึ้น ๑๒ หัวเมือง เรียกว่า ๑๒ นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต ด้านศาสนจักรได้ทรงสร้างสิ่งสำคัญคือสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น จึงนับได้ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระสถูปเจดีย์ที่เรียกว่า พระบรมธาตุ”ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยต่อมา

  • 4.หลวงพ่อทวด วัดเสมาเมือง

            เมื่อสามเณรปู่(หลวงพ่อทวด)เรียนจบวิชามูลฯ แล้ว ได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียน ต่อยังสำนักพระครูกาเดิม ณ วัดเสมาเมือง เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อครบอายุ บวช พระครูกาเดิมผู้ เป็นอาจารย์ จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า ” สามีราโม ” ณ สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ ๔ ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้น มีชื่อเรียกกันว่า คลองท่าแพ จนบัดนี้ 

            พระภิกษุปู่ เรียนธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม ๓ ปี ก็เรียนจบชั้น ธรรมบทบริบูรณ์ พระภิกษุปู่ได้ กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดเสมาเมืองกลับภูมิลำเนาเดิมคือ เมืองสงขลา

             จากที่หลวงพ่อทวดได้เคยพักอาศัยที่วัดเสมาเมือง เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึง “ชาวเมืองคอน”จึงได้สร้างรูปเหมือนของหลวงพ่อทวดประทับนั้งบนเรือ ณ.วัดเสมาเมือง

  • 3.หอพระอิศวร

pพระอิศวร-copy copy

                หอพระอิศวร อยู่ในอำเภอเมือง ทางทิศใต้ของวัดเสมาเมือง อยู่ตรงกับข้ามกับหอพระนารายน์ บูรณะใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร เป็นองค์เทพสูงสุดของศาสนาพรามณ์ ลัทธิไศวนิกาย ด้านทิศใต้ของหอพระอิศวร มีเสาชิงช้าสำหรับทำพิธีโล้ชิงช้าของพรามณ์เมืองนครศรีธรรมราช และได้ยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘
…….. เมื่อก่อนใกล้กับเสาชิงช้ามีโบสถ์พรามณ์ แต่ได้ผุพังจนไม่เหลือซากแล้วภายในโบสถ์มีเทวรูปหล่อด้วยสำริด อายุระหว่าง พุทธศตรรวตที่ ๑๘ – ๒๕ อาธิ พระพิฆเนศวร พระศิวะนาฏราช พระอุมา และรูปหงส์ซึ่งย้ายเข้ามาไว้ในหอพระอิศวร แต่ทางพิพิธภัณฑสถานเกรงว่าจะสูญหาย จึงย้ายไปเก็บรักษาไว้ในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานนครศรีธรรมราช และได้หล่อรูปจำลองไว้แทนในหอพระอิศวร

  • 2.หอพระพุทธสิหิงค์

pพระพุทธสิหิงค์-copy copy

           พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก 
…..ตามประวัติกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ สร้างที่ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ด้วยกิตติศัพท์เลื่องลือ ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงาม พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชจัดส่งราชฑูตไปลังกา ขอพระพุทธรูปองค์นี้มาบูชา ซึ่งก็ได้มาตามราชประสงค์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช 
  หอพระพุทธสิหิงค์นี้เดิมเป็นหอ พระประจำวังของเจ้าพระยานคร (น้อย) 
      พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้ มีลักษณะ ตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม คือ มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาติสั้นระดับพระถัน

  • 1.ศาลพระเสื้ิอเมือง

pศาลพระเสื้อเมือง-copy1 copy

            ศาลพระเสื้อเมือง ตามคติโบราณ เมื่อใดที่มีการตั้งบ้านเมืองก็มักจะสร้างศาลไว้ให้เทพารักษ์ผู้รักษาบ้านเมืองด้วย 

            ศาลพระเสื้อเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของหอนาฬิกา ห่างจากศาลากลางประมาณ ๑๐๐ เมตร สันนิษฐานว่าคงจะเป็นบริเวณกลางเมืองในอดีต เเละคงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย ศาลเดิมสร้างด้วยไม้ จึงไม่เหลือร่องรอย ผุพังตามกาลเวลา หลังจากนั้นเข้าได้มีการสร้างขึ้นใหม่อีกหลายครั้ง มีผู้บันทึกว่าเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาเเล้วเห็นเป็นศาลไม้ หลังคามุงกระเบื้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ภายในประดิษฐานเทพารักษ์ 2 องค์ ลักษณะคล้ายกับท้าวกุเวรราชในวิหารม้า วัดพระมหาธาตุ ต่อมามีผู้บูรณะเทวรูปทั้งสองนี้และลงรักปิดทอง

         ในระยะหลังปรากฎว่า ศาลพระเสื้อเมือง เป็นที่นับถือของชาวจีนเป็นจำนวนมาก ศาลนี้จึงได้รับการตกเเต่งจนดูคล้ายศาลเจ้าของจีนไป

  • ภาพกิจกรรมที่เป็นมงคล เดิน-วิ่งราตรีข้ามปีบูชาพระธาตุ 2554-2555

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ54-55 copy

หนูมาตามที่หนูสัญญา สัญญาว่าจะมา เดิน-วิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุทุกปีค๊ะ 

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ54-55.2

ลงทะเบียน-เตรียมตัวเดิน-วิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ ปี2554-2555

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ2 copy

เตรียมตัว-รอเวลา

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ1 copy

ถึงเวลาออกเดิน-วิ่งข้ามปี ปี2554-2554 บูชาพระธาตุ

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ3 copy

ต่างลีลาของหนูน้อย

pปีใหม่2555-copy copy

เอื้อเฟื้อภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ6 copy

ต่างลีลารอลุ้นรางวัล

pวิ่งข้ามปีบูชาพระธาตุ7 copy

รางวัลคนเก่ง-มาจากต่างประเทศ ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด

  • ส่งท้ายด้วยพรปีใหม่ 2555 จากท่านพุทธทาส

                    เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตในปีใหม่ 2555 และตลอดไป ขออัญเชิญพระนิพนธ์ของท่านพุทธทาสเพื่อมอบพรปีใหม่แด่ทุกครอบครัว ชาวพุทธและชาวโลกทุกๆท่าน

ขอขอบคุณ ธรรมทานมูลนิธิและสำนักพิมพ์สุขภาพใจ


Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *