ภาพอดีต รัชกาลที่ 5 และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จ ณ สวนหลวงราชดี ถ่ายเมือ 6 กรกฎาคม ร.ศ.117 ภาพจากศิลปากรที่ 14 เมืองคอน สารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มีค.2555
สวนหลวง”ราชฤดี”หลายๆท่านที่เห็นผู้เขียนๆเกี่ยวกับช่วงใหม่”สวนหลวงราชฤดี” อาจมีความแปลกใจเพราะ “เมืองคอน” มีสวนหลวงด้วยหรือ “มีครับ” แต่อดีตเคยมีครับ ด้วยมีเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือพระราชหัตถเลขา ของ ร.5 เมื่อคราวเสด็จประภาสเมืองคอน ใน ร.ศ.117 (พ.ศ.2441)พระองค์ได้แวะชมสวนป่าละเมาะนอกเมืองบนเส้นทางสันทราย ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับลงเรือที่ท่าแพ ทรงเห็นว่าเป็นบริเวณที่งดงามตามธรรมชาติเหมาะแก่การใช้เป็นที่พักผ่อน ทรงพระราชทานนามว่า”สวนราชฤดี”(พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 2 หน้า 214-215 จากหนังสือพระราชหัตถเลขา ในรัชกาลที่ 5 เรื่องเสด็จประพาสแหลมมาลายู) และในคราวที่ ร.6 เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักต์ใต้ ในปี ร.ศ.128 (พ.ศ.2458) ทรงเสด็จไปชมสวนราชฤดีที่ ที่ พระราชบิดา ทรงประทานนามจับจองไว้ ในอดีตเมืองคอน คงบริบูรณ์ด้วยต้นไม้ธรรมชาตินานาพันธุ์อย่างที่สุด(จากสารนครศรีธรรมราช,จากหนังสือประวัติวัดท่าโพธิ์ของครูน้อม อุปรมัย,และบทความเรื่อง “ต้นไม้่กับเมืองนครศรีธรรมราช “โดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์จากหนังสือ ชุมชนจุฬา นครศรีธรรมราช 23 ตุลาคม 2513)
จุดเริ่มต้นสวนราชฤดีตั้งแต่สันทรายโรงเรียนศรีธรรมราช-สนามกีฬา-บ้านวิวเขา-สนามบิน-สถานที่ตั้งของกองทัพภาคที่ 4 สถานที่ตั้งของค่ายทหารจังหวัดมณฑลทหารบกที่ 5 (ปัจจุบัน เป็นมณฑลทหารบกที่ 41)
ภาพอดีต ร.5 เสด็จสวนราชฤดีก่อนที่จะไปลงเรือที่บ้านท่าแพ ถ่ายเมือ 6 กรกฏาคม 2441 ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมษายน 2555
ภาพอดีตเมืองคอน-สนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2510 ภาพจากคุณมะอึก ธัมมิกะกุล ฤทธิโชติ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พฤษภาคม 2558
ประวัติความเป็นมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า แผ่นดินทางภาคใต้ของประเทศ ขณะนั้นไม่มีกำลังทหารไว้สำหรับป้องกันประเทศส่วนนี้ และหากจะจัดตั้งกองทหารเป็นหน่วยถาวร ก็เป็นการขัดตอกกฎหมาย ระหว่างประเทศซึ่งระบุไว้
ว่าทุก ๆ ประเทศจะมีหน่วยทหารไว้ใกล้เขตชายแดนไม่ได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์พระองค์จึงพิจารณาหาอุบายติดต่อกับมิตรประเทศว่า ขอให้พระองค์ได้จัดตั้งกองทหารรักษาพระองค์ ประจำอยู่ ณ
ที่ประทับชั่วคราว แทนหน่วยทหารกำลังรบ เพื่อใช้ถวายความปลอดภัยในโอกาสที่เสด็จ ฯ ทางภาคใต้เท่านั้น เมื่อนาน ๆ ประเทศได้พิจารณาแล้วจึงยินยอมให้พระองค์จัดตั้งหน่วยทหารไว้ตามที่ร้องขอ
ต่อมา พระองค์จึงได้ตกลงพระทัยสร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บริเวณตำบสวนจันทร์(ปัจจุบัน คือบริเวณสนามบินกองทัพภาคที่ ๔ ซึ่งมีหลักเขตจารึก ๒๔๕๙ อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งกองทหารใช้ชื่อหน่วยว่า “ กองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ” เมื่อ ๑ เมษายน๒๔๙๓ จนถึงปลายปีพุทธศักราช ๒๔๖๘
ภาพอดีตถ่ายจากสนามบิน บริเวณด้านหน้านของภาพ(fore grouns) คือสนามบิน ตอนกลางคือท่าลาดเบื้องหลังสุดเป็นทิวเขานครศรีธรรมราช จากบทความ”ต้นไม้กับเมืองนครศรีธรรมราช โดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ จากหนังสือ ชุมชนจุฬานครศรีธรรมราช 23 ตค.2513 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2555
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตบริเวณสนามบินกองทัพภาคที่ 4 ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณหลัง พ.ศ.2500 จากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ภาพปัจจุบันถ่าย เมือ เม.ย. 2557
ประวัติทุ่งท่าลาด(มีพื้นที่ ประมาณ 3,000 ไร่) เดิมเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปี ในฤดูฝนระดัยน้ำจะสูงมากประกอบกับดินมีกรดสูงตามธรรมชาติของดินพรุ ไม่เหมาะแก่การทำเกษตร ในสมัยก่อนจึงเป็นทางน้ำสำหรับสัญจรไป มา ของราษฎร และเป็นที่แข่งเรือในเทศกาลต่างตลอดจนเป็นที่ชุมนุมพนมพระ-พระลากทางน้ำ เมือตื้นเขินกลายเป็นแหล่งเลี้ยงควายของราษฏรเ-ป็นหนองบัวนานาชนิดจนเกิดสำนวนกล่าวติดปากว่า “สิ่งที่ไม่ควรเป็น คือ ต้นไม้่ท่านครูกาชาด ความท่าลาด ทาสยายชีหนู รุอีโหล้ย “เพราะถ้าเป็นสิ่งเหล่านี้่แล้วจะพบความลำบาก โดยในส่วนของ”ควายท่าลาด” แสดงถึงความอดยากลำบากของควายที่ถูกเลี้ยงไวในทุ่งท่าลาด เป็นหนองน้ำมีปลิงชุดชุม ควายทุ่งตัวจะต้องผจญกับฝูงปลิงที่รุมกันดูดเลือดควาย(จากสารนครศรีธรรมราช)
ภาพอดีตความเปลี่ยนแปลงยุคแรกของ “ทุ่งท่าลาด” ภาพจากสารนครศรีธรรมราช จากหนองบัวนานาพันธุ์และทุ่งนาำและเป็น”แก้มลิง”เป็นที่เก็บน้ำของคนยุคโบราณที่คิดและธรรมชาติสร้างสรรค์
ภาพความเปลี่ยนแปลงของ”ทุ่งท่าลาดยุคปัจจุบัน”ถ่ายเมือ เมย.2555
อนุสรณ์สถานยามาดา(วัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น) นครศรีธรรมราช ณ ทุ่งท่าลาดเมืองคอน ข้อมูลจากสารนครศรีธรรมราชฉบับที่ 10 ตค.2544
ภาพภูเขา”ปฏิมากรรม”หลากสีจากทุ่งท่าลาดยุคปัจจุบันที่มีกองขยะมหึมา “เกิดจากมือใคร”ถ่ายเมือ เมย.2555
ภาพอดีต บริเวณสนามบินกองทัพภาคที่ 4 ถ่ายเมือประมาณ 2477 ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมษายน 2555
ภาพอดีตภาพ ธันวาคม 2484 เมื่อโดนกระสุนปืนใหญ่ของญี่ปุ่นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นขึ้นท่าแพ ,อาคาร พ.ศ.2505 ภาพจากหอจดหมายแห่งชาติ,สารนครศรีธรรมราช,คุณชวลิต อังวิทยาธา, อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์,คุณศุภชัย แซ่ปุง และคุณจรัส ยกถาวร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมษายน 2555
- ภาพอดีตบริเวณที่ตั้งของโรงพยาบาลโรคเรื้อนเมืองคอน(ปัจจุบันย้ายไปตั้งที่นิคมพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์)และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพภาคที่ 4 ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,คุณชวลิต อังวิทยาธร และหนังสือกิตติคุณถึงเมืองคอน ที่ระลึกหนี่่งร้อยปีคุณสวาทและแม่สงบของคุณศุภชัย แซ่ปุง ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมษายน 2555
- ต่างยุค ต่างสมัย ณ บริเวณนี้
- ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพมณฑลทหารบกที่ 5 ถ่ายเมือ 25 ปีล่วงมาแล้ว(นับจาก พ.ศ.2507)ภาพจากหนังสือวีรไทยทักษิณ
ภาพอดีตโรงทหารรักษาวัง(กองพันรักษาพระองค์ที่สวนราชฤดี)ถ่ายภาพเมือ พ.ศ.2458 และถูกยุบเมื่อประมาณ 2469 และอดีตเคยเป็นที่เรียนของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ (น.ศ.1)บางส่วน ภาพจากสารนครศรีธรรมราช อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์,คุณจรัส ยกถาวร -ข้อมูลจากหนังสือ”ที่ระลึก พ่วงสุวรรณรัฐ หน้า27-28 โดยหนังสือ ภาพปัจจุบันคือ มณฑลทหารบกที่ 41 ถ่ายเมือ เมย.2555
ภาพอดีตพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จ ณ มณฑลทหารบกที่ 5 ค่ายวชิราวุธ เมือ พ.ศ.2502
ภาพอดีตที่ตั้งมณฑลทหารบกที่ 5 ค่ายวชิราวุธ ถ่ายเมือ 8 ธันวาคม 2484 และภาพการเคลื่อยย้ายกำลังพลจากราชบุรี มณฑลที่ 5 มาอยู่ที่ นครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2482 ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี คุณชวลิต อังวิทยาธร และข้อมูลจาก ร.ท.พิชิต สมภู่ ที่ได้สู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ เมษายน 2555
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพพลับพลาที่ประทับรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเมืองคอน เมื่อ พ.ศ.2502 ปัจจุบันรื้อสร้างสโมสรนายทหารค่ายวชิราวุธ และเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรวีรไทย ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มิถุนายน 2558
ภาพอดีต บริเวณสโมสรนายทหารค่ายวชิราวุธหน้ามณฑลทหารบกที่ 5 อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมือ 16 พย.พ.ศ. 2512 (ภาพเพื่อนๆ รั่วของชาติและ ส.อ.ประสพ ดำเอี่ยม) เมือ พ.ศ.2523 ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมย.2555
ภาพอดีต พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและพระบรมราชินีนาถเสด็จวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์วีรไทย ณ.ค่ายวชิราวุธ เมื่อคราวเสด็จเมืองคอน พ.ศ.2502 ภาพจากพิพิธภัณฑ์วีรไทย ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2555
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตบริเวณอนุสาวรีย์วีรไทย ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ 8 ธันวาคม พ.ศ.2496 จากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ภาพปัจจุบันถ่าย เมือ พฤษภาคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตบริเวณอนุสาวรีย์วีรไทย ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ 8 ธันวาคม พ.ศ.2496 จากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ภาพปัจจุบันถ่าย เมือ พฤษภาคม 2557
ประวัติิอนุสาวรีย์วีรไทย ณ.ค่ายวชิราวุธ
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่นครศรีธรรมราชในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ โดยการนำของพลโทอิอิด้า ส่วนกองทัพไทยได้แต่งตั้งให้พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ ๖ เป็นแม่ทัพบัญชาการรบ ซึ่งหลวงเสนาณรงค์ได้รับรายงานข่าวว่าเรือรบญี่ปุ่นมาปิดปากอ่าวและยกพลขึ้นบกที่สงขลา จึงได้เตรียมความพร้อมในการรับมือข้าศึก แม้ขณะนั้นฝนจะตกหนัก ในที่สุดก็ได้รับรายงานว่า มีเรือรบญี่ปุ่น จำนวน ๓ ลำกำลังลำเลียงพลด้วยเรือท้องแบนมาตามคลองท่าแพ พลตรีหลวงเสนาณรงค์ได้สั่งการให้เปิดคลังแสง แจกจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล ให้แก่ทหารทุกคนที่ประจำการอยู่ รวมทั้งกองทหารยุวชน จำนวน ๓๐ นายด้วย และประกาศให้ทุกคนต่อสู้อย่างเต็มกำลัง การสู้รบมีสองแนวรบ
แนวรบที่สำคัญคือ แนวรบบ้านท่าแพ ได้มีการสู้รบที่ดุเดือดที่สุด ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น ถึงขั้นตะลุมบอนกันด้วยดาบปลายปืน เหล่าทหารหาญได้ปฏิบัติการสู้รบอย่างกล้าหาญ และน่าชื่นชมอย่างยิ่ง การสู้รบได้ดำเนินการอย่างรุนแรงมาโดยตลอด ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งแสดงทีท่าจะล่าถอย ปรากฏว่าฝ่ายข้าศึกสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก จนผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ ฝ่ายทหารไทยสูญเสียทหารไป ๓๙ นาย ซึ่งจัดว่าการรบที่บ้านท่าแพเป็นจุดที่สูญเสียทหารมากที่สุดในการต้านทาน การยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นในภาคใต้
ภายหลังเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์วีรไทยขึ้น เพื่อแสดงความกล้าหาญของเหล่านักรบผู้กล้าหาญของนครศรีธรรมราช
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
ผลงานของทหารไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช ในการต่อสู้กับข้าศึกทหารญี่ปุ่น โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ การรบได้ดำเนินการอย่างกระชั้นชิดในเวลาอันรวดเร็ว ฝ่ายทหารไทยรุกเข้าไปจนถึงท่าเรือ ห่างจากเรือข้าศึกเพียง ๑๐๐ เมตร ได้เข้าตะลุมบอน มีเสียงไชโยทุกแนวที่ยึดได้ ไม่มีครั้งใดที่จะได้เห็นการต่อสู้อย่างทรหดจนถึงขั้นตะลุมบอนอย่างในครั้งนี้ ผลการรบฝ่ายข้าศึกตายมาก ผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ
เกียรติคุณที่ได้รับ ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อสดุดีเกียรติคุณและรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์แห่งการสู้รบระหว่างทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช โดยพลตรีหลวงเสนาณรงค์ ได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น ตามความประสงค์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า และจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตั้งชื่ออนุสาวรีย์ว่า
“อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ. ๒๔๘๔”
เหตุการณ์
ภาพอดีตภาพอัฐิของคนญี่ปุ่น 6 คน ที่เสียชีิวิตที่ นครศรีธรรมราช ถ่ายบริเวณหน้าร้านรักษาโรคฟันของร้านมารุ(พ.ท.มาลู) เป็นชาวญี่ปุ่นที่แขวงตัวเพื่อสืบราชการลับของไทยส่งข้อมูลให้ทหารญี่ปุ่น โดยเปิดร้านตั้งอยู่บริเวณสี่แยกท่าวัง(วิธีการจะไปตกเบ็ดอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ที่บริเวณปากน้ำปากพูน โดยวัดระดับน้ำจากการตกเบ็ดและถ่ายรูปบริเวณต่างๆในเมืองคอน) รูปอดีตถ่ายเมื่อ ธค. พ.ศ.2484 จากหนังสือชีวิีตของมาซาโ๊อะ เซโตะ ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง เล่ม 1
ภาพอดีตเรือบรรทุกทหารญี่ปุ่นขึ้นท่าแพ(ก่อนจู่โจม) เมือ 8 ธค.2482 ภาพจากหนังสือชีวิตของมาซาโอะ เซโตะ ผู้ถูกพ่อและญีปุ่นทอดทิ้ง เล่ม 1
ภาพยุทธวิธีการลำเลียงพลจู่โจมอย่างรวดเร็วโดยรถจักรยานยนต์
จากรายงานข่าวได้พบว่ามีการฝึกฝนกองกำลังทหาร แทรกเข้าไปในระบบการศึกษาภายในประเทศ ซึ่งกองกำลังนี้ใช้พาหนะเป็นรถจักรยาน( ของญี่ปุ่น) ในบริเวรคาบสมุทรมาเล ดังจะปรากฏให้เห็นดังรูป ว่าพวกเขาฝึกฝนกันอย่าง เอาเป็นเอาตาย
จากภาพข่าว กองกำลังเหล่านี้ถูกฝึกมาเพื่อการโจมตีอย่างรวดเร็ว
ด้านกิจกรรมที่กำลังทหารไ่ปแทรกตัวคือ กิจกรรม กีฬาสีของโรงเรียน จะจัดให้มีการแข่งขันจักรยานแทนการวิ่งของเด็กผู้ชาย เพื่อปลูกฝัง และเพิ่มพละกำลังให้แข็งแกร่ง ก่อน ที่จะก้าวเข้าสู่ สมรภูมิรบ
ขอขอบคุณ คุณลิสศลา คงเมือง,คุณยูถิกา พันธรังษี ที่ช่วยกันแปลให้แก่ผู้เขียน
(ความเห็นของผู้เขียนภาพยุทธการทางการฝึกฝนกองกำลังทหาร/เยาวชนของญี่ปุ่น เขาได้เตรียมการและเข้าใจสภาพพื้นที่ในแถบแหลมมาลายู เดิมญี่ปุ่นเพียงขอผ่านทางเพื่อต่อไปมาเลเชีย สิงคโปร์ เมื่อทางทหารไทยไม่ให้ผ่าน จึงรบกับทหารญี่ปุ่นในคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นขึ้นท่าแพ)
ภาพอดีต การลำเลียงทหารไทย /ชาวยุโรปในเมืองคอนขอกำลัีงตำรวจอารักขาขณะอพยพจากเมืองคอนไป กรุงเทพฯ ภาพาจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี,สารนครศรีธรรมราช,หอจดหมายเหตุแห่งชาติ,ตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯ ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของนายพงษ์ศรี ภูมะธน ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์วีรไทย
- ประกาศและแผ่นปลิวช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกท่าแพเมืองคอน
ภาพประกาศและแผ่นปลิวต่างๆ ข้อมูลจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ตำนานชีวิต ตำนานเมืองนครศรีฯ ที่ระลึกในการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ นายพงษ์ศรี ภูะธนและพิพิธภัณฑ์วีรไทย
อาวุธ
สงคราม/เจรจา
ภาพสู้รบ/เจรจา ภาพวาดจากคุณแนบ ทิชินพงศ์ ภาพการรบ ภาพการเจรจาก ผู้เจรจาประกอบด้วย นายพันเอกหลวงเสนาณรงค์,หลวงประหารวิปุลาภ พันตรีหลวงสวัสดิ์ กุลยุทธ ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคัุบกองพัน ร.ท.พิชิต สมภู่ ผู้ร่วมในเหตุการณ์ คุณสุธี พงษ์พานิช ลูกเขยขุนบวร เป็นล่ามและฝ่ายทหารญี่ปุ้น พ.ท.มารูและอีกหลายท่าน(ข้อมูลจาก ร.ท.พิชิต สมภู่และได้ให้ข้อมูลว่า ศพทหารทั้งหมดไปไว้ที่วัดส่วนป่าน และฝังศพที่วัดมุมป้อม)
ผลการเจรจายุติการรบได้ความดังนี้
1.ญี่ปุ่นได้ขอให้ถอยทหารไทยจากที่ตั้งปรกติไปให้พ้นแนวคลอง สะพานราเมศวร์ ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 3 ชั่วโมง เพราะญี่ปุ่นต้องการใช้สนามบินโดยด่วน
2.ฝ่ายเรายินยอมให้กองทหารญี่ปุ่นเข้าพักอาศัยในโรงทหารได้ทั้งหมด โดยฝ่ายเรารวมทั้งครอบครัวนายทหาร นายสิบ จะเข้าไปพักในบริเวณตัวเมืองนครศรีธรรมราช เช่น ตามโรงเรียน วัด และ บ้านข้าราชการ เป็นต้น
3.ขอขนอาวุธ สัมภาระติดตัวไปด้วย ยกเว้นอาวุธหนัก กระสุน วัตถุระเบิด แ ละน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วน ตลอดจนเครื่องบิน ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นไม่ยินยอมให้ขนย้าย
4.ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงความเสียใจที่ได้มีการปะทะกันเห็นใจและยกย่องชมเชยวีรกรรมทหารไทยในครั้งนี้
วีระชน/วีรไทย ในสงครามกับญี่ปุ่น ภาพจากสารนครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑ์วีรไทย
ภาพอดีตเรือนยกกระบัตรทหาร/สภาพบ้านของคนไทยที่ทหารญี่ปุ่นเข้าไปอาละวาด และทำลาย เมือ ธค.2484 ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี จากหนังสือชีวิตของมาซาโอะ เซโตะ ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง เล่ม 1 และข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์วีรไทย
ภาพแผนภมูิสนามรบสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกท่าแพ เมืองคอน ที่มาจาก พ.อ.สอาด ชมสุนทร
ภาพจำลองการสู่รบที่บ้านท่าแพ ค่ายวชิราวุธ จากพิพิธภัณฑ์วีรไทย
ในช่วงสงคราโลกครั้งที่2 (มหาเอเชียบูรพา)และญี่ปุ่นขึ้นท่าแพ ประเทศไทยมีความสบสนวุ่นวาย เนื่องจากมีความขาดแคลนในเรื่องธนบัตรและทำให้เกิดธนบัตรชื่อแปลกๆเช่น”ตางค์กล้วย”ธนบัตรเล้ง”ธนบัตรหม้อกล้วยเตี๋ยว”ในสงครามมหาเอเชียบูรพาในภาคใต้ (บทความเรื่องธนบัตรสมัยสงครามญี่ปุ่น เขียนโดยนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิชจากหนังสือสารนครศรีธรรมราชฉบับที่ 1 มค.2539)
ธนบัตรพิมพ์จากประเทศญี่ปุ่น ภาพที่ 4 5 9 7
ธนบัตรที่ผลิตจากกรมแผนที่ทหารบำ 8 9 10 11
ธนบัตรพิมพ์ที่กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ภาพที่ 12 13
ธนบัตร”ตางค์กล้วย” ภาพที่ 14 (ญี่ปุ่นเตรียมใช้ในแหลมมาลายูหลังจากยึดครองได้)
ธนบัตรที่จะใช้ในพม่า ภาพที่ 15 16(หลังยึดครองได้)
ธนบัตร”เล้งท่าฉาง” ภาพที่ 17 (พิมพ์โดยนายเล้ง ชาวท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี)
ธนบัตร”ขบวนการไทยถีบ” ภาพที่ 18 19
ธนบัตร”หม้อขายกล้วยเตี๋ยว” ภาพที่ 20 21
ภาพอดีตหน้าอนุสาวรีย์วีรไทย ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2499 ภาพโดยคุณสถาพร พฤกษะศรี
ภาพอดีตบริเวณหน้าอนุสาวรีย์วีรไทย รูปหนุ่มรุ่นเอาะๆจากโรงเรียนประจำอำเภอปากพนัง(ชาย) ถ่ายเมือ พ.ศ. 2510 ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี
ภาพอดีตภาพรถม้าคันสุดท้ายของเมืองคอน ถ่ายที่บริเวณอนุสาวรีย์วีรไทย “รถม้าบังบาว” ถ่ายเมือ พ.ศ.2501 ภาพจากหนังสืออำลา อาลัย ชวลิต อังวิทยาธร ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ เมย.2555
ภาพอดีตศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบำรุง(ดูกันเองนะครับว่าใคร เป็น ใคร)ถ่ายเมือปี พ.ศ.2525,2535 ภาพจากนครศรีธรรมราช panoramio ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ เมย.2555
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.oknation.net
จากคุณมานพ วุฒิมานพ ให้ข้อมูลจากหนังสือ อนุสรณ์ครบรอบ 30 ปี คุณพ่อพานิช เสพย์ธรรม
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
น้องๆทหารๆที่พิพิธภัณฑ์วีรไทย
ยอดเยี่ยมที่สุดแล้วพี่โกมลผม…นั่งดูเวปพี่ทุกครั้ง ขนลุกนึกถึงเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาจากปากที่ผ่านคนบอกเล่า จากยาย จากแม่ และหลายๆคนยังนึกไม่ถูกว่าอนาคตลูกหลานจะอยู่อย่างไรในสังคมที่สับสนวุ่นวาย เพราะผู้คนลุ่มหลงบริโภคแต่วัตถุนิยม มองภาพเก่าดูถนนทุกสายแล้วสมัยก่อนเดินทางไปใหนมาใหนอาจจะลำบากแต่ความลำบากก็เป็นส่วนหนึ่งของความสุขในวิถีชีวิตของคนเรา ทุกวันนี้รถราเต็มถนน คันโตโก้หรู ปิดป้ายแดงราวกับมาจากอเวจี อิอิ (ตัวเองไม่มีปัญญา แล้วว่าเค้า 555) เมื่อก่อนอยู่ท่าวังอยากไปหัวถนน ลำบากนั่งรถอย่างน้อย 20 นาที สายหัวถนน สนามกีฬา หรือไม่ก็ รถเมล์เล็กสายรถท่าศาล หรือบางครั้งหากมีรถชะเมาวิ่งเข้ามาก็สามารถโบกติดไปได้เหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้ยุคแห่งความสบายจะไปหัวถนน ประมาณ 1 ชั่วโมงครับ เพราะกว่าจะฝ่าถติดแยกท่าวัง รอไฟ แยกหลาดแขก รอไฟวงเวียน ไปติดตรงก่อนถึงแยกศาลากลาง ติดอีกทีหน้าพระธาตุ รอไฟแดง ประตูชัย ไปติดหน้าโรงบาลมหาราช กว่าจะถึงหัวถนน ก็อ้วกแตกพอดี มีความสบสายสิ่งเดียวคือนั่งรถปรับอากาศเท่าน้นเอง…..
ชอบมากครับ
คุณศุภชัย คุณ lionhead.
ขอบคุณครับ อดีตเป็นบทเรียนเพื่อการเรียนรู้และสร้างเกราะป้องกันตัวเองได้บ้าง?ที่ทำมาก็คุ้มแล้วครับ
ชอบอ่านเรื่องเมืองคอนในอดีตมากค่ะ ส่งลิ๊งค์ของเอกสารโบราณของทางบ้านมาแลกเปลี่ยนกันชม จากโฉนดฉบับนี้ทำให้ทราบว่าพ่อแม่ของทวดได้ย้ายถิ่นมาหักร้างถางพงแถวริมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
แบบว่าสุดยอด และน่าติดตามผลงานอย่างยิ่งครับ
ขอเผยแพร่ แนะนำเยาวชนคนคอนเหมือนเดิมน่ะครับ
เรื่องราวสาระดีดีแบบนี้ ขอจารึกไว้ให้ลูกหลานได้รับชมครับ
คิดถึงโรงเรียนโยธิน รักมากๆ
คุณnakhonkupp999,คุณกัญธิมา
ยินดีครับ
คุณcheng
ที่คุณบอกลิงค์เอกสารของโบราณ ไม่ทราบว่ามีรายละเอียดทางไหนครับ ถ้ามีเอกสารโบราณถ้าจะรบกวนโทร 083-1022243 จะได้ไม่ครับ
ผมศิษย์เก่าโยธินลูกพ่อจ่าดำ รุ่นปี 38 (2538) ขอบคุณความทรงจำดีๆครับ ^_^”
คุณเสกสรร
ด้วยความยินดีครับ
ชอบเรื่องอดีตเมืองคอนมาก หาภาพเก่าๆ มาลงเยอะๆ นะครับ
ภาพแรกเป็นภาพจากอาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯลุ่มน้ำปากพนัง(ร.5 กรมพระยาดำรงฯ ทรงฉายที่สวนรื่นฤดี )
Very good information. Lucky me I recently found your blog by
accident (stumbleupon). I have saved it for later!
ภาษาญี่ปุ่น
Thank you for visiting a similar incidence. Wang's in the future and I would not follow the recommendations to admin and I thank you again.