ภาพแปะฟ้าเมืองคอน-วัดหน้าพระบรมธาตุสู่จุดก่อเกิดเมืองหลวง”เมืองพระเวียง(โคกกระหม่อม)”แห่งอาณาจักร์ “ตามพรลิงค์”..ที่ยิ่งใหญ่
ธ.ค. 23
ภาพแผนที่สังเขป<<เมืองพระเวียง>>จากหนังสือมาลัยเมืองใต้ สารคดีและประเพณีอันแสนรักของชาวใต้ฯจากผลงานของนายตำรา ณ เมืองใต้ (เปลื้อง ณ นคร) นายนิคม สุทธิรักษ์ พร้อมคณะและประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทยโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ คุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย)
<<<จากชุมชนเล็กๆอาศัยอยู่ที่ราบรอบบริเวณอ่าวที่ตำบลท่าเรือเมืองคอนในอดีต เป็นจุดก่อเกิดกำเนิด@@เมืองพระเวียง ยุคตามพรลิงค์@@ที่ยิ่งใหญ่ เที่ียบเท่ากรุงโรม ที่มีประวัติที่ยิ่งใหญ่ในแผนที่โลกทุกยุค ทุกสมัย >>>
ประวัติวัดหน้าพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
วัดหน้าพระบรมธาตุ อยู่ติดถนนราชดำเนิน ตรงกันกับวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของ จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ 1800 ภายหลังวัดหน้าราหู วัดประตูลักษณ์เป็นวัดร้างจึงได้รวมกับวัดหน้าพระบรมธาตุและรวมเรียกเป็นวัดหน้าพระบรมธาตุอย่างเดี่ยว เมือ พ.ศ.2459 และ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ ไปยังวัดหน้าพระบรมธาตุ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2441 เพื่อทอดพระเนตรที่พักพระครูเทพมุนี (ปาน) ในคราวบูรณะพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-อาคารโรงเรียนสอนภาษาบาลีแห่งแรกของภาพใต้คือ “คือโรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่วิหารธรรมศาลาวัดหน้าพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ.2462 ภาพอดีตจากhttp://kim2552.blogspot.com/- ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณวัดหน้าพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2504 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพถ่ายพระบรมธาตุเจดีย์ ที่ถ่ายจากบริเวณวัดหน้าพระธาตุ ภาพอดีตจากคุณสถาพร พฤกษะศรี ถ่ายเมือ พ.ศ.2503 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพพระบรมศาสดา(ก่อนตรัสรู้)ทรมานพระวรกายของพระองค์ เพื่อแสวงหาสัจจธรรมเพื่อสังสอนสัตว์โลก-เพื่อความหลุดพ้นจากวัฎฎะสงสาร ประทับ ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดหน้าพระบรมธาตุ ถ่ายเมือ กันยายน 2557
พระบรมราชานุสรณ์<<<สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช>>>พระมหากษัติรย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่กอบกู้ประเทศชาติ ที่ประทับอยู่ ณวัดหน้าพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-อดีตคือบ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์เกิดที่ตำบลนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมือวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๔ ตรงกันสมัยรัชการที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ.๒๔๕๓) นามเดิมนายเขียน มาลยานนท์ และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ คุณโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ ได้ใช้บ้านและที่ดินแปลงนี้เปิดเป็นโรงเรียนชื่อ“โรงเรียนรัฐวุฒิวิทยา” ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนครวิทยา”และปิดตัวเองในปี พ.ศ.2529 ภาพอดีตจากบ้านท่านขุน Baantankhunและภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2554
วัดหน้าพระลาน
วัดหน้าพระลาน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สร้างเมื่อปี พ.ศ.1800 รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2493 สังกัดมหานิกาย เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เดิมเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์ เริ่มจะมีการปลูกกุฏิให้พระสงฆ์เมื่อต้นรัชการที่ ๖ มีโบราณวัตถุที่ค้นพบของวัดคือพระพุทธรูปยืนประทานอภัย ฐานพระพุทธรูปจารึกสมัยอยุธยาตอนปลาย
ภาพภายในวัดหน้าพระลาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายของ องค์พระธาตุ วัดพระบรมธาตุธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช วัดหน้าพระลาน แห่งนี้ยังมีสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง อยู่ภายในวัด นั่นคือ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประวัติอันยาวนาน บ่อน้ำวัดหน้าพระลาน อันใสสะอาด คนเมืองนครแต่โบราณจะมีน้ำบ่อวัดพระลานติดตัวสำหรับล้างหน้า เพื่อแก้อาถรรถ์ติดตัวอยู่เสมอ ความศักดิ์สิทธิ์ของบ่อน้ำถึงเมืองต่างๆ แต่ก่อนหากใครมาเมืองนครจะขอร้องให้นำน้ำบ่อวัดหน้าพระลานไปฝาก และตรี อมาตยกุลเขียนไว้ว่า กรมพระดำรงราชานุภาพ เป็น เสนาบดีจึงให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถมบ่อน้ำวัดหน้าพระลานเสีย และเป็นสิ่งที่ชาวนครศรีธรรมราช ภาคภูมิิใจอีกสิ่งหนึ่ง
ภาพอดีตเมืองคอน-อุโบสถ์วัดหน้าพระลานหลังเก่าและหลังใหม่ ภายในมีึพระพุทธรูปทรงเครื่ิอง สำริด ศิลปะอยุธยา ปางประทานอภัย พ.ศ.2240 และ พ.ศ.2253 จำนวน 2 องค์ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2553 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
“””บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดหน้าพระลาน”””
โบราณถือว่าบ่อน้ำในวัดนี้ศักดิ์สิทธิ์ น้ำในบ่อใสสะอาด มีน้ำหนักมากผิดปกติ หากใครได้ดื่มน้ำในบ่อนี้ จะมีสติปัญญาดี บุญีวาสนาสูง จะได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบ่อน้ำพระพุทธมนต์ที่ใช้ประกอบพิธีต่างๆ ในงานรัฐพิธีเช่นราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีราชาภิเษกและพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช เมื่อ พศ. 2493 พิธีเฉลิมฉลองสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ฯลฯ ได้มีพิธกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 6 แหล่งน้ำสํกดิ์สิทธวัดหน้าพระลานเป็นหนึ่งในหกของบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารหลวง วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร การทำน้ำอภิเษกที่มีความศักดิ์สิทธิ์ จะกระทำที่วิหารนี้/ที่สนามหน้าเมือง/สวนศรีธธรรมโศกราช เพราะถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีสำคญของบ้านของเมืองและประเทศนี้ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณสี่แยกประตูชัย หรือเดิมคือประตูชัยสิทธิ์ ประตูทางด้านทิศใต้ของอดีตเมืองคอน ภาพอดีตจากกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร ชวน เพชรแก้ว ปรีชา นุ่มสุข มอบให้โดย อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และคุณคุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย) ภาพอดีตถ่ายเมือ พงศ.2520 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-พิธีเปิดสะพานป้าเหล้าข้าม””คลองท่าน””(พ่อท่านปานเป็นผู้อำนวยการขุดคลองสายนี้) ในอดีตคือสะพานเทวีดรดล เนื่องจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯปัยยิกาเจ้า เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผู้เปิดสะพานแห่งนี้ ภาพจาก ผันหลังแลเมืองนครศูนย์วัฒนธรรมภาพใต้วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชและคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ข้อมูลภาพจากหนังสือที่ระลึก “เดือนสิบ 27″และสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ประวัติโรงเรียนศิลปหัตกรรมนครศรีธรรมราช
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เดิมชื่อว่า “โรงเรียนช่างถม” ได้จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2456 ที่วัดท่าโพธิ์ ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนธชเถร เปรียญ) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างถม ในการดำเนินการนั้นท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนธชเถร เปรียญ) เป็นผู้อุปถัมภ์มาโดยตลอด ได้จ้างครูมาทำการสอนโดยบริจาคเงิน (นิตยภัต) ของท่านเป็นเงินเดือนครู ต่อมาโรงเรียนช่างถมได้ย้ายสถานที่ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ พ.ศ.2456 ชื่อโรงเรียนช่างถม ตั้งอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ เปิดสอนวิชาช่างถม หลักสูตร 3 ปี พ.ศ.2461-2464
พ.ศ.2482 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างโลหะรูปพรรณนครศรีธรรมราช” ตั้งอยู่หน้าวัดวังตะวันออก พ.ศ.2505 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช” และเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษา
พ.ศ.2516 ได้ย้ายสถานที่ไปอยู่ ณ สถานที่สร้างใหม่ คือบริเวณวัดหอไตร ตำบลนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (สถานที่ปัจจุบัน) พ.ศ.2519 ( 1 ตุลาคม 2519)
ก่อนที่จะมาเป็น<<วิทยาลัยศิลปหัตกรรม นครศรีธรรมราช >>
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตวิทยาลัยศิลปหัตกรรม นครศรีธรรมราชจากอาจารย์วิสาศ คงจรูญ/อาจารย์ปณิต นพประดิษฐ์๋ ภาพอดีต(ช่วงวัดวังตะวันตกและวิทยาลัยศิลปหัตกรรม)ถ่ายประมาณ พ.ศ.2515-2516 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
ประวัติวัดชายนา
วัดชายนาเป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพิจารณาจากถาวรวัตถุอันสำคัญคือ โบสถ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นโบสถ์ยุคแรกทางพระพุทธศาสนาที่นิยมทำขนาดความยาวไม่เกิน ๗ ก้าว กว้างพอจุพระครบองค์สังฆกรรมตามบัญญัติในพุทธศาสนาได้เท่านั้น มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว ไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องหรือ รูระบายอากาศที่ฝาผนัง ผนังด้านหลังพระพุทธรูป เสาติดผนังและผนังด้านข้างมีร่องรอยภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก จากหลักฐานดังกล่าวนี้พร้อมด้วยกระเบื้องหลังคาเก่าที่ฝังจมดิน ทรงหลังคา ภาพเขียนสี พระประธาน และปราณีตศิลป์ที่ปรากฎบนบัวหัวเสาและฐานชุกชีนั้นเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา
พุทธธรรมสมาคม สาขานครศรีธรรมราช และคุณพระดุลยยพากย์สุวมัณฑ์ ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณ พ.ศ. 2472 ได้พยายามจัดหาสถานที่วิเวกสำหรับพระภิกษุสามเณรเพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูงโดยสะดวก และได้เลือกวัดชายนาซึ่งเป็นวัดร้าง(เลือกได้ 2 แห่ง คือวัดถ้ำเขาแดงและวัดชายนา)เปิดเป็นสถานที่วิปัสสนาธุระโดยเลือกวัดชายนาเป็นทีแรกและเปิดในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗ โดยนิมนต์พระมหาเงื่อม (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้ทำพิธีเปิด ท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาและได้ตั้งชื่อเรียกสถานที่วัดชายนานั้นว่า “สวนพุทธธรรมปันตาราม” แปลว่า สวนหรือป่าสงัดอันเป็นปัจจัยแห่ง การบรรลุพุทธธรรม จากนั้นสมาคมฯ ก็ได้นิมนต์พระมหาจุนท์ จากสวนโมกข์พลารามมาจำพรรษาเป็นองค์แรก
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณด้านหน้าวัดชายนา ศูนย์ปฏิบัติธรรมนครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากคุณอังคณา ทองบุญชู(อัง เมืองคอน)ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอุโบสถ์วัดชายนา ภาพจากหนังสือการส่งเสริมปฎิบัติธรรมและหลักพุทธศาสนาของท่านพุุทธทาสภิกขุ ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ ตุลาคม 2557 ถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตอุโบสถ์วัดชายนาภาพจากคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ประวัติศาสตร์อารยธรรมภาพใต้แหล่งประว้ัติศาตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตอุโบสถ์วัดชายนาจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช /สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพพระประธานในอุโบสถ์วัดชายนา ภาพอดีตจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) และมีน้องกาญ(ด.ช.คณิศร กาญจนวิวิญ) อำนวยความสะดวกในการบันทึกภาพ เมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอุโบสถ์วัดชายนา ภาพอดีตจากอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ สารนครศรีธรรมราช/ อาจารย์ พวงผกา ตลึงจิตต์/ คุณจรัส ยกถาวร ภาพปุัจจุบันถ่าย เมือ ตุลาคม 2557
ภาพปัจจุบัน -อุโบสถ์วัดชายนาจากมุมด้านหลัง ภาพอดีตจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ ตุลาคม 2557
ประวัติวัดท้าวโคตร
วัดท้าวโคตรเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1861 ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 19 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา สถานที่ตั้งวัดนี้เคยเป็นนิวาสสถานของพราหมณ์มาก่อน เท่าที่พอสืบค้นได้ปรากฏว่าแต่เดิมในบริเวณนี้วัดตั้งอยู่หลายวัด กล่าวคือ1. วัดประตูทอง อยู่ทางด้านหลังสุดติดกับถนนพัฒนาการทุ่งปรังและวัดชายนา (ในปัจจุบันนี้)
2. วัดธาราวดี (วัดไฟไหม้) อยู่ทางด้านทิศเหนือ
3. วัดวา อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดประตูทอง และทางทิศใต้ของวัด
ธาราวดี
4. วัดศรภเดิม หรือวัดศรภ อยู่ทางทิศใต้บริเวณรอบ ๆ เจดีย์
5. วัดท้าวโคตร
โดยวัดเหล่านี้ในภายหลังได้กลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด และมีผู้สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ. 2452 หรือประมาณ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2453) รััชกาลที่ 6 ทรงรับสั่งให้ยุบวัดทั้งหลายรวมกันกับวัดท้าวโคตรเดิมให้เป็นวัดเดียวกันเสีย เรียกว่า “วัดท้าวโคตร”
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอุโบสถ์วัดท้าวโตร ภาพอดีตจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพอุโบสถ์วัดท้วโคตรภาพอดีตจากคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ประวัติศาสตร์อารยธรรมภาพใต้แหล่งประว้ัติศาตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอุโบสถ์วัดท้าวโตร ภาพอดีตจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-พระประธานปางมารวิชัยภายในอุโบสถ์วัดท้าวโคตร ภาพอดีตจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ ตุลาคม 2557
ภาพจิตรกรรมภายในอุโบสถ์ ถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพเจดีย์(เทวาลัย)สมัยศรีวิชัยวัดท้าวโคตร ภาพจากหนังสือเอกสารเก่าเกี่ยวกับนครศรีธรรมราชโดยคุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ พฤศจิกายน 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพเทวาลัยวัดท้าวโคตร ภาพอดีตจากคุณอำนวย ทองทะวัยมหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช ,อาจารย์นะมา โสภาพงศ์ สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพเทวาลัยวัดท้าวโคตร(สร้างโดยพญาศรีธรรมโศกราช ที่ 1)ถ่ายจากด้านหน้า ภาพอดีตจากคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ประวัติศาสตร์อารยธรรมภาพใต้แหล่งประว้ัติศาตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย, อาจารย์นะมา โสภาพงศ์ สารนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอาคารพิพิธฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ สารนครศรีธรรมราช เดิมบริเวณนี้เป็นภายในบริเวณของเมืองพระเวียงเป็นที่ตั้งวัดสวนหลวงตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและสำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพวิทยาลัยศรีโสภณซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของภาพใต้ ผู้ก่อตั้งคือนายเกษม โสภณ ภาพอดีตถ่ายเมือ 25 กรกฎาคม 2527 ปัจจุบันไม่มีการสอนอาคารสำนักงานและอาคารเรียนเปิดการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
<<<เมืองพระเวียง >>>เมืองหลวง(เมืองหลวงยุคที่ 2 ของนครศรีธรรมราช) แห่งอาณาจักร์ตามพรลิงค์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีต
“การที่จดหมายเหตุแห่งจีนกล่าวเพียงว่า””พวกสยาม””ย่อมต้องหมายถึงนครศรีธรรมราชด้วย”
“”ความจริงพ่อขุนรามคำแหงไม่อาจทำสงครามคาบสมุทธได้ อย่างมากก็เพียงยกกองทัพมาหยุดบัญชาการแค่เพชรบุรี เนืองจากการทำสงครามกับมาลายูเป็นการทำสงครามทางเรือเป็นหลัก จึงขาดทั้งเรือและความสันทัดจัดเจนทางยุทธนาวี ดังนั้นถ้าไม่ได้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นกองทัพหลักซึ่งมีทั้งกองทัพเรือและกองทัพบก ที่ชำนาญภูมิประเทศและการเดินเรือแล้ว ก็ยากที่จะขยายอำนาจชนะมาลายูได้””(จากนาวิกานุภาพนคร โดยประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ มอบโดย คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 /ประวัติศาสตร์และโบราณคดี นครศรีธรรมราช ชุดที่ 2 /คุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช)
และนครศรีธรรมราชคือราชอาณาจักร”ตามพรลิงค์หรือธรรมพรลิง”ที่ก่อตั้งมาก่อน พุทธศตวรรษที่ 5 ราชวงศ์สยาม(อาณาจักรสยาม/ประเทศไทย ปัจจุบัน)ก็ต้องเริ่มจาก ราชอาณาจักร”ตามพรลิงค์ หรือตามธรรมพรลิงมีราชวงศ์ คือ
1.ราชวงศ์ไศเลนทรวงศ์ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 5- ประมาณ- พุทธศวรรษที่ 11
2.ราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช(ปทมวงศ์) ช่วงสมัยที่รุ่งเรือง พุทธศตวรรษที่ 17-20(เริ่มสร้างเมืองนครศรีธรรมราชและมีราชวงศ์ เมือ พ.ศ.1098)
3. ราชวงศ์ละโว้ ช่วง พ.ศ.1181 /4.ราชวงศ์พระร่วง ช่วงพ.ศ.1792-1981
5. ราชวงศ์เม็งราย ช่วง พ.ศ.1832-2107 /6.ราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ช่วง พ.ศ.1202/7. ราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน ช่วง พ.ศ.2275-2475
8. ราชวงศ์อู่ทอง ช่วง พ.ศ.1893-1952/9.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ช่วงพ.ศ.1913-1931 /10.ราชวงศ์สุโขทัย ช่วงพ.ศ.2112-2172 /11.ราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ.2172-2231 /12.ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พ.ศ.2231-2310/
13.ราชวงศ์ธนบุรี ช่วง พ.ศ.2310-2325 /14.ราชวงศ์จักรีวงศ์ ช่วงพ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
(จากราชวงศ์สยาม(พิมพ์ครั้งที่ 2) โดยแสงเทียน ศรัทธาไทย เรียบเรียง)
อดีตคือราชอาณาจักร”ตามพรลิงค์ /ธรรมพรลิง คือนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราชคือสร้อยพระนามของพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช มีอำนาจในช่วงศตวรรษที่ 17-18 แห่งราชวงค์ปัทม(ปัทมวงศ์) ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองตามพรลิงค์ เป็นศูนย์กลางของคาบสมุทรในหลายช่วงสมัย มีชื่อปรากฏในเอกสารโบราณทั้งของไทยและของตา่างชาติแทบช่วง มัยเริ่มปรากฎชื่อในราวพุทธศตวรรที่ 7 เป็นต้นมา ที่เรียปรากฏหลายชื่อเช่น
ตามพลิงคม /ตมพลิงคม/กะมะลิง(ตะมะลิง)/กมลี/ตมะลี/ตมภลิง ปรากฎในครั้งแรกในคัมภีร์มหานิทเทศ เมือ พุทธศตวรรษที่ 7-8 เชื่อว่า ตามพรลิงค์ถือกำเนิดมาแล้วตั้งแต่ พุทธสตวรรษที่ 7-8
“ตามพรลิงค์/ปาฏลีบุตร” เป็นภาพษาสันสกฤต ในศิลาจารึก พุทธศตวรรษที่ 11 (ที่ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี)และเอกสารโบราณของลังกา
มาทมาลิงคม ปรากฎในศิลาจารึกของพระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ 1 ในอินเดียใต้ ระหว่าง พ.ศ.1573-1574
ตะมะลิงคม หรือตมะลิงโคมุ ปรากฎในคัมภีร์อักษรสิงหล ชื่อ อีลู-อัตตัง-คลู-วงศ์ พ.ศ.1925
“ธรรมราชปุระ”ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหาโพธิวงศ์ ฉบับของสมาคมพระคัมภีร์บาลี(ภาษาอังกฤษ) หน้า164 ช่วง พุทธศตวรรษ ที่ 130-1950 (สารนครศรีธรรมราช กพ.2539 หน้า 31)
“ลิกอร์(LIGOR)” ชาวยุโรปรู้จักในพุทธศตวรรษที่ 20-21 “ลูกู ลูกา(Lugu,Luga) เรียกโดยชาวยุโรป, นิคอน(Nucaon) เรียกโดยชาวโปตุเกส/ฝรั่งเศส/และชาติอื่นๆ /พ่อค้าชาวโปตุเกสเขียนไว้ เมือ พ.ศ.2061/เขียนโดยวิศวกรชื่อเดอลามาร์(La Marre)ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2230 /เขียนโดย เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ และซิมง เดอ ลาลูแบร์ พ.ศ.2234 /เขียนโดยโยโคุส ฮอนดิอุส เมือ พ.ศ.2159 /เขียนโดยโยฮาเนส เมเทลลุส เมื่อ พ.ศ.2139
“โลเค็ก” เรียกโดยชาว มาลายูและมาโคโปโล เมื่อ พ.ศ.1835
“เนการี” หรือ” เนกรี”(เมืองหรือนครใหญ่) เรียกโดยชาวไทยมุสลิมภาคใต้ในอดีต
“ลือฆอ”เรียกโดยชาวมาลายู
“ละคอน” เรียกโดยชาว โปตุเกส
“พระเวียง”(โคกกระหม่อม) เรียกโดยชาวพื้นเมือง
“ตั้งมาลิ้ง /ตัน-มา-ลิง/ตัน-เหมย-หลิว/จูมายหลิว/เต็งหลิวมาย” เรียกโดยชาวจีนชื่อ เฉาจูกัว และวังตาหยวน นักจดหมายเหตุจียเขียนไว้ในหนังสือ เตา-อี-ชี-เลี้ยว เมือ พงศ.1769และนักจดหมายเหตุจีนรุ่นก่อนได้บันทึกไว้ว่า ตามพรลิงค์ได้ส่งทูตไปติดต่อกับจีนเมือ พ.ศ.1544
เชียะโท้ว เรียกโดยชาวจีน พ.ศ.1000-1100/“นคร-โฮลิง/โพลิง เรียกโดยชาวจีน พ.ศ.1450-1850
“ซันโฟซี/ซีโฟ”(นครศรีธรรมราช) เรียกโดยพระเจ้ากรุงจีน พ.ศ.1610
“ศิริธรรมนคร”สิริธัมมนคร เรียกโดยชาวเชียงใหม่ พุทธศตวรรษที่ 21ในหนังสือบาลีเรืองจามเทวีวงศ์ พุทธศตวรรษที่ 21 และ พุ.ศ.1945-1985
“เมืองนครดอนพระ” เรียกโดยชาวกรุงสุโขทัย
“นครศรีธรรมราช” เรียกชื่อปรากฎอยู่ที่ศิลาจารึกหลักที่ 24 พบที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บันทึกเมือ พ.ศ.1773 และโดยชาวกรุงสุโขทัยหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ.1835
ชาวพื้นเมืองเรียกตัวเองว่า “เมืองคอน”(หรือคอน,คร,นคร,เมืองคร)
แหล่งชื่อเหล่านี้ก่อนมีมาจากความเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพราหมณ์มาก่อนตั้งแต่ประมาณ พุทธศวรรรตที่ 7 เมือเป็นที่อาศัยของพราหมณ์มาก่อน ชื่อที่เรียกจากคนทั่วไปและชาวต่างชาติจึงเกี่ยวกับพราหม์ท้ั้งสิน และเมื่อชื่อ<<นครศรีธรรมราช >>ปรากฎครั่งแรกตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย โดยเอาสร้อยพระนามของพระเจ้าแผ่นดินผู้คครองนครแห่งเมืองพระเวียงคือ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ที่ทรงนับถือศาสนาพุทธอย่างมั้่นคงและเป็นอาณาจักรที่มีการอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาสิทธิลังกาวงศ์ใน ดังปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแห่งในตอนหนึ่งว่ “”พ่อขุนรามคำแหงกาะทำโอยทาน แก่พระมหาเถรสังฆราช ปราชญ์เรียนจบปิฎกหลวกหว่า ปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา””” และต่อมาอาณาจักร์สุโขทัยก็นับถื่อเป็นศานาพุทธเป็นศาสนาประจำเมืองในเวลาต่อมา
ความหมายของ””นครศรีธรรมราช”” นคร แปลว่า “”เมืองใหญ่””ศรี แปลว่า””ความเป็นใหญ่””ธรรม”” ธัมมะ(พุทธศานา) “” ราช””แปลว่า””ราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน รวมตามคำแปลทั้งหมดคือ
เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาที่ยิ่งใหญ่
ขนาดของกำแพงเมือง ล้อมรอบเมืองพระเวียง ขนาดของกำแพงกว้่าง ขนาด 6-7 ฟุต สูงประมาณ 20 ฟุต รอบกำแพงเมืองทั้งหมด ประมาณ 450+1,100 เมตร(263*526 วา)มีพื้นที่ประมาณ 346 โร่ ตัวเมืองตั้งอยู่บนแนวสันทรายวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นรูปสีเหลื่ยมค่อนข้างแบบมุมมน
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพผัง<<<<เมืองพระเวียง รัฐตามพรลิงค์>>>นายตำรา ณ เมืองใต้และคณะจากหนังสือมาลัยเมืองใต้ สารคดีและประเพณีอันแสนรักของชาวใต้และประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทยโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ภาพแผนที่ทางอากาศ ถ่ายเมือ พ.ศ.2497 ภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/ คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 6
ภาพแผนที่แสดงการตั้งแคว้นโบราณ(ช่วง พุทธศตวรรษ ที่ 5-10)ในไทยของอาณาจักรหรือรัฐ””ตามพรลิงค์”” และเป็นรัฐการตั้งเมืองโบราณในยุ”สุวรรณภูมิ” ภาพจากหนั้งสือ สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคุณประทุม ชุ่มเพง็พันธุ์
แผนที่แสดงแหล่งที่ตั้งเมืองที่บ้านท่าเรือ เมืองพระเวียง/แสดงแนวฝั่่งทะเลเดิมและเส้นทางติดต่อถึงทะเลน้อย-ทเลสาบสงขลา/แผนที่แสดงเมืองท่าโบราณของฝั่งอ่าวไทย(ภาพกลางในขณะที่ไม่มีอำเภอปากพนังในแผนที่) รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 ,5 มอบโดย คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก)ศูนย์ย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
ภาพมหาราชวังของเมืองพระเวียงในอดีต ปัจจุบันเป็นที่ดินของเอกชน/บ้านพักของข้าราชการตำรวจ/โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 2 พฤศจิกายน 2557
แต่ก่อนที่ดินบริเวณนี้เป็นเนินสูงประกอบด้วยอิฐและหินเป็นชั้นลึกลงไปราว 3-4 เมตร อยู่เต็มบริเวณเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นตัวมหาราชวังเมืองพระเวียงในยุคสมัยตามพรลิงค์ เพราะบริเวณดังกล่าวถูกเรียกว่า””พระเวีัยง””มาแต่เดิมและบ้านภูเขาดินเนืองจากดินถมสูงขึ้นมาจากอิฐและหิน
หลักฐานที่ขุดพบเจอะ <<โบราณวัตถุใต้แผ่นดิน เมืองพระเวียง >>ณ.บริวเวณนี้มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นยุคทองและเป็นเมืองหลวง เมืองพระเวียง เป็นที่อยู่อาศัยของเมืองใหญ่และติดต่อกับต่างชาติเช่น จีน อินเดีย ชาวยุโรป /ภาคส่วนต่างๆ
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง-หม้อมีลายขูด ดินเผา พุทธศตวรรษที่ 13-14 พบจากการก่อสร้างอาคารพิพิธสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และคนฑี ดินเผา พุทธศตวรรษที่ 14-16 พบที่วัดนาโรง(ร้าง)ที่ตั้งวังเมืองพระเวียงในอดีต ภาพจากสารนครศรีธรรมราช โดยอาจารย์นะมา โสภาพงศ์
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง-คณฑี มีพวย ดินเผา สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14-17 พบจากการก่อสร้างอาคารพิพิธสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 และภคุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง-กระปุกเคลือบสีน้ำตาล ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16- 18 พบจากการก่อสร้างอาคารพิพิธสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 และคุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง- โถและชามเขียวไข่กา สมัยราชวงศ์สุ้งพุทธศตวรรษที่ 21-22 พบจากการก่อสร้างอาคารพิพิธสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง- กระปุกเคลื่อบเขียวไข่กา สมัยราชวงศ์สุ้งพุทธศตวรรษที่ 19 พบจากการก่อสร้างอาคารพิพิธสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง- สมัยราชวงศ์หมิง พุทธศตวรรษที่ 21-22 พบจากการก่อสร้างอาคารพิพิธสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง -หม้อและลายเขียนสีแดง พบที่วัดสวนหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง – พบที่วัดสวนหลวงตะวันออก(ร้าง) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง-แจกันมีลายนูนเคลื่อบขาว สมัยราชวงศ์สุ้ง พ.ศ.1503-1822 พบที่บ้านศรีธรรมราช อดีตคือวัดพระเวียงของเมืองพระเวียง ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 6
เครืองปั้นดินเผา โบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง-ศิลปะพื้นบ้าน พุทธศตวรรษที่ 13- 15 พบจากเมืองพระเวียงในอดีต ภาพจากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 และคุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ซากร่องรอยโบราณวัตถุใต้แผ่นดินเมืองพระเวียง-ฐานศิวลึงค์(ศิลา)ของโบราณสถานของศาสนาพราห์มณช่วง พุทธศตวรรษที่ 12-14 พบที่ วัดเพชรจริก ต.ในเมือง อ.เมือง นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
และหลักฐานประเภทโบราณคดีและโบราณวัถุ โบราณสถานที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์และศาสนาอินดูที่ รศ.ดร.ปรีชานุ่นสุข ได้วิจัยไว้ใน””ตามพรลิงค์ รัฐรุ่นต้นของลัทธิไศวนิกาย ในพุทธศตวรรษที่ 11-16 “”มีทั้งหมด 19 โบราณสถาน ที่เรียกว่า””เทวาลัย””ส่งผลให้รัฐตามพรลิงเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเป็นที่ดินของเทพเจ้า เฉพาะในในบริเวณของกำแพงเมือง เมืองพระเวียงพระเวียง มีโบราณสถานดังนี้
1.หมายเลย 13 ศาสนสถาน ณ วัดสวนหลวง
2.หมายเลข 14 ศาสนสถาน สระน้ำโบราณวัดสวนหลวง
3.หมายเลข 15 ศาสนสถาน ณ วัดเพชรจริก อยู่บริเวณกำแพงด้านทิศเหนือของวัด
4.หมายเลข 16 ศาสนสถาน ณ วัดเพชรจริก อยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือริมคลองหัวหว่อง
5.หมายเลข 17 ศาสนสถาน ณ วัดเพชรจริกตะวันออก(ร้าง) ปัจจุบันบริเวณสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช
(รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2,5 จากกคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และคุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ )
ภาพบ้านศรีธรรมราช ณ.ที่แห่งนี้เคยเป็นวัดประจำเมืองหลวง ประจำองค์กษัติย์”เมืองพระเวียง”แห่งอาณาจักร์ตามพรลิงค์ เดิมมีเจดีย์และซากอาคารเป็นวัดประจำเมืองสำหรับกษัติย์ ทีี่นิยมสร้างเป็นวัดประจำรัชกาล เป็นทีสืบทอดมาแต่โบราณ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
พระเครืองดินดิบทรงซุ้มปราสาทอิทธพลศิลปเขมร (ศิลปะลพบุรี) มีอายุช่วง ศตวรรตที่ 17-18 พบบริเวณ<<<วัดพระเวียง>>> ภาพาจากประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครศรีธรรมราชและบราณสถานในเขตควบคุมดูแล สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ 11 นครศรีธรรมราช
ร้อยกรองเกี่ยวกับลายแทงเมืองพระเวัียง “”วัดพระเวียง มีเหรียงใบเล็ก ใต้ต้นขี้เหล็ก
หัวนอนคูคาย ใครทายได้ กินให้ตายก็ไม่หมด””
จากนครศรีธรรมราช โดยคุณวิเชียรและคณะ มอบให้โดยคุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรินทร์
ร่องรอย””แนวกำแพงเมือง คูเมืองของเมืองพระเวียงที่คงเหลือ””หลังจากถูกทำลายด้วยมือของคน””เมืองนครศรีธรรมราชเองและปัจจุบันไม่มีสภาพกำแพงของเมืองพระเวียง
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพที่ราบลุ่มร่องรอยแนวด้านทิศตะวันตกบริเวณใกล้กำแพง ภาพอดีตจากหนังสือนครศรีธรรมราช โดยวิเชียร ณ นครและคณะมอบให้โดยคุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรินทร์ และหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร ชวน เพชรแก้ว ปรีชา นุ่มสุข มอบให้โดย อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และคุณคุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย) ภาพอดีตถ่ายเมือ พงศ.2520 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพร่องรอยแนวกำแพงและคูเมืองพระเวียงด้านทิศตะวันตกในอดีตปัจจุบันคือด้านหลังของวัดเพชรจริกตะวันตก ภาพจากหนังสือนครศรีธรรมราช โดยคุณวิเชียร ณ นครและคณะมอบให้โดยคุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรินทร์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพร่องรอยแนวกำแพงเมืองพระเวียงด้านทิศตะวันตก แนวซอบบ้านซองยางคือแนวกำแพงเมืองพระเวียง ปัจจุบันยังมีแนวคูเมืองถัดจากถนนลงไปประมาณ20 เมตร ภาพอดีตจากกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร ชวน เพชรแก้ว ปรีชา นุ่มสุข มอบให้โดย อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และคุณคุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย) ภาพอดีตถ่ายเมือ พงศ.2520 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพร่องรอยแนวกำแพงเมืองพระเวียงด้านทิศตะวันออก แถบคลองคูพาย กำแพงก่ออิฐปัจจุบันคือแนวกำแพงเมืองพระเวียงในอดีต ที่ถมดินคูแนวคูเมืองในอดีต ภาพจากหนังสือนครศรีธรรมราช โดยคุณวิเชียร ณ นครและคณะมอบให้โดยคุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรินทร์และหนังสือโบราณสถานในเขตควบคุมดูแล สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ 11 นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
ประวัติ”””วังโพธ์ิยายรด”””ก่อนมาเป็นโรงพบาลมหาราชในปัจจุบัน
ณ.ที่แห่งนี้ก่อนที่จะมาเป็นโรงพยาบาลแต่ก่อนเคยเป็นทีดินส่วนพระองค์ของเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ยุปราชปักต์ใต็ เคยสร้างวัง เรียกว่า””วังโพธิ์ยายรด””
เริ่มก่อสร้างเมือ พ.ศ.2495 เริ่มรับคนใข้ภายในเมือ พ.ศ.2498 ภายในเนื้ที่ 37 ไร่ ข้อมูลจากสารนครศร๊ธรรมราช ปี พ.ศ.2513
“””เมือผมขึ้น ม.1 พ.ศ.2457 โรงเรียนวัดท่าโพธิ์(ปัจจุบันคือโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช)เป็นลูกเสือแล้ว เวลานั้นสมเด็จฯ ได้ทรงสร้างวังและตำหนักที่ประทับ ณ บ้านโพยายรด ที่เดียวกันกับบริเวณโรงพยาบาลเดี่ยวนี้ สร้างแบบเรือนไทย พวกเราเหล่าลูกเสือถูกเกณฑ์ไปยืนรักษาการณ์ ที่ดินตรงนี้ผมทราบจาก ร.ต.อ.บััญญัติ ณ นครว่า เดิมเป็นของคุณกลั่น ณ นคร บิดา ร.ต.อ.บัญญัติ ณ นคร แล้วถวายสมเด็จฯ จากบทความ เจ้าฟ้ากับศาลเตี้ยจากสารนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2515 โดยขุนพันธรักษ์ราชเดช””
“”พระราชฐานของสมเด็จฯกรมหลวงลพรรีราเมศวร์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านของผมนั้น ดูเหมือนจะมียอดหลังคาทรงแหลมหรือทรงเจดีย์อยู่หลายยอดมุงด้วยกระเบื้องสีแดงวาว” จากบทความของคุณ บทที่4 ชีวิตท่ามกลางราชนิกุลของคุณกุมุท จันทร์เรือง สยามในอดีตกับชีวิตวัยเยาว์ของข้าพเจ้า จากคุณคุณบริพันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร””
“””ลักษณะของวังเป็นอาคารใต้ถุนสูง เสาไม้กลมประมาณ 22-24 ต้น โคนเสาตั้งอยู่บนพื้นดิน พื้นอาคารปูด้วยไม้กระดาน ฝากันด้วยไม้ไผ่ขัดแตะหลังคามุงจาก มีนอกชาน ถัดจากนอกชานเข้าไปมีพื้นเสมอกันกับนอกชานเข้าไปด้านละประมาณ 3 เมตร แล้วมียกพื้นโดยรอบกว้างออกไปจนจรดฝาทุกด้านประมาณ 6 เตร มีหน้าต่างทุกช่วงเสาฯลฯ ข้อมูลจากนางนับ อรุณจิต วาดจากความทรงจำ จากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอาคารโรงพยาบาลมหาราช เดิมคือ โรงพพยาบาลนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศร ถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2508 และจากคุณพัทธนันท์ พุฒทอง/ รายงานประจำปี 2555 สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลมหาราช และคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2498 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557 ถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพภายในบริเวณหน้าตึกอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราช เมื่อคราวนน้ำท่วมใหญ่ เมือ พ.ศ.2531 ภาพจากคุณเสาวลักษณ์ ภูมิพงศ์ โรงพยาบาลมหาราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพภายในบริเวณตึกอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราช เมื่อคราวนน้ำท่วมใหญ่ เมือ พ.ศ.2531 ภาพจากคุณเสาวลักษณ์ ภูมิพงศ์ โรงพยาบาลมหาราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพภายในบริเวณหลังตึกอุบัติเหตุ-OPD โรงพยาบาลมหาราช เมื่อคราวนน้ำท่วมใหญ่ เมือ พ.ศ.2531 ภาพจากคุณเสาวลักษณ์ ภูมิพงศ์ โรงพยาบาลมหาราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพภายในบริเวณหน้าตึกพัสดุ โรงพยาบาลมหาราช เมื่อคราวนน้ำท่วมใหญ่ เมือ พ.ศ.2531 ภาพจากคุณเสาวลักษณ์ ภูมิพงศ์ โรงพยาบาลมหาราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพภายในบริเวณหน้าโรงครัว โรงพยาบาลมหาราช พ.ศ.2512 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช เอื้อเฟื้อภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ธันวาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพภายในบริเวณ โรงพยาบาลมหาราช พ.ศ.2512 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช เอื้อเฟื้อภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพซุ้มรับเสด็จพระบรมโอรสาธิราช รัชกาลที่ 6 ภาพอดีตถ่ายในคราวที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช รัชกาลที่ 6 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช เมือง พ.ศ.2452 ภาพอดีตจากหนังสือรายงานสัมนนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 จากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและโดยคุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณสีแยกหัวถนนนครศรีธรรมราช ภาพขบวนแห่นาคเพื่อบรรพชาอุปสมบทของคุณทวีศักดิ์ พัฒนกิจจำรูญ ถ่ายเมื่อ 10 กรกฎาคม 2509 ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณสี่แยกหัวถนน พิธีต้อนรับผู้ว่าการจังหวัดนครศรีธรรมราช สันต์ เอกมหาชัย เมือ 1 กันยายน 2506 ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2559
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณสี่แยกหัวถนน เกิดเพลิงไหม้เมือ เวลา 03.00 น.ของวันที่ 20 มิถุนายน 2513 เอื้อเฟื้อภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนจากสารนครศรีธรรมราข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณหน้าปั้ม ปตท.เลยสี่ยแยกหัวถนนนครศรีธรรมราช ภาพขบวนแห่นาคเพื่อบรรพชาอุปสมบทของคุณทวีศักดิ์ พัฒนกิจจำรูญ ถ่ายเมื่อ 10 กรกฎาคม 2509 ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพสภาพถนนสายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช-ร่อนพิบูลย์ ภาพอดีตถ่ายในคราวที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช รัชกาลที่ 6 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช เมือง พ.ศ.2452 ภาพอดีตจากหนังสือรายงานสัมนนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 จากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและโดยคุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557
ขอขอบคุณ
นายตำรา ณ เมืองใต้ นายนิคม สุทธิรักษ์ และคณะจากหนังสือมาลัยเมืองใต้ สารคดีและประเพณีอันแสนรักของชาวใต้
คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ จากประวัติศาสตร์อารยธรรภาคใต้แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย,ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ว่าด้วยภูมิศาสตร์ ประวััติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้เาน ครบเครื่องเรืองภาคใต้ “สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคุณประทุม ชุ่มเพง็พันธุ์”
คุณชวน เพชรแก้ว คุณปรีชา นุ่นสุขจาก กำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร
ผันหลัง..แลเมืองนครโดย ปรีชา นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ประวัติศาตร์ โบราณคดี นครศรีธรรมราช สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช สำนักโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
โบราณสถานในเขตควบคุมดูแลรักษา สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช
คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
สารนครศรีธรรมราช
คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จากรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1,2,4,6
12 นักษัตรครึ่ง.. 18 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์/ รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2,4 มอบให้โดยคุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครศรีธรรมราช
คุณอรรถ ศิริรักษ์/คุณสถาพร พฤกษะศรี/คุณวรรณสิทธิ์ เอี่ยมคง
คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)/คุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ
คุณอัังคณา ทองบุญชู(อัง เมืองคอน)/คุณประวัติ(น้าหวัด) ภรมย์กาญจน์
หนังสือพระเครือง preciousจากคุณสุทัศน์(แป้ว) แก้วสีขาว
มูลนิธิพระดุลยพากย์สวมัณฑ์-ฉลวย-ทิพวรรณ ปัทมสถาน(อันดับที่ 9)
ขอคารวะแด่อาจารย์นะมา โสภาพงษ์และคณะทำงานจากสารนครศรีธรรมราช
อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช 22 กุมภาพันธ์ 2550
แม่ชีปฐมวรรณ อินทนูและน้อง ด.ช.คณิศร และด.ช.คณาธิป กาญจนวิวิญแห่งวัดชายนาที่อนุญาตและอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพ
“นครศรีธรรมราช”โดย วิเชียร ณ นคร /สมพุทธ ธุระเจน /ชวน เพชรแก้ว /ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ /ปรีชา นุ่นสุข มอบให้โดยคุณวีระศ้ักดิ์ ศรีวัชรินทร์ ร้านข้าวมันไก่เมืองตรัง
ประวัติศาตร์ ไชยา นครศรีธรรมราช โดยธรรมทาส พานิช มอบให้โดยคุณยูถิกา พันธรังษี
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร/คุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย)
คุณคุณบริพันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร/คุณเสาวลักษณ์ ภูมิพงศ์/คุณพัทธนันท์ พุฒทองโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
http://wattaocoat.blogspot.com/http://www.m-culture.in.th/
บ้านท่านขุน Baantankhun/http://www.oknation.net/http://th.wikipedia.org/
อาจารย์สมชาย เปลีี่ยวจิตร/อาจารย์วิลาศ คงจรูญ
อาจารย์ปณิต นพประดิษฐ์/วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ซอกแซก ซอกซอย คือ ชื่อผู้เขียนหรือเปล่าค่ะ คือจะเอาไปอ้างอิงอะค่ะ หรือ Komol คือผู้เขียนเรื่องนี้…ขอบคุณมากค่ะ ช่วยตอบให้ด้วยนะค่ะ
ซอกแซกคือ หมวดหมู่ของการเขียนครับผม
ผู้เขียนและจัดทำนามแฝงคือ komol mangsee ครับ …แต่ผู้เขียนมิได้ต้องการจะเปิดตัวหรือหวังผลประโยชน์ตอบแทนใดใดจากเวปนี้ครับ…
หากต้องการข้อมูลภาพหรือข้อมูลเรื่องราวที่คุณ komol นำมาลงให้ชมเป็นวิทยาทานนั้นเพียงแต่เมื่อท่านนำไปใช้โดยมารยาทแล้วกรุณาช่วยลงเครดิตข้อมูลว่ามาจากแหล่งใด หรือหากเป็นภาพควรลงเครดิตกำกับว่าเจ้าของภาพที่นำมาลงนั้น คือใครเพียงเท่านั้นครับ