แด่คุณครูเจริญ เมธารินทร์ คนดีศรีเมืองนคร ปี 2555และผู้สูงอายุดีเด่นระดับประเทศ ปี 2554
มิ.ย. 21

ประวัติโดยย่อของคุณครูเจริญ เมธารินทร์ชาติกำเนิด
ด้านการศึกษา
ชีวิตครองเรือน
ประวัติการทำงาน/รับราชการ
พ.ศ.2477-2499 เป็นครูสอนศิลปะที่โรงเรียนพรสวัสด์วิทยาโรงเรียนสตรีพระสวัีสดิ์วิทยา อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ.2499-2501 เป็นครูสอนศิลปะ-หน้าที่ศีลธรรม ที่โรงเรียนศึกษากุมารี และสอนพิเศษศิลปะที่โรงเรียนศรีธรรรมราชศึกษา
พ.ศ.2503-2514 เป็นครูสอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนจรัลพิชากร โรงเรียนสตรีจรัสพิชากร
พ.ศ.2514-2518 สอบบรรจุเป็นข้าราชการครูฯครั้งแรกในตำแหน่งครูสอนวิชาศิลป-ขับร้องดนตรี ที่โรงเรียนวัดโบสถ์ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศิษย์รุ่นแรก-แรกรุ่นของครูเจริญ เมธารินทร์ ที่จบ ป.7 ที่โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2515
ประวัติโรงเรียนวัดโบสถ์ ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ.2514 ทางราชการได้ย้ายนางสาวสุพัตรา จันทร์สังข์ เพิ่มอีก 1 อัตราและได้บรรจุครูใหม่ 2 อัตราคือ 1.นายเจริญ เมธารินทร์ 2.นายวิมล สุขมงคล
ประวัติโรงเรียนวัดกัลยานฤมิต ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ.2528-2537 ย้ายไปสอนที่ โรงเรียนวัดโบสถ์ ตำบลปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และกิจกรรมของโรงเรียนปากพูน
พ.ศ.2503 ชาวบ้านช่วยกันบริจาค เงิน วัสดุ และแรงงาน สร้างอาคารเรียนชั่วคราว1 หลังในที่ดินวัดมะม่วงแก้ว ซึ่งเป็นวัดร้างเนื้อที่ 10 ไร่เศษ ซึ่งอยู่ติดต่อกับวัดโบสถ์ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2505 เกิดวาตภัยภาคใต้ ทำให้อาคารเรียนพังทั้งหลัง ทางราชการให้งประมาณ 7,000 บาท ชาวบ้านสมทบอีก 8,000 บาท เป็นอาคารแบบ ป.1 ก. 4 ห้องเรียน เปิดเรียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2507
พ.ศ. 2514 ชาวบ้านช่วยกันบริจาคเงิน วัสดุและแรงงาน ช่วยกันสร้างอาคารชั่วคราวขึ้นอีก 1 หลัง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตรได้รับอนุญาตให้เปิดประถมปลาย เริ่มจากชั้น ป.5,6 และ 7 ตามลำดับ ปัจจุบันมี อาคารเรียนถาวรจำนวน 3 หลัง อาคารประกอบ 4หลัง เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน คนครูอาจารย์ 19 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน จำนวนครอบครัวในเขตบริการ 241 ครอบครัว ส่วนนักเรียนที่อยู่นอกเขตบริการ ในหมู่บ้านใกล้เคียง คือหมู่ที่ 1,2 และ 7 ตำบลปากพูนและหมู่ที่ 1 ตำบลท่าซัก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ 15-20 ครอบครัว
ผลงานด้านต่างๆ
อุปกรณ์และขั้นตอนการแกะหนัง
1. หนังวัว หนังควาย หนังแกะ หนังแพะ
2. กรอบไม้สี่เหลี่ยมสำหรับตากหนัง
3. แบบลายภาพ
4. เครื่องมือตอกและสลักลาย ได้แก่ เขียง มีดปลายแหลม มีดปลายมน ตุ๊ดตู่ ค้อน เทียนไข
5. หมึกสีจากสีธรรมชาติหรือสีวิทยาศาสตร์
6. น้ำยางใสหรือน้ำมันเคลือบเงา
ขั้นตอนการแกะหนังตะลุง
การแกะหนังเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้งเวลาและความชำนาญในการผลิต มีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมหนัง โดยนำหนังวัวหรือหนังควาย ขณะเป็นหนังสดมาขึงกับกรอบไม้สี่เหลี่ยม ตากให้แห้งแล้วนำหนังไปฟอก ขูดส่วนที่เป็นพังผืดออกให้หนังมีความหนาบางเท่ากันแต่ในปัจจุบันนิยมใช้หนังสำเร็จรูปฟอกแล้วจากโรงงาน
2. ร่างภาพ วาดลวดลายที่ต้องการตามแบบลายภาพลงบนแผ่นหนัง ที่นิยมได้แก่ตัวละครในเรื่องของหนังตะลุง เช่น ฤาษี พระอิศวร รูปพระ รูปนาง รูปยักษ์ และตัวตลก ส่วนรูปที่ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนได้แก่ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์
3. แกะฉลุ การแกะฉลุต้องใช้ความชำนาญและพิถีพิถันมาก โดยใช้เครื่องมือตอกและสลักลายขณะแกะเครื่องมือควรชุบเทียนไขบ่อยๆ เพื่อให้หล่อลื่น
3.1 ใช้ตุ๊ดตู่ตอกสลับลายตามเส้นลวดลายที่ร่างภาพไว้
3.2 การขุดเป็นกนกซึ่งเป็นตัวลายจะใช้ เขียงไม้อ่อนรองหนังแล้วกดปลายมีดไปตามจังหวะลวดลายแต่ละตัว
3.3 การทำเป็นดอกลายต่างๆ และการเดินเส้นประ โดยใช้ค้อนตอกตุ๊ดตู่ ซี่ตุ๊ดตู่จะใช้ตามลักษณะของปากตุ๊ดตู่แต่ละแบบ โดยใช้เขียงไม้แข็งรองหนัง
3.4 การขุดแกะหนังตามเส้นรอบนอก หลังจากการแกะฉลุส่วนภายในของตัวรูปเสร็จแล้วจะได้รูปหนังแยกออกเป็นตัว
4.การลงสีรูปหนัง ขึ้นอยู่กับลักษณะรูป และประโยชน์การใช้สอย รูปหนังสำหรับเชิดเล่นหนังตะลุงต้องการความเด่นสะดุดตา ช่างจะเลือกใช้สีฉูดฉาด และเป็นสีโปร่งแสง
5. ลงน้ำมันเคลือบเงา จะลงน้ำมันเคลือบหรือไม่ก็ได้ เมื่อลงสีรูปหนังเสร็จถือว่ารูปหนังเสร็จสมบูรณ์แล้ว
การแกะหนังของคุณครูเจริญ เมธารินทร์
มอบแด่หน่วยงานราชการน้อมทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี ภาพเจ้าเมือง นางเจ้าเมือง ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
น้อมทูลเ้กล้าถวายสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัคราชกุมารี ภาพพระฤษี ณ.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
1.ภาพพระราม-นางสีดา ติดตั้งในตู้ไฟไว้ที่หน้าห้องประชุมศาลากลางหลังเก่า สมัยนายสันต์ เอกมหาชัย
2.มอบภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มอบให้เจ้าอาวาสวัดไชยมังคลาราม บนเกาะปินัง ประเทศมาเลเซีย
3. มอบภาพพระราม-นางสีดา แสดงไว้ที่หอสมุดจอห์นเอฟ เคนเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี
4.ภาพพระราม-นางสีดา ให้ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
5.ภาพพระสาธิตลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ มอบให้สำนักข่าวสารอเมริกัน จังหวัดสงขลา
6.ภาพพระราม-นางสีดา ขนาดใหญ่ ชุดแสดงครบชุด ชุดใหญ่ภาพรามเกียณ จำนวน 6 ภาพ ติดตั้งที่ห้องสมุด มอบให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
7.ภาพพระราม-นางสีดา มอบให้โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ นครศรีธรรมราช
8.มอบภาพครุฑอุ้มนางกากี แสดงไว้ในสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 นครศรีธรรมราช
10.มอบภาพพระราม-นางสีดา เจ้าเมือง-นางเมือง ฤาษี พระอิศวร แสดงไว้ในห้องประชุมใหญ่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
12.มอบให้วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ติดตั้งภายในห้องสำนักงานบนศาลากลางหลังเก่า นครศรีธรรมราช
13.ภาพทัศนียภาพพระบรมธาตุ มอบให้แก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานภาคใต้ เชต 2 นครศรีธรรมราช(ยังหาภาพไม่เจอะ)14. ภาพราชรถ มอบให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
มอบให้คณะบุคคล
มอบภาพฤาษีให้นายชวน หลีกภัย(รอมอบให้ ณ สนามบินนครศรีธรรมราช)
มอบภาพฤาษีให้นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
มอบภาพฤาษีให้นางอุไรวรรณ เทียนทอง
มอบภาพพระเอกให้นายบรรหาร ศิลปอาชา
มอบภาพนางเอกให้นายสุธรรม แสงประทุม
มอบภาพฤาษีให้นายสนธยา คุณปลื้ม
5.ภาพหนุมานหาวเป็นดาว เป็นเดือน มอบให้่นางซูซาน ชาวอเมริกัน วิทยากรลูกเสือนาๆ ชาติ ชุมนุมลูกเสือโลกที่ ชลบุรี
พ.ศ.2518 ออกแบบปกให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทำปกวารสาร สารนครศรีธรรมราช
การจัดนิทรรศการที่หอประชุมศูนย์การเรียนรู้ สนามหน้าเมือง นครศรีธรรมราช
ผลงานออกแบบ ประเภทที่1 ประตูสี่มุมเมือง
ผลงานออกแบบ ประเภที่ 2
ประเมืองไชยสิทธิ์(สี่แยกประตูชัย)
ประตูเมืองไชยศักดิ์(สะพานคลองหน้าเมือง)
ผลงานออกแบบ ประเภทที่ 3 (ภูมิทัศน์ถนนราชดำเนิน)
ประตูศาลามีชัย
ซุ้มประตูพระเงิน(วัดพระเงิน เจดีย์ยักษ์)
ซุ้มประตูมิ่งมงคลล้นพระบารมี(สะพานราเมศวร์)
ซุ้มประตูทางเข้าสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์(ประตูใหญ่)
ซุ้มประตูทางเข้าสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์(ติดสนามกีฬา)
ซุ้มประตูทางเข้าสวนสมเด็จพระศรีนครรินทร์(ปากทางเข้าถนนมะขามชุม)
ภูมิทัศน์ในแดนพุทธภูมิ(สวนสมเ้ด็จพระศรีนครรินทร์)
ผลงานออกแบบ ประเภทที่ 4 อาคารเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ซุ้มเทิดพระเกียรติคู่อาคารหลังใหม่
การแสดงความเห็นต่อการจัดนิทรรศการ
ภาพกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
มอบทุนการศึกษา
สาธิตการแกะหนังสู่ชาวโกลให้ลูกเสือฝรั่งในงานชุมนุมลูกเสือโลกที่ชลบุรี
นำตัวหนังตะลุงที่ทำการสอนมาบูรณาการเป็นสื่อในการเรียนภาษาอังกฤษ
สอนการเล่นหนังตะลุง
ถ่ายทอดการรำมโนราห์ เป็นการแสดงศิลปพื้นบ้าน
ถ่ายทอดศิลป์สู่ชุมชน
เขียนภาพจิตกรรมฝาผนังพุทธประวัติภายในเจดีย์วัดธาตุน้อยพ่อท่านคล้าย อำเภอฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
ได้ออกแบบซุ้มประตูงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าอาวาสวัดหลวงครู ต.บ้านเกาะ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
การประชุมคลังสมองของนครศรีธรรมราช
ภาพกิจกรรมเผยแพร่วิชาการด้านตัวหนังตะลุง เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการสร้าง หลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับศิลปพื้นบ้านของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อาจารย์มนตรี วงษ์สะพาน ประจำภาควิชาศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม /พันตรีหญิงวรรณรัตน์ ใจซื่อกุล วิทยาลัยกองทัพบก กทม.
รูปหนังตะลุงจัดเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑ์ประจำตระกูล(บางส่วน)
ความชอบส่วนตัวของคุณครูเจริญ เมธารินทร์
เป็นนักแต่งเพลง
ยานพาหนะที่ชอบ
และเมื่อวันพุธที่ 12 กันยายน 2555 คุณครูได้ถึงแก่กรรม และเป็นพระกรุณามหาธิคุณ พระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษคุณครูเจริญ เมธารินทร์ ณ เมรุวัดท่าโพธิ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในวันทอังคารที่ 18 กันยายน 2555 เวลา 15.30 น.
การเผยแพร่ข้อมูลทางทัศนศิลป์แก่สาธารณชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ อุดม หนูทอง. “เจริญ เมธารินทร์”. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม ๔. กรุงเทพ :๒๕๔๒. ๑๗๔๓ – ๑๗๔๔. จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒.
พ.ศ. ๒๕๑๘ ร่วมทำหลักสูตร การงานพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมปีที่ ๕ – ๖ หัวข้อการแกะสลักหนังตะลุงและการสลักลายบนหยวกกล้วย ที่อุทยานนกน้ำทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ข้อมูลและรวมภาพหนังตะลุงไปแสดงในงานนิทรรศการของโรงเรียนสตรีทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ข้อมูลสัมมนาผู้บริหารการศึกษา เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เครื่องเล่นเด็กไทยในสมัยโบราณ มาประยุกต์ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๕๐ ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามราชกุมารี ตอนเสด็จเปิดหอสมุดและทรงเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ ได้มีโอกาสทูลให้ข้อมูลของตัวหนังตะลุง และทำการสาธิตการแกะสลัก ได้ทรงทอดพระเนตรอย่างใกล้ชิด พร้อมกับน้อมถวายภาพเจ้าเมือง นางเมืองต่อหน้าพระองค์ด้วย
พ.ศ. ๒๕๔๖ ร่วมแสดงภาพ สาธิตให้กับนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ ชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๗ ร่วมแสดงภาพ สาธิตและให้ข้อมูลในงานวันสตรีสากล ซึ่งจัดขึ้นที่สนามหน้าศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๖ -2551 จัดรายการวิทยุชุมชนการกุศล เรือง ศาสนาศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปินประจำภาค ที่คลื่นลูกทุ่งไทย ๙๗.๖๐ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ทุกวันเสาร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ข้อมูลแก่อาจารย์มนตรี วงษ์สะพาน อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พันตรีหญิงวรรณรัตน์ ใจซื่อกุล วิทยาลัยกองทัพบกสัมภาษณ์เพื่อทำสารคดีประกอบการทำหลักสูตรท้องถิ่น ในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ข้อมูลแก่นักวิชาการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดทำเอกสาร“ภูมิปัญญา ภูมิเมือง ” ด้านงานช่างพื้นบ้าน ช่างแกะสลักหนังตะลุง
พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ข้อมูลแก่ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เพื่อยกย่องเชิดชูเป็น “ผู้มีทักษะฝีมือโดดเด่นในงานศิลปะและหัตถกรรม”
รางวัล และเกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย ประเภทภาพหนังตะลุง จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย ประเภทภาพหนังตะลุง จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเภทแข่งขันทำรูปหนังตะลุง จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเภทแข่งขันแกะสลักภาพหนังใหญ่ จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิชาการ“ภูมิปัญญาท้องถิ่น”ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณ เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๔๕ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ลูกเสือในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ลูกเสือ สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่อบรมนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จากสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ กรมศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตรจากการเข้าร่วมการแข่งขันแกะสลักสลักเทียน ประเภทประชาชน ในงาน “โรจน์เรือง เมืองศิลป์” โครงการ “เที่ยวทั่วไทยไปได้ทุกเดือน ณ จังหวัดอุบลราชธานี จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตรจากกรมสามัญศึกษา ที่ได้เสียสละเวลาและอุทิศตน ทำประโยชน์แก่ทางราชการโดยเข้าร่วมโครงการครูเกษียณคืนสู่เหย้า สังกัดกรมสามัญศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๔๕
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับประกาศนียบัตร ในฐานะประธานภูมิปัญญาท้องถิ่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ในโครงการ”สืบสานทำนองอ่านวรรณกรรมท้องถิ่น”จากกรมศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับเกียรติคุณยกย่องเชิดชูเป็น “ผู้มีทักษะโดดเด่นในงานศิลปะและหัตถกรรม” จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (เขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่ ๑๒) จากการแข่งขันทอล์กโชว์ประกันชีวิต ประกอบการแสดงพื้นบ้านไทยระดับยุวชน ครั้งที่ ๓ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ หัวข้อ “ประกันชีวิต ประกันอนาคต” ในฐานะเป็นที่ปรึกษาทีม “ตะลุงประกันชีวิต” โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดโดยกรมประกันภัย
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูลเพื่อจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นงานช่างฝีมือพื้นบ้าน (การทำตัวหนังตะลุง) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การทำประโยชน์เพื่อสังคม การทำประโยชน์ต่อสังคมด้านศิลป์
– ตกแต่งโกฐศพ พระเกจิอาจารย์ ๕ รูป
– ตกแต่งบุษบก (ยอดนมลากพระ)
– ตกแต่งบินจา รดน้ำผู้สูงอายุวันสงกรานต์
– ออกแบบลายหน้าจั่ว วิหาร ศาลาภายในวัด
– สร้างเมรุเผาศพพระเกจิอาจารย์ ๔ วัด
– ถ่ายทอดความรู้ด้านศิลป์ให้เพื่อน พระภิกษุ สามเณร และลูกศิษย์วัดที่มีความสนใจด้านนี้
– เขียนลายหีบศพให้ผู้ปกครองนักเรียน คนยากจน เพื่อนบ้านในชุมชน
– สร้างสรรค์กระทงให้ชุมชนเพื่อส่งเข้าประกวด
– สร้างสรรค์นมถวายวัดสำหรับประเพณีลากพระ
– ออกแบบตกแต่งพุ่มกฐิน
– ให้ความรู้เกี่ยวกับการแกะสลักหนังแก่เพื่อนครู
– ให้ความรู้กับผู้ปกครองที่มีความสนใจด้านนี้
– เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันหนังตะลุงของจังหวัด
– เป็นกรรมการตัดสินผลิตภัณฑ์ภาพหนังตะลุงในเทศกาลงานประจำปีของจัวหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา ๔ ปี
– เป็นกรรมการตัดสินภาพเขียนผ้าพระบกในวันมาฆบูชา วัดพระมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
– ตกแต่งเทียนพรรษา
– ตกแต่งพวงมาลาเพื่อส่งเข้าประกวด
– ออกแบบปก สารนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน ๑๙ แบบ
– ตกแต่งบุกษบก (นมพระ) ให้วัดกัลยาณฤมิต อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– ตกแต่งโกษศพให้เจ้าอาวาสวัดเจ้าแม่อยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
– ตกแต่งซุ้มประตูชั่วคราวในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าอาวาสวัดหลวงครู ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
– ออกแบบลวดลาย และควบคุมการสร้างโบสถ์วัดหลวงครู
– ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้างหอพระ ทางเข้าโรงเรียนวัดบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
– วิทยากรสอนการแกะสลักหนังตะลุงให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่โรงพยาบาลท่าศาลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดโดยพัฒนาการจังหวัดร่วมกับโรงพยาบาลท่าศาลา
– เขียนภาพฝาผนัง ภาพพุทธประวัติ ในองค์เจดีย์ พ่อท่านคล้าย ของวัดธาตุน้อย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– เขียนภาพเทพบุตร-เทพธิดา บนบานประตูโบสถ์ วัดไชยมลังคลาราม เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
– ร่วมพัฒนาหลักสูตร รายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ วิชาแกะสลักหนัง-สลักหยวกกล้วย ชั้นประถมปีที่ ๕-๖
– ร่วมกันสร้างสื่อการเรียนการสอน ของการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
– สร้างสรรค์ผลงานการแกะสลักหนังตะลุงอย่างจริงจังเพื่อการสืบทอด การอนุรักษ์และมอบให้กับหน่วยงานต่าง ๆ
– สมัครเป็นวุฒิอาสา ธนาคารสมอง ในพระเสาวนีย์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม
– เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ในฐานะศิลปินพื้นบ้าน
– เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันหนังตะลุง
– เป็นประธานกรรมการภูมิปัญญาท้องถิ่น ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช พร้อมเป็นที่ปรึกษาการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เกี่ยวกับวัตถุ เนื้อหาของคนในพื้นที่
– ตกแต่งยอดนมพระ วัดพ่อท่านเนียร วัดบางไทร อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– เป็นที่ปรึกษาด้านศิลป์ ให้วัดเจ้าแม่อยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
– เป็นที่ปรึกษาฝ่ายภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
– เป็นกรรมการดูแลหอพัก ของนักศึกษาวิทยาลัยศิลปะหัตถกรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– ฝึกนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมภาคใต้ เพื่อให้แสดงทอล์กโชว์ เรื่องอนุรักษ์หนังตะลุง จัดโดยบริษัทพานาโซนิค ส่งเข้าประกวดใน ๕ จังหวัดภาคใต้ ที่อำเภอหาดใหญ่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และเพื่อไปแข่งรวมทั่วทุกภาคที่กรุงเทพมหานคร
– ฝึกนักเรียนโรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้แสดงทอล์กโชว์ ในหัวข้อ “ตะลุงประกันชีวิต ” จัดโดย บริษัทประกันชีวิต เพื่อชิงทุนการศึกษา ได้รับรางวัลชนะอันดับ ๒
– ฝึกนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมภาคใต้ “ว่าเพลงบอก” เพื่อแสดงในงานจัดนิทรรศการทางวิชาการของโรงเรียน และนอกจากนี้ยังได้บรรเลงดนตรีมโนรา-หนังตะลุง ฝึกการเชิดและว่ากลอนหนังตะลุง
ฝึกรำมโนรา-ออกพราน ว่ากลอน ฝึกการร้องเพลงกล่อมเด็ก ฝึกการพูดเป็นพิธีกร เป็นต้น
– ได้รับการแต่งตั้งจากการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหัวหน้าทีม ไปสลักเทียนพรรษา เพื่อส่งเข้าประกวดที่จังหวัดอุบลราชธานี
คุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณ
คุณภัทรพร พันธุ์ประเสริฐ
คุณอำนวย ทองทะวัย ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
คุณภักดี โกมัย
คุณอรรถ ศิริรักษ์
นางสาวปุณิกา พันธรังษี
www.gotoknow.org
คุณยุรีย์ อังวิทยาธร
สุดยอดบรมครู เมืองนคร ที่ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรม ปักษ์ใต้บ้านเรา
ขอคารวะด้วยใจครับ
และขอขอบคุณทางเว็บ ที่พยายามเก็บข้อมูลเรื่องราวดีดีเหล่านี้ไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลังๆได้ติดตาม
กันอย่างต่อเนื่องและเต็มอิ่มทุกข้อมูลครับ
ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
คุณnakhonkup999
ขอบคุณ ด้วยความจริงใจครับ