ภาพแปะฟ้า”เมืองคอน”ช่วงท่าโพธิ์-สวนราชฤดี”(สวนหลวง รัชกาลที่ 5 ในอดีต)
เม.ย. 04
ศาลาหลวงพ่อโพธิ์(วัดท่าโพธิ์เก่า)ในอดีต-ปัจจุบัน บริเวณ โรงเรียนวัดท่าโพธิ์และต้นโพธิ์(โพธิ์ล้อม) ภาพอดีตจากหนังสือพระกฐินพระราชทานวัดท่าโพธิ์โดยคณะพุทธบริษัท 21 ตค.2522
ผู้เขียนนั้งคิดเล่นๆว่า เมื่่อมีเรื่อของชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายที่ท่าเรื่อท่าโพธิ์(ท่าวัง)ในอดีตถึงบริเวณนี้ แล้วมีคำถามว่า “ตลิ่งของทั้งสองฝั่ง”อยู่ตรงบริเวณไหนล๊ะ?
ผู้เขียนมีข้อสันนิษฐานถึงความกว้างของแม่น้ำ โดยธรรมชาติโดยเฉพาะ”ชาวเมืองคอน”จะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ ริมท่าน้ำ สถานที่สำคัญต่างๆย่อมอยู่ใกล้แม่น้ำ(ริมตลิ่ง) ผู้เขียนได้เข้าไปในวัดชะเมา มีศาลาพระพุทธรูปเก่าองค์หนึ่งที่ผิดแผกไปจากอาคารอื่นในวัด คือศาลาพระพุทธรูปชาวบ้านเรียกว่าพระสูงหันไปทางทิศตะวันออกและพระสูงก็หันพระพักตร์ไปทางทิิศตะวันออก ข้อสันนิษฐานก็คือ ริมตลิ่งหรือท่าน้ำจะอยู่บริเวณนี้ ถ้าดูประวัติท่าโพธิ์เดิมตั้งอยู่ ณ.บริเวณโรงเรียนวัดท่าโพธิ์(ปัจจุบัน)และมีโบสถ์และพระพุทธรูป(หลวงพ่อโพธิ์)หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เท่ากับว่าสถานที่ทั้ง 2 จุดนี้จะต้องเชื่อมโยงกัน คือศาลาพระสูง-ศาลาหลวงพ่อโพธิ์จะต้องอยู่กันคนละฝั่งตลิ่งของแม่น้ำ ซึ่งจะมีความกว้างโดยประมาณ 700-800 เมตร
ถ้าข้อสันนิษฐานของผู้เขียนถูกต้อง(ไม่ใช่หลักวิชาการ)คงเป็นท่าเรือใหญ่ ที่มีเรือสำเภาขนาดใหญ่เข้ามาติดต่อค้าขาย และเป็นท่าเรือที่สำคัญของโลกในอดีต(ประวัติความเป็นมาของวัดท่าโพธิ์ โดยครูน้อม อุปรมัย)
ผู้เขียนได้อ่านบทความทางวิชาการเรือง”พระมหากษัตริย์กับวัดพระมหาธาตุฯและนครศรีธรรมราช เขียนโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์” โดยท่านได้เขียนบทความไว้ว่า”สมัยก่อนคลองท่าวังกว้างและลึกมากเรือกำปั่นฝรั่งเศสเข้ามาจอดถึงวัดท่าโพธิ์ ใกล้วัดประดู่ วัดแจ้่ง นิวาสสถานเดิมเจ้าพระยานครสมัยกรุงธนบุรีเป็นวัดฯลฯและท่านเชื่อว่าเดิมวัดประดู่ วัดแจ้งเป็นที่ตั้งคลังสินค้าของฝรั่งแห่งหนึ่ง(จากหนังสือที่ระลึกสักการะพระสุธรรมมาธิบดี 28 เมย.2533 หน้า60)
ศาลาหลวงพ่อสูงบริเวณริมกำแพงวัดชะเมาด้านตะวันออก(ปัจจุบันได้ถูกรื้อทิ้งแล้ว)ถ่ายเมื่อ ตุลาคม พ.ศ.2553
ภาพอดีตท่าเรือ-เรือสำเภา ที่เมืองท่าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(เจ้าน้อย) น่าจะเป็นบริเวณท่าเรือท่าวัง(บริเวณหน้าวังของเจ้าจอมปราง)ภาพจากหนังสือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(เจ้าน้อย)ผู้สำเร็จราชการ จอมท้พตะวันตกแห่งแดนใต้ ประเทศไทย” ศรีธรรมาโศกราชองค์ที่ 5″ (ช่วง พ.ศ.2354)
- ประวัติวัดท่าโพธิ์วรวิหาร
- ประวัิติวัดท่าโพธิ์เก่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2027 ตรงกับรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ และโดนเผ่าจากพวกโจรสลัด เมื่อ พ.ศ.2181 และหน้าวัดท่าโพธิ์เก่านั้นมีสัญญาลักษณ์ของความเป็นท่าโพธิ์อยู่อย่างหนึ่ง คือ “ต้นโพธิ์พันธุ์พื้นเมือง(โพธิ์ล้อม)” ซึ่งชาวพุทธได้ปลูกไว้ตั้งแต่สมัยศรีวิชัยหลายร้อยปีมาแล้ว ลำต้นสูงใหญ่ขนาด 3 คนโอบและคนต้นเป็นโพลงคนลอดเข้าได้ พวกโจรสลัดจึงเอาไฟครอกพร้อมเผาวัดท่าโพธิ์เก่า จนต้นโพธิ์ล้มตายและคงเหลือแต่”ตอ”อีกหลายร้อยปี(จากหนังสือพระกฐินพระราชทานวัดท่าโพธิ์ 21 ตค.2522)
- เมื่อเจ้าพระยานครพัดเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจึงสร้างวัดท่าโพธิ์ขึ้นใหม่ พ.ศ.2327 ห่างจากวัดเดิมไปทางเหนือประมาณ ๔๐ เมตร และได้สร้างรั้วเป็นรูปพัด ปลูกต้นโพธิ์ไว้ริมคลองท่าวังเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวัด วัดท่าโพธิ์เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดสมัยพระรัตนธัชมุนี(ม่วง)เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๗๗ ได้รับการยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวงชั้นวรวิหาร สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.๒๔๖๐
ภาพอดีตขบวนแห่นาครอบอุโบสถ์ก่อนจะทำพิธีบรรพชา-อุปสมบท บริเวณอุโบสถ์วัดท่าโพธิ์(ใหม่) ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2555
ภาพอดีต อุโบสถ์วัดท่าโพธิ์ ถ่ายเมื่อช่วงบูรณะ เมื่อ พ.ศ.2518 จากหนังสือประวัติวัดท่าโพธิ์พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณพระราชไพศาลมุนี(ย้อย มาสาลเถระ) 27 เมย.2520 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2555
ภายในอุโบสถ์ของวัดท่าโพธิ์วรวิหาร เป็นที่เก็บอัฐิของเจ้าพระยานครพัฒน์ อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
- อดีตบริเวณที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศนครศรีธรรมราช(น.ศ.1)
ภาพอดีตคือที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ (น.ศ.1)โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งโดยพระรัตนธัชมุนี(เจ้าคุณม่วง)อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ.2441 ภาพอดีตถ่ายเมื่อ พ.ศ.2472 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีค.2555จากหนังสือที่ระลึกในการที่คณะศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 พย.2526
ภาพอดีตคณะครูและท่านม่วง(ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี)และคุณครูมี จันทร์เมือง ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2472 ,คุณครูโอบ ปักปิ่นเพชร และคณะแสดงละครรีวิว ถ่ายรูปหน้า ณ.อาคารเบญจมราชูทิศที่วัดท่าโพธิ์ ภาพจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายโอบ ปักปิ่นเพชร 28 เมษายน 2539( 99 ปี ชีวิตครูโอบ ปักปิ่นเพชร)
ภาพอดีตคุณพงษ์สิทธิ์ ภูมะธน พร้อมคณะลูกเสือสมุทธเสนา ถ่าย ณ อาคารเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ วัดท่าโพธิ เมือพ.ศ.2481 ภาพจากหนังสือตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯ ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ นายพงษ์ศรี ภูมะธน เมื่อ 3 มิย.2551
ภาพอดีตคณะจัสแบนด์ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ถ่าย ณ อาคารเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ เมื่อ พ.ศ.2481 ภาพจากหนังสือตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของนายพงษ์ศรี ภูมะธน 3 มิย.2551(หนังสือจากคุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร)
ซุ้มวัดท่าโพธิ์(ใหม่)บริเวณทางทิศใต้
ศาลเจ้ามำโจ๊ว อำเภอเมือง ภาพอดีตจากคุณชวลิต อังวิทยาธร(ถ่ายโดยอาจารย์อนิรุทธ์ พันธุ์พิทย์แพทย์ ผู้แต่งเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชและหนังสือ”สวัสดี ! ศรีธรรมราช”)เมื่อ พ.ศ.2494) ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ กพ.2555
ภาพอดีตภาพงานบวชนาคของอาจารย์อนิรุทธ์ พันธุ์ทิพย์แพทย์นั้งรถม้า ผู้แต่งเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชและบทความเชิงวิชาการที่สำคัญคือ “สวัสดีศรีธรรมราช” ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2492 -บริเวณสี่แยกตลาดเย็น ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราช ปี่ที่ 32 ฉบับที่ 2 กพ.2545 ภาพปัจจุบันถ่าย เมื่อ กพ.2555
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณ”ตลาดท่าตีน”ปัจจุบันคืนตลาดเย็นข้างวัดใหญ่ชัยมงคล ขบวนพาเหรดการแข่งขันก๊ฬาภายในของโรงเรียนทักษิณวิทยา เปิดสอนที่ศาลเจ้ากวนอูในอดีต ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2506 ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ และภาพปัจจุบันถ่าย เมือ กรกฎาคม 2557
ภาพอดีตภาพคณะนักเรียนและครูโรงเรียนสุวรรณศิลป์ ถ่ายเมือ 6 กพ.2509 ภาพจากหนังสือ ตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ นายพงษ์ศรี ภูมะธน และภาพปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคโนโลยี่สถาปัตย์นคร ถ่ายเมือ มีค.2555(หนังสือจากคุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร)
เก๋งจีนบริเวณวัดประดู่ภาพอดีตจากหนังสือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(เจ้าน้อย)ผู้สำเร็จราชการจอมทัีพตะวันตกแห่งแดนใต้ ประเทศไทย” ศรีธรรมาโศกราช” องค์ที่ 5 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีค.2555
- วัดประดู่พัฒนาราม
ข้อมูลจากเวปของวัดประดู่พัฒนาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาพอดีตแม่ชีระเบียบ พันธรังษี ถ่ายรูปบริเวณหอกลอง ตรงบริเวณหน้าโบสถ์ของวัดประดู่พัฒนาราม ถ่ายเมือ พ.ศ.2524 ถาพปัจจุบันถ่ายเมือ 10 มิถุนายน 2555
เก๋งจีนวัดแจ้งที่ประฐานอัฐิเจ้าจอมปราง ภาพอดีตจากหนังสือโบราณสถานในเขตควบคุมดูแลรักษาสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช เล่มที่ 1 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีนาคม 2555
เจดีย์บรรจุอัฐิภายในเก๋งจีนวัดแจ้ง ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มีนาคม 2555
- ประวัติโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยมิชชันนารีอเมริกันเพรศไบทีเรียนเพื่อเผยแพร่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เมื่อเริ่มแรกได้เปิดโรงเรียนเล็ก ๆ ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนอเมริกันสกูลฟอร์บอย (เอ เอ็ม ซี) ตั้งอยู่ที่ตำบล คลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคือ คริสตจักรเบธเลเฮ็ม) ในปี พ.ศ. 2452 โดยมีศาสนาจารย์อาร์ ดับดลิวโพสท์ เป็นครูใหญ่ ต่อมา มิสลาริยา เจ คูเปอร์ รับหน้าที่ต่อ ในปี พ.ศ. 2458 ได้มีการย้ายเด็กหญิงซึ่งแต่เดิมได้รับมาเรียนรวมกับเด็กชาย มาตั้งที่ ตำบล ปากพูน (ปัจจุบันคือตำบลท่าวัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกอนุบาลในปัจจุบัน)โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนศึกษากุมารี” โดยมิสมิลเลอร์ เป็นครูใหญ่ และมิสเฮเลนแมกเคกก์ ได้รับหน้าที่ต่อมา
ในปี พ.ศ. 2461 – 2466 ศาสนาจารย์เอคเคิ้ลส์ และศาสนาจารย์เอฟ แอล สไนเตอร์ได้ผลัดเปลี่ยนกันจัดการดูแลโรงเรียนอเมริกัน หลังจากนั้นมิซซิส เฮเลน แมกเคกก์ ได้รับหน้าที่ต่อ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2473 ครูพลอด ณ นคร ก็ได้รับหน้าที่เป็นครูใหญ่
่ในปี พ.ศ. 2484 โรงเรียนอเมริกันก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา” ได้ย้าย นักเรียนมัธยมศึกษามาตั้งในสถานที่ใหม่ คือทีตำบลปากพูน (โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา แผนกประถมศึกษา – มัธยมศึกษา ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นที่ดินของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานแก่มิชชันนารี ส่วนนักเรียนประถมศึกษายังอยู่ที่เดิมจนกระทั่งอาคารเรียนก่อสร้างเสร็จ จึงได้ย้ายนักเรียนประถมศึกษาไปอยู่ด้วยกัน
จุดเริ่มต้น เขตสวนหลวงราชฤดี สมัยรัชกาลที่ 5
ความรู้เมืองคอนไม่มีวันสูญหายไปจริงๆจากเว็บดีดีแห่งนี้
ขออนุญาตเผยแพร่ตามระเบียบน่ะครับ
เด็กๆประถม มัธยมในบ้านเราน่าจะมาที่เว็บนี้ให้มากๆน่ะครับ
ได้ความรู้ดีดี แบบไม่ต้องเข้าห้องสมุดก็ได้ครับ อิอิ
บังเอิญเหลือเกินที่มีโอกาสได้เข้าเวบนี้ เข้ามาแล้วไม่ผิดหวังจริงๆ ได้อ่านเรื่องเก่าๆ เมืองนครฯ ได้เห็นภาพครูผู้มีพระคุณของผมคือคุณครูพงษ์ศรี ภูมะธน และรุ่นพี่ปี 2509 ผมจบ ม.ศ.3 ปี 2513 จาก ร.ร.สุวรรณศิลป์วิทยา ผมไม่มีโอกาสมาร่วมงานฌาปนกิจศพท่านเพราะไม่ทราบความเคลื่อนไหวจริงๆ ไม่ทราบว่าท่านใดมีหนังสือที่ระลึกในงานศพท่านบ้าง ขอความกรุณาช่วยแบ่งปันสักเล่มนะครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ครับ
ผมก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ผูกพันกับนครศรีฯ