พระผง,พระโลหะหลวงปู่ทวด-พ่อท่านคล้ายสร้างในโอกาสทำบุญอายุ 100 ปีพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

เม.ย. 02

พระผง,พระโลหะหลวงปู่ทวด-พ่อท่านคล้ายสร้างในโอกาสทำบุญอายุ 100 ปีพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
pท่านขุนกับหลวงปู่ทวด100ปี copy
ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชกล่าวถึงการให้ความร่วมมือของชาวบ้านไว้น่าสนใจว่า”ถ้าตำรวจปฏิบัติตนเป็นคนดีชาวบ้านที่ไหนก็ชอบและให้ความร่วมมือในเรื่องการจับโจรผู้ร้าย ถ้าตำรวจจับจริงๆ ก็ไม่มีโจรคนไหนรอดพ้นไปได้”
(จากหนังสืออนุสรณ์์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อ 22 กพ.2550)
              ผู้เขียนต้องขอโอกาส เขียนเกี่ยวกับความศรัทธาต่อบุคคลหนึ่ง เป็นบุคคลสำคัญ เป็นปูชนียบุคคลของเมืองนครศรีธรรมราช”คือท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช”
                 ผมได้รู้จักท่านในฐานะประชาชนทั่วไปของคนเมืองคอนคนหนึ่ง มิได้รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่รู้จักจากภาพถ่ายตอนที่ท่านขุนฯได้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร โดยมีแผ่นป้ายโปสเตอร์ที่ติดไปทั่วเมืองคอน ที่หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนังก็เช่นกัน มีโปสเตอร์ติดเหมือนที่อื่นๆ แต่โปสเตอร์ของท่านขุนฯส่วนใหญ่จะติดอยู่ได้ไม่นาน เนืองจากมีมือดีแกะเอาออกหมด เนืองจากชื่อเสียงของท่านเป็น“ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์”เป็นบุคคลที่มีธรรมประจำใจ  ซื่อสัตย์สุจริต ไมกิน ไม่โกง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา เป็นข้าราชการที่เป็นตัวอย่างที่เป็นแบบฉบับแก่นักปกครองและ เป็นที่รักและศรัทธาของประชาชนจนตลอดชีวิต  เป็นปูชนียบุคคโดยแท้จริง มีความรู้ทุกประเภททุกแขนงวิชา ทั้งพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์เพื่อใช้ดำเนินชีวิตและเพื่อประชาชน  ภาพที่โปสเตอร์ที่แกะไปจะเอาไปเก็บบูชาที่บ้านเรือน ประเภทนักเลงหน่อยก็ไว้ประจำตัว(เป็นภาพโปสเตอร์ขนาดเล็ก) และท่านก็ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในสมัยแีรก เมือปี พ.ศ.2512
                      และเมื่อ พ.ศ.2533-34 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระบรมธาตุเจดีย์ ผู้เขียนชอบที่จะสมพระเครื่องตามความชอบและได้มีโอกาสพบพระพุทธรูปที่“คนรุ่นก่อน”ได้สร้างไว้เพื่อเป็น“พุทธบูชา”ต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ผสมอยู่ในปูนและและร้อยลวดแขวนไว้ มีความอยากได้ไว้เพื่อบูชาแต่ก็เคยได้ยิน ได้ฟังคำพูดของท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชว่า
“เศษดิน เศษปูนที่มาจากยอดพระบรมธาตูขอแค่ให้มีรูปพระพุทธเจ้าก็ไม่เหมาะสม ไม่สมควรที่นำไปเป็นสมบัติของส่วนตัวเพราะบรรพบุรุษรุ่นก่อนสร้างไว้เพื่อพิทักษ์พระบรมธาตุ”
ดั้งคำจารึกบนแผ่นทองคำสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธา ไม่ว่ามีสิ่งใดมีค่าล้วนนำมาบูชาพระบรมธาตุเจดีย์เื่ื่พื่อเข้าใกล้ในพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสิ้น
จากหนังสือ เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุเมืองนคร
                         ด้วยความศรัทธาและเคารพต่อองค์พระบรมธาตุเจดีย์ิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้อธิษฐานในใจว่า”เพื่อเป็นวัตถุอนุสสติ”เพื่่อเป็นมงคลแก่ชีวิตจะทำอย่างไรที่จะให็ได้ของที่เป็นมงคลมาและผ่านพิธีกรรมของท่านขุนฯ
แล้วความบังเอิญก็เกิดขึ้นเมื่อผมได้รู้จักกับคุณฉันทิพย์(พี่เล็ก)  พันธรักษ์ราชเดชมีคุณวราวุฒิ สุวรรณโกศัย(ปัจจุบันคุณวราวุฒิท่่านถึงแก่กรรมแล้ว)แนะนำและได้เข้าไปสัมผัสกับการสร้างพระหลวงพ่อทวด รุ่น 100 ปีของท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชในเวลาต่อมา
ในโอกาสที่ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชมีอายุครบ 100 ปีและสร้างหลวงพ่อทวด รุ่น100 ปี ผู้เขียนขอนำประว้ัติย่อๆของท่านเพื่อทราบ
ประวัติท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช
                         จากหนังสือประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวข้อ“บุคคลสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช” หน้า 277 นครศรีธรรมราช โดยวิเชียร ณ นครและคนอื่นๆ และหนังสืออนุสรณ์ในงานพระทานเพลิงศพ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ณ.เมรชั่วคราววัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช วันพฤหัสที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550
                          พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เดิมชื่อ บุตร์ พันธรักษ์ เกิดเมือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 3 ต.ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช บิดาชื่อนายอ้วน มารดาชื่อนางทองจันทร์ พันธรักษ์ 
            การศึกษา ได้เรียน ก ข ก กา ไปจนจบจากบิดา-อาจารย์ปาน อาจารย์นาม นายหีด ชาวสวี สามเณรเจริญ พันธรักษ์ เข้าเรียนในโรงเรียนสวนป่าน โดยมีพระภิกษุอิน รัตนจิตร -โรงเรียนวัดพระนคร โรงเรียนเบญจมราชูทิศ(วัดท่่าโพธิ์)
             เมื่อเรียนอยู่ชั้น ม.2 เป็นโรคคุดทะราดเข้ารักษาตัวที่ กทม.และไปเรียนต่อที่โรงเรียนวัดเบญมบพิตร และได้เข้าเรียนต่อ ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จนสำเร็จเมือ พ.ศ.2472 
ประวัติการทำงานการรับราชการและวีรกรรมที่ท่านสร้างไว้แก่วงการตำรวจโดยย่อ
             เมื่อจบแล้วได้รับการแต่งตั้งไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อยตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช
พ.ศ.2473 ได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจตรี ย้ายไปรับราชการที ณ จังหวัดพัทลุง ร.ต.ต.บุตร์ ได้สร้างวีรกรรมขึ้นโดยปราบเสือสัง ผู้ร้ายจังหวัดพัทลุง และผู้ร้ายอีก 16 คน  จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น“ขุนพันธรักษ์ราชเดช”
พ.ศ.478 ได้รับการเลื่อนยศเป็น ร้อยตำรวจโท และอุปสมบทที่วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร 
พ.ศ.2479 ได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ กองกำกับการตำรวจสงขลาและปราบผู้ร้ายที่สำคัญหลายคนและจับกุมนักโทษแหกคุก 9 คน(ทั้งจับเป็นจับตาย)
พ.ศ.2481ได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอก และเกิดผู้ร้ายในจังหวัดนราธิวาสและได้รับการยกย่องจากชาวไทยมุสลิมฉายาว่า”รายอกะจิ”
พ.ศ.2482ย้ายจากจังหวัดสงขลาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง
พ.ศ.2485 ย้ายไปเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฏร์ธานี 
พ.ศ.2486 ร.ต.อ.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตรวจภูธรจังหวัดพิจิตร ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญคือ เสือโน้ม อาจารย์โน้มราบคาบ และได้รับการเลือนยศเป็นพันตำรวจตรี
พ.ศ.2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท และปราบเสือร้ายหลายก๊ก ฯลฯ เสือใบ เสืออ้วน เสือมเหศวร เสือฝ้าย ฯลฯ
พ.ศ.2490 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
พ.ศ.2491 ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง ตามคำร้องของชาวพัทลุงเพื่อปราบเสือร้าย
พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานยศเป็น พันตำรวจโท 
พ.ศ.2494 ได้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้กับการตำรวจภูธรเขต 8 ย้ายมารับตำแหน่ง ณ ที่ทำการจังหวัดนครศรีธรรมราช 
พ.ศ.2503 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 ได้เลือนยศเป็น พันตำรวจเอก
พ.ศ.2505 ได้รับการเลือนยศเป็นพลตำรวจตรีจนเกษียณอายุราชการ
พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษราชเดช เป็นคนสุดท้่ายของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานทินนาม
pท่านขุนตอน-ร.ต.ต. copy
Picture-2544814-500x363 copy
ภาพอดีตขุนพันธรักษ์ราชเดช ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เมื่อ 22 กพ.2550
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับพระมหากรุณาธิคุณ
pขุนพันธกับพระกรุณามหาธิคุณ copy
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เมือ 22 กพ.2550
ขุนพันธรักราชเดชกับประธานพิธีกรรมพุทธาภิเศก”พระพทุธสิหิงค์”เมื่อ 26 สค.2517
pในหลวงเททอง-2517 copy
ภาพอดีตจากหนังสือ สปิริต ปีที่ 3 เล่มที่ 31 เดือนพย.-ธค.2006
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับงานราชการ 
pขุนพันธกับงานราชการ copy
ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
pขุนพันธกับงานราชการ31 copy
pขุนพันธกับงานราชการ2 copy
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อ 22 กพ.2550
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับการปราบปรามโจรผู้ร้าย
ppCCI04022556_00001 (1) copy
ภาพอดีตคณะท่านขุนจับเสือสาย ท่านขุน(คนที่5 จากซ้าย)ภาพจากอาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล,อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์และอาจารย์ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ(หนังสือที่ระลึกครบรอบ 80 ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ)
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับการพัฒนาเมืองคอน(ถนนพัฒนาการคูขวาง)
pขุนพันธกับการพัฒนาเมืองคูขวางเมืองคอน copy
ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับพระอริยสงฆ์
1180850778 copy
รูปถ่าย..ร่วมฉลองยศขุนพันธรักษ์ราชเดช บ้านอ้ายเขียว อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช 11 มกราคม พ.ศ. 2505 ภาพจากเวป
scan0001-500x320 copy
ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชกับพิธีกรรมหลักเมือง ปี 2530 เมืองคอน
pท่านขุนกับหลักเมือง-เมืองคอน copy
ภาพจากหนังสือศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ณ สนามหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2543
ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชกับการกีฬา(การชกมวย/แบตมินตัน) เมืองคอน
pแชมป์ชกิฬาชกมวยงานเดือนสิบ-2501อรรถ1-500x336 copy
Picture-2545069-500x328 copy
ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ท่านขุนพันธ์กับมวลชลโดยมอบรางวัลแก่แม่บ้าน

pท่านขุนมอบรางวัลบริเวณตลาดแขก2-326x500 copy

ภาพอดีตถ่ายบริเวณ ตลาดแขก ถ่ายประมาณ พ.ศ.2490จากคุณบริพันธ์(บอย)ริเริ่มสุนทร
ท่านขุนพันธ์กับพิธีเปิดสาขาพรรคประชาธิปัตย์(แห่งแรกในภาคใต้)ในอดีต
pท่านขุนกับพรรคประชาธิปัตย์ copy
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชและจากภาพเก่าที่บ้านญาติของ thawat matte WWW.gotkhow.org.
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับการเขียนบทความและประวัติศาตร์เมืองคอนและอื่นๆ
                ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช มีความสามารถด้านการเขียน ทั้งเรื่องราวของความเชื่อทางไสยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำนานท้องถิ่น มวยและเรื่องจากประสพการณ์ลงพิมพ์ในหนังสื่อและวารสารต่างๆพอสรุปโดยสังเขป
1.ประวัติเกี่ยวกับเรือง”กรุงชิง” ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการบวงสรวงพระบรมธาตุ วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นที่มาของการสร้างท้าวจตุคาม รามเทพ รุ่นแรก 2530
(จากหนังสือ 12 นักษัตรครึ่ง 18 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบโดยคุณอาภรณ์(พี่เป้า)  ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง)  สารักษ์(ทองนอก) ,คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
3.บทความ”เชื่อเครื่อง”จากหนังสือ ที่ระลึกครบรอบ 80 ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จากอาจารย์ สุเบญจางค์ จันทรพิมล อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
4.ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของชาวปักษ์ใต้ จากหนังสือ ชีวิตไทยปักษ์ใต้ โดยฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
5.คำกลอนเจ้าคุณวัดท่โพธิ์  จากหนังสือ พระกฐิน พระราชทานวัดท่าโพธิ์ 21 ต.ค. 2522 โดยคณะพุทธบริษัท
6. “ตามใจเพื่อน”  จากสารนคศรีธรรมราช ฉบับเดือน กพ.2516
7.ลูกศิษย์เจ้าคุณ จากสารนครศรีธรรมราช ฉบับ มค.-กพ.2517
8.ปริศนาลายแทงกรุงชิง ฉบับ ตค.2515  ฯลฯ                  
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับครอบครัวในด้านต่างๆ
Picture 1045 copy
ภาพอดีตจากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ มอบโดยคุณยุรีย์ อังวิทยาธร
SAM_1904
ภาพจากคุณอุทัย ไชยวรรณ ถ่ายเมื่อ 16 มีนาคม 2505
Picture 104611 copy
ภาพอดีตจากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ มอบโดยคุณยุรีย์ อังวิทยาธร
Picture 1048 copy
ภาพอดัีต การรักษาประเพณี พิธีโกนจุกบุตรชาย ภาพอดีตจากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ มอบโดยคุณยุรีย์ อังวิทยาธร
ท่านขุนสอนฟันดาบกับครอบครัว copy
ภาพอดีต-การสืบทอดวิชากระบี่กระบองของท่านขุนพันธรักราชเดช จากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ มอบโดยคุณยุรีย์ อังวิทยาธร
Picture-2544833-500x347 copy
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช 22 กพ.2550
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธร เขต 8(ก่อนเกษียณอายุราชการ)
Picture-2544815-500x340 copy
ขุนพันธรักษ์ราชเดชกับพระมหากรุณาพระราชทานปริญญาบัติ ปริญญากิตติมศักดิ์ จากสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
Picture-25448281-381x500 copy.
ภาพจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เมือ 22 กพ.2550
ขุนพันธ์กับการการบริหารร่างกายและอริยบทสบายๆ
pฝึกซ่อมกับอริยบทสะบาย-500x250 copy
                               และในโอกาสทำบุญอายุ 100 ปี พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ในวันเสาร์ที่ 15 เมษายน 2543 ท่านขุนฯได้สร้างพระขึ้้นชุดหนึ่่งเื่พื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาสนี้ โดยท่านได้สร้างเป็น “พระผง พระโลหะหลวงปู่ทวด หลวงพ่อคล้าย” เพื่อให้ชาวเมืองคอน ได้ไว้บูชา เพื่อไว้เตือนสตินำติดตัวไป โดยได้นำโลหะที่ชำรุดตามกาลเวลา เมื่อครั้งจากการบูรณะซ่อมปลียอดพระบรมธาตูเจดีย์(ปลียอดทองคำ)โลหะบนยอดพระบรมธาตุเจดีย์์ประกอบด้วย สัมฤทธิ์ ดีบุก ทองแดง เป็นส่วนที่เหลือจากการหล่อพระพุทธรูป 2 องค์ เพียงท่านหวังว่า 
“ของที่เป็นมงคลบนยอดพระธาตุของเมืองคอน ต้องทำให้คนเมืองคอนบูชา”
          ผมมีความคิดความศรัทธาอยู่อย่างหนึ่งว่า”อีก 1,000 ปีข้างหน้าจะมีไม่ที่จะมีบุรุษอย่างท่านขุนธ์ฯที่มีความพร้อมหลายด้าน มีธรรมะ/มีความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฏร์/เป็นปูชนียะบุคคล/เป็นตัวอย่างของนักปกครอง/มีความเข้าใจทั้งพุทธ-ไสยเวทย์ จะมาเกิด“ประจวบเหมาะ”กับการบูรณะเจดีย์พระบรมธาตุและสามารถนำวัตถุมงคล(ปลียอดทองคำที่ำชำรุดตามธรรมชาติ)มาสร้างเป็นวัตถุมงคลแก่ปวงชนเพื่อบูชา
ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์
Picture-2545103-339x700 copy
ภาพจากหนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของสมาคมชาวนครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2541 ณ วัดแจ้ง นครศรีธรรมราช
พระบรมธาตุเจดีย์ก่อนบูรณะปลียอดทองคำ
pก่อนบูรณะ11-350x700 copy
pก่อนบูรณะ2-350x700 copy
pก่อนบูรณะ3-350x700 copy
pก่อนบูรณะ4-500x250 copy
ภาพพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ก่อนบูรณะปลียอดทองคำ ปี พ.ศ.2533-34และ พ.ศ.2537 ภาพจาก หนังสือการบูระณะองค์พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พ.ศ.2534,หนังสือการบูรณะปลียอดทองบคำพระบรมธาตูเจดีย์ กรมศิลปากร 2534,หนังสืองานพิธีหลอมทองคำเพื่อการบูรณะปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช 12 เมย.2538 ณ กองงานเฉพาะกิจบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำฯ(กบป.)บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช,และแผ่นโปรชัวร์ “ทำไมเราต้องซ่อม”ปลียอดทองคำ””
pบูรณะ copy
ภาพการบูรณะปลียอดทองคำ พ.ศ.2533-34และ พ.ศ.2537
ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ppicture-2544902 copy

ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน

เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม

เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป

ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น

โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว

หลวงปู่ทวด ได้ละสังขารด้วยโรคชราในปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 สิริอายุได้ 100 ปี นับพรรษาได้ 80 พรรษา

  • รายละเอียดมวลสารการสร้างพระผง พระโลหะหลวงปู่ทวด หลวงพ่อท่านคล้าย ประกอบด้วย
pแผ่นพับ1-500x375 copy
มวลสารและพิธีเททองหลวงปู่ทวดและพ่อท่านคล้าย ทำบุญอายุ 100 ปี ขุนพันธรักษ์ราชเดช
ผงปูนพระบรมธาตุเจดีย์/โลหะจากยอดพระบรมธาตุเจดีย์/ชนวนโลหะจากการหล่อพระในพิธีต่างๆที่ท่านขุนพันธ์ฯเก็บรักษาไว้
pโลหะ100 ปีขุนพันธ์
pผงปูนยอดพระบรมธาตุเจดีย์1-333x500 copy
พระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่หล่อจากปลียอดทองคำจำนวน 2 องค์(ปัจจุบันพระพุทธรูปทรงเครื่องอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 องค์และอีก 1 องค์อยู่ที่สำนักพระราชวัง) และมวลสารที่เหลือ และคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพิธีหลอมทอง เพื่อบูรณะปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ ปี 2538 จำนวน 22 ท่าน,สมาชิกสภาจังหวัดและนายอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีมติว่ามวลสารส่วนที่เหลือ ประมาณ 70-80 กก.มอบให้ท่านขุนพันธ์รักษ์ราชเดช เพื่อใช้ให้ในการหล่อพระและมอบให้วัดต่างๆในนครศรีธรรมราต่อไป
pพระปลียอด-500x250 copy
ภาพพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
pท่านขุน11 copy
pท่านขุน2-400x500 copy
pท่านขุน3-400x500 copy
pท่านขุน41-375x500 copy
Picture-2544899-500x330 copy
ภาพพิธีเททองจากคุณอภินันท์ คมขำ(ต๋อย)
พระผง พระโลหะหลวงปู่ทวด พ่อท่านคล้ายมีแบบการสร้างดังนี้
การจัดสร้างพระทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้
1.พระผง
1.1 หลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ ,พิมพ์พระรอด สร้าง 3,000 องค์ พระพิมพ์ใหญ่ มี 2 พิมพ์
1.1.1 พิมพ์หน้าหนุ่ม มวลสารเนื้อจะหยาบ
1.1.2 พิมพ์หน้าแก่ มวลสารเนื้อจะละเอียด
2.พระโลหะ
 มวลสาร ประกอบด้วย เครื่องประดับของประชาชน พระพุทธรูปที่ชำรุดในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ ปลียอดทองคำที่ชำรุด และมวลสารตามรายละเอียดของแผ่นพับทำบุญอายุของท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช
 หลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่(เตารีด)หล่อโบราณ มี 2 แบบพิมพ์ (มีโลหะเนื้อผสมเท่านั้น เนื้ออย่างอื่นไม่มี)สร้างจำนวน 2,000 องค์
2.1 หลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่หล่อโบราณและหน้าเล็ก
2.2 หลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญหล่อโบราณแบบหน้าใหญ่
3.แบบลอยองค์
3.หลวงปู่ทวด  มี จำนวน 1 พิมพ์ สร้่างจำนวน 1,020องค์ มี 2 เนื้อ
3.1 ชนิดเนื้้อทองคำ จำนวน 20 กว่าองค์
3.2 ชนิดเนื่อมวลสารปลีดยอดทองคำและมวลสารอื่นๆ (มีโลหะเนื้อผสมเท่านั้น เนื้ออย่างอื่นไม่มี)จำนวน 1,000 องค์
4.พิมพ์ฤษี
 พิมพ์ฤษี (ตำนานเขาอ้อ) มีจำนวน 2 พิมพ์ สร้างจำนวน 600 องค์
4.1 พิมพ์แบบหลังตรง
4.2 พิมพ์แบบหลังค่อม
5.ชนิดพระบูชา 
5.1หลวงปู่ทวด ชนิดเนื้อปูนผสมว่าน สร้างจำนวน 200 องค์
5.2 พ่อท่านคล้าย ชนิดเนื้อโลกหะ สร้างจำนวน 200 องค์
6.พิมพ์พระพุทธปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์ หน้าตัก ครึ่งเซนติเมตร (พระประจำวันเกิดท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช)สร้างจำนวน 300 องค์
7.พระหลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ปั้มซ้ำ(เตารีด) มี 1 แบบพิมพ์ สร้างจำนวน 600 องค์
(ยังมีพระพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่งที่สร้างเฉพาะ)
ภาพพระีที่มีการจัดสร้าง
พระเนื้อผง หลวงปู่ทวด แบบต่างๆ สำหรับบุคคลทั่วไปที่ชอบพระผงเป็นมวลสาร(ท่านขุนพันธ์แจกแ่ก่ประชาชนที่มางานทำบุญอายุ 100 ปีที่ศาลา 100 ปีวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร)
pพระผงหลวงปู่ทวด-500x400 copy
pพี่เล็ก1-500x400 copy
pพี่เล็ก2-500x400 (1) copy
pพี่เล็ก3-500x400 copy
pพี่เล็ก4-500x400 copy
pคุณเอิบ-500x400 copy
      หล่อโบราณหลวงปู่ทวด แบบพิมพ์ใหญ่(เตารีด) ด้านหลังหลังโค๊ดสวัสดิกะเจตนาท่านขุนพันธ์เพื่อให้สำหรับท่านชาย(มีโลหะเนื้อผสมเท่านั้น เนื้ออย่างอื่นไม่มี)
pหลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่ copy
pท่านขุน5-500x400 copy
pท่านขุน6-500x400 copy
pหลวงปู่ทวด100-ปีขุนพัน5 copy
pหลวงปู่ทวด100-ปีขุนพัน6 copy
6348287126002500002 copy
pพี่เล็ก6-500x400 copy
pของศุภชัย-500x400 copy
pหลวงปู่ทวด100-ปีขุนพัน7 copy
pพี่เล็ก5-500x400 copy
S__8134678
S__8134680 - Copy
S__8134681
SAM_1731สวัสดิกะ2-150x150 copy
         ความหมายของโค๊ดเครื่องหมาย”สวัสดิกะ” เป็นเครื่องหมายที่เป็นมงคลสูงยิ่ง เป็นเครื่องหมายสิ่งแรกของศาสนา เป็นเครืองหมายทางพระพุทธศาสนาหมายถึง วงล้อแห่งพระธรรม(ธรรมจักร) และมีการใช้เครืองหมายสวัสดิกะนี้มาแต่โบราณในทางศาสนาและ หลายๆประเทศในแถบเอเชีย กรีก ยุโรป และอเมริกันพื้นเมือง จะใช้เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและเทพเจ้า เช่นศาสนาฮินดู (บนมือพระพรหม์) ศาสนายิว(มีดาววงล้อมสวัสดิกะ) ทิเบต(มี4จุดภายในสวัสดิกะ) ศาสนาคริส(มีสวัสดิกะเล็ก4อันในอันใหญ่1อัน)ฯลฯและชาวอียิบป์โบราณและในประเทศไทยมีพระสงฆ์ที่ใช้กับการสร้างวัตถุมงคล เช่น หลวงพ่อโอภาสี 
หล่อโบราณหลวงปู่ทวด แบบลอยองค์ เจตนาท่านขุนพันธ์เพื่อให้แก่เด็ก/สุภาพสตรี(มีโลหะเนื้อผสมเท่านั้น เนื้ออย่างอื่นไม่มี)
pหลวงปู่ทวดพิมพ์เล็ก copy
pลอยองค์-500x400 copy
pพี่เล็ก8-500x400 copy
หล่อโบราณแบบฤษี เจนตาท่านขุนพันธ์เพื่อบูชาครู(ตามตำราเขาอ้อ)
pฤษี-500x333 copy
S__8134676
หล่อโบราณพ่อท่านคล้ายแบบบูชา เจตนาท่านขุนพันธ์เพื่อใว้บูชา ประจำบ้าน/ยานพาหนะ
pพ่อท่านคล้าย copy
พระบูชาหลวงปู่ทวดเนื่อปูนผสมว่าน เจตนาท่านขุนเพื่อใว้บูชาประจำบ้านและยานพาหนะ
pพี่เล็ก9-500x400 copy
พิมพ์พระพุทธ ปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์ หน้าตัก ครึงเซนติเมตร
pพระนาคปรก-500x400 copy
pพี่เล็ก7-500x400 copy
และเมื่อ พ.ศ.2554 คุณฉันทิพย์ พันธรักษราชเดช(สร้างพระหลวงปู่ทวดในโอกาสทำบุญอายุ 60 ปีเพื่อถวายแก่วัดและศาลเจ้าต่างๆทั่วประเทศ)ได้นำพระหลวงปู่ทวดที่ขำรุด(หล่อโบราณ)นำไปพิมพ์ซ้ำใหม่ เป็นพระหลวงปู่ทวดพิมพ์ปั้มซ้ำด้านหลังมีเครืองหมายพิเศษเพื่อให้แตกต่างจากเครื่องหมายของรุ่น 100 ปี
pปู่ทวดปั้มซ้ำ-500x375 copy
pใหม่-500x375 copy
pของศุภชัย2-500x400 copy
IMG_25650517_174849-horz
        สุดท้ายท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้สร้างหลวงปู่ทวด-พ่อท่านคล้ายด้วยมวลสารจากพระบรมธาตุเจดีย์เพื่อสื่อ(สำหรับปุถุชน)- เป็นวัตถุอนุสสติให้ระลึกถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ตามปริศนาธรรมแห่งเจดีย์ “มุ่งหมายนิพพาน บนลานประทักษิณ(ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้ทางไว้ เพื่อชาวพุทธก้าวเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าเดินแล้วเสร็จสู่พระนิพพาน) ไม่ต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฎฎ์อีกต่อไป””
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวเพิ่มเติมกับพิธีต่างๆในการสร้างพระผง,พระโลหะหลวงปู่ทวด-พ่อท่านคล้ายสร้างในโอกาสทำบุญอายุ 100 ปีพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชจะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม รายละเอียดต่างๆและพิธีปลุกเศก ในการสร้างพระผง พระโลหะหลวงปู่ทวด-พ่อท่านคล้ายสร้างในโอกาสทำบุญอายุ 100 ปี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชข้อมูลจากคุณอภินันท์(ต๋อย) คมขำ

วัตถุมงคลโอกาสทำบุญอายุ 100 ปี พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช

      วัตถุมงคลโอกาสทำบุญอายุ 100 ปี พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช  ในวันเสาร์ที่ 15 เมษายน 2543 ท่านขุนฯได้สร้างพระรุ่น100 ปี มีดังนี้ พระบูชาหลวงปู่ทวด และพ่อท่านคล้าย   พระนากปรกหล่อโลหะ   พระฤๅษีหล่อโลหะ หลวงปู่ทวดหลังเตารีดหล่อโลหะยันต์นวกะ   พระผงว่านหลวงปู่ทวดหลังเตารีด   ขึ้นชุดหนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาสนี้ โดยท่านได้สร้างเพื่อให้ชาวเมืองนคร ได้ไว้บูชา เพื่อไว้เตือนสตินำติดตัวไป โดยได้นำโลหะที่ชำรุดตามกาลเวลา เมื่อครั้งบูรณะซ่อมปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ (ปลียอดทองคำ) โลหะบนยอดพระบรมธาตุเจดีย์ประกอบด้วย สัมฤทธิ์ ดีบุก ทองแดง และโลหะพระเก่าที่ชำรุด เป็นส่วนที่เหลือจากการหล่อพระพุทธรูป 2 องค์  และ ชนวนโลหะจากการหล่อพระอีกหลาย พิธีที่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เก็บรักษาไว้ ผสมเพื่อจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้    เพียงท่านหวังว่า “ของที่เป็นมงคลบนยอดพระบรมธาตุของเมืองนครศรีธรรมราช ต้องทำให้คนเมืองนครบูชา”  เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมบุญในการใช้อาราธนา ที่จะได้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาสืบไป

            โลหะยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช (ยอดปลีทองคำ) เมื่อครั้งบูรณะซ่อมแซมยอดปลีทองคำ เนื้อโลหะบนยอดพระบรมธาตุ ประกอบด้วย สัมฤทธิ์ ดีบุก ทองแดง และเป็น มวลสารโลหะยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ที่ได้มาเมื่อครั้ง บูรณะปลียอดทองคำ ใน พ.ศ. 2538 เป็นแร่ธาตุจากหลายเมือง กษัตริย์ของแต่ละเมืองนำโลหะมาผสมหลอมหลายชนิด หล่อแบบโบราณเป็นปล่องไฉนสมทับกันไว้  สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ร่วมกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ตั้งแต่การสร้างเป็นทรงลังกาเมื่อราวปี พ.ศ.1700-1800 จนปัจจุบัน ก็ประมาณ 700 ปีเศษ  และเมื่อ พ.ศ. 2155 – พ.ศ. 2159 สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีการซ่อมแผ่นทองที่ปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ในครั้งนั้นด้วย

               กรมศิลปากรทำการบูรณะปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องจากเกิดรอยชำรุดด้วยความเก่าแก่ของโลหะ จึงคัดเลือกส่วนที่ชำรุด รื้อออกลงมาซ่อมแซม ส่วนปลียอดทองคำ เริ่มเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 จนเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2538  และเสริมความมั่นคงซ่อมแกนปูนในปลียอด โดยการอนุรักษ์รูปแบบและวัสดุอย่างของเดิม ด้วยวิธีการบูรณะและวิธีการปฏิสังขรณ์ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท เพิ่มทองคำ 141 บาท (มาตราชั่ง ตวง วัด ของไทย 1 บาท เท่ากับ 15.2  กรัม )  จึงได้โลหะส่วนชำรุดบนปลียอดทองคำเป็นเนื้อโลหะผสมหลายชนิด ส่วนเนื้อโลหะบนยอดพระบรมธาตุ ประกอบด้วย สัมฤทธิ์ ดีบุก ทองแดง  และโลหะพระเก่าที่ชำรุด              

              หากเกิดความคิดความศรัทธาว่าอีก 1000 ปี ข้างหน้าจะมีไครบางที่จะมี บุรุษอย่างท่าน ขุนพันธรักษ์ราชเดช  ที่มีความพร้อมหลากหลายด้าน มีความเข้าใจธรรมะ ทั้งพุทธศาสตร์-ไสยเวทย์ /  มีความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ / เป็นตัวอย่างของนักปกครอง / เป็นปูชนียะบุคคล / จะมาเกิด”ประจวบเหมาะ” กับการบูรณะเจดีย์พระบรมธาตุ และสามารถนำโลหะปลียอดทองคำที่ชำรุดตามธรรมชาติ มาสร้างเป็นวัตถุมงคลแก่ปวงชนเพื่อสักการบูชา ในการอาราธนาใช้ ติดตัว เฉพาะโลหะที่ได้จากยอดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชก็เหนือสิ่งอื่นใดแห่งความเป็นสิริมงคล ทั้งได้ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช มาดำเนินการ ด้านพิธีกรรม จัดสร้างโดยสมบูรณ์แบบ

              การสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้คงอยู่แล้ว ยังได้นิสงค์ในการที่ลูกหลาน ได้บูชาและนับถือบรรพบุรุษไทย เพราะการได้วัตถุที่มีส่วนผสมของหยาดเหงื่อ แรงศรัทธาที่บรรพบุรุษได้ทุ่มเท ทั้งแรงกายและแรงใจในการก่อสร้างถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนา ซึ่งยังคงมีหลักฐานเหลือให้เห็นซึ่ง เป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ที่ปรากฏความยิ่งใหญ่ในยุคสมัยเก่า อันแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งซากวัตถุที่นำมาผสมผสานให้เกิดขึ้น มีขึ้นจากน้ำมือของบรรพบุรุษทั้งชีวิตและจิตใจของพวกท่าน ยังคงฝังแน่นอยู่ในประติมากรรมทุกอณูของวัตถุที่นำมา ก่อสร้าง ซึ่งดวงจิตและดวงวิญญาณยังคงติดตาม อนุโมทนาและอำนวยอวยชัย แก่ผู้ที่ยังนับถือและระลึกถึง ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันว่าคนที่นับถือบรรพบุรุษ ย่อมประสพแต่ความเจริญ และรอดพ้นอุปสรรคได้เสมอ จึงนับว่าเป็นโอกาสดีของพุทธบริษัทที่ได้ร่วมกุศล  เพราะการสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจ ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อหวังว่าราคาจะแพงขึ้นหรือถูกลง มีแล้วจะทำให้ร่ำรวยมีทรัพย์ เงินแสน เงินล้าน คงเป็นไปได้ยาก หาก เราไม่ทำมาหากิน และกระทำในทางสุจริต มีศีลธรรม จริยธรรมและจารีตประเพณีอันดีงาม เป็นสิ่งที่ก่อให้ผู้มีคุณสมบัตินี้ ประสพความสำเร็จ


     วิธีใช้พระ (1.) สวด “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” ( 3 จบ )

                         (2.) ระลึกถึง คุณพระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ หลวงปู่ทวด และอาราธนาตามใจนึก

                         (3) สวด นะ โม โพ ธิ  สัต โต  อา  คัน  ติ  มา  ยะ อิ  ติ  ภะ  คะ วา  3 จบ )

                         (4) สวด  พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ  ( 3 จบ )

ข้อห้าม.ห้ามด่าแม่ด่าพ่อ ผิดเมียผู้อื่น ไม่พูดคำหยาบ ไม่เบียดเบียนสัตว์โลก ขณะมีพระติดตัว ห้ามนอนกับผู้หญิง ไม่ควรนำพระลอดใต้ราวผ้าและเข้าส้วมถ่ายทุกข์หนัก เป็นดี

พระบรมธาตุเจดีย์ เจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ รอบพระมหาธาตุ มีเจดีย์ 158 องค์

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์

ความสูงของพื้นถึงยอดปลี สูง 37 วา 2 ศอก สูงจากฐานถึงยอดปลี 37 วา 2 ศอก

ฐานยาวด้านละ ยาว 18 วา 1 ศอก 15   นิ้ว

ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว

รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย

รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก

หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์

ปล้องไฉน  52   ปล้อง

บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ

ยอดปลีของปล้องไฉน หุ้มด้วยทองคำ แผ่เป็นแผ่นหนา เท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก  800 ชั่ง (เท่ากับ 960 กิโลกรัม)

ส่วนที่หุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ (เท่ากับ 6เมตร)

ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน กำไล ต่างหู จำนวนมากผูกแขวนบนปลียอดทองคำ

บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ

ชนวนมวลสารโลหะในการจัดสร้าง ได้แก่

( 1.) โลหะยอดพระธาตุ นครศรีธรรมราช ครั้งบูรณะซ่อมแซม ยอดปลีทองคำ ปี 2538 (ส่วนที่เหลือ จากการหล่อพระพุทธรูป 2องค์)

2.) โลหะชนวนเก่า ของ วัดเขาอ้อ และ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง

3.) โลหะชนวนหล่อพระปิดตา วัดแหลมทราย จ.สงขลา

4.) โลหะชนวนหล่อพระกริ่ง ภูทราวดี ปี 2505 (วัดพระบรมธาตุ)  ปี 2506 (วัดพระปฐมเจดีย์)

5.) โลหะชนวนพระ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร  กรุงเทพ  ปี2508

6.) โลหะชนวนหล่อพระกริ่ง วัดราชาธิวาส  ปี 2514

7.) โลหะชนวนหล่อพระกริ่งพุทธสิหิงค์ ปี 2517 และ ปี 2535

8.) โลหะกรุ พระพิจิตร พระสุพรรณ พระกำแพงเพชร ซึ่งชำรุดแล้ว

( 9.) โลหะชนวน พิธีหล่อพระ ในพิธีต่างๆ ที่ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชประกอบพิธี

(10.) โลหะกั่นอาวุธต่างๆ 108 ชิ้น หลอมผสมที่วัดนางตรา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ปี 2541

            พิธีปฐมฤกษ์ ในงานรุ่น พระนางตรา 100 ปี ท่าศาลา บวงสรวงบูชาเทพเทวดา สวดโลหะชนวนมวลสาร ลงอักขระแผ่นยันต์ เททองหล่อพระพุทธรูปนางตรา และเทหล่อพระนากปรกลอยองค์   หลวงปู่ทวดหลังเตารีด หลวงปู่ทวดลอยองค์ พระฤๅษีลอยองค์

วันที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2541 ตรงกับ วันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9   ปีขาล  ณ วัดนางตรา  อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 

โดยมี พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธี และมี คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช  เป็นผู้คอยดูแลในมณฑลพิธี

         พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 20 มีนาคม 2542 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5  ปีเถาะ  ณ.อุโบสถวัดนางตรา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

เกจิประกอบพิธีพุทธาภิเษก ประกอบด้วย พระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ พัทลุง อาจารย์สังข์  วัดดอนตรอ ,อาจารย์เนียม  วัดบางไทร ,อาจารย์นวล  วัดไสหร้า อาจารย์วรรณ  วัดเสาธงทอง และเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือ จำนวน 31 รูป ทั้งนี้ มีพระครูกาชาด(บุญทอง)วัดดอนศาลา จ.พัทลุง เป็นพระคุมพิธีพุทธาภิเษก และ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีฝ่ายคฤหัสถ์ และมีคุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช เป็นบัณฑิตและเป็นผู้คอยดูแลในมณฑลในพิธี

 พระอริยสงฆ์ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ผู้เปี่ยมด้วยบารมีและพุทธคุณสูงยิ่ง ปรากฏอภินิหารแก่ผู้เคารพสักการะ  เป็นที่ยอมรับทั้งชาวไทยและต่างประเทศ  จากอดีตถึงปัจจุบัน  ควรค่าแก่การมีไว้ครอบครองและติดตัวตลอดเวลา

ประกอบพิธีปลุกเสก และพุทธาภิเษก วัตถุมงคล 100 ปี พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช

4  มิถุนายน 2541  พฤหัส ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล  ณ.สถูปเจดีย์อัฐิหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์  จ.ปัตตานี

24 กรกฎาคม 2541 ศุกร์ ขึ้น1 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล พิธีเททอง ณ.วัดนางตรา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

7 สิงหาคม 2541   ศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต3) ณ.พระอุโบสถ วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ. สงขลา

8 สิงหาคม 2541  เสาร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต3) ณ.พระอุโบสถ วัดทรายทอง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

20  มีนาคม 2542 เสาร์  ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ (รุ่น100ปี อ.ท่าศาลา) ณ.พระอุโบสถ วัดนางตรา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

8 เมษายน 2542  พฤหัสบดี  แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ (รุ่นเหยียบน้ำทะเลอันดามัน) ณ.กลางทะเลอันดามัน จ.กระบี่

9 เมษายน 2542 ศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ (รุ่นเหยียบน้ำทะเลอันดามัน)  ณ.ยอดเขาพระบาท(บันได 1200 ขั้น) ณ.วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่

10 เมษายน 2542   เสาร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ  (รุ่นเหยียบน้ำทะเลอันดามัน)  ณ.ฐานเจดีย์ระฆังใหญ่  ณ.วัดถ้ำเสือ  จ.กระบี่

2542  พระกริ่งพุทธสิหิงค์  พระสุธรรมาธิบดี(เพิ่ม อาภาโค) ณ.พระอุโบสถ วัดพระเพรง  อ.พระพรหม จ .นครศรีธรรมราช

2543  พระกริ่ง(รุ่นเจ้าสัวเบตง)  ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรวิหาร จ.นครศรีธรรมราช

2543  พระกริ่ง(รุ่นเจ้าสัวเบตง )  ณ.พระอุโบสถ วัดพุทธาธิวาส  อ.เบตง จ. ยะลา

8 เมษายน 2543  เสาร์ ขึ้น5 ค่ำ เดือน 5  ปีมะโรง พุทธาภิเษก(รุ่น100 ปี ขุนพันธรักษ์ราชเดช)  ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรวิหาร

15 เมษายน 2543  เสาร์ ขึ้น12 ค่ำ เดือน 5  ปีมะโรง ทำบุญอายุครอบรอบ 100 ปี  ณ.ศาลา100ปี วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช

5 มิถุนายน 2543  จันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรง  ณ.พระอุโบสถ วัดสวนป่าน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

16  กรกฎาคม 2543  คืนจันทรุปราคาเต็มดวง(ราหูอมจันทร์)  ณ.ห้องพระ บ้านราชเดช (ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ปลุกเสกเดี่ยว)

5  สิงหาคม 2544  อาทิตย์ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง   พิธี (รุ่นพุทธาคมเขาอ้อ) ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรวิหาร

12  สิงหาคม 2544  อาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง   พิธี (รุ่นพุทธาคมเขาอ้อ) .ถ้ำฉัตรฑัณวัดเขาอ้อ จ.พัทลุง

17  กันยายน 2545  อังคาร  ขึ้น 11 ค่ำ เดือน  ปีมะเมีย พิธี(รุ่นอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ) บูรณะเจดีย์ราย ณ.ถ้ำฉัตรฑัณ วัดเขาอ้อ

21 กันยายน 2545  เสาร์  ขึ้น 15 เดือน 10 ปีมะเมีย พิธี (รุ่นอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ) บูรณะเจดีย์ราย ณ.กลางทะเลอ่าวนคร

22 กันยายน 2545  อาทิตย์  แรม 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเมีย พิธี (รุ่นอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ) บูรณะเจดีย์ราย ณ.หอพระวิหารสูง

25  กันยายน 2545  พุธ  แรม 4 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเมีย พิธี (รุ่นอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ) บูรณะเจดีย์ราย ณ.พระวิหารหลวง

12  สิงหาคม 2546  อังคาร  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม พิธี (รุ่นอนุสรณ์บ้านพังฬการ) ณ.หอพระวิหารสูง (โบสถ์มหาอุด)

21 สิงหาคม 2546  พฤหัส  แรม 9 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม พิธี (รุ่นอนุสรณ์บ้านพังฬการ) ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรวิหาร

26 สิงหาคม 2546  อังคาร  แรม 14 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม พิธี(รุ่นอนุสรณ์บ้านพังฬการ) ณ.อุโบสถ วัดมะม่วงขาว  อ.พระพรหม

20 มกราคม 2547  อังคาร แรม 14  เดือน 2 ปีมะแม   พิธี(รุ่นบันดาลโชค พระเจ้าศรีธรรมโศก) ณ.หอพระวิหารสูง (โบสถ์มหาอุด)

6  กุมภาพันธ์ 2547  ศุกร์  แรม 1 ค่ำ  เดือน 3 ปีมะแม พิธี(รุ่นบันดาลโชคพระเจ้าศรีธรรมโศก) ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรวิหาร

19 กุมภาพันธ์ 2547 พฤหัส  แรม 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พิธี(รุ่นบันดาลโชค พระเจ้าศรีธรรมโศก)  ณ.ปะรำกลางน้ำวังโบราณอ.ลานสกา

10 พฤศจิกายน  2547  พุธ  แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก พิธี (รุ่น ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ)   ณ .ถ้ำฤๅษีเขางู อ.เมือง จ.ราชบุรี

12  พฤศจิกายน 2547  ศุกร์ ขึ้น  1 ค่ำ เดือน 12   ปีวอก พิธี (รุ่น ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ) ณ.หอพระวิหารสูง (โบสถ์มหาอุด)

17  พฤศจิกายน 2547  พุธ ขึ้น  6  ค่ำ เดือน  12  ปีวอก พิธี(รุ่น ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ)  ณ.กลางทะเลอ่าวนคร

10  ธันวาคม  2547  ศุกร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 12  ปีวอก พิธี(รุ่น ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ)  ณ.พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรวิหาร

 ขอขอบคุณ

เวปต่างๆที่ให้ข้อมูล
คุณฉันทิพย์(พี่เล็ก) พันธรักษ์ราชเดช
คุณเอื้อม อุบลพันธุ์
อาจารย์สุเบ็ญจางค์ จันทรพิมล
อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์
คุณอภินันท์(ต๋อย) คมขำ
คุณเอิบ สุขสว่าง
คุณไชยรัตน์(พี่หมู) สิชฌน์เศรษฐ์
คุณศุภชัย แซ่ปุง
คุณวิโรจน์ แก้วเติมทอง
คุณSaktera พระเครื่องเมืองลุง
คุณสถาพร พฤกษะศรี
คุณพรศักดิ์ เติมทอง
คุณอุทัย ไชยวรรณ
คุณบริภันธ์(บอย)ริเริ่มสุนทร
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
ผช.แช่ม บัวจันทร์ หมู่ที่ 1 ต.ปากพูน อ.เมือง
คุณวิเชียร ณ นคร(ท่านถึงแก่กรรมแล้ว)
คุณสมพุทธ ธุระเจน
คุณชวน แสงแก้ว
คุณฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
คุณปรีชา นุ่มนุ่น
คุณอาภรณ์(พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง)  สารัตน์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย มหาวิทยาลัยวลัยลักณ์

7 comments

  1. ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่น่าจดจำและจารึกไว้ครับ
     
    ขอบคุณจากใจจริงครับ ในการนำเสนอสิ่งดีดีแบบนี้เสมอมาครับ

  2. คุณnakhonkup999 
              ผมขอขอบคุณเช่นกัน สำหรับกำลังใจครับ
              มล.พัน

  3. Its like you learn my mind! You appear to know a lot about this,
    like you wrote the e book in it or something. I believe that you
    could do with a few % to drive the message house a little bit,
    but other than that, this is wonderful blog. An excellent read.
    I’ll certainly be back.

  4. คุณ พระเครื่อง
    Thank you for visiting the website. And sincerely hope that you will follow up and feedback.

  5. เรียนทุกท่าน ผมได้แชร์ บทสัมภาษณ์ ท่านขุนเมือ.พ.ศ.2540ครับhttp://www.youtube.com/watch?v=-vOTV5ZjSZg

  6. tippachat chitrattha /

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลของมวลสารในการจีดทำพระเครื่่องรุ่น 100 ปี ขุนพันธ์ฯ ปั๊มซ้ำ  ที่พี่ฉันทิพย์จัดสร้าง

  7. คุณtippachat chitrattha ด้วยความยินดีครับและขอบคุณทุกๆท่านที่ได้ให้ข้อมูลด้วยครับ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *