ภาพแปะฟ้า”เมืองคอนช่วงสี่แยกท่าวัง(ปัจจุบัน)ถึงคลองท่าวัง(ในอดีต)”
ธ.ค. 10
ภาพจากสารนครศรีธรรมราชและอาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ(การเดินทางผ่านอ่าวไทยสมัยโบราณโดยเรือสำเภา,และเมืองลิกอร์ในอดีตที่วาดโดยชาวอิตาลี)
ภาพเรือสำเภา สมอเรือโบราณขนาดใหญ่พบในอ่าวปากนครยาว 4 เมตรเศษกว้าง 2เมตร ณ.พิพิธภัณสถานแห่งชาติเมืองคอน ภาพโดยอาจาร์ยนะมา โสภาพงค์และสารนครศรีธรรมราช
ภาพแปะเมืองคอนช่วงสี่แยกท่าวัง-คลองท่าวัง เป็นช่วงหนึ่งที่มีความสำคัญมากมาตั้งแต่อดีต เป็นจุดเชื่อมการติดต่อระหว่างโลกตะวันตก-ตะวันออกที่ชนชาติฝรั่งเข้ามาติดต่ออีกจุดหนึ่งและ ร.5 ในหนังสือพระราชพิธี 12 เดือน ทรงพระราชวินิจฉัยไว้ว่า แต่ก่อนเมืองนครศรีธรรมราช( เมืองคอน)เป็นเมืองใหญ่ข้างฝ่ายใต้ เรือลูกค้าไปมาค้าขายอยู่ทั้งสองฝั่ทะเล ฝั่งนี้(ฝั่งตะวันออก) จึงขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ (จากหนังสือรวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เจ้าพระยาบดิเนเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร เมือ 27 กพ.2505)แสดงว่าจะต้องเป็นเมืองท่าใหญ่ที่ชาวตะวันตก-ออกจะต้องแวะที่เมืองคอน โดยเข้ามาทางอ่าวปากนครและเข้ามาที่ท่าเรือ”ท่าวัง” ของเมืองคอน ช่วงดังกล่าวผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานและทิ้งไว้แต่ความทรงจำ-ร่องรอยอดีตให้อนุชนรุ่นหลังระลึกถึง ซึ่งจุดนี้แต่ก่อนนี้เป็นท่าจอดเรือของนานาประเทศที่เข้ามาติดต่อ ถ้าหากใครที่เข้ามาติดต่อกับเมืองคอนหรือย่านนี้ ต้องนำเรือสำเภาขนาดใหญ่เข้า-ออกอ่าวปากนครเข้ามาเทียบท่าถึงตัวเมือง “ท่าเรือท่าวัง“เมื่อหลายร้อยปีก่อนปรากฏชื่อในแผ่นที่การเดินเรือว่าเป็นท่าเรือที่สำคัญของโลกท่าหนึ่ง(จากประวัติความเป็นมาของวัดท่าโพธิ์วรวิหาร โดยครูน้อม อุปรมัย)นอกจากท่าเรือปากพนัง,ท่าเรือท่าเรือ,ท่าเรือท่าแพ,ท่าเรือท่าสูงและเมืองท่าเขาวัง(ปัจจุบันอยู่ในต.ขุนทะเล อ.ลานสกา(เมื่อ พ.ศ.800 จากหนังสือน้อมรำลึก อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย ป.ม.)
จากความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองคอนทั้งทางด้านความเป็นอยู่,ขนบธรรมเนียมและโบราณสถานและโบราณวัตถุ แม้นผ่านกาลเวลามาเป็นเวลาอันยาวนานและผ่านมรสุมอย่างมากมาย แต่”เมืองคอน”ยังคงเอกลักษณ์ความเป็น”เมืองคอน”จนถึงปัจจุบัน และยังทิ้งร่องรอย-และการเปลี่ยนแปลงไว้มาแต่อดีต
ภาพอดีตน้ำท่วมบริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ.จำกัดถ่ายเมือ พ.ศ.2518 ภาพอดีตจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีตศาลเจ้ากวนอูภาพจากคณะกรรมการศาลเจ้ากวนอู ปี 2550-2552 คุณชวลิต อังวิทยาธร ถ่ายเมือ พ.ศ.2473 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมย.2554 ประวัติ ศาลเจ้ากวนอู เริ่มการก่อตั้งประมาณปี พ.ศ.2430 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นปีที่ 13 ในรัชสมัยจักรพรรดิกวางซีฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง (ข้อมูลจากเวปมังกรเมืองคอน)
ภาพอดีตเมืองคอน<<ภาพอดีตคืออาคารพาณิชย์ อยู่ย่านอาคารเก่าถนนราชดำเนินนครศรีธรรมราช>> ภาพอดีตจากร้านออดี๊ของเก่าทวดทองข้อมูลภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง
ภาพอดีตบริเวณหน้าศาลเจ้าในคราวรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2502 ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีตบริเวณถนนราชดำเนิน-ในหลวงเสด็จเมืองคอน เมือ พ.ศ.2502 ภาพจากหนังสือเสด็จเมืองนคร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีตน้ำท่วมเมืองคอนบริเวณข้างวัดจันทาราม เมื่อ พ.ศ.2518 ภาพอดีตจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีตขบวนแห่กฐินพระราชทานของศาลจังหวัดทอด ณ.วัดท่าโพธิ์วรวิหาร ภาพอดีตจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ถ่ายเมือ ตต.2506
ภาพอดีตขบวนพาเหรดบริเวณข้างวัดจันทาราม ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมย.2554
ภาพอดีตน้ำท่วมเมืองคอนบริเวณหน้าวัดจันทาราม ถ่ายเมือ 5 ธค.2494 ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีตน้ำท่วมเมืองคอน บริเวณบริษัทจังหวัด ภาพอดีตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2518 ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีตเมืองคอน<<ภาพอดีตคื
ภาพอดีตขบวนแห่กฐินพระราชทานทอด ณ.วัดท่าโพธิ์วรวิหารของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชบริเวณสะพานราเมศวร์ เมื่อ ตค.2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2554
ประวัติ สะพานราเมศวร์(ปัจจุบัน)แต่เดิมขุนนางชื่อ”หลวงระงับประจันตคาม สร้าง”ตะพาน”ข้ามคลองน้ำพระยา(คลองท่าวัง)เมื่อ ร.ศ.116 โดยใช้เสาไม้เคี่ยม 34 ต้นโดยใช้ชื่อว่า”ตะพานอำเภอเมือง” และเมือมาถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคล ฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษใต้ “ตะพานอำเภอเมือง”เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า”สะพานราเมศวร์”และเป็นคอนกรีตเพื่อข้ามคลองท่าวัง สร้าง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕
ภาพอดีตบริเวณสามแยกหน้าด่านศุลกากร(ก่อนถึงโรงแรมทักษิณ)ถ่ายเมื่อ ตค.2506 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ 21 ตค.2554
ภาพอดีตขบวนพาเหรดบริเวณสะพานราเมศวร์ ภาพอดีตจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พค.2554
ภาพปัจจุบันอาคารต่างๆ เป็นร่องรอยอดีต ถ่ายเมือ 25 ตค.2554
ร่องรอยอดีต ภาพอาคารพาณิชย์บริเวณคลองท่าวังในอดีต ถ่ายเมือ เมย.2554
ภาพอดีต คลองท่าวัง ที่เคยยิ่งใหญ่มีเรือสำเภาขนาดใหญ่ของชาวยุโรป ชาวจีน ชาวอินเดีย ปัจจุบันคงเหลือแต่ร่องรอยอดีต ภาพอดีตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2446 (ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์,อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์)และ1 มีค.2516 คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ภาพจากสำนักศิลปากรที่ 14(8) เมืองคอน,สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมย.2554
ภาพอดีตวิถีชีวิต“ชาวเมืองคอน” ยานพาหนะโดยใช้เรือติดต่อกันผ่านคลองท่าวังไปยังสถานที่ต่างๆ ภาพโดยคุณศุภชัย แซ่ปุง,ภาพอดีตถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2505
ภาพอดีตภาพสะพานราเมศวร์ ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 21 ตค.2554
- ประวัติของท่าวัง
ประวัิติของท่าวังที่ได้ชื่อว่า”ท่าวัง” เนื่องจากเดิมทีที่บริเวณแห่งนี้เป็นวังของ”เจ้าหญิงปรางหรือหม่อมปราง” เนื่องจากบริเวณหน้าวังของหม่อมปรางเป็นท่าเรือ มีเรือสำเภาในและต่างประเทศมาจอดเรียงรายนับแต่ท่าหน้าวังของอุปราชพัด(ยศขณะนั่น)ที่วัดท่าโพธิ์มาจนถึงท่าหน้าวังของหม่อมปราง”ซึ่งปัจจุบันคือช่วงสะพานราเมศวร์”จึงได้ชื่อบริเวณนี้่ว่า “ท่าวัง” สาเหตุที่ได้สร้างวังใหม่ขึ้น เนืองจาก”เจ้านครพัฒน์”หรือเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีโศกราชวงศ์”มหาอุปราชแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งหนึ่งได้ไปราชการสงครามบังเอิญชายาคือเจ้าหญิงนวล ได้สิ้นชีพลง สมเด็จพระเจ้าตากสินได้พระราชทาน”เจ้าหญิงปรางค์หรือหม่อมปราง”มาให้เป็นชายาแต่หม่อมปรางมีครรภ์กัีบสมเด็จพระเจ้าตากสินมาแล้่ว 2 เดือน เจ้านครพัฒน์รับพระราชทานไปแต่ไม่ถือเป็นชายา โดยยกให้เป็น“แม่วัง”หรือ”แม่นางเมือง”ครั่นจะให้อยู่ในวังเดียวกันคือ”วังเจ้านครพัฒน์”ที่เป็นวัดท่าโพธิ์ปัจจุบันก็เกรงปากโลกจะนินทา จึงมาสร้างวังใหม่ขึ้น ที่วัดวังตะวันออกปัจจุบัน และช่วงหลังหม่อมปรางและเจ้านครพัฒน์ได้สร้างอุทยานหลวงที่ บ้าน”ตากแดด” คือบริเวณที่เป็นวัดวังตะวันตกปัจจุบันเมื่อประมาณ พ.ศ.2345 ซึ่งเดิมเป็นป้าช้าสำหรับที่“ค้างศพ”เดิมชาวเมืองคอนเมื่อมีคนตาย แล้วลำเลียงศพจากในเมืองทางประตูผีด้านทิศตะวันตก นำมาทางคลองท้ายวัง-คลองทา(ตลาดผีหีบปัจจุบัน)จะใช้วิธีการค้างศพไว้บนยอดไม้สูงเพื่อป้องกัน สิง สา รา สัตว์ แทะศพ ประเพณีค้างศพนี้นิยมมาแต่โบราณและมาเลิกใช้ตอนกลางสมัยอยุธยา ประมาณ พ.ศ.2163 แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกบริเวณนี่ว่า”วังตะวันตก” (บริเวณนี้ มีวังถึง 3 วังของเมืองคอนในอดีต (จากหนังสือ” น้อมรำลึก อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายน้อม อุปรมัย 17 กันยายน 2526, “ภัทรานุสรณ์”จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในโอกาสบำเพ็ญกุศลศพ นางภัทรา อุปรมัย โดยครูน้อม อุปรมัย)และต่อมาได้สร้างเป็นวัด”วัดวังตะวันตก,วัดวังตะวันออก เมื่อประมาณ พ.ศ.2380 หลังจาก”หม่อมปราง”สิ้นชีพตักษัย - ต้องขอขอบคุณ คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและข้อมูลภาพ
- จากบทความของคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ศิลปากรที่ 8 ในอดีต ในหนังสือสารนครศรีธรรมราช(1 มีค.2516)ได้ระบุว่า ประมาณ 70 ปีก่อน ( ปัจจุบัน 70+38 เท่ากับ 108 ปี)มีการเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองคอนถึง ท่าวังดังนี้
ผลงานดีดีน่าเผยแพร่อีกแล้วน่ะครับ
ขอบคุณที่นำมาลงเผยแพร่ผ่านสื่อให้ใครๆได้รับชมและศึกษาหาข้อมูลครับ
คุณNakhonkup999
ต้องขอโทษด้วยที่เข้ามาช้า ขอขอบคุณครับ พอดีเครื่องคอมฯมีปัญหา ตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยจะสมบูรณ์สักเท่าไหร่
ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ
มล.พัน 20 ธค.2554
เป็นภาพภ่ายที่มีคุณค่ามากๆเลยครับ มันทำให้เรารู้เรื่องราวในอดีตของบ้านเรา ที่นับวันคนจะหลงลืมกันไป ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลดีๆ
คุณหยอย
ขอบคุณครับที่เข้าเยี่ยมชม ผมเพียงแต่หวังไว้ว่า"คนเมืองคอน"จะระลึกถึงความเป็นเมืองคอนในอดีต ระลึกถึงความเป็นมาของตัวเองบ้างครับ
ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
มล.พัน 24 ธค.2554
ภาพที่ทางคุณค่าจริงๆครับ ทำให้นึกถึงอดีตบางส่วนที่เคยพบเจอ เช่น นั่งเรือหางยาวแบบให้เครื่องยนต์เหมือนในรูป
คุณธนาวุฒิ
ขอบคุณครับที่แวะชมครับ
มล.พัน 28 ธค.2554
ขอบคุณทีข้อมูลดีๆ เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษา ตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในพื้นที่ชุมชนท่าโพธิ์-ท่าวังอยู่ค่ะ ถ้าไม่เป็นการรบกวนช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ
คุณanita
ขอบคุณครับที่ เมืองคอน.com เป็นส่วนนิดหนึ่งครับ -คุณลองเข้าไปที่วัดจันทารามนะครับจะมีเรืองเกี่ยกับสถาปัตฯค่อนข้างสวยมาครับ อย่าช้า เพราะกุฏิแต่ละหลังเก่ามากแล้ว คุณลองเข้าไปที่นี่ดูก่อน เขาชอบเรืองนี้และกำลังค้นคว้าอยู่ครับ/www.facebook.com/photo.php?fbid=389363484497936&set=np.78405866.1063420983&type=1&theater¬if_t=photo_tag
คุณanita
อีกอย่างหนึ่งผมพอจะรู้จักผู้รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะแนะนำให้รู้จักและปรึกษา ไม่ทราบจะติดต่อคุณอย่างไรครับ
ขอบคุณมากเลยค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ยังไม่แน่ใจว่าจะได้กลับไปนครเมื่อไหร่ ถ้าช่องทางที่จะติดต่อที่สะดวกก็น่าจะเป็น e-mail และโทรศัพท์ค่ะ และคาดว่าจะกลับไปเก็บข้อมูลที่นครก่อนสิ้นเดือนสิงหานี้ค่ะ รบกวนขอ e-mail ของคุณ kamol เพื่อติดต่อเรื่องข้อมูล และผู้มีความรู้เรื่องนี้
e-mail [email protected]
ขอบคุณค่ะ
คุณanita ถ้าอย่างไร ผมจะไปถามเขาก่อน แต่สิ่งหนึ่ง ขอบเขตหรือหัวข้อที่คุณจะทำเป็นอย่างไร ถ้ากำหนดแล้วช่วยส่งมาได้ไม่ ผมจะเอาไปให้เขาดูครับ
[email protected]
ขอโทษด้วยค่ะที่ตอบล่าช้า เมื่อสักครู่ได้ส่งอีเมลไปแล้วนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ขออนญาตนำไปเขียนบล๊อกนะครับ
รักมากเมืองคอนถิ่นกำเนิด