ภาพแปะฟ้าเมืองคอน-เหลียวหลังแลรอย พระธาตุเมืองคอนดอนพระ ตอน1/2
เม.ย. 13
- จากเดิมที่ผู้เขียนๆเกี่ยวกับอดีตภาพเก่า ของเมืองคอน จากการที่ผู้เขียน ได้พบภาพเก่าของคุณอรรถ ศิริรักษ์ เป็นปฐมเหตุให้ได้เขียนเกี่ยวกับภาพเก่า โดยเปรียบเทียบอดีตกับสภาพปัจจุบันโดยอายุภาพโดยอายุภาพเฉลี่ยตั้งแต่20-115 ปี โดยได้ต้นแบบมาจากสำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ที่เคยเปรียบเทียบบริเวณย่านชุมชนในอดีต เมือประมาณ100 ปีของเทศบาลนครศรีธรรมราช
- เริ่มตอนแรกของwww.gotonakhon.comหรือ เมืองคอน.com เริ่มจากวัดพระ บรมธาตุวรมหาวิหาร เท่าทีึ่มีภาพอยู่ เพื่อเป็นศิริมงคลแ่ก่เวปและชาวพุทธทุกท่าน และเมือเขียนมาเป็นปีที่ 4 การเขียนเวียนมาอีกรอบหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้รับภาพจากหลายๆท่านที่มอบมาเพื่อการเผยแพร่ด้วยใจบริสุทธิ์ โดยไม่หวังผลตอบแทน ถึงแม้นในบางครั้ง ผู้นำภาพไปใช้ความพยายามให้เป็นสิทธิ์ของตัวเอง ไม่มีแม้แต่การให้เครดิตภาพต่อเจ้าของภาพ
- และมีบ้างท่านเคยถามผู้เขียนว่า ทำเกี่ยวกับภาพเก่าเมืองคอนแล้ว “ได้อะไรจากการกระทำ”มีแต่ค่าใช้จ่าย และมิสู้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่ได้มาซึ่งเิงินทองมิดีกว่าหรือ” ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านพระราชวรมุนี(ท่านประยุทธ ประยุตโต)ซึงพิมพ์แจกเป็นธรรมทานในงานพระราชทานเพลิงศพ ของพระครูประโชติศาน กิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก เมือ 7 พค.2527เรื่อง มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย และหนังสือพุทธธรรม ในตอนหนึ่งท่านกล่าวไว้่อย่างน่าสนใจว่า”ฯลฯ ฉันได้อะไรจากการกระทำ แต่ให้ถามใหม่ว่า ฉันควรทำอะไรหรือฉันต้่อง ทำอะไร“(หน้า70)
- ในบางคราวผู้เขียนมีความคิดว่า”คนเราเกิดมาเพื่ออะไรกัน ลืมตามา ดูโลกแล้วเริ่มมีการทำลายธรรมชาติอย่างอื่นเพื่อให้ตัวเองมีชีวิต การทำลายอาจมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา การทำลายบางคราวมาจากธรรมชาติของตัวเอง ถ้าเกินธรรมชาติก็ต้องเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อให้ใด้มาซึ่งชีวิต อำนาจ ซึ่งมีความไม่”ถูกต้อง”ท้ายที่สุดแล้วเหมือนพระท่านว่า “มาตัวเปล่า กลับไปตัวเปล่า” ผู้เขียนเลยตั้งใจว่า ทำในสิ่งเท่าที่ทำได้และสามารถบอกกับตัวเองว่า”ไม่เสียที่ที่ไ้ด้เกิดมา”และ สิ่งสูงค่ากว่าอันใดคือเพื่อ“ถวายเป็นพุทธบูชา”
- บทความของคุณวรรณสิริ นุ่นสุข สารนครศรีธรรมราช ฉบับพิเศษ เดือนสิบ 49 ภายใต้คติความเชื่อชาว นครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงเกี่ยวกับการ“ถวายเป็นพุทธบูชา””การศึกษาคติในการบูชาพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช” จะก่อผลดีแ่ก่ชีวิตตนเองและครอบครัว 6 ประการ
- เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะประทานสิ่งที่ร้องขอเมืองได้ถวายของแด่พระบรมธาตุเจดีย์ ชาวบ้านในท้องถิ่นเชื่อว่า การทูลขอเมือใดก็จะได้รับสิ่งที่ทูลขอนั้นเมือนั้น
- เชื่อว่าพระบรมธาตุเจดีย์จะบันดาลให้ได้รับผลผลิตทางการเกษตรตามที่ปรารถนา การอธิษฐานทางด้านพืช ผลทางการเกษตร จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์เครื่องเงินเป็นรูปพืชที่มีผลดก
- เชื่อว่าพระบรมธาตุเจดีย์จะบันดาลให้ได้รับสิ่งที่เป็นมงคล ชาวบ้านเชื่อว่าการประดิษฐ์ดอกไม้เงิน ดอกไม้ ทองถวายพระบรมธาตุเจดีย์เป็นสิริมงคลแก่ตนและจะนำส่ิงที่ดีงามมาสู่ตน เสมอ
- เชื่อว่าพระบรมธาตุเจดีย์จะบันดาลให้ได้รับบุญกุศลสูงสุด โดยเฉพาะการสร้างดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองที่สวยงามถวาย จะได้รับบุญกุศลและสิริมงคลแก่ตนอย่างหาสิ่งเทียบไม่ได้และจะนำสิ่งที่ดีมา สู่ตนตลอดไป
- เชื่อว่าพระบรมธาตุเจดีย์จะบันดาลให้รับผลคืนมาคุ้มค่า การถวายดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองของแต่ละคน มัก ถือว่าให้ไปเท่าไหร่ ก็ย่อมจะได้ผลแห่งการถวายกลับคืนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงถวายสิ่งที่ดีทีสุดอย่างเต็มความสามารถของตนเพื่อให้ผลคืนจะ ได้ตกถึงตนและครอบครัว
- เชื่อว่าพระบรมธาตุเจดีย์จะบันดาลให้การปฏิบัติตามคำอธิษฐาน และเมือบนบานพระบรมธาตุเจดีย์จะได้ ดังหวังแล้ว ต้องรับกระทำตามที่บนบานไว้โดยพลัน
การบูชาพระบรมธาตุนั้นมีทั้งการบูชาแต่เพียงในใจ ด้วยการปฏิบัติบูชาหรือด้วยการถวายของมีราคา พุทธศานิกชนทั่วไปอาจปฏิบัติบูชาพระบรมธาตุด้วยการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เท่าที่มีการบูชากันมาคือ
1.1 โดยการสละแรงงาน ช่วยปฏิสังขรณ์หรือกระทำกิจต่างๆถวายตามความสามารถ1.2 เดินทางไปนมัสการโดยตรง อาจทำอย่างตั้งใจ ตั้งจิตอธิษฐานที่จะประพฤติดีเป็นการสักการะบูชา1.3 บรรพชาหรืออุปสมบทบูชาพระบรมธาตุ1.4 เล่นการละเล่นพื้นเมืองบูชาพระบรมธาตุ ถ้าเป็นนักแสดงอาจแสดงถวายเอง ถ้าไม่ใช่นักแสดงอาจหานักแสดงมาเล่นถวายก็ได้1.5 จัดพิธีหรือพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการบูชาพระบรมธาตุ เช่นสรงน้ำพระบรมธาตุในวันวิสาขบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุในวันวิสาขบูชาหรือวันมาฆบูชา
- การบูชามีหลายลักษณะแต่ที่นิยมมาบูชาจำแนกได้เป็น 7 ประเภท
- 2.1 บูชาด้วยดอกไม้่เงิน ดอกไม้ทองและต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เช่น ดอกบัว ต้นโพธิ์ ต้นรังและต้นไม้ที่เกี่ยวกับอาชีพของตน เอง
- 2.2 ปูชนียวัตถุและเครืองรางของขลัง เช่นพระพุทธรูป เจดีย์ พระพิมพ์ พระบฎ ตำรายา ตะกรุด
- 2.3 ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ ที่ช่างพื้นบ้านทำอย่างสุดฝีมือเช่น งานแกะสลัก เทวรูป ขวานหิน และลูกปัดโบราณ
- 2.4 เครื่องมือเครื่องใช้ เช่นของใช้ในครัวเรือน ถ้วยโถโอชาม เชื่ยนหมาก พาน และขัน
- 2.5 เครื่องประดับ รวมทั้งเครื่องประดับยศ รวมทั้งสินสอดทองหมั่นที่เจ้าของตายลงเสียก่อนใช้เช่น เข็มขัด แหวน สร้อย ต่างหู กำไล จี้
- 2.6 สิ่งของที่แปลก หรือสิ่งที่ผิดธรรมชาติ เช่นไม้กลายเป็นหิน ไม้หีบผี
- 2.7 สิ่งที่เป็นสัญญาลักษณ์ เช่นนำเรือเงิน เรือทองมาถวายเพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ ว่าให้นาวาเงิน นาวาทองเหล่านั้นเป็นสิ่งนำสรรพสัตว์ทั้ง หลายข้ามห้วงวัฏจักร์
จุดเริ่มต้นในการนำชมที่เกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์ ของเมืองคอนของเรานั้น เมื่อเดิน ก่อนจะเข้าไปยังวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ขอนำชมภาพที่สำคัญคือหน้าบันอดีตของอุโบสถ์วัดสระเรียง คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ได้บรรยายไว้ว่า”หน้าบันเป็นไม้่ทั้งสองด้าน แต่มีเพียงด้านเดี่ยวที่สลักเป้นรูปลายต่าง ลักษณะและวิธีสลักใช้ไม้กระดานแผ่นหนา มาประกอบเข้าเป็นรูปหน้าจั้ว เขียนเส้น ร่างรูปลวดลายลงบนแผ่นหน้าจั้วแล้่วสลักลายพันธุ์หฤกษา ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่รูปช่อดอกไม้ โดยช่างกำหนดให้เป็นภาพพื้น แทนที่จะใช้ลายกนกภาพนูนสูงอันเป็น จุดสนใจในภาพ มีเพียง 4 รูป เท่านั้น คือล่างสุดเป็นรูปอมนุษย์ เหนือขึ้นไป 2 ข้าง เป็นรูปเทพ พนมและบนสุดเป็นรูปสมมุติเทพฯลฯอุโบสถ์หลังนี้่สร้างเมือ พ.ศ.2310 ซึ่งได้เขียนไว้ที่กกระเบื่้อง เมื่อรื้ออุโบสถ์และสร้างใหม่ ได้น้ำรูปแบบมาสร้างเป็นปูนปั้นดังภาพด้านล่างขวา และผู้เขียนมีข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์เกี่ยวกับกระเบื้องเกี่ยวกับเครืองหมายบนกระเบื่องที่ท่านพบมีลักษณะ1.มีเฉพาะรูปกวาง2.มีรูปกวางเสมา ธรรมจักร3.มีรูปดอกจันทร์เครืองหมายที่พบจะอยู่ส่วนล่างของกระเบื่องและเมื่อนำกระเบืองมุงหลังคาโบสถ์จะ มีสามแถวขนานกับหลังคาอุโบสถ์ คือ ช่วง สูงสุด ช่วงกลาง ช่วงล่างสุด เป็น3 แถว อุโบสถ์วัดสระเรียงจะมีขนาดกว้าง+ยาวใกล้เคียงกับหอพระสูงที่สนามหน้าเมือง ในปัจจุบัน ณ เวลายุคนั้นเมื่อทำการรื้ออุโบสถ์ มีนักนิยมพระเครืองจะเสาะหาเพื่อเป็นมวลสารการทำพระเครือง ขณะนั้นในราคาแผ่นละไม่ต่ำ กว่า 500 บาท(ประมาณปี 2510)
ประวัติอุโบสถ์วัดสระเรียง ต.ในเมือง อ.เมือง.สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ขนาดย่อมหลังคามุงด้วยกระเบื้องซึ่งสร้างขึ้นพิเศษ ใช้เฉพาะหลังนี้เท่านั้น มีด้วยกัน 2 ขนาด คือตัวผู้ยาว 17 ซม.กว้าง14.5 ซม.ตัว เมียยาว25.5 ซม.กว้าง14.8 ซม.กระเบื้องตัวผู้มีลักษณะสั้นหางมน/ตัวเมียยางหนา สร้างเมือ พ.ศ.2310ฯลฯ (สารนครศรีธรรมราช เมย.2513โดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์)
ต่อไปก็บริเวณวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ตำแหน่งหรือ จุดรูปถ่ายด้านล่าง เป็นถนนราชดำเนิน เป็นถนนที่ปูด้วยอิฐที่เป็นกำแพงเมืองคอน ที่ผู้มีอำนาจสมัยนั้น ได้รื้อกำแพงมาทำถนนเพื่อรับเสด็จ รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองคอน ตั้งแต่บริเวณคลองท่าวัง จนถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร แต่เดิมเป็นบริเวณลานกว้าง เป็นที่พักม้า เกวียน ในคราวเสด็จราชดำเนิน มายังวัดพระบรมธาตุ มองไปทางพระบรมธาตุเจดีย์ มีต้นตาลเคียงคู่กับพระบรมธาตุเจดียื มีพื่้้นทรายที่สะอาด ยังไม่มีกำแพงทั้งหมด มีป่ามะพร้าว ต้นไม้ ทางเดินเล็กๆ มี หอระฆัง ตั้งตระหงาด มีวิหารต่างๆที่ชำรุดไปตามกาลเวลา มีวัดพระเดิม วัดมังคุดเคียงข้างอยู่กับวัดพระบรมธาตุทางด้านทิศเหนือ และต่อมาเมื่อวัดมังคุดเป็นวัดร้างก็ตั้งเป็นโรงเรียนพระเสื้อเมือง ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตถ่ายโดยคุณแปะโค แซ่เซี้ยว(ยรรยงนิเวศ)(รุ่นพ่อ)ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2490 จากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณ สายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)(รุ่นลูก) เมือ 5 มกราคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตถ่ายโดยคุณแปะโค แซ่เซี้ยว(ยรรยงนิเวศ)(พ่อ)ภาพอดีตถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2490 จากคุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณ สายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)(รุ่นลูก) เมือ 5 มกราคม 2557
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณถนนราชดำเนิน หน้าวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ภาพขบวนแห่นาคเพื่อบรรพชาอุปสมบทของคุณทวีศักดิ์ พัฒนกิจจำรูญ ถ่ายเมื่อ 10 กรกฎาคม 2509 ภาพจากคุณพศวัฒน์ พัฒนกิจจำรูญ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มิถุนายน 2557
ภาพอดีต เก่าไป-ใหม่มา ภาพป้ายเก่า ภาพจากอาจารย์อำนวย ทองทะวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 16 มกราคม 2557
เมื่อดูถัดมาอีกก็เป็นประตูที่ พระเจ้่าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพระยุพราช ได้สร้างไว้ ประวัติการ สร้างประตูเยาวราช ประตูทีรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชาเมือครั้งยังดำรงตำแหน่งพระราชอิสริยยศเป็น พระยุพราช เมือ คราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักต์ใต้ ร.ศ.128(2452)และได้พระราชทานนามว่า”ประตูเยาวราช”ลักษณะประตู ประตู เยาวราชเป็นประตูกลาง เป็น ประตูซุ้มขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายปูนปั้น ฐานย่อไม้่สิบสอง เป็นเรือนจตุรมุขด้านหนึ่งมีหน้ามุขสองชั้น หน้าบันด้านหน้าทำเป็นรูปพระเกี้ยวและมีตัวหนังสือบอกว่า ร.ศ.128 หน้าบันด้านหลังทำเป็นลวดลายปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑจุดนาค หน้าบันด้านเหนือใต้ทำเป็นรูปเทพพนมประกอบลายไทยยอดซุ้มทำเป็นรูปยอดพระมหา มงกุฎ
- ประวัติการสร้างประตูหน้าวัดพระบรมธาตุอีก 2 ประตูสร้าง ในสมัยท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร โดยได้รับ ความร่วมมือช่วยเหลือจากท่านเจ้าคุณภัทธรธรรมธาดา(โสภิโต) ผู้เป็นช่าง ท่านเจ้าคุณภัทธรมุขมุนี(กนตสีโล) พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชและนายชุม ไชยคีรี เป็นผู้จัดหาทุน ไ้ด้สร้างประตูลักษณะเหมือนประตูเยาวราช ทั้งเหนือและใต้ โดยให้ชื่อประตูทั้งสอง ว่า”ประตูราชเดชและประตูไชยคีรี”โดยสร้างเมือประมาณ พ.ศ.2498(ข้อมูล จากหนังสือสารนครศรีธรรมราช ฉบับต้อนรับปีใหม่ 2517/อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช แบน คุณฐาภรณเถร เปรียญ เมือ 14 กย.2523)
.. เพื่อ เป็นการย้อยรอยเกี่ยวกับ โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ที่ชาวพุทธที่ได้มาสักการะ /บูชาพระบรมธาตุแล้วจะต้องน้ำภาพที่ถ่ายเป็นที่ระลึก บูชา ประกาศบุญกุศลความเป็นพุทธมามกะไว้ชั่วลูกหลาน..
- เมื่อ ท่านเดินทางเข้ามาในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหารทางด้านทิศเหนือ สิ่งที่ท่านจะต้องเจอะเป็นสิ่งแรกทางด้านทิศเหนือของโบราณสถานซึ่งบริเวณนี้ เป็นวัดอีกวัดหนึ่ง คือวัดพระโพธิ์ เดิม(วัดพระเดิม)ที่ยังเหลือเป็นร่อยรอยซึ่งต่อมาได้รวมเป็น วัดเดียวกันกับวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหารในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ประมาณพ.ศ.2458(วัดที่รวมกับวัดพระบรมธาตุมี่ อีกหนึ่งวัดคือวัดมังคุดปัจจุบันคือโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ)
ภาพอดีตเมืองคอน –ภาพใต้ต้น ศรีมหาโพธิ์อดีตวัดพระโพธิ์เดิม(วัดพระเดิม)ภาพจากหนังสือ นครศรีธรรมราช โดยวิเชียร ณ นครและคณะ, /ภาพจากคุณหงกิม/คุณอรุณรัตน์/คุณบริภันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร ภาพอดีตถ่าย เมือ พ.ศ.2524/และประมาณ พ.ศ.2497 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2557
1. มณฑปพระพุทธบาทจำลองบนฐานเจดีย์ใหญ่ โบราณลักษณะ การสร้างมณฑปบนเนินภูเขาสูง ภายในมีแผ่นศิลาสลักจำลองพระพุทธบาทนี้เป็นของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(พร้อม ณ นคร)ยาว 74 นิ้ว กว้าง 44 นิ้ว พระรัตนธัชมุนี(ม่วง)เมือครั้งยังเป็นพระศิริธรรมมุนี กับพระครูกาแก้ว(สี) ร่วมกันสร้างเมือ 1 มกราคม 2450 และบริเวณพระพุทธบาทด้านทิศตะวันออกมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในซุ้มหนึ่ง องค์คือ “พระบุญมาก”เชื่อกันว่ามีความศํกดิ์สิทธิ์ในทางขอ บุตร
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพอดีตบริเวณหาดทรายแก้ว ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจดีย์ ถ่ายโดยคุณครูตรึก พฤกษะศรี(รุ่นพ่อ)ถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2503 ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสถาพร พฤกษะศรี(รุ่นลูก)เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557
2.พระบรมราชานุสรณ์ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชและพระนางเลือดขาว อนุสาวรีย์ของกษัติย์ผู้ยิ่งใหญ่และพระชายา ผู้สร้างเมืองคอน หรือ นครศรีธรรมราชผู้ใหญ่ชะลอ เอี่ยมสุทธิ์ เป็นผู้สร้างถวาย พระเทพวินยาภรณ์เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เป็นผู้สร้างแท่นประดิษฐานไว้ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นองค์ปฐมกษัตริย์และเป็นผู้สร้งบ้านแปงเมืองของเมืองนครศรีธรรมราช โดยทรงสร้างเมืองนครเมือประมาณ พ.ศ.1098 และได้สร้างกำแพงป้อมปราการโดยรอบทั้งชั้นนอก ชั้นในด้วยพระปรีชาสามารถทำให้นครศรีธรรมราชเป็นมหานครใหญ่และมีอำนาจมาก มีเมืองขึ้น 12 หัวเมืองหรือ 12 นักษัตร
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณหาดทรายพระบรมธาตุแจดีย์ ภาพอดีตถ่ายโดยคุณเอี้ยมเล็ง แซ่ปุง(รุ่นพ่อ) ถ่ายเมือ พ.ศ.2518 ภาพปุจจุบันถ่ายโดยคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง(รุ่นลูก) ถ่ายเมือ มกราคม 2557ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบริเวณหาดทรายแก้ว พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร โดยคุณเอี้ยงเล็ง แซ่ปุง ถ่ายเมือ พ.ศ.2518 ภาพปัจจุบันโดยคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง(รุ่นลูก)ถ่ายเมือ มกราคม 2557
3.อนุสาวรีย์พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนกุมาร พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนกุมาร เป็นพระราชธิดาพระราชโอรสของพระเจ้าโคสีและพระนางมหาเทวีแห่งเมืองทันทบุรี ประเทศอินเดีย ทั้งสองพระองค์เป็นผู้อัญเชิญพระทันตธาตุ มาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้วและต่อมาพระเจ้าศรีธรรมรโศกราชได้สร้างประบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้วแห่งนี้
ณ ที่ตำแหน่งนี้เดิม มีหอระฆัง ต้นตาล(ต้นโหนด)มีต้นไม่ค่อนข้างเยอะมาก จะเห็นหอระฆังเป็นกระโจมสีขาว แะลได้รื้อถอนออกไปในเวลาต่อ มา
4.สถูปเจดีย์ 5 ยอดก่อน เข้าไปไหว้พระบรมธาตุเจดีย ทางด้านซ้ายมือ จะมีเจดีย์อยู่ 2 องค์ องค์แรก เขาว่ากันว่า เป็นเจดียที่องค์ที่อยู่ด้านในองค์พระบรมธาตุเจดีย เป็นศิลปแบบศรีวิชัย และที่ฐานของเดิมจะมีรูปปั้นพระแม่ธรณีบิดมวยผมประดิษฐานอยู่ในตึมซุ้มกับพระฐานเจดีย์สององค์(ปัจจุบันย้ายพระแม่ธรณีบิดมวยผมไปประดิษฐานที่หน้าพระพุทธบาทจำลองหลังปี 2500 ) และมีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำอีก 1 องค์เป็นศิลปลังกา
5.ประตูเหมรังศรีเป็นประตูเข้าสู่วิหารคต ด้านหน้า มีบานปิดเปิดทั้งสองบาน สองฝ่ายข้าประตูมีรูปสิงห์โตหินข้างละ 1 ตัว เป็นตัวผู้และตัวเมืย ที่จั่วมีรูปครุฑและนาคมิได้ทำอันตรายกัน แสดงให้เห็นว่าเมือได้เข้ามาในวัดพระบรมธาตุนี้แล้ว อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่สัตว์ไม่ประทุษร้ายกัน
6.ระฆังโบราณ
เมืองคอนเหอ แต่ก่อนเขาเล่ามาพระศรีธรรมโศกราชมีวาสนา ก่อพระบรมธาตุยอดทองคำมีมหาชนมาบูชา ผู้คนมานับถืออุปถัมถ์ก่อพระบรมธาตุทองคำ เช้าค่ำคนมาไว้/เมืองคอนเหอ มีพระนอนแจ่มหน้ามีโพธิ์ลังกา มีพระอุ้มทองมียักเขี้ยวยาว ถือไม่ตะบองมีพระอุ้มทอง ฆ้องกลองอยู่เคียงกัน/อ่า เออ เหอ ไปคอนเหอ ไปแลพระนอนและพระนั่งพระพิงเสาดั้ง หลังคามุงเบื้อง
เข้าไป ในห้อง ไปแลพระทองเขาทรงเครื่อง
หลังคามุงเบื้อง ทรงเครื่อง ดอกไม้.…ไหว/เมืองคอนเหอ มีพระนอนทรงเครื่องมีศาลาหน้าเมือง เจดีย์ทองสูงใหญ่มีตลาดวัดศพ สองปากประตูชัยเจดีย์ทองสูงใหญ่ ใครไปยกมือไหว้
7.พระวิหารพระทรงม้าหรือพระวิหารพระมหาภิเนษกรณ์พระวิหารทรงม้า นายพลิติ นายพลิมู่ย เศรษฐีชาวลังกาเป็นผู้สร้างมีบันไดทอดลงมาจากกำแพงแก้ว จำนวน 23 ขั้น ตรงกลางห้องระหว่างหลังคาเดี่ยกับวิหารพระเขียนมีผนังกั้นประจำห้องกว่าง 5 วา 3 ศอก 8 นิ้ว สูง 7 วา สร้างตอนที่ทั้งสองมาบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา เหตุที่ได้สร้าง โดยพระเจ้าลงกาให้มาช่วยเหลือในการก่อสร้างพระบรมธาตุแต่มาไม่ทัน เมือ่มาถึงพระบรมธาตุได้สร้างเสร็จแล้วครันบุตรชายเจ้ามุดกับเจ้าหมูทะเลาะกันและฆ่ากันตายบิดาเสียใจมากจึงได้นำอัฐิมาตำเคล้ากับปูนปั้นเป็นรูปพระสิทธารถนางพิมพา พระราหุล รูปนายฉันนะและรูปต่างๆคนละข้างกัน
8.องค์พระบรมธาตุเจดีย์บรรพบุรุษ บรรพชนของเรา ท่านมีความรอบรู้ มีความฉลาด มีความเป็นอริยบุคคล เพื่อที่จะถ่ายทอด-สืบทอดพระศาสนาในรุปแบบต่างๆ เช่นสร้างโบราณสถาน โบราณวัตถุ เพิ่อเป็นพุทธบูชา รปูแบบสืบทอดในรูปแบบในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นแบบเพลงร้องเรือ(ของชาวใต้) รูปแบบศิลปวัฒนธรรมต่างๆ และในชีวิตประจำวันมีการสืบทอดในรูปแบบศิลธรรมในขั้นพื้นฐาน ขั้นสูงสุด เพื่อการหลุดพ้นสำหรับโบราณสถานจะเป็นรูปแบบเชิงสัญญาลักษณ์-สร้างเป็นแบบปริศนาธรรมพร้อมทั้งเพื่อเป็นพุทธบูชาสำหรับการสร้างที่เป็นเชิงปริศนาธรรมพร้อมเป็นพุทธบูชา เป็นการสืบทอด มีการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์แบบต่างๆสำหรับเมืองคอนของเราพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์เพื่อบรรจุพระทันตธาตุ ณ หาดทรายแก้ว และในการจัดสร้างโบราณสถานและโบราณวัตุในบริเวณวัดพระบรมธาตุทั้งหมดจะเป็น คำสอนและเป็นปริศนนาธรรมทั้งหมด
ภาพอดีต-พระบรมธาตุเจดีย์ ภาพจากคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ “หนังสือประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้ฯลฯ”ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2557ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวม-ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคน”เมืองคอน” และเมือง 12 นักษัตร ภาพจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(สาขาหัวอิฐ) ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ มกราคม 2557“เสายูปะ” อิทธิพลศิลปะลังกา เป็นแท่งหินขนาดเล็กปักลงไปในสถูปทั้ง ๔ ด้าน เพื่อบ่งว่าเป็นแกนกลางจักรวาล เป็นการยกย่องให้พระพุทธองค์ทรงเป็นศูนย์กลางของจักรวาล นิยมทำลักษณะนี้ในสมัยโปลนนารุวะ ภาพจากเพจหลงเสน่ห์อาคารเก่าผมต้องขออนุญาตเพจวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร(โดยคุณเฉลิม จิตรามาศ)ที่จะนำภาพ-และส่วนที่สื่อที่เป็นคำสอนนำลงในเพจเมืองคอน.comเฉพาะช่วงบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ลานปทักษิณาวัตร.รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์.สอนอะไร ?
ฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส..
มีพระเจดีย์ขนาดเล็ก ประดิษฐาน สี่มุม.คือ.สติปัฎฐาน 4.คือ
พิจารณาเพื่อเป็นฐาน หรือที่ตั้งของ “สติ”มี.กาย.(กายะ)ความรู้สึก.(เวทนา)
การจดจำ. (จิต)และ ธรรมชาติ.(ธรรม)สักแต่ว่ามี สักแต่ว่าเป็นเท่านั้น
ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เขา..ไม่ใช่สัตว์..ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ..
เราเองไปยึดมั่นถือมั่นเองแล้วทุกข์.โปงทรงระฆังคว่ำ
คือ”โลก”หมายถึง.ชีวิตสัพพสัตว์.ที่หมุนรอบในความโลภ โกรธ หลง.อยู่นาที:นาที.ที่เรียกว่า
“วัฏฏจักร” บางนาทีดี.พอใจ.บางนาทีชั่ว..ไม่พอใจ..
การเรียนรู้โดยวิธี เดินเวียน 3 รอบ (ทักษิณาวัตร)..เพื่อตรวจ
ความรู้สึกตนเอง(อารมณ์-สติ)..เพื่อเพิ่มพูน.ในสิ่งที่ดี ๆ
และลดละเลิก..ในสิ่งที่ดี ๆ..แท่นรัตนะบัลลังค์ และพระอริยสาวก 8 องค์…
สอน.สื่อ.ถึงอะไร ?
…แทนรัตนะบัลลังค์เป็นจุดตั้งต้นไปสู่”อริยมรรค”…คือ
“อริยสัจจ 4 “..ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค..นั่นเอง.
“พระอริยะสงฆ์”..8 องค์ คือ
อริยะมรรค มีองค์ 8 หนทางอันประเสริฐ สำหรับ
ปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์..
นั่นเอง.. — กับ เฉลิม จิตรามาศ“สุดยอด คำสอน” คือปัญญา..1. ปล้องไฉน 52 ชั้น.คือ….เจตสิกทุกๆคนมี 52 ดวง..ถูกปรุงแต่งไม่เหมือนกัน..หากลดการปรุงแต่งลง..
กิเลสลดลง..ความเป็นตัวตน
เล็กลง..กิเลสเบาบาง..เป็นบัวพ้นน้ำ..พร้อมที่จะบาน.
2. บัวคว่ำ.บัวหงาย..คือ…ที่คว่ำ คือเงาของดอกบัว
ที่ปรากฎอยู่ในน้ำ.ส่วนบัวหงาย คือบัวบาน..
( ปัญญา.รอบรู้) ทองคำ..160 กก.หมายถึง โลกุตตรธรรม 9
คือ มรรค 4 (หนทางปฎิบัติ)..ผล 4 (ได้ลดกิเลส)..และนิพพาน 1
ดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง..9.เจดีย์ทิศ 4 องค์บนฐานประทักษิณพื้นกำแพงแก้ว กว้างยาวเท่ากันทั้งสี่ทิศ ด้านละ 12 วา 2 ศอก บนกำแพงแก้วมีใบเสมาและรั้วล้อมรอบมีฉัตรโบกกระดิ่งทำเป็นรูประฆังห้อยใบโพธิ์แวลาต้องลมแกว่งไกวกระทบกันมีเสีบงดังอยู่เสมอ ปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้นายบุญศักดิ์ อยู่ปากพนังฝั่งตะวันออกพร้อมด้วยญาตมิตรพวกพ้องสร้างเมือ พ.ศ.2428 มีเจดีย์อยู่4 มุมกำแพงแก้วทำเป็นซุ้มบรรจุพระพุทธรูป
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพลานทักษิณและเจดีย์ทิศประจำทิศ(เจดีย์ประจำมุม)บน ลานพระทักษิณรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ถ่ายเมือครั้งที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมือง คอน,หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพจาก นครศรีธรรมราชโดยวิเชียร ณ นครและคณะ ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ 5 มกราคม 2557
10.พระวิหารทับเกษตรหรือพระระเบียงตีนพระธาตุ(หลังคากระท่อมชาวนา)พระระเบียงทับเกษตรนี้ พระศรีมหาราชา จัดการสร้างเมือ พ.ศ.1861 กว้างยาวเท่ากันทั้งสี่ด้าน ด้านละ 18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว มีพระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปนั่งทั้ง 4 ทิศ(เดิม)คือทิศเหนือพระพุทธรูปยืน 14 องค์ พระพุทธรูปนั่ง 9 องค์ ทิศตะวันออกพระพุทธรูปยืน 15 องค์ พระพุทธรูปนั่ง 9 องค์ทิศใต้พระพุทธรูปยืน 12 องค์ พระพุทธรูปนั่ง 9 องค์ ทิศตะวันตกพระพุทธรูปยืน 14 องค์ พระพุทธรูปนั่ง 10 องค์ รวมทั้งหมด 92 องค์ท่อระบายน้ำรูปหัวสัตว์ ใช้ระบายน้ำจากลานประทักษิณขององค์พระธาตุผ่านรางบนหลั งคาวิหารทับเกษตรลงมา ซึ่งมักพบในศิลปะลังกา ภาพจากเพจ หลงเสน่ห์อาคารเก่า ภาพพระศรีอริยเมตไตรยภาพอดีต เมืองคอน-ภาพบริเวณซุ้มพระเรียงรายรอบฐานองค์พระบรมธาตุ พระวิหารทับเกษตรตรงมุมแรกทางเดินพระเจ้าตากถ่ายเมือครั้งที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราชภาพอดีตจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน ภาพปัจจุบัน ถ่ายเมือ 18 มกราคม 2557ภาพอดีต เมืองคอน-ความเปลี่ยนแปลงซุ้มพระพุทธ รูปยืน บริเวณตีนพระธาตุ จากหนังสือ เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุเมืองคอน โดยนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิชและคณะ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2547 ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ 5 มกราคม 2557
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพทางพระเจ้าตากวิหารทับเกษตร ถ่ายเมือในคราวที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ 5 มกราคม 2557
มุมมหานิยม ทดสอบ สติ/สมาธิ
ภาพอดีต เมืองคอน-ภาพทางพระเจ้าตากวิหารทับเกษตร ถ่ายเมือในคราวที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ 5 มกราคม 2557
11.พระวิหารเขียนหรือพิพิธภัณฑ์ของวัดที่ได้ชื่ออย่างนี้เพราะแต่เดิมนั้นเสาและผนังของพระวิหารมีภาพลายเส้นอยู่เต็ม ชาวเมืองคอนจึงเรียนว่า “วิหารเขียน”ผู้สร้างพระวิหารพระเขียนคือ หลวงศรีวรวงศ์ ได้สร้างเมือ พ.ศ.1919 และต่อมาเป็นที่รวบรวมสิ่งของมีค่าที่ชาวพุทธถวายสิ่งของต่างๆเป็น”พุทธบูชา”และเป็นสรขาพิพิธภํณฑ์สถานมีช่ือว่า”ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑ์” เมื่อ พ.ศ.2480
12.พระวิหารโพธิ์ลังกาหรือพิพิธภัณฑ์ของวัดที่ได้ชื่อเพราะว่าตรงกลางของวิหารมีลานสำหรับปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นใหญ่ เชื่อกันว่าพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ได้พันธ์มาจากลังกาภาพอดีต เมืองคอน-พระไสยาสน์(พระนอน)บริเวณพระวิหารโพธิ์ลังกา ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2521 พ.ศ.2547 จากหนังสือนครศรีธรรมราชโดย วิเชียร ณ นครและหนัึงสือเรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุเมืองนคร โดยนายแพทย์บัญชา พงษพานิชและคณะ ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) เมือ 5 มกราคม 2557
ภาพอดีต เมืองคอน-พระศรีมหาโพธิ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2521 ภาพจากหนังสือนครศรีธรรมราชโดย วิเชียร ณ นครและคณะ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 18 มกราคม 2557
ที่สุด
ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจและจากสถานที่ ต่างๆ พร้อมทั้งผู้ให้ข้อมูลจากเอกสาร,บุคคลที่นำ มาเผยแพร่ ความเป็นอดีตของพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อเป็น””พุทธบูชา””ต่อพระบรมธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์และบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อ การเผยแพร่ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้น แลในนามของคณะผู้จัดทำนายโกมล พันธรังษีและครอบครัว“พันธรังษี”
ประวัติและตำนาน วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระธรรมรัตโนภาส เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร
ตำนานพระ บรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช สวัสดิ์ รัตนเสวี ปี 2500
ประวัติสังเขป พระ บรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชกับเรืองเมืองนคร วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เจริญชัย พุทธรัต 19 กย.2508
เรียนรู้ บูชา พระ บรมธาตุเมืองนคร นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิชแลคณะ
เอกสาร การบูรณะ ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ กรมศิลปากร(2534-2535)
ประวัติวัดพระ บรมธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ คุณพ่อปลิ้ม วุฒิศักดิ์ 3 พค.2554
“นครศรีธรรมราช “โดยคุณวิเชียร ณ นคร คุณสมพุทธ ธุระเจน คุณชวน เพชรแก้ว คุณฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ คุณปรีชา นุ่นสุข
คุณศุภชัย(หนึ่ง)แซ่ปุง
คุณบัณฑิต พูนสุข หอจดหมายเหตุ นายกรัฐมนตรี
คุณหงกิม(โก้กิ้ม)/คุณอรุณรัตน์/คุณบริพันธ์(บอย) ริเริ่มสุนทร
คุณมณีรัตน์ -คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
คุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)
คุณอรรถ ศิริรักษ์
คุณสถาพร พฤกษะศรี
คุณสันถัต(เฉ่ง) สารรักษ์(ทองนอก),คุณนัสราห์ จำปากลาย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์และอาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมรา ชูทิศ
คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ
คุณจรัส ยก ถาวร
คุณเกษรา พันธรังษี
คุณเจษฎา พันธรังษี
ติดตามผลงานมาตลอด ชื่นชมครับ ขอบคุณที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆออกมา เป็นกำลังใจให้ทำต่อไปครับ
คุณนิธิพัฒน์ สุวรรณรัตน์ ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจครับ
ชื่นชมผลงานดีๆ ของท่านมากครับ ทำให้คนเมืองคอนรุ่นหลัง ได้รู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเกิดของตนเอง
และผมขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะครับท่าน komol
น่าดูมากๆ