ภาพแปะฟ้า-ย้อนรอยกำแพง-ริมกำแพง-คูเมืองเมืองลิกอร์ยุคหลัง พ.ศ.2230 ตอนที่ 2/2
ม.ค. 04
และตามหลักฐานได้เห็นร่องรอยกำแพงเมืองและคูเมืองเดิมที่ถูกรุกราน ถูกทำลายจากชาวเมืองคอนและผู้มีอำนาจ จนแถบจะไม่มีเค้าว่า ณ ที่แห่งนี้ “เคยยิ่งใหญ่ เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน” ตามหลักฐานถึงขนาดการใช้จ่ายเงินตราระหว่างชาติต่างๆที่มาค้าขาย สามารถใช้่จ่ายเงินตราต่างไม่ต้องมีการใช้อัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้จ่ายจากประชาชนสู่ประชาชน
และนี้คือ ร่องรอย แนวคูเมือง-กำแพงเมือง ตีนกำแพงที่ยังคงเหลือโดยรอบทีถูกทำลายด้วยมือคนเมืองคอน
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพอดีตแนวคูเมืองของกำแพงเมืองคอน(ด้านทิศตะวันออก) บริเ้วณหน้าวัดมุมป้อม(ถ่ายจากประตูหน้าวัด) ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวคูเมืองของกำแพงเมืองด้าน ทิศตะวันออก บริเวณหน้าวัดมุมป้อมภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพอีตบริเวณแนวคูเมืองของกำแพงเมืองคอน (ด้านทิศตะวันออก) บริเวณหน้าวัดมุมป้อม(ถ่ายจากหน้าประตูวัด) ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพบริเวณแนวคูเมืองของกำแพงเมืองคอน(ด้านทิศตะวันออก)ในอดีต บริเวณหน้าวัดมุมป้อม(ถ่ายจากประหน้าประตูวัด)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตแนวคูเมือง กำแพงเมืองคอน ด้านทิศตะวันออก ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย. 2556
ภาพอดีต เมืองคอน-บริเวณชานกำแพงเมือง เมืองคอน ภาพอดีตถ่ายเมือ วันอาทิจ พรึสจิกายน พ.ศ.2484 ปัจจุบันคือวัดมุมป้อม ภาพอดีตจากคุณภรณี นนทเวศ(อุปรมัย) ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2556
ประวัติวัดมุมป้อม
วัดมุมป้อมตั้งอยู่ริมถนนมุมป้อมติดบริเวณคูเมืองของกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ตั้งเมือง พ.ศ.2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมือ พ.ศ.2420 เหตุที่ได้ชื่อว่า”วัดมุมป้อม”เพราะตั้งอยู่หัวมุมของป้อมหรือเชิงเทินของกำแพงเมือง ด้านทิศตะวันออก(สารนครศรีธรรมราช ตค.2548:8-9)
ภาพอดีต เมืองคอน-อดีตคือภาพแนวกำแพงเมือง-คูเมือง เมืองคอน ปัจจุบันคือถนนศรีธรรมโศกราช บริเวณหน้าวัดมุมป้อม ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-แนวคูเมือง-กำแพงเมือง ถนนศรีธรรมโศก บริเวณปากซอยสุรินทร์ราชา-ซอยป้อมเพชร(บริเวณตึกไทยเพียร)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพอดีตคือแนวกำแพงเมือง เมืองคอน แนวถนนศรีธรรมโศก ปัจจุบันบริเวณห้องอาหารอีสานบ้านเฮา ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปจัจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพอดีตคือภายในกำแพงเมือง แนวกำแพงเมือง เมืองคอนถนนศรีธรรมโศกราช ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกประตูโพธิ์ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพแนวกำแพงเมืองคอน ถนนศรีธรรมโศกบริเวณสี่แยกป่าขอม ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-อดีตแนวกำแพงเมืองทีมีอิฐโบราณที่ยังมองเห็นเมื่ออดีต-แนวคูเมือง เมืองคอน ปัจจุบันคือถนนศรีธรรมโศก บริเวณสี่แยกป่าขอม ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวบริเวณคูเมือง-กำแพงเมือง บริเวณใกล้ปากซอบป่าขอม ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2504 ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพตีนกำแพงเมือง ถนนศรีธรรมโศกปัจจุบันตรงบริเวณบ้านพิศสุวรรณตรงปากทางถนนอัศวรักษ์1 ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวตีนกำแพงเมืองด้านในเมือง ถนนศรีธรรมโศก ตรงบริเวณด้านหลังตลาดท่าม้า ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ 17 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-แนวกำแพงเมือง-คูเมือง เมืองคอน ปัจจุบันถนนศรีธรรมโศก หน้าทางเข้าโรงเรียนจรัสพิชากร (ถ่ายจากสี่แยกประตูลอดไป ป่าขอม)ถ่ายเมือ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพแนวกำแพงเมือง-คูเมือง เมืองคอน ปัจจุบันคือถนนศรีธรรมโศก ทางเข้าโรงเรียนจรัสพิชากร ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505-2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณแนวคูเมือง-กำแพงเมือง ภาพบริเวณใกล้สี่แยกประตูลอดตรง ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2506-2508 ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 10 ธันวาคม 2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณแนวกำเมือง-คูเมืองด้านทิศตะวันออก บริเวณสี่แยกประตูลอด ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2506-2508 ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 10 ธันวาคม 2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพตีนกำแพงด้านในเมืองถนนศรีธรรมโศก บริเวณใกล้สี่แยกประตูลอดโรงเรียนอนุบาลครูเนียม(ติดฐานกนกแมนชั่น) ภาพจากคุณอรรถ ศริรักษ์ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-แนวกำแพงเมืองและคูเมือง ถนนศรีธรรมโศก ใกล้ประตูลอด(ตรงโรงเรียนอนุบาลครูเนียม) ตรงข้ามฐานกนกแมนชั้น ภาพจากคุณอรรถ ศริรักษ์ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวตีนกำแพงด้านในเมือง ถนนศรีธรรมโศก ปากทางซอยตึกดิน ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณตีนกำแพงเมืองด้านบริเวณในเมือง ตรงข้ามซอยศรีธรรมโศก 6 ทางเข้าอนุบาลลูกรัก ภาพอดีตจากคุณสันถัต(เฉ่ง) ทองนอก ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพโฉนดที่ดินยุคแรกๆบริเวณตีนกำแพง ตรงข้ามซอยศรีธรรมโศก 6 ทางเข้าอนุบาลลูกรัก ภาพจากคุณสันถัต(เฉ่ง) ทองนอก ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณตีนกำแพงเมือง ถนนศรีธรรมโศก ด้านในเมือง ช่วงซอยตึกดิน-ซอยแม่ม่วง ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรรักษ์
ภาพอดีตเมืองคอน-แนวกำแพงเมือง-คูเมือง ถนนศรีธรรมโศก ช่วงถนนศรีธรรมโศก2-บริเวณตรงข้ามซอยวัดสระเรียง ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวตีนกำแพงเมือง ถนนศรีธรรมโศก ปากทางเข้าซอยวัดสะเรียง ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-บริเวณในเมือง-แนวกำแพงเมือง ถนนศรีธรรมโศก ช่วงเลยสามแยกไปวัดสระเรียง บริเวณบ้านไตรสุวรรณ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 9 พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพบริเวณแนวกำแพงเมือง ในเมืองถนนศรีธรรมโศก เลยทางไปสามแยกวัดสระเรียง(มาจากตลาดท่าม้า)ตรงบริเวณบ้านไตรสุวรรณ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 9 พย.2556 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพแนวกำแพงเมือง-คูเมือง ถนนศรีธรรมโศก เลยสามแยกไปทางวัดสระเรียง(บริเวณตรงข้ามบ้านไตรสุวรรณ)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัขขุบันถ่ายเมือ 9 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน แนวกำแพงเมืองและคูเมือง เมืองคอน ถนนศรีธรรมโศก ช่วงถนนศรีธรรมโศก1-ร้านเอส พี มินิมาร์ท ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณตีนกำแพงเมืองด้านในเมือง ถนนศรี่ธรรมโศก ปากทางถนนศรีธามาออกบ้านท่านขุน ภาพอดีตเถ่ายเมื่อ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีตเมืองคอน-แนวตีนกำแพงเมือง ด้านในเมือง บริเวณอู่ประหยัด-หน้า ร.ร.ภาษาต่างประเทศฯ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพแนวกำแพงเมือง-คูเมือง บริเวณถนนศรีธรรมโศก ก่อนถึงวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาษาต่างประเทศอุตสาหกรรมและพณิชยการ(ร.ร.ภาษา เดิม) ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 9 พย.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวกำแพงด้านทิศตะวันออก ถนนศรีธรรมโศกตลอดแนว ถ่ายจากวิทยาลัยอาชีวภาษาต่างประเทศอุตสาหกรรมและพณิชยการ(ร.ร.ภาษาเดิม) ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพ แนวกำแพงเมืองถนนศรีธรรมโศก บริเวณหน้าวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาษาต่างประเทศเลขานุการและพาณิชยการ(โรงเรียน ภาษาต่างประเทศเดิม) ถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพซากป้อม-แนวกำแพงเมืองด้าน ตะวันออกเฉียงใต้(หน้าร.ร.ภาษาต่างประเทศ) ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพถนนเลียบกำแพงด้านใต้-แนว กำแพงถนนประตูชัยใต้(ด้านหน้า ร.ร.ภาษาฯก่อนถึงสี่แยกประตูชัยสิทธิ์)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-แนวกำแพงเมืองด้านในเมือง ถนนประตูชัยใต้ บริเวณตรงข้ามป้า่ยชุมชนประตูชัยใต้ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506-2508 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพซากป้อมประตูไชยสิทธิ์(ประตู ชัย)ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณหน้าการประปาเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ซึ่งเดิมเป็นแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ของเมืองคอน เมืออดีต ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณSujira Pin ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มิถุนายน 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวกำแพงเมือง ถนนเลียบกำแพงด้านทิศใต้ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณซากป้อมกำแพง-แนวกำแพง เมือง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้บ้านหัวท่า เมืองคอน ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมือง คอน-ภาพแห่มังกรทอง ปีมังกรทอง บริเวณแนวกำแพงเมือง ปัจจุบันคือบริเวณบ้านหัวท่า ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2495 ภาพจากคุณหงกิม(โก้กิ้ม)/คุณอรุณรัตน์/คุณบริพันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2556
ความสำคัญของบ้านหัวท่าในอดีต
จากบทความ”มาตุภูมิ” ตอน จากขุนน้ำตรอดตรอดตลอดถึงหัวท่า ศูนย์กลางการค้าที่ไม่เคยหลัยในอดีต ของอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ จากสารนครศรีธรรมราชฉบับที่ 2 กพ.2541 ท่านกล่าวไว้ว่า “หัวท่า” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองนครศรีธรรมราช ที่บ้านหัวท่านี้มีความสำคัญต่อชุมชนเมืองนครมากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้
1.บ้านห้วท่่าเคยเป็นท่าเรือตลาดน้ำระหว่างชาวในเมือง ชาวนอกและชาวเหนือมาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่นี้่จนเป็นตลาดที่ไม่เคยหลับ(ต้นแบบตลาดหัวอิฐ)
2.บ้านหัวท่าเป็นแหล่งรวมของผู้แสวงบุญ ทั้งชาวนอกและชาวเหนือในเทศกาลเดือน 3 จะร่วมกนนำผ้าขึ้นคลุมธาตุและเดือน 6 ก็จะมารวมกันอีกครั้งเพื่อร่วมทำบุญเวียนเทียนองค์พระบรมธาตุเป็นประจำทุกปี
3.บ้านหัวท่าเป็นสถานที่ที่แบ่งปันน้ำของคลองท่าดีออกเป็นแพรกดังนี้
3.1 คลองท่าดีที่กยไปเลียบกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเรียกว่า”คลองริมวัง”คลองหน้าเมือง”คลองท่าวัง”ตามลำดับ
3.2 แยกไปทางวัดโคกธาตุและแยกเป็นไหลลงสู่”คลองท่าน” ซึ่งเป็นคลองที่ท่านปานได้ชักชวนคนขุดขึ้นเมือครั้งที่ท่านซ่อมแซมวัดพระบรมธาตุเพื่อใช้ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง ผู้คนและเสบียงอาหารให้มาใกล้วัดพระบรมธาตุมากที่สุด และแยกไปคลองสวนหลวง
4.สามแยกน้ำบ้านหัวท่าในอดีตพวกพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชใช้เป็นที่อาบน้ำชำระกายให้สะอาดเพราะถือว่าน้ำสามแยกเป็นน้ำทิพย์ที่มาจากสวรรค์ก่อนที่จะประแป้งต่อตัวขึ้นโล้ชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์และกระทำพิธีตรีปวายอันเป็นงานที่พวกพราหมณ์ในนครศรีธรรมราชได้จัดเป็นเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยถือว่าเป็นการรับพระนารายณ์หรือเรียกว่าพิธีแห่พระนารายณ์ซึ่งทำในวันแรมค่ำ 1 วันแรม 5 ค่ำ
5.เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อสูบน้ำไปทำน้ำประปาแล้วจำหน่ายจ่ายแจกให้คนในตัวเมืองนคร
ท่านทิ่งท้ายไว้ว่า“จะมีใครสักกี่คนหนอที่คิดถึงคุณความดีของคลองท่าดี”บ้านหัวท่า”บ้าง””
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวกำแพงเมือง-ในเมือง ถนนศรีธรรมราช ใกล้บ้านห้วท่า ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ สิงหาคม 2556
ภาพอดีต เมืองคอน-บริเวณตีนกำแพงและแนวกำแพงเมือง ถนนศรีธรรมราช บริเวณหน้าวัดชายคลอง ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพอุโบสถ์วัดชายคลอง-แนวคูเมืองด้านทิศตะวันตก ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ 2540 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มิย.2556
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพอุโบสถ์วัดชายคลองก่อนการสร้างใหม่ ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ 2540 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มิย.2556
ประวัิติวัดชายคลอง
วัดชายคลองหรือวัดชลเฉนี่ยน ตั้งอยู่ตำบลในเมือง ได้สร้างเมือ พ.ศ.2441 วัดชายคลองตั้งอยู่ด้านหลังของวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ติดกับกาำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก มีคลองท่าดีไหลผ่านผ่ากลางวัด เมือถึงงานประเพณีทำบุญงานเดือน 3 หรือเืดือน 6 และบุญสารทเดือนสิบ จะมีชาวนอกและชาวเหนือ ล่องเรือมาจอดเทียบท่าหน้าวัดแน่นขนัดเต็มลำคลอง
(ข้อมูลจากอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ สารนครศรีธรรมราช ฉบับ มค.2541)
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพแนวคูเมืองด้านทิศตะวันตกก่อน ถึงสาธารณะสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน แนวกำแพงเมือง ปัจจุบันคือภาพคลองท่าดี จากคลองท่าดีไปถึงกลางถนนศรีธรรมราช คือชานกำแพงเมือง เมืองคอน ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน-แนวบริเวณกำแพงเมืองบริเวณถนนศรีธรรมราช ที่ทางเทศบาลวางท่อ ไปตามแนวกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก โดยวางระบบระบายน้ำเมือ พ.ศ.2552 ตลอดแนว ถ่ายเมือ พ.ศ.2554
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณใจกลางเมืองโบราณที่นัก สำรวจชาวฝรั่งเศส แสดงไว้ในแผ่นที่ คือหอนาฬิกาและวังเจ้าพระยานคร ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556
ภาพอดีตเมืองคอน ที่น่าจะเป็นสถานที่เดียวกัน??
ภาพจวนเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช-มีความน่าจะเป็น คือศาลากลางในปัจจุบันที่ เจมส์ โลว์ ระบุไว้ในแผนที่ พ.ศ.2368 ภาพอดีตเมืองคอนจาก หนังสือรายงานการสัมมนาประัวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 6โดยคุณภูธร ภูมะธน มอบให้โดยคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และภาพจวนเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ภาพจากหนังสือรายงานสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 4 ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2452 จากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราและคุณสันถัต(เฉ่ง) ทองนอก ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มอบให้
ภาพอดีตรายละเอียด แผนผังการสร้าง จวนวัง เจ้าเมือง เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เมือวันศุกร์ เดือน 12 แรม 6 ค่ำ ปีมะเมียอัฎศก 11 พฤศจิกายน 2329 จากหนังสือ ตำรา 12 เดือน คัดแต่สมุดขุนทิพมนเทียรชาววังไว้ จากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
เพียงแค่ให้ลูกหลานชาวเมืองคอนรู้จักเมืองคอนในอดีต
ขอขอบคุณข้อมูล/ข้อมูลภาพจาก
สารนครศรีธรรมราช
คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
รายงานสัมมนาประวัิติศาสตร์ นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 6 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มอบให้โดยคุณอำนวย ทองทะวัย
ผัน หลังแลเมืองนคร สำนักงานคณะกรรมการกองฟื้นฟูประวัิติศษสตร์งานเดือนสิบ นครศรีธรรมราช 2531โดยปรีชา นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ที่ ระลึกเนื่องในโอกาส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเินินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเปิดอาคารที่ทำการศาลแขวง นครศรีธรรมราช
กำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว ปรีชา นุนสุข
คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์
คุณภูธร ภูมะธน
อาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ นครศรีธรรมราช
คุณถกล ธีระนันทกุล
คุณอรรถ ศิริรักษ์
คุณศุภชัย แซ่ปุง
คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
อาจารย์เสงี่ยม โกฏิกุล อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์และอาจารย์ของห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศทุกท่าน
คุณวิน เลขะธรรม
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
คุณปุณิกา(ศรีรัตน์) พันธรังษี
คุณอุดม กระจ่างจิตร(โก้เข่ง) ร้านขายก๋วยเตี๋ยวประตูชัย 075-356188
คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์
คุณขวัญชัย มานะจิตต์
คุณวราภา สิทธิญาณ
คุณมโนช นิลอุบล
เวป โอเคเนชั่นและเวปต่างๆ
ทุกอย่างต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้เจริญขึ้นก็จริงอยู่ แต่ความเจริญของปัจจุบันไม่ควรทำลายความเจริญรุ่งเรืองแห่งอดีต ผมเกิดและโตที่เมืองคอน แต่ต้องไปใช้ชีวิตการทำงานที่เมืองอื่น แต่รักและผูกพันกับเมืองคอนจนมิอาจบรรยายเป็นคำพูดได้ หดหู่และสะเทือนใจมากกับสภาพที่เป็น ณ ปัจจุบัน เราทำลายไปได้ขนาดนั้นเลยเหรอ
คุณกมล นาคะสุวรรณ
ยิ่งศึกษาประวัติศาสตร์บ้านเรา ที่มีความเป็นมาอันยาวนาน ยิ่งเศร้าครับ-ส่วนใหญ่แล้วคนบ้านเราทำลายประวัติบ้านเราและบางพวกพอมีอำนาจก็หาช่องทางเพื่อเอาประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงลูกหลานในอนาคตเลยครับ
คุณ Komol
ขอบคุณมากที่อุตส่าห์หาข้อมูลมาลงให้ได้ดูได้ศึกษา ขอบคุณด้วยใจจริงครับ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ คุณกมล นาคะสุวรรณ และมีความรู้สึกแบบเดียวกัน ตอนนี้ได้ขอ้มูลเรื่องแผนผังเมืองแล้ว อยากให้ทำเรื่อง ตัวเมืองภายในด้วยครับในตอนต่อไป ผมคงไม่ใช่คนขออย่างเดียวอยากสืบค้นเองด้วย มีความปรารถนาว่า แม้ว่าเมืองจริงไม่มี แต่ได้ทำการศึกษา เราอาจจะสามารถทำเมืองจำลอง เพื่อให้ดูชมได้ อาจเป็น แบบคอมพิวเตอร์ 3D หรือ ถอดออกมาปั้นเป็น แบบจำลองกันเลย ให้เราเห็นว่าเมืองเมื่อก่อนเป็นอย่างไร มีโอกาสอยากได้เจอกันเพื่อขอข้อมูล หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ครับ
เบอร์ผม 0897852635 ถ้ากรุณาให้เบอร์ผมก็จะขอบคุณมากครับ เพื่อคุยแลกเปลี่ยนกันครับ
ขอบคุณครับ
ศุภชัย แกล้วทนงค์
คุณSupachai Klaewtanong
ต้องขอโทษด้วยที่เข้ามาตอบช้า ผมคิดอยู่หลายรอบว่าจะตอบอย่างไรดี จริงเแล้วผมเคยมีความคิดที่จะจำลองกำแพงเมืองตามแนวคิดของคุณวิน เลขะธรรม เพราะข้อมูลต่างๆ คงพอจำลองได้ การทำจะต้องประกอบด้วยหลายๆด้าน มีข้อมูลที่หลายๆพระองค์ที่เคยเสด็จเมืองคอน และเขียนสภาพกำแพงไว้ พร้อมทั้งมี่ค่าใช้จ่าย ผู้มีความรู้จริงเกี่ยวกับเรืองนี้ ผมเคยปรึกษากับอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร์ วิทยาลัยศิลปฯนคร เมื่อเวลานักศึกษา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือที่เกี่ยวกับเมืองคอน จะให้เขาทำจำลองซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะให้ข้อมูลแ้ก่นักศึกษาชาวเมืองคอนได้รู้ความเป็นมา เป็นไปของสภาพบ้านเรา แต่พอจะทำจะต้องมีค่าใช้จ่ายพอควร ก็สงสารผู้ปกครอง เลยเป็นได้แค่ความคิด ผมต้องขอขอบคุณคุณSupachai Klaewtanong ถึงความตั้งใจของคุณผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งและยินดีส่วนที่ผมสามารถทำได้ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ