คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุ เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 1
ก.พ. 11

ผู้เขียนมิใช่ผู้รอบรู้/หรือเห็นแจ้งในสัจจะธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงขั้นพระโสดาบันหรือขั้นสูงสุดคือ”พระอรหันต์” แต่มีความสนใจในหลักธรรม สัจจะธรรมของพระพุทธองค์สังคมใดที่รับเอาคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนำไปปฏิบัติ”อย่างบริสุทธิ์ใจ” สังคมนั้น”ย่อมมีความสันติสุข” และสดุดใจที่โพสต์ โพสต์ หนึ่งประกอบกับได้แรงบันดาลใจจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล ให้ข้อมูลและภาพจากหนังสือ “”คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานพระบรมธาตุเมืองนคร และนานาของดีที่วัดวังตะวันตกกลางเมืองนคร””หนังสือที่ระลึกการทอดกฐินวัดวังตะวันตก เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2561
ทำให้ผู้เขียนมีแรงและกำลังในการที่จะนำของดี ของเมืองคอน เพื่อเผยแพร่ ที่สำคัญมีบทความที่เผยแพร่กันของชนชาติจีน “จีนคงพุทธศาสนา เพียงอย่างเดียวในประเทศ เพราะจีนรู้ดีว่า เป็นเพียงศาสนาแห่งสันติที่แท้จริงและเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลเพียงศานาเดี่ยวในโลก”
และผู้เขียนเคยได้อ่านได้ติดตามที่ชนชาติตะวันตกเริ่มมองเห็นสิ่งที่เขาแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขสูงสุดของชีวิต “ศาสนาพุทธคือคำตอบ”กับสิ่งที่เขาแสวงหาและได้มีการทดลองตามคำสอนของของพระพุทธเจ้าในด้านต่างเป็นที่ยอมรับ ว่าเป็นสิ่งที่”เป็นสุขสูงสุดของมนุษย์ชาติ”และยังมีบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนาพร้อมทั้งปวรณาตัวเองเป็นพุทธมามะกะและขอบวชในพุทธศาสนามากขึ้นๆ และจากเพจ”วาทะอริยะกล่าวไว้ว่า 2500 กว่าปี ยังไม่มีนักวิทยาศาตร์ที่ไหนที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าผิดแม้แต่ข้อเดียว” หรือมีข้อขัดแย้งว่าไม่ถูกต้องทั้งเหตุและผล
ธรรมปุระมหานคร/ปาฎลีบุตร/นครดอนพระ คือเมืองมหานครที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา คือเเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน “นครศรีธรรมราช” มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า “นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่”พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก มีต้นโพธิ์ปลูกไว้เป็นสัญญลักษณ์ แสดงว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่นครศรีธรรมราชมานานแล้ว และบางตำนานได้บันทึกว่า พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่นครศรีธรรมราช ตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่
เมืองนครนี้เป็นฐานสำคัญของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคและของประเทศไทย จนแม้กระทั่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ก็ยังระบุว่าพระดีมีความรู้ในกรุงสุโขทัยนั้นล้วน “ลุกแต่สรีธัมมราชมา”
การได้รับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำเมือง การรับเอาคำสอนพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันโดยศึกษาถึงรายละเอียดจากขั้นพื้นฐานทางศีลศึกษา”สภาวะจิต”ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ศึกษาจนถึงแก่นแท้ของพระศาสนา ทำให้พลเมืองมีความสะอาด สว่าง สงบ สังคมอยู่กันอย่างร่มเย็น สันติสุข ไม่มีความโลภ โกรธ หลง เป็นที่ยืนยันโดยท่านพุทธทาส เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ของคนยุคก่อน โดยมีชาวตะวันตก ได้แกล้งทิ้งทองคำแท่งไว้บนพื้นดินและเขากลับมาอีกครั้งทองคำยังคงอยู่ที่เดิม สภาพที่เปลี่ยนไปมีแต่สภาพสึกและผู้เขียนมีประสพการณ์เกี่ยวกับเรืองความอยู่เย็นบ้านเรือนเวลานอนไม่มีประตูที่ต้องปิด ผู้เขียนเคยนอนเมื่อวัยเด็ก
เพราะการเข้าถึงแก่นธรรม”สัจจะธรรรม”ของพระพุทธองค์อย่างท่องแท้ของชาวเมืองคอนในอดีต/ภาคใต้ จึงก่อเกิดสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวโยงกับพระศาสนาอย่างมากมายและทั่วไปในนครศรีธรรมราชและภาคใต้ทั้งวัตถุ โบราณสถาน โบราณวัตถุและจิตรกรรมตามที่ต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอด ศึกษาเพื่อเข้าถึง “สัจจะธรรม”ในเมืองคอนที่สร้างเป็นปริศนาธรรมและเป็นแหล่ง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในเมืองคอนและทั่วไป
ณ หาดทรายแก้วและเมือง 12 นักษัตร แห่งนี้เป็นดินแดนที่มี”อริยะบุคคล” พร้อมความรุ่งเรืองของพระศาสนาท่ี่พระบรมศาสดาทรงสั่งสอนและนำมาปฏิบัติจนรู้แจ้ง จนสามารถนำคำสอนที่บรรลุธรรมมาเป็นเพลงร้องเรือเพื่อในเด็กๆนอน
เหล่าพุทธบริษัทสี่ทุกหมู่เหล่า รวมทั้งเมืองใน 12 นักษัตร มีความตั้งมั่น มีแรงศรัทธาอันแรงกล้าจึงได้สร้างพระเจดีย์เป็นสัญญาลักษณ์แทนองค์พระศาลดาพร้อมทั้งบรรจุพระทันตธาตุเป็นอนุสติ แก่ปวงชน และพุทธบริษัทสี่ โดยนำหลักธรรม คำสั่งสอนของพุทธองค์ สร้างเป็นพระเจดีย์ประกอบ ปริศนาทางธรรม เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นหรือการสืบทอดคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเป็นอนุสติถึง”พุทธนิพพาน”ของพระองค์ จะเห็นได้ว่า ณ ที่แห่งนี้คือแหล่งอาระยะธรรมมาตั้งแต่อดีต
ในการสร้างพระบรมธาตุเป็นปริศนาธรรม มุ่งหมายสูงสุดคือพระนิพพาน
ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
วัดวังตะวันตกก็เป็นแหล่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งของแหล่งอาระยะธรรมที่มีปริศนาธรรม/จิตรกรรมฝาผนัง ทั้งในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังเรืองทศชาติชาดก/จิตรกรรมคัมภีร์พระนิพพานโสตรและตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนคร เปนจิตรกรรมหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มี่ที่ไหนเหมือน
ประวัติวัดวังตะวันตก
วัดวังตะวันตก ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๓๔๗/๑ ถ.ราชดำเนิน ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นวัดสังกัดมหานิยาย เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูพรหมเขตคณารักษ์ (ดร.ชัยสิทธิ์ โชติปญฺโญ) เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ปัจจุบันมีพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๕๘ รูปวัดวังตะวันตกเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช มีตำนานบอกเล่าที่เกี่ยวพันกับสายสกุลเจ้าเมืองนครในสมัยรัตนโกสินทร์ ตำนานเล่าว่าเดิมพื้นที่วัดวังตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นป่าขี้แรด ด้วยมีต้นขี้แรด หรือต้นข่อยหนามขึ้นอยู่มาก และด้วยบริเวณนี้เป็นที่ลุ่มมีชุมชนเรียกว่า “บ้านตากแดด” ตั้งอยู่ แต่ไม่ค่อยมีผู้อยู่อาศัย จึงถูกใช้เป็นที่พักศพซึ่งเพิ่งนำออกจากภายในกำแพงเมืองไว้ชั่วคราวก่อนจะนำไปฌาปนกิจในวันถัด ๆ ไป การใช้ป่าขี้แรดเป็นที่ค้างศพนี้ไปเลิกไปในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ทั้งนี้พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของวัดวังตะวันตกในสมัยอยุธยาตอนปลายลงมานั้น น่าจะไม่ใช่พื้นที่รกร้างว่างเปล่าโดยสิ้นเชิง เนื่องจากปรากฏหลักฐานการใช้งานพื้นที่ในแผนที่กัลปนาวัดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้ารงธรรม ระบุว่าพื้นที่ที่ตั้งวัดวังตะวันตกนี้เคยเป็นที่นากัลปนาของพระศรีธรรมาโศกiii พระพุทธรูปสำคัญของวัดพระบรมธาตุซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ในวิหารโพธิลังกา และย้ายมาประดิษฐานในวิหารสามจอมในปัจจุบัน อีกทั้งพื้นที่แปลงนี้ยังอยู่ติดกันกับนากัลปนาของวัดท่ามอญ และที่กัลปนาของพระเปรียญทศศรี ย่านตลาดท่าวัง สะท้อนว่าพื้นที่แถบท่าวังก็น่าจะเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐาน มีชุมชน มีตลาดมาอยู่แล้วก่อนตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นอย่างน้อยกาลต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ หม่อมปราง ภริยาของเจ้าพระยานครพัฒน์ ซึ่งได้พระราชทานมาจากพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสถานะเป็นแม่นางเมือง ตั้งนิวาสสถานอยู่ในพื้นที่ที่เป็นวัดวังตะวันออกเดี๋ยวนี้ เห็นฝั่งตรงข้ามที่พักนั้นเป็นป่าอยู่ จึงได้ดัดแปลงป่าเป็นสวนขึ้นสำหรับพักผ่อน ครั้นเมื่อหม่อมมารดาปรางสิ้นลงก็ได้จัดการปลงศพภายในสวนนี้ต่อมาเจ้าพระยานครศรีธรรมโศกราช (น้อย) ผู้บุตร ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองก็ได้สร้างวัดขึ้นในที่ ๆ ปลงพระศพของหม่อมปรางผู้มารดา เรียกว่า “วัดวังตะวันตก”
อุโบสถหลังเก่าและใหม่ ภาพโดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล
อุโบสถใหม่ : แห่งแรกในเมืองนคร ที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จยกช่อฟ้า
จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดียวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน :
ทศชาติชาดกและคัมภีร์พระนิพพานโสตร
ตำนานแห่งพระธาตุเมืองนคร
จิตรกรรมส่วนที่ 1 จิตรกรรมฝาผนังทศชาติชาดก
ผู้เขียนคือคุณครูอุดร มิตรรัญญา ท่านรังสรรรค์ ให้เห็นถึงความยึดมั่นของพุทธมามะกะของชาวพุทธท่านหนึ่งที่มีความตั้งใจสร้างผลงานเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสานาในงานแบบจิตรกรรมฝาผนัง โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังชื่อเสียง”ทำเพื่อเป็นการทำบุญ”ท่านเคยปรารภไว้กับบุตรสาวและครอบครัวเมื่อเห็นคุณครูจัดสัมภาระเพื่อไปทำงานปั้นและงานจิตรกรรม
คุณครูอุดร มิตรรัญญา ท่านเป็นครูวาดเขียนเอก เป็นครูประจำอยู่ที่โรงเรียนวัดศรีทวี เป็นครูสอนวิชาวาดเขียนและทำงานจิตรกรรม งานปั้น งานศิลปกรรมท้องถิ่น จนได้รับแต่งแต่งเป็นที่ปรุึกษาของ ผอ.พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมรมช สมัย ผอ. ทัศนีย์ พิกุล และมีช่วงรุ่นของคุณครูคือ คุณแนบ ทิชินพงศ์ คุณครูเจริญ เมธารินทร์ หนังสุชาติ ทรัพย์สิน ฯท่านเกิดเมือ พ.ศ.2477 และได้ถึงแก่กรรมเมือ 22 พฤศจิกายน 2558 คุณครูมีพี่น้อง 3 ท่าน 1.นางเล็ก ศรีเผด็จ 2.คุณครูอุดร มิตรรัญญา 3.พระสมพร จำพรรษาที่วัดสะบ้าย้อย อ.พรหมคึรี และมีบุตร 4 คน 1.คุณอุทุมพร มิตรรัญญา ทำงานที่ สรรพากรจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.คุณวัชระ มิตรรัญญา ทำงานที่ ที่ดิน กรุงเทพมหานคร 3.คุณชัยวัฒน์ มิตรรัญญา 4.คุณศศิรรจน์ สกุลรุ่งเรืองชัย
ตามคำบอกเล่าของคุณนิเวศน์ ซึ่งปัจจุบันเป็นมักทายกวัดวังตะวันตก ตอนที่ท่านวัยเด็กอายุประมาณ 14 ปี ท่านได้เข้าไปเล่นในวัดวังตะวันตก เกื่อบทุกๆเย็นของวันปกติและวันเสาร์ อาทิตย์ ท่านจะเห็นคุณครูอุดรฯปั้นจักยานต์มาที่อุโบสถ์วัดวังตะวันตกเพื่อเข้าไปวัดภาพต่างๆซึ่งคุณนิเวศน์ฯได้เข้าไปดูเป็นประจำ
คุณครูอุดร มิตรรัญญา ทรงเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ภาพคุณครูอุดร มิตรรัญญาและบ้านพักที่มะม่วงตลอด
ภาพกิจกรรมต่างๆของคุณครูอุดร มิตรรัญญาและอดีตคณะครู โรงเรียนวัดศรีทวี
ศิลปมุมบ้าน บ้านคุณครูอุดร มิตรรัญญา
จิตรกรรมภายในอุโบสถหลังใหม่ : กายภาพทั่วไป
จิตรกรรมภายในอุโบสถหลังใหม่ เขียนโดยรอบฝาผนังด้านใน ในระดับเหนือช่องหน้าต่าง ความสูงของ
จิตรกรรมประมาณ ๒.๐๐ เมตร แสดงเรื่องทศชาติชาดก และมีภาพแทรกระหว่างเรื่องเพื่อแซมที่ว่างให้เต็ม จิตรกรรม
ภายในอุโบสถนี้เดิมเคยมีอยู่ทั้ง ๔ ด้านของผนังแต่ได้ถูกลบทิ้งไปสองฝั่ง คือฝั่งด้านหลังพระประธาน และฝั่งตรงข้ามพระประธาน คงเหลือแต่ฝั่งขวามือพระประธาน (ผนังทิศใต้) แสดงทศชาติชาดก เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็น พระเตมีย์ใบ้ แล้วลำดับเรื่องตามเข็มนาฬิกามา พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ จบที่พระภูริทัต ที่สุดผนัง จิตรกรรมบนผนังฝั่งซ้ายมือพระประธาน (ผนังทิศเหนือ) แสดงชาดกต่อจากผนังด้านขวา คือเริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็น พระจันทกุมาร แล้วลำดับเรื่องตามเข็มนาฬิกามา พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสันดร ผู้อ่านที่ไม่สันทัดกับการเรียงลำดับทศชาติชาดกอาจใช้คาถาหัวใจทศชาติคือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว เป็นตัวช่วยจำก็ได้ ทั้งนี้มีข้อสังเกต ๒ ประการใหญ่ ๆ คือ๑.จิตรกรรมฝั่งซ้าย และขวาของพระประธานนั้นมีเนื้อหาต่อเนื่องกัน แสดงว่าจิตรกรรมด้านหน้า และหลังของพระประธานเป็นเรื่องแทรกเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ทศชาติชาดก ผู้เขียนสืบค้นภาพถ่ายเก่าที่ติดจิตรกรรมด้านหลังพระประธาน จึงเห็นว่าเขียนเป็นฉากนรก มีพญายมราชประทับในปราสาท กำลังชี้นิ้วลงทัณฑ์ ถัดไปมีภาพต้นงิ้ว และสัตว์นรกกำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ แต่ขณะนี้ยังไม่พบภาพผนังฝั่งตรงข้ามพระประธาน ยังไม่ทราบว่าเขียนเรื่องอะไร๒.จิตรกรรมฝั่งซ้าย และขวามือของพระประธานแม้จะเขียนทศชาติลำดับกันมาก็จริง แต่แต่ละชาตินั้นคงเขียนเพียงฉากสำคัญพอให้รู้ว่าเป็นชาดกตอนนั้น ๆ เพียงฉากเดียว เนื้อที่เขียนคงเหลือมาก จิตรกรจึงเขียนเรื่องแทรกเข้าไป โดยฝั่งขวามือพระประธานนั้นเขียนภาพปราสาท บ้านเรือน ขณะที่ฝั่งซ้ายมือพระประธานเขียนฉากจากวรรณกรรมแทรกเข้าไป
ฉากที่ ๑ เตมียชาดก แสดงตอนพระเตมีย์ยกราชรถขึ้นทดลองกำลัง
หลังจากทรงประทับนิ่งบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีนานถึง ๑๖ ปี
คุณค่า และข้อสังเกตในจิตรกรรมวัดวังตะวันตก
หลังจากได้ติดตามจิตรกรรมทั้งสองแห่งในวัดวังตะวันตกมาแล้ว ส่วนนี้จะเป็นการขมวดปมตอนสุดท้าย ซึ่งยังต้องถือว่าเป็นเพียงข้อสรุปเบื้องต้นจากการทำงานในระยะเวลาอันสั้นของผู้เขียนเท่านั้น
จิตรกรรมในอุโบสถหลังใหม่ และในศาลาประโชติศาสนกิจ แม้ว่าจะมีเทคนิควิธีเขียนเหมือนกัน โดยช่างกลุ่มเดียวกัน มีกลวิธีในการแบ่งห้องด้วยไม้ยืนต้นเหมือน ๆ กัน แต่วิธีการเล่าเรื่องนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก
จิตรกรรมทศชาติชาดกในอุโบสถหลังใหม่ มีวิธีการเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Symbolic – เชิงสัญลักษณ์ อย่างสูง จิตรกรเลือกเขียนชาดกแต่ละตอนด้วยฉากสำคัญเพียงฉากเดียว ซึ่งฉากที่ถูกเลือกมานั้นก็เป็นฉากที่นิยมเขียนกันทั่วไป หรือเป็นฉากไคลแมกซ์ของชาดกเรื่องนั้น ๆ การเขียนทศชาติชาดกในอุโบสถหลังใหม่ จึงไม่ใช่การเขียนเพื่อเล่าเรื่องให้รู้เรื่อง แต่เป็นการเขียนในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้ครบเรื่อง จิตรกรรมที่นี่จึงอาจไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อจะดู แต่มีนัยยะเชิงสัญลักษณ์ และการทำขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา
ขณะที่จิตรกรรมในศาลาประโชติศาสนกิจ ถูกเขียนขึ้นในศาลาซึ่งเป็นพื้นที่ชุมนุมฆราวาสในหลากหลายโอกาส เป็นที่คนเข้าออกใช้งานมากกว่าอุโบสถ จิตรกรรมในศาลาหลังนี้จึงมีแนวทางต่างออกไป คือเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Narrative – เป็นเรื่องเป็นราว มีลำดับของเรื่องชัดเจนเป็นตอน ๆ แต่ละตอนนอกจากเนื้อเรื่องหลักในตอนนั้น ๆ ยังมีการแทรกบรรยากาศ และตัวละครที่ไม่ได้สำคัญกับเนื้อเรื่องในตอนนั้น ๆ เข้าไป แต่การแทรกนี้ก็ทำให้เนื้อเรื่องแต่ละตอนนั้นกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอย่างมาก คุณลักษณะเช่นนี้สะท้อนความตั้งใจที่จะให้จิตรกรรมพระนิพพานโสตร – ตำนานพระบรมธาตุ นี้เป็นเรื่องสำหรับชี้ชวนให้กันดู หรือชักนำบุตรหลานมาเล่าสู่ ไม่ใช่ของทำเพียงประดับ หรือเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
ในด้านเทคนิคการเขียน และการให้สี ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การเว้นช่องไฟในฉาก การให้สีหลากสี และการใช้ไม้ยืนต้นเป็นตัวจบเรื่องแต่ละตอน เป็นเทคนิคที่พบในงานฮูปแต้ม บนสิมอีสานด้วย อย่างไรก็ตามคุณลักษณะที่สอดคล้องกันนี้ อาจไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่เป็นวิธีการแสดงออกในทิศทางคล้าย ๆ กันของช่างที่ไม่ได้ดำเนินขนบ หรือถูกฝึกปรือมาแบบช่างภาคกลางก็ได้
แม้ว่าจิตรกรรมในวัดวังตะวันตก จะไม่ได้มีอายุยาวนานนัก และไม่ได้มีความเป็นเลิศด้านทักษะฝีมือ แต่ก็มีความสำคัญอย่างสูงในฐานะรอยต่อของความเปลี่ยนแปลงเทคนิคฝีมือทางงานช่าง ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่วิธีการเขียนภาพสมัยใหม่ นับว่าเป็นของน่าชมอยู่ อีกทั้งการเขียนเรื่องพระนิพพานโสตร ตำนานพระธาตุเมืองนคร ก็ยังพบที่นี่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังคงสมบูรณ์จนจบเรื่อง เหล่านี้เป็นสมบัติของวัดวังตะวันตก และเป็นสมบัติของเมืองนครศรีธรรมราชที่ล้ำค่าควรแก่การหวงแหนรักษาสืบต่อไป
ขอขอบคุณ
พระครูเหมเจติยาภิบาล(โสพิส อินทโสภิโต) วัดพระนคร/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช/คุณประสงค์ จิตต์มนัส ร้านเสือผิน
คุณศุภชัย แซ่ปุง /คุณวันดี ศรีเผด็จ(อมรศักดิ์)/คุณอุทุมพร(หมู) มิตรรัญญา/คุณอรุณรัตน ริเริ่มสุนทร/คุณนิเวศน์ มัชฌเศรษฐ์ /คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณปุณิกา พันธรังษี/คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์/คุณสมศักดิ์ ศรีสุข
ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจและจากสถานที่ ต่างๆ ข้อมูลจากคัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนครและนานาของดีที่วัดวังตะวันตก กลางเมืองนคร หนังสือที่ระลึกการทอดกฐินวัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช,บุคคลที่นำ มาเผยแพร่ ความเป็นอดีตที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อเป็น””พุทธบูชา””ต่อพระบรมธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรและบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อ การเผยแพร่ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้น แลในนามของคณะผู้จัดทำนายโกมล พันธรังษีและครอบครัว“พันธรังษี”