นิราสรอบอ่าวนคร โอกาสครบรอบ 55 ปีวาตภัยแหลมตะลุมพุก 25 ตุลาคม 2505
ก.ย. 02
“””นครจะไร้ยาก บางจากจะไร้ทุกข์ ปากพนังจะสนุก แหลมตะลุมพุกจะเป็นวัง”””พังเพยที่สื่อความหมาย
ภูมิหลังแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง ปัจจุบันคือแหลมที่ยื่นไปในทะเลเหมือนเขาควาย(ปลายแหลมโค้ง)ที่มีเขาข้างเดียว ที่ยื่นไปในอ่าวไทย ถ้ามองย้อนอดีตของแหลมตะลุมพุกไปประมาณ 235 ปี จากปัจจุบัน แหลมตะลุมพุกคือแหลมชุมพุก เป็นแหลมที่มีพื้นที่บริเวณกว้างขวาง เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนชาวไทย จีน แขกและชาติอื่นๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นแหลมที่ยื่นไปทางทิศตะวันออกเข้าไปในอ่าวสยาม ถ้าวัดจากบริเวณริมด้านตะวันออกสุดของเขาควายปัจจุบัน มีพื้นที่ที่กว้างออกไปไม่น้อยกว่า 30 กม.เพราะด้วยเหตุภัยธรรมชาติ อาจรวมถึงน้ำมือของคน แผ่นดินได้ร่นเข้ามาเหลือ””เป็นเขาควายข้างเดียว””เหมือนปัจจุบันและถ้าหากธรรมชาติและคนยังมีพฤติกรรมต่อๆไปเหมือนปัจจุบันแล้ว อาจไม่มีแหลมตะลุมพุกในแผนที่โลก และถ้าแหลมตะลุมพุกมีพื้นที่กว่้างใหญ่แล้วเหตุการณ์วาตภัยเช่น ปี 2505 คงไม่ร้ายแรงเท่า คงไม่เกิดความเสียหายอย่างมากมาย
ภาพจากhttp://www.davidrumsey.comและแผนที่สำนักสยามสมัย รัชกาลที่ 1-2
ต้องขอขอบคุณ คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูลและข้อมูลภาพ ทำให้ได้เห็นความจริงที่เปลี่ยนแปลงของ แหลมตะลุมพุกในช่วงเวลา ประมาณ 235 ปี จะเห็นได้ว่าแหลมตะลุมพุกหรือแหลมชุมพุกและอำเภออื่นๆ มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่ที่ตั้งอยู่บนเกาะเมืองลิกอร์ หรือนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในอ่าวสยาม ตัดขาดจากผืนแผ่นดินใหญ่ เป็นเกาะที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านทรัพยากรด้านการเกษตร ด้านการประมง เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีความเจริญรุ่งเรือง เมืองเฟื่องฟู มีการติดต่อการค้าขายกับชาวต่างชาติ เป็นแหล่งก่่อเกิดอาระธรรม ทางด้านพระศาสนา ประเพณีด้านต่างๆ เช่น ประเพณีงานเดือนสิบ(แหล่งทำขนมใช้ในประเพณี) ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ตามประวัติผ้าพระบฏผืนแรก ที่นำไปห่มพระบรมธาตุก็เกิดจากอำเภอปากพนัง น่าจะพบเจอะบริเวณชายฝั่งทะเลแหลมตะลุมพุก และได้นำขึ้นห่มพระบรมธาตุฯช่วงสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และเป็นประเพณี””แห่ผ้าขึ้นธาตุ”””จนมาถึงปัจจุบัน
เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์วาตภัยในอดีต ครบรอบ 55 ปี เพจ””เมืองคอน.com””ขอร่วมรำลึกเป็นการไว้่อาลัยกับเหตุการณ์ในครั้งนั้น จึงขอนำเหตุการณ์ที่””แหลมตะลุมพุก””เป็นแหลมที่เป็นปกติ โดยนำบทละคร””นิราสรอบอ่าวนคร””ที่คุณครูตรึก พฤกษะศรี ได้แต่งบรรยายสภาพที่ออกจากโรงเรียนปากพนัง ผ่านลำน้ำแม่น้ำปากพนัง เดินทางไปแสดงละครที่แหลมตะลุมพุก ที่บริเวณบ้านของนายสุทิน มณีราช ท่านเป็นกำนันที่ ตำบลแหลมตะลุมพุก ก่อนเกิดวาตภัย พ.ศ.2505 ท่านเป็นกำนันมาตั้งแต่ พ.ศ.2475-พ.ศ.2495 แสดงโดยคณะครูและนักเรียน พ.ศ. 2489 เพื่อหารายได้เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับงาน พละศึกษา ก่่อนเกิดวาตภัย ประมาณ 16 ปี เป็นการหวลรำลึกและหลังการเกิดวาตภัยจากพายุโซนร้อน””แฮเรียต””เมือ 25 ตุลาคม 2505
ท่านคุณครูตรึก พฤกษะศรี มีอาชีพรับราชการครู มีความสามารถหลายด้าน เป็นนักกลอน นักประวัติศาตร์ นักเขียน นักแต่งเพลง นักถ่ายรูป และผลงานอีกชื้นหนึ่งท่านเป็นผู้บุกเบิกยุคแรกๆของเมืองนครเกี่ยวกับวรรณศิลป์และเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือ”นครศรีฯกวีศิลป””
ท่าเรือ ที่ลงเรือเพื่อเดินทางไปทำการแสดงละคร ที่แหลมตะลุมพุก ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี
ผ่านด่านภาษี ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี
ล่องเรือไปตามลำน้ำปากพนัง ภาพจากคุณอดิศักดื์ เดชสถิตย์/คุณสถาพร พฤกษะศรี
ถึงปากน้ำ ปากพนัง ภาพจากคุณอดิศักดิ์ เดชสถิตย์
ออกอ่าวปลายแหลมตะลุมพุก ภาพจากคุณอดิศักดิ์ เดชสถิตย์/I me clip
บริเวณปลายแหลม อดีต-ปัจุบัน ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี/คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)
บริเวณที่แสดงละคร”จันทโครพ”ในอดีตและรูปแบบการแสดงละคร เพื่อหารายได้สร้างอุปกรณ์ด้านพละศึกษาที่บ้านกำนันสุทิน มณีราช ภาพอดีต-จากคุณสถาพร พฤกษะศรี ภาพปัจจุบันจากคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ
ย้อนรอยภาพหลังเหตุการณ์วาตภัยพายุโซนร้อน “แฮเรียล”25 ตุลาคม 2502
ภาพความเสียหายหลังจากพายุ แฮเรียต ผ่านไป ที่แหลมตะลุมพุก ภาพจากหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ภาพความเสียหายหลังจาก พายุ แฮเรียต ผ่านไปที่แหลมตะลุมพุก ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี ถ่ายโดยคุณครูตรึก พฤกษะศรี
ภาพความเสียหายหลังจากพายุแฮเรียต ผ่านไปที่แหลมตะลุมพุก ภาพจากเพจต่างๆ
ขอขอบคุณ
คุณสถาพร พฤษะศรี ทาญาติคุณครูตรึก พฤกษะศรี
คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช คุณอดิศักดิ์ เดชสถิตย์
คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ คุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง
คุณทศพร จิตพิศุทธิ์ุ
คุณป้าฉิ้ม บุญประเสริฐ
คุณประยุทธ์ ฐานะวัฒนา กำนันตำบลแหลมตะลุมพุก เจ้าของร้าน”ครัวกำนัน”
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช