ภาพแปะฟ้าเมืองคอน- ตลาด”หลาด…อดีตหลาดในเมืองคอน”ตอนที่ (๒)

มิ.ย. 20

ภาพแปะฟ้าเมืองคอน- ตลาด”หลาด…อดีตหลาดในเมืองคอน”ตอนที่ (๒)

Picture-2544779-copy

๑๒.ตลาด”หลาดท่าแพ”P1050581

                                               หลาดนัดท่าแพเป็นที่รวมขายสินค้าต่างๆ”ทุกวันอาทิตย์” สินค้าพื้นเมืองที่นำมาวางขายมีแทบทุกชนิด เช่นน้ำมันมะพร้าว ยางพรารับเบอร์ น้ำมันยางใต้ น้ำตาลปีป มะพร้าวแห้ง ผัก ผลไม้และอุปกรณ์เกี่ยวกับงานจักสานทางด้านหัตกรรม ในช่วงปี พ.ศ.2520 ผู้เขียนกับพี่ที่เขาทำหัตกรรมเกี่ยวกับย่านลิเภาได้นำผู้เขียนไปซื้อหย่านลิเภาในหลาดนัดท่าแพและ เฉพาะน้ำตาลปีปนั้น ซื้อขายเป็นจำนวนหลายสิบตัน ทั้งนี้ย่อมเห็นว่าเป็นสินค้าที่จังหวัดนครศรีธรรมราชผลิตได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีสินค้าซื้อขายกันเป็นจำนวนมาก “หลาดนัดท่าแพ”จึงเป็นหลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้  ประชาชนที่ไปตลาดนัดทุกนัดนับเป็นพันๆคนขึ้นไป นอกจากสินค้าพื้นเมืองแล้วยังมีสินค้าทุกอย่างไม่ต่างจากหลาดนัดกรุงเทพฯ ท่านจะพบหนุ่มสาวชาวนครศรีธรรมราชพากันไปเที่ยวหลาดนัดท่าแพอย่างคับคั้งทุกๆนัด ทำให้มีความครึกครื่นไม่น้อย

              อีกอย่างประการหลาดนัดท่าแพเป็นที่ชุมชุมของเรือสำเภาซึ่งเดินทางไปต่างประเทศและมีเรือยนต์สำหรับรับส่งคนโดยสารไปยังตำบลต่างๆ จอดเรียงกันเป็นอันมาก ผู้ที่จะเดินทางไปที่ต่างๆเช่น ปากพนัง สิชล มักจะแวะที่หลาดท่าแพก่อน และท่าแพยังเป็นจุดต่อเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองคอนอีกจุดหนึ่ีง ที่เกี่ยวโยงกับการติดต่อกับภายในและภายนอกประเทศ เป็นที่เกี่ยวกับสงครามโลกครั้่งที่ 2 ที่รู้จักกันในนาม”ญี่ปุ่นขึ้นท่าแพ”และเป็นที่สำคัุญทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งคือ”ที่หลวงปู่ทวด บรรพชาเป็นพระภิกษุ ณ อุทกสีมาในคลองแห่งหนึ่ง(บวชกลางลำน้ำโดยผูกเป็นแพ)ในปี พ.ศ.2145 เมื่ออายุครบ 20 ปี โดยมีฉายาว่า”เจ้าสามิราม”หรือ”สามีราโม” คลองแห่งนี้ต่อมาจึงมีชื่อว่า”คลองท่าแพ”

ประกอบกัปคลองท่าแพเป็นที่บรรจบรวมสายน้ำ 3 สาย มีคลองน้ำแคบ คลองคอน  ทำให้ชมชนชาวเหนือ ลานสกา พรหมคีรีและร่อนพิบูลย์บางส่วน ใช้เส้นทางสายน้ำเป็นที่รวมติดต่อการค้าขายและไปต่อ ณ อำเภอปากพนัง สิชลและอื่นๆ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่  6 เสด็จประพาสมายังเมืองคอนก็เสด็จขึ้นท่าเรือที่ท่าแพ จะเห็นว่าท่าแพหลาดนัดท่าแพมีความสำคํญมาแต่โบราณpสถานบวชอุทกสีมา11-tile

Picture-2546-horz-copy

ภาพอดีตบริเวณหลาดท่าแพและใกล้เคียง ภาพจากสารนครศรีธรรมราช

Picture 405-horz

ภาพอดีตบริเวณหลาดท่าแพ คลองท่าแพ ภาพจากคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศน์

คลองท่าแพ

ภาพอดีตคลองท่าแพ หลาดท่าแพที่คราครำไปด้วยเรือประเภทต่างๆ ภาพจากสารนครศรีธรรมราช

Picture 140 copy

ภาพอดีตคลองท่าแพและหลาดท่่าแพ ภาพอดีตจาก ผันหลังแลเมืองคอน โดยคุณปรีชา นุ่นสุข

Picture 168-horz

สะพานท่าแพเมือ่อดีต เมื่อหนุ่มสาวเสร็จจากกิจกรรม วางพวงมาลาวันวีรไทยเลยไปเที่ยวท่าแพ พ.ศ.2493 ภาพอดีตจากตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯ ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของนายพงษ์ศรี ภูมะธนP1050574-tileP1050581-tileP1050590-tileP1050599-tileP1050604-tile

๑๓.ตลาด”หลาดแม่สมจิตต์”ปัจจุบันคือหลาด”ปิ่มเพชร”

                                  หลาดแม่สมจิตต์เดิมคุณกานดา สุวรรณทิพย์ได้บอกว่า หลาดแห่งนี้มีการจำจ่ายมาประมาณ  พ.ศ.2507  และมีการจ่ายทุกวัน เดิมที่บริเวณนี้เป็นป่าสาคู  หลาดแม่สมจิตต์ได้เปลี่ยนผู้เป็นเจ้าของและเปลี่ยนเจ้าของและเปลี่ยนชื่อเป็น”หลาดปิ่มเพชร” เมือ พ.ศ.2560

แม่สมจิตต์ (1)-horz

จากแม่สมจิตตไปหมอสุนทร2502-tile-copy-700x227

ถ่ายจากตลาดแม่สมจิตต์ไปทางสี่แยก (ร้านหมอสุนทร)ถ่ายเมือ พ.ศ.2502 ภาพจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2559ตรงข้ามตลาดแม่สมจิตต์-2502-700x227

ตลาดแม่สมจิตต์ ภาพอดีตจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ถ่ายเมือ พ.ศ.2502 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2559P1060348-tileP1060350-tileP1060352-tileP1060356-tile

หลาดแม่สมจิตต์ได้เปลี่ยนผู้เป็นเจ้าของและเปลี่ยนเจ้าของและเปลี่ยนชื่อเป็น”หลาดปิ่มเพชร” เมือ พ.ศ.2560

๑๔.ตลาด”หลาดท่าเรียน”

                                 หลาดเปิดท้ายท่าเรียน หรือที่ชาวนครศรีฯเรียกสั้นๆว่า หลาดท่าเรียน เป็นตลาดเปิดท้ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัด ที่ตั้งของตลาด ตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้กับตลาดรวมพืชผลหัวอิฐ การเดินทางใช้เส้นทางถนนกะโรมเส้นทางจะมุ่งหน้าไปอำเภอพรหมคีรี ในเส้นทางเราจะผ่านสี่แยกตลาดแขก ซึ่งเป็นสี่แยกที่ถนนราชดำเนินตัดกับถนนกะโรม ผ่านสี่แยกไฟแดงที่มีมัสยิดอยู่ด้านซ้าย (ชาวนครเรียกสี่แยกนี้ว่า สี่แยกสุเหร่า) ให้ขับไปเรื่อยๆจนเลยข้ามรางรถไฟก็จะพบตลาดเปิดท้ายท่าเรียนอยู่ด้านขวามือ          ตลาดเปิดท้ายท่าเรียนเป็นตลาดที่มีสินค้าให้เลือกเกือบทุกประเภท เพราะที่นี้เป็นการรวมตัวมาขายของ ของพ่อค้าแม่ค้าจากทุกอำเภอในจังหวัดนครศรีฯรวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง พื้นที่ของตลาดมีการแบ่งเป็นโซนไว้ เพื่อที่ลูกค้าสามารถที่จะเลือกซื้อสินค้าตามประเภทที่ตนเองต้องการได้สะดวก            โซนด้านหน้าที่ติดกับถนนเป็นโซนของอาหารและผลไม้ต่างๆ ถัดไปด้านหลังจะเป็นกลุ่มสินค้ากิ๊ฟท์ช็อป จำพวกเครื่องประดับ นาฬิกา และกระเป๋าถือ เลยไปหน่อยเป็นเสื้อผ้ามือหนึ่ง ทั้งของเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย ทั้งแบบใส่ลำลอง และแบบใส่ทำงาน            ด้านซ้ายมือด้านหน้า จะเป็นพวกเสื้อผ้ามือสอง กลุ่มของร้านกลุ่มนี้ จะมีทั้งร้านที่ขายเฉพาะกางเกงยีน เสื้อกางเกงทำงาน ชุดเด็กทั้งเด็กเล็กและเด็กโต เสื้อผ้าผู้หญิง  ชุดนอน           ส่วนกลุ่มของสินค้าประดับยนต์ เครื่องมือช่างๆ  ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง และสินค้าเบ็ดเตล็ด ก็จะอยู่โซนแถวกลาง          แต่เพราะที่นี้มีจำนวนของผู้ที่มาซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก และสถานที่เป็นสถานที่ ที่อยู่ในเขตชุมชน ทำให้หาที่จอดรถได้ค่อนข้างลำบาก ผู้มาซื้อของส่วนใหญ่ต้องจอดรถริมถนน ทั้งสองข้างทาง หลาดท่าเรียนมีจ่ายเฉพาะช่วงเย็น วันอังคาร, พฤหัสบดี และเสาร์-อาทิตย์

หลาดท่าเรียนเดิมจ่ายที่ริมทองรถไฟบริเวณถนนพาดเพราะสะดวกต่อการติดต่อของ”ชาวเหนือ “ ชาวโพธิ์เสด็จ ชาวมะม่วงสองต้น ฯลฯในการติดต่อค้าขาย ชาวเหนือจะนำสินค้าประเภททุเรียน เงาะ ลังสาด และของป่าอย่างอื่นที่จำเป็นในการใช้ชีวิตของคนเมือง คนฝั้งตก ฝังออกบริเวณวัดท่าช้าง  โดยใช้คลองแดง คลองคอน และคลองริมทางรถไฟ หลาดนี้จ่าย มาตั้งแต่เกือบ 50-60 ปี และมาหยุดจ่ายเมือมีเหตุรถไฟชนนักเรียนโรงเรียนพรสวัสดิ์วิทยา สมัยคุณครูถาวร เป็นครูใหญ่โรงเรียนพรสวัสดิ์วิทยา

สะพานท่าเรียน2518-copy-350x70011-tile

ภาพสะพานท่าเรียน24-copy-350x70011-tile

สะพานท่าเรียนก่อนยังไม่เป็นถนนสีช่องจราจร มีคุณเล่า เทียน ซื่อ แซ่เล่า ขี่รถจักรยานยนต์ สองข้างทางจะมีต้นจามจุรีไปจนถึง วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ  ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2496 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558P1060438-tileP1060522-tileP1060448-tileP1060458-tilepagepageP1060455-tile

 ๑๕.ตลาด”หลาดหัวอิฐ

                        ประวัติตลาดหัวอิฐข้อมูลจากอนุสรณ์งานฌาปนกิจอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ เมือ 2 สิงหาคม 2551 เดิมการค้าของเมืองนครที่สำคัญคือ ศูนย์กลางการค้าบ้านหัวท่า โดยอาศัยเรือทั้งชาวเหนือ ชาวลานสะกา  ชาวนอก และการคมนาคมโดยอาศัยคลองท่าดี และเป็นท่าที่สำคัุญสัมพันธ์กับวัดพระบรมธาตุ เป็นที่จอดเรือ ต่อมาเลยกลายเป็นท่าเรือที่สำคัญมาแต่โบราณ เมือการโดยสารทางเรือหมดความสำคัญลง ช่วงต่อมาหันมาใช้รถยนต์ จึงเกิดตลาดใหม่เส้นทางรถยนต์ถนนนครศรีฯ-ลานสกาตรงใต้ต้นยางใหญ วัดโพธิ์เสด็จชื่อว่า””ตลาดแสงอรุณ””แต่ผู้คนไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่ในช่วงแรก แต่กลับนิยมอีกแห่งซึ่งอยู่ตรงข้ามของตลาดเดิม เป็นของนายประสงค์ สิงหโกวินท์ มีผู้นิยมจนเป็นตลาดการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของภาพใต้ ได้ชื่อว่า””หัวอิฐตลาดไม่เคยหลับ””หลาดหัวอิฐ-horz

ตลาดหัวอิฐ2498-copy-350x700 (1)111-tileตลาดหัวอิฐ2498-copy-350x700 (1)

IMG_00431-tile

Picture-1046518-tile-copy-518x7001Picture-1046518-tile-copy-518x70011Picture-1046518-tile-copy-518x700111P1060510-tile

ตลาดหัวอิฐ เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภาพใต้ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2515 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช  เอื่อเฟื้อจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ มกราคม 2558พาหนะตลาดหัวอิฐ-copy-350x7001-tile

พาหนะที่ใช้บริเวณตลาดหัวอิฐ อดีต-ปัจจุบัน ภาพอดีตโดยคุณสุทิน รัตนโนภาสจรูญ สารนครศรีธรรมราช  เอื่อเฟื้อจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ถ่ายเมือ พ.ศ.2515 ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ มกราคม 2558IMG_25630630_085005-tileIMG_25630630_085228-tile

๑๖.ตลาด”หลาด”แม่พยอม/หลาดบัวตอง”

หลาดผักหัวอิฐ-horz

Picture-1046931-horz-copy-700x452Picture-1046930-horz-copy-700x475

บริเวณคลองแดง ก่อนจะถึงตลาดหัวอิฐ ถนนกะโรม ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติ คือคลองแดง มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งต่อมาโดนถมคลองแดงโดยเอกชนทำตลาด รัฐแพ้คดีความ ให้แก่เอกชน ลักษณะบ้านเรือนของบริเวณนี้่จะต้องทำสะพานยื้นเดินเข้าบ้านคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร ได้ถ่ายกับเพื่อนๆ เมือ พ.ศ.2512 ขณเรียนอยู่ที่โรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราช  ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีนาคม 2559P1060187-tileP1060191-tileP1060201-tilepagepageP1060246-tile

๑๗.ตลาด”หลาด”บ้านหัวท่า ประตูชัยใต้ “ศูนย์กลางการค้าที่ไม่เคยหลับ”

page

page1

IMG_0032-tile

227-horz-copy-700x216

บริเวณสี่แยกประตูชัย หรือเดิมคือประตูชัยสิทธิ์ ประตูทางด้านทิศใต้ของอดีตเมืองคอน เป็นส่วนหนึ่งของ”หลาดหัวท่า” ภาพอดีตจากกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร ชวน เพชรแก้ว ปรีชา นุ่มสุข มอบให้โดย อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และคุณคุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย)  ภาพอดีตถ่ายเมือ พงศ.2520 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤศจิกายน 2557สะพานป่าเหล้า-copy-700x235

สะพานป่าเหล้าข้าม””คลองท่าน””(พ่อท่านปานเป็นผู้อำนวยการขุดคลองสายนี้) ในอดีตคือสะพานเทวีดรดล เนื่องจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯปัยยิกาเจ้า เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผู้เปิดสะพานแห่งนี้ ย่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของ”หลาดหัวท่า”    ภาพจาก ผันหลังแลเมืองนครศูนย์วัฒนธรรมภาพใต้วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชและคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ข้อมูลภาพจากหนังสือที่ระลึก “เดือนสิบ 27″และสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557

pซากป้อมแนวกำแพง-copy (1)1-tile

ซากป้อมกำแพง-แนวกำแพง เมือง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้บ้านหัวท่า คือ”หลาดหัวท่า”ในอดีต เมืองคอน ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2520 ภาพจากหนังสือกำแพงเมือง มรดกทางวัฒนธรรมของชาวนคร โดยชวน เพชรแก้ว/ปรีชา นุ่นสุข ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2556

pโค้งหัวท่า-copy11-tile

แห่มังกรทอง ปีมังกรทอง บริเวณแนวกำแพงเมือง ปัจจุบันคือบริเวณบ้านหัวท่า คือ”หลาดหัวท่า”ในอดีต ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2495 ภาพจากคุณหงกิม(โก้กิ้ม)/คุณอรุณรัตน์/คุณบริพันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2556P1060414-tileP1060422-tileP1060428-tile

๑๘.ตลาด”หลาดวัดสบ/หลาดวัดท้าวโคตร”

06-tileหลาด”วัดสบ”ในแผนที่ กัลปนา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ภาพจากท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุลหลาดศบ (1)-horz

P1030654-horzP1030660-tile

ุดบริเวณหลาดวัดสพที่ตั้งและจ่ายตามแผนที่ กัลปนา” เมื่อ สมัยพระเจ้าทรงธรรม ผู้เขียนได้มีโอกาสไปจับจ่ายใช้สอย  หลาดวัดสับ ณ สถานที่เก่า เมือประมาณ พ.ศ.2535P1030667-tileP1030670-tileP1030673-tileขนมเจ้าอร่อยประจำหลาดสพหรือหลาดท้าวโคตร มาทุกครั้งต้องซื้อ เจ้าที่สืบทอดมา 2-3 ช่วงอยุของแม่ค้าครับpage 

๑๙.ตลาด”หลาดศาลามีชัย”

                        เป็นหลาดที่ได้เริ่มตั้งขึ้นในช่วงสมัยประมาณ พ.ศ.2513 โดยคุณป้ายุพา บวรรัตนารักษ์ หลาดหัวถนนศาลามีชัย จะมีการจ่ายช่วงเย็น เป็นประจำทุกวัน ในตลาดมีสินค้าทุกประเภท เนืองจากบริเวณสี่แยกหัวุถนน เป็นที่ชุมชน ที่ผู้คนมาจากทุกทิศทาง ขอบเขตของหลาดทิศตะวันตกจดถนนนครศรีฯหัวไทร ด้านทิศเหนือจดถนนนครศรีฯปากพนัง ด้านทิศตะวันจดทางแยกเข้าหมู่บ้านถนนปากพนังIMG_25630621_165157-horzP1050443-horzP1050450-horzP1050454-horzP1050462-horzP1050469-horzP1050487-horz

๒0.ตลาด”หลาดอังคาร หัวหนนศาลามีชัย

                             ขอบเขตและที่มา  หลาดวันอังคารหัวถนนศาลามีชัย แต่เดิมจะจ่ายวันอังคารตั้งแต่เช้า จนถึงเที่ยงโดยประมาณ ความเป็นมาของหลาดคารหัวถนนเดิมก่อนที่จะมาเป็นแบบปัจจุบัน(ข้อมูลจากคุณพร้อม ไชยพหล) หลาดเดิมเป็นของคุณสุเมธฯ  คุณเตือนฯ เป็นชาวสงขลา หลาดเริ่มเปิดขายมาก่อนปี พ.ศ.2500 และมีลุงหลบ เป็นชาวบ้านม่วงงาม(เสียชีวิตแล้ว)เป็นผู้เก็บค่าหัวหลาด ประมาณคนละ 50 สตางค์หรือ 1 บาท  สถานที่จ่ายหลาดเดิมจะอยู่บริวเวณหลังอาคารพาณิชย์ด้านซ้ายมือของถนนนคร-ทุ่งส่ง  ลักษณะการขายของ จะขายของในลักษณะแบกะดิน มีร่องทางเดินเป็นส่วนใหญ่และอาจมีร้านค้าที่เป็นลักษณะสวยที่ทุกคนต้องดำเนินการทำเอง จะเสาสี่เสามุงด้วยสังกะสีไม่มีฝาแบบโปร่ง ของที่ขายนั้นมีเกี่อบทุกชนิด ชาวประชาจะมาจาก บ้านวังก้องลานสกา ลานสกา ร่อนพิบูลย์ ในตัวเมือง หัวสะพานชะเมาปากพนัง บรรทุกของมาโดยใช้เกวียน ถือเป็นหลาดใหญ่ที่ประชาชนมากันทั้วทุกทิศ ของที่ขายนอกจากของจากสถานที่อื่นๆแล้ว ยังมีของประจำถิ่นทุกชนิดผลไม้เช่นเงาะ ทุเรียน มังคุด ลังสาด สะตอ ลูกเนียง ฯลฯ และประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้า เครืองมือเครื่องใช้การดำรงชิวิตทุกประเภท พร้อมสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น นก ไก่ ห่าน ฯลฯ

ในบริเวณดังกล่าวจะมี วิกหนัง  โรงลิเก หรือโนรา ที่เข้ามาเล่นอยู่เป็นประจำอาจจะแสดงอยู่มากกว่า 1 เดือน

ช่วงสมัยก่อนการเดินทางไม่สะดวกการมาหลาดจะต้องเดินด้วยเท้า ขี่ม้า ลากเกวียน แม่ค้าหรือส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องเดินทางมาล่วงหน้าเพื่อมาทำการค้า และในยุคที่ท่านขุนพันธรักราชเดชประจำอยู่ที่นครศรีธรรมราชกับขุนพลคู่ใจหนวดแดง การเดินทางท่านขุนพันธ์ฯ ได้ใช้ม้าในการเดินทางจากหัวถนนเข้าไปกองกำกับที่หลาดแขกฯ ได้มาตั้งกองปราบ(สถานี สภอ.ย่อย) บริเวณตรงข้ามห้างเซนทรัส ในปัจจุบันเดิมมีป้ายคำขวัญของเมืองคอน ณ บริเวณนี้ และคุณสุเมธฯได้เลิกเนืองจากเกิดเพลิงไหม้ ณ หลาดหัวถนน เมื่อ พ.ศ.2513 และมีทาญาติปัจจุบันคือเจ้าของโรงเรียนสหมิตศึกษาทางไปอำเภอหัวไทร10940575_10204768632350002_3111972670308349672_n

ภาพบริเวณสี่แยกหัวถนน เกิดเพลิงไหม้เมือ เวลา 03.00 น.ของวันที่ 20 มิถุนายน 2513 เอื้อเฟื้อภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนจากสารนครศรีธรรมราข

          และต่อมาคุณเกรียงศักดิ์ ตรีวรพันธ์(หมานุ้ย)ได้รับช่วงสัมปทานต่อเมื่อประมาณ พ.ศ.2513 แต่จะใช้สถานที่ริมถนนตรงสี่แยกหัวถนนด้านขวามือ-ของถนนสายนครศรีฯ-ภูเก็ต และได้ถมที่บริเวณดังกล่าวไปทางทิศเหนือ โดยใช้เหนือที่ของตลาดประมาณ ๕0-๑00 ไร่  ตอนแรกเริ่มจะใช้จ่ายหลาดแบบแบกะดินและค่อยๆพัฒนา และตามสภาพในปัจจุบัน และได้หมดสัมปทานเมือประมาณ ๒๕๕๗ และปัจจุบันเป็นกรรมสิทธ์ของวัดศาลามีชัยต่อมาก่อนปี พ.ศ.๒๕00 จึงได้มีการสัมปทานตามหลักของทางการ

                         ถ้ามองย้อนไปสู่เรื่องราวภาพในอดีต ภาพบรรยากาศเก่าๆเมื่อ ๑00 กว่าปีก่อนตาม”เรื่องเล่าของแม่” ที่หลาดหัวหนนศาลามีชัย(ปัจจุบันคือหลาดคาร)เป็นหลาดที่เก่าแก่หลาดหนึ่งของเมืองคอน ก่อเกิดมากว่า ๑00 ปี มาแล้ว ลักษณะการจำจ่ายอาจเป็นเดือนละประมาณ  ๒ ครั้ง /ต่อสัปดาห์ (ก่อนวันพระใน ๑ เดือน )เดิมเมืองคอน

                          ในอดีตประเทศหรือผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศเหล่านี้เช่น ศรีลังกา/พม่า/ไทย(รวมถึงเมืองนครศรีธรรมราช)/ลาว ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการและตามโรงเรียน เพื่อพุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ต่อมาประเทศไทยได้ยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ในประเทศศรีลังกายังถือปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน

                        สำหร้บ เมืองนครศรีธรรมราช ยังมีร้านอยู่ร้านหนึ่งที่ยังคงเหลือที่ถือปฏิบัติอยู่ คือหยุดขายในวันพระ คือร้านป้าณี โภชนา(คุณสุภาพ ทิชินพงศ์) ตั้งอยู่ถนนพานยม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชหยุดทุกวันพระ-copy

                           เรืองเล่าของแม่(คุณโสภา มานะจิตต์)ตอนนั้นท่านอายุประมาณ 8  ขวบ คุณแม่โสภา มานะจิตต์ ได้ติดตามคุณยายคือ คุณยายแอบ ดำเกิงลักษณ์ไปขายของ ณ หลาดหัวถนนศาลามีชัย โดยคุณแม่ โสภา มานะจิตต์ ได้เล่าเรืองราวผ่านคุณขวัญชัย มานะจิตต์ ผู้บุตร คุณแม่โสภา มานะจิตต์ท่านได้เสียชีวิตเมือ พ.ศ.๒๕๖0 อายุท่าน ๙๓ ปี  สำหรับคุณยาย ได้แต่งงานกับคุณตาคือคุณฟื้น ดำเกิงลักษณ์ ทำงานเกี่ยวกับการสำรวจการสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยมีพาหนะในการทำงานจะต้องใช้ช้างจำนวน 2 เชือก 1 เชื่อกใช้โดยสาร อีก 1 เชื่อกใช้ขนสัมภาระในการทำงาน เดิมท่านทั้ง 2 เป็นชาวอำเภอลานสกาได้มาอาศัยอยู่ใน”ตรอกแผ่นผลาย” ปัจจุบันคือซอยชาววัง

                         แม่เล่าว่า”เมื่อตอนเยาว์วัยแม่ได้ไปขายของกับคุณยาย ไปขายที่หลาดหัวถนนศาลามีชัยด้านซ้ายมือของถนนสายร่อนพิบูลย์ ปัจจุบันคือหลังอาคารพานิชของหมานุ้ย  ของที่จะนำไปขายส่วนใหญ่จะเป็นประเภทของกินของใช้บริโภคในครัวเรือน  การเดินทางต้องไปด้วยเกวียนเทียมวัว ต้องลัดเลาะข้าคลองหาจุดที่ตื้นที่สุดเพื่อข้ามยิ่งในช่วงฟดูน้ำหลาก ยิ่งลำบากและต้องหยุด การเดินทางจะต้องใช้เวลาจำนวน ๒ วัน ในการเดินทางไป และเดินทางกลับเป็นเวลา ๒ วัน ขายของที่หลาดหัวถนนศาลามีชัย เนื่องจากสมัยมัยโน้นการเดินทางค่อนข้างลำบาก ต้องเดินทางจากบ้านพักตรอก “แผ่นผลาย”ปัจจุบันคือซอยชาววังหน้าศาลากลาง เดินทางไปตามทางสันทราย โคลนทราย ของหาดทรายแก้ว มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทั่วไป ตลอดทางและเป็นทางขรุขระ คดเคียว มีสิ่งสาราสัตว์หลายชนิด ต้องไปอย่างช้าๆอย่างระมัดระวัง”เพื่อป้องกันมิให้ของเสียหาย

การจัดเตรียมเมือคุณยายต้องไปขายของ

๑.ข้าวสาร  ข้าวสารที่นำไปขายก็เป็นข้าวสารที่ทำนาด้วยครอบครัวของตัวเอง แต่ก่อนเมื่อถึงฤดูทำนาผู้เล่าและพี่ๆน้องๆจะต้องช่วยแม่ในการทำนา เก็บเกี่ยวข้าวด้วย”แกะเก็บข้าว”บางช่วงเวลาไปช่วยทำนาอย่างสนุกสนานในช่วงเดือนสี่ เดือน ห้า  โดยมีการยิงนก ตกปลา เล่นว่าว เก็บต้นข้าวมาทำปี่เป่า แล้วแอบกินต้นข้าวต้นอ่อน บางช่วง   เมือได้ ข้าวมาแล้วต้องช่วยหาบข้าว แบกข้าวมาบ้านและช่วยกัน”นวดข้าว”ด้วยเท้า แล้วมาขวัดด้วยกระดง เพื่อเลือก”แกรบ”ออกไป ถ้าจะสีข้าวมีโรงสีขนาดกลางอยู่จำนวน 2 แห่งคือหลังสตรีจรัญพิชาการ และบริเวณประตูชัยใต้S__6340617

วิถีชีวิต”การนวดข้าวด้วยฝาเท้า”ให้ข้าวเปลือกออกจาก”เลียงข้าว”และเป็นข้าวสารโดยการตำหรือสีข้าว ของชาวปักต์ใต้และชาวเมืองคอนในอดีต ภาพส่งให้โดยคุณแววตา  เชยสุขจิตต์

                       บริเวณที่ทำนาข้าว บริเวณด้านทิศตะวันออกนิยมเรียกว่า” แพงตก” แพงออก”  พแงออกคือ นอกกำแพงตะวันออกถนนศรีธรรมโศกเป็นทุ่งนา ความอุดมสมบูรญ์ของบ้านเราเมื่ออดีต ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีผัก เช่นผักบุ้ง ผักหริ่น ผักขี้ใต้ และผักอื่นๆ ความอุดมสมบูรณ์มีมากเนืองจากในน้ำไม่มีสารเคมี ทุกอย่างจึงสมบูรณ์ ทุกอย่างในการดำรงชีวิตแทบไม่ต้องซื้อถ้ามีความขยั่น  ที่ทำนามีบ้านเรือนจำนวนน้อย ตลอดแนวของถนนศรีธรรมโศก ตั้งแต่ทิศหนือจากวัดมุมป้อม จนถึงโรงเรียนภาษาต่างประเทศในปัจจุบัน

๒.เคย เกลือ ปลาแห้ง หอม กะเทียมและอื่นๆ การซ์อของที่จะนำไปขายจะต้องเดินทางไปซื้อที่ตลาดท่าวัง เชิงสะพานราเมศวร์ หรือตลาดวัดท่ามอญ  เมื่อขายที่ตลาดหัวถนนศาลามีชัยคุณยายก็จะซื้อของจากชาวเหนือ เช่นลานสกา พรหมคีรี ร่อนพิบูลย์  หัวไทร วังวัว ใสมะนา มะม่วงสองต้น และผลไม้ตามฤดูกาล เพื่อนำไปขายที่หลาดโซนท่าวัง/หลาดหัวท่า ในปัจจุบัน โดยหมุนเวียนอยู่แบบนี้และเปิดร้านเล็กขายที่บ้านตรอกแผ่นผลายด้วยIMG_25630629_093813messageImage_159335750044711บ้านปัจจุบันของแม่และบรรยากาศเมือ พ.ศ.2492  ณ ตรอกแผ่นผลายหรือซอยชาววังและรอบวังเจ้าเมืองเมื่ออดีต เมื่อ ๘0 ปีก่อน  ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล

                       ในเรื่องขายพื้นบ้านของของชาว บ้านวังวัว  บ้านในมะนาว ตามตลาดต่างๆมีคำพังเพยว่า”ท่าวังต้องพึ่งวังวัว”  เนื่องจากชาวบ้านวังวัวที่ทำการค้าขายของพื้นบ้านนั้นมีมาแต่อดีตที่สืบทอดต่อกันมา  แต่ก่อนชาววังวัว จะต้องนั้งรถไฟมาตั้งแต่เช้า เพื่อมาขายของในย่านชุมชน มาจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันยังมีให้เห็น ตั้งแต่นั้งขายประจำที่โซนท่าวัง เช่น ใกล้ร้านขนม”วังเด็ก” และมีการหาบแร่ขายตลอดย่ายท่าวังจนถึงวัดพระบรมธาตุIMG_25630629_094734-tileชาววังวัว ชาวใสมะนาว

ถนนร่อนพิบูลย์-นครศรีธรรมราช-horz-copy-700x261

ถนนสายหัวถนน-ร่อนพิบูลย์ ภาพอดีตถ่ายในคราวที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช รัชกาลที่ 6 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช เมือง พ.ศ.2452 ภาพอดีตจากหนังสือรายงานสัมนนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 จากคุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและโดยคุณอาภรณ์ (พี่เป้า) ไชยสุวรรณ,คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2557

หัวถนน2506-horz-copy-700x240

สี่แยกหัวถนน พิธีต้อนรับผู้ว่าการจังหวัดนครศรีธรรมราช สันต์ เอกมหาชัย เมือ 1 กันยายน 2506 ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2559P1060059-tileP1060069-tileP1060080-tileP1060086-tileP1060093-tilepageP1060146-tileP1060129-tile

๒๑.” ตลาด”หลาดเสาร์-อาทิตย์ถนนพัฒนาการคูขวาง”

ก่อนจะมาเป็นหลาด เสาร์-อาทิตย์ ถนนพัฒนาการคูขวาง

Picture-25445091-700x443-copypขุดถนนพัฒนาการคูขวาง-copy

วันพัฒนาเมืองชาวบ้าน ลูกเสือ ข้าราชการพลเรือง ทหาร ชาวโรงเรียนพรสว้สดิ์วิทยา รวมพลที่สนามหน้าเมืองและเดินทางไปขุดถนนพัฒนาการคูขวาง  นำทีมโดยท่านขุนพันธ์รักษราชเดชและข้าราชการทหาร นายนกเทศมนตรี สมัย นายไสว สว้สดิสาร เมื่อ พ.ศ.2504-2505 ภาพจากภาพประกอบหนังสือ”บอกที่”หมวดการโยธาของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช(สุขุมนัยวินิต)โดยอาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตรและภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์

Copy-of-Picture-1027-vert-copy21-tile

สี่แยกคูขวางเมืออดีต ถ่ายเมือ พ.ศ.2513 ภาพอดีตจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ค.2557

โอเชียล2506-tile-700x221

วันพัฒนาที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันพัฒนาเมืองของเมืองคอนในอดีต เพื่อพัฒนาเมืองไปขุดถนนพัฒนาการคูขวาง ในภาพ ณ วันนั้นมีคุณธนู ตันติศักดิ์/คุณครูน้อม อุปรมัย อดีตส.ส.นครศรีธรรมราชและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ/ ภาพอดีตจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ถ่ายเมือวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2506 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2559หน้าโอเชียลพัฒนาการ2506-tile-copy-700x245

วันพัฒนาที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันพัฒนาเมืองของเมืองคอนในอดีต เพื่อพัฒนาเมืองไปขุดถนนพัฒนาการคูขวาง มีคุณรัติญา ตันติศักดิ์ ภาพอดีตจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ถ่ายเมือวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2506 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม 2559

                               ความเป็นมาของตลาดเสาร์-อาทิยย์ ถนนพัฒนาการคูขวาง เนืองจากเดิมตลาดที่มีการจ่ายในตัวเมืองของเมืองคอนนั้น ได้มีการจ่ายที่สนามหน้าเมือง  จนถึงปี พ.ศ.2535 ทางเทศบาลต้องการที่จะใช้สนามเพื่อประโยชน์อย่างอื่นจึงได้ย้ายการจำจ่ายใช้สอยปกติที่สนามหน้าเมือง ให้ไปจ่ายบริเวณถนนพัฒนาการคูขวางตรงสุดทางถนนพะเนียดตรงสามแยกซ้าย-ขวาใกล้บริเวณร้านขายเครืองยนต์และอุปกรณ์เครืองยนต์ร้านปรีชาอะไหล่ และ ณ หลาดได้จ่ายมาถึงปัจจุบัน

IMG_0009-tileIMG20160312091357-tileIMG20180805083356-tilepagepage1P1050810-tileP1050826-tileP1050798-tile

๒๒.ตลาด หลาดPX(พีเอ็กซ์)ค่ายวชิราวุธ

                                 ขอบเขตของหลาดพีเอกซ์ค่ายวชิราวุธ ซึงเป็นหลาดสวัสดิการของชุมชนค่ายวชิราวุธ อยู้บริเวณหน้ากองทัพภาคที่ 4 เดิมเป็นโรงภาพยนต์ของ กองร้อยบริการ มณฑลทหารบกที่ 5 ปัจจุบันคือมณฑลทหการบกที่ 41 ค่ายวชิราวุธ มีการจับจ่ายในทุกๆ”วันจันทร์ วันพุธ วันเสาร์” ตั้งแต่ช่วงบายจนถึงหกโมงเย็น  ในช่วงแรกของการตั้งหลาดสวัสดิ์การ โดยให้ผู้ที่มีความประสงค์จะขายของในตลาดมีการจับฉลากเพื่อเลือกที่ตำแหน่งนั้งขายของ เป็นตลาดที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีโรงของหลาดที่ปลอดโปร่งมีความสะอาด มีสินค้าทุกประเภท  ทั้งของใช้ในชีวิตประจำวัน ของกินของใช้ อาหารหวาน อาหารคาว 

                                       ประวัติของตลาด หลาดพีเอกซ์  ผู้จัดการของตลาดหรือหลาด Px คนแรก คือ พอ.สมหวัง คงมั่น เดิมมีการเปิดห้าPx ของกองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธขึ้นมาก่อนและมีการจับจ่ายของกิน ของใช้ในครัวเรือน เมือ พ.ศ.2541  และต่อมามีการเปิดตลาด หลาดพีเอกซ์ขึ้นมาเนืองจาก สมาชิกของวริเวณค่ายวชิราวุธและใกล้เคียงมีความต้องการมากขึ้น  จึงได้เปิดตลาดเป็นทางการเมือ พ.ศ.2542 ซึ่งได้จ่ายเป็นตลาดถาวรมาถึงปัจจุบัน(ข้อมูลจาก รต.สวัสดิ์ คุณนวลศรี ดิษฐ์อำไพ)

IMG_25630625_093947

ร้านของคุณนวลศรี ดิษฐ์อำไพอีกร้านหนึ่งที่ขาย ณ หลาดพีเอกซ์ ที่ขายหมูสวรรค์ แหนมและใส้กรอกที่มีชื่อมาตั้งแต่เปิดหลาดพีเอกซ์ ซึ่งการันตีจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

P1020605-tile-copyP1020610-tile-copy-700x263P1020619-tile-copy-700x525 (1)

ข้อความ ความคิดของผู้เขียน   หากท่านที่มีข้อมูลช่วยกรุณาท้วงติงและเสนอแนะต่อผู้เขียนด้วยครับ

จากหลักฐาน ข้อมูลต่างๆที่พบ จะพบว่าเกี่ยวโยงกับจุดเริ่มต้นจากพระศาสนาเป็นหลัก ในการจัดทำแผ่นที่กัลปนา(ให้เป็นทานศาสนา)จะเป็นการแบ่งเขตการทะนุบำรุงพระศาสนา ที่มาที่ไปของปัจจัยในการบำรุงพระศาสนา ต่อมาผลพลอยได้อย่างอื่นประกอบต่อมาเช่น ความเป็นอยู่ของทวยราช ทั้งประเพณีวัฒนธรรม การคมนาคม สภาพทั่วไปของพื้นที่ฯลฯ จากเหตุผลดังกล่าวหลักญฐานทางประวัติศาตรชี้นแรกๆมาจากพระศานาเป็นหลัก

จากเดิมพื้นที่ของเมืองสยาม ติดต่อกับทะเล มีแม่น้ำมากมายในพื้นที่  ทำให้มีความสะดวกในการเดินทาง-สรรจรในทางน้ำเพื่อติดต่อกันในการเชื่อมสัมพันธทั้งทางด้านการค้า ทางด้านความเป็นอยู่ฯลฯ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ชุมทางของแม่น้ำจึงเป็นที่รวมของชุมชน ที่รวมเป็นที่ตั้งของตลาดหรือหลาดของเมืองคอน

ตามกัลปนา ตลาดหรือหลาดที่มีอายุราว 300-500 ปีจนถึงปัจจุบันจึงอยู่ที่บริเวณริมน้ำ เรืองจุดรวมของแม่น้ำหลายสาย ตามกัลปนา ที่จัดทำขึ้นในพระเจ้าทรงธรรม ช่วง พ.ศ.2150 ของเมืองคอนพอสรุปได้คือ

1.ตลาดสบ หลาดสบหรือวัดท้าวโคตร

2.ตลาดท่ามอญหรือหลาดท่ามอญ(ศรีทวี)

3.ตลาด หลาดท่าช้างหรือหลาดแขก

4.คลาดท่าชีย์หรือหลาดท่าชีย์

5.ตลาดท่าม้าหรือหลาดท่าม้า

                                                                          6.กรณีของตลาดท่าแพหรือหลาดท่าแพ ซึ่งเป็นหลาดที่สำคัญ ที่รวมของแม่น้ำ และออกอ่าวปากพญา แม้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามาคลองท่าแพ เพราะคลองท่าแพเป็นแม่น้ำใหญ่ที่สำคัญ ในการจัดทำแผนที่กัลปนา ผู้จัดทำได้เข้ามาทางแม่น้ำปากนคร ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญคู่กันกับแม่น้ำท่่าแพ ทั้งสองเป็นแม่น้ำที่สำคัญของเมืองคอนตั้งแต่โบราณมา

                                                                        7.ตลาดหัวท่าหรือหลาดหัวท่า เป็นหลาดอีกแห่งหนึ่งที่อยู่คู่มากับเมืองคอน เป็นที่รวมของแม่น้ำ 5 สาย เป็นที่จอดเรือของผู้คนที่มานมัสการพระบรมธาตุ ในกิจกรรมต่างที่เกี่ยวโยงกับพระบรมธาตุ เช่นแห่ผ้าขึ้นธาตุ วิสาขบูชา มาฆบูชา จึงเป็นแหล่งหลาดที่สำคัญอีกที่หนึ่งและสลายไปตามกาลเลาเมือการสรรจรเปลี่ยนจากทางน้ำเป็นทางบก

สารนครศรีธรมราชได้เคยสำรวจตลาดนัด หรือหลาดนัดในนครศรีธรรมราช  ในปี พ .ศ.2538  มีจำนวน 176 สถานที่ (ปัจจุบันน่าจะมีมากกว่านี้) ซึ่งนัดจ่ายใน 1 สัปดาห์โดยกำหนดเอาวันดังกล่าวดังนี้

1.หลาดนัดจ่ายวันอาทิตย์ มีจำนวน  31 สถานที่

2.หลาดนัดที่จ่ายวันจันทร์  จำนวน 32 สถานที่

3. หลาดนัดที่จ่ายวันอังคาร  จำนวน 29 สถานที่

4. หลาดนัดที่จ่ายวันพุธ  จำนวน 29 สถานที่

5.หลาดนัดที่จ่ายวันพฤหัส  จำนวน 30 สถานที่

6. หลาดนัดที่จ่ายวันศุกร์  จำนวน 27 สถานที่

7.หลาดนัดที่จ่ายวันเสาร์  จำนวน 39 สถนที่

                               ขอขอบคุณ

พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร

คุณสุรเชษฐ์  แก้วสกุล 

คุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน

คุณมณีรัตน์- คุณวีรภัทธ  สุวรรณภูมิ

ชิตรำลึก ชิต ณ นคร อนุสรณ์งานฌาปนกิจ นางชิต ณ นคร 27 มกราคม 2548

อนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายนะมา โสภาพงศ์ 2 สิงหาคม 2551

คุณประวัติ ภิรมกาญจน์ ผู้ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ในเมือง และท่านได้เสียชีวิตแล้ว

ตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯ ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ นายพงษ์ศรี ภูมะธน

แกะคอลแลคชั่น พิมพ์เป็นบรรณาการ ในงานบำเพ็ญกุศลศพและบรรจุศพ นายแกะ ธรรมสุนทร

บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพนางเจือ สุมนสุขภาร

คุณอำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณสายันต์ ยรรยงนิเวศน์/อาจารย์สมชาย เปลี่ยวจิตร วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช 

คุณป้ายุพา บวรรัตนารักษ์/คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช

คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ/ คุณสถาพร พฤกษศรี

คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร ร้านหนังสือเก่าหลาด เสาร์-อาทิตย์ถนนพัฒนาการคูขวาง

สารนครศรีธรรมราช

คุณพร้อม คุณวนิดา(เล็ก) ไชยพหล/คุณขวัญชัย มานะจิตต์

คุณไพรัช วุ่นศิลป ผช.ปัญญา บัวจันทร์

คุณสง่า จันทมาส ร้านน้ำชาหน้าวัดมุมป้อง

คุณกานดา  สุวรรณทิพย์ ขายข้าวแกงในวัดวังตะวันตก

คุณกวินวัชร์ สินวราเวโรจน์/คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณปุณิกา พันธรังษี

ร.ต.สวัสิด์ คุณนวลศรี ดิษฐ์อำไพ

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>