ตามรอยพ่อหลวงเสด็จเมืองคอน จากร่องรอยแห่งความทรงจำ 2502
ก.ย. 20

ทรงเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังอ.ทุ่งสง โดยทรงเสด็จผ่านมาทางตำบลกะปางมีการจัดสร้างซุ้มรับเสด็จอย่างสวยงาม คณะผู้ว่าราชการจังหวัดนำข้าราชบริพาร และพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จ พร้อมทั้งได้ถวายพระแสงประจำเมือง ในอำเภอทุ่งสงนั้นมีราษฎรมาเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมาก มีราษฎรเปล่งเสียงขึ้นมาว่า “คิดถึงพระองค์มาหลายวันแล้ว” ซึ่งคงหมายถึงได้รู้ข่าวว่าพระองค์ท่านจะเสด็จจึงเฝ้ารอวันรับเสด็จด้วยอย่างใจจดจ่อ
พื้นที่รับเสด็จในตัวอำเภอทุ่งสงปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอทุ่งสง บริเวณสี่แยกถนนชัยชุมพล บริเวณนี้จะมีการจัดสร้างซุ้มในรูปแบบผสมผสานวัฒนธรรมไทยและจีน แสดงให้เห็นว่าพสกนิกรที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมัทั้งชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนที่ได้มาพึ่งบารมีพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ท่านอยู่ในอำเภอทุ่งสง มาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ซุ้มรับเสด็จในยุคสมัยนั้นดูอลังการและพิถีพิถันตามแบบฉบับซึ่งมีทั้งศิลปแบบไทยชาวบ้าน และผสมผสานด้วยศิลปผสมไทยและจีน ซึ่งต่างร่วมแรงร่วมใจจัดสร้างทั้งโดยภาคราชการ และประชาชน ทั้งประชาชนที่มาคอยเฝ้ารับเสด็จต่างจูงลูกจูงหลานมาคอยรับเสด็จทั้งสองพระองค์ท่านอยู่ก่อนเป็นเวลานานแล้ว
![]()
พสกนิกรในพระองค์ท่านต่างมารอชื่นชมพระบารมีอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จากนั้นทรงเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังอำเภอร่อนพิบูลย์
สถานที่รับเสด็จคือโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอร่อนพิบูลย์ โรงเรียนร่อนพิบูลย์เดิมซึ่งปัจจุบันพื้นที่นี้อยู่ติดกับตัวที่ว่าการอำเภอร่อนพิบลูย์ และโรงเรียนแห่งนี้ปัจจุบันยังเปิดสอน ในส่วนเป็นที่ทรงประทับของทั้งสองพระองค์ทางโรงเรียนยังคงดูแลเก็บรักษาไว้ โดยมีการพิมพ์ภาพที่ทั้งสองพระองค์ประทับใว้เมื่อปีที่เสด็จติดประดับใว้ให้รู้
สำหรับการจัดสร้างซุ้มรับเสด็จและพลับพลาชั่วคราวอันเป็นที่ทรงประทับเมื่อเสด็จมาเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอร่อนพิบูลย์นั้น ทางราชการได้มอบหมายให้ทางคณะครูอาจารย์โรงเรียนร่อนพิบูลย์เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างและเตรียมงานทั้งหมด ในขณะนั้นมีอาจารย์ศิลปะซึ่งจบการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่างในสมัยนั้นได้มาประจำตำแหน่งที่โรงเรียนร่อนพิบูลย์ ได้เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมด
จะเห็นได้จากภาพที่ทั้งสองพระองค์ทรงมีปฏิสันถารกับประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้น ดูเป็นบรรยากาศแบบพ่อแสดงความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกับลูก ความประทับใจนี้ฝังแนบแน่นในห้วงความทรงจำของชาวร่อนพิบูลย์และชาวไทยทุกคนไปตลอด จวบแม้กระทั่งทุกวันนี้หรือตราบนานเท่านานก็ยังจะคงได้ยินเสียงเล่าชานถึงพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย
ตรงบริเวณสี่แยกอำเภอร่อนพิบูลย์เป็นที่จัดตั้งซุ้มรับเสด็จที่ทางครูและอาจารย์ของโรงเรียนร่อนพิบูลย์ร่วมกันจัดสร้าง วัสดุในยุคนั้นก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยนำวัสดุจากธรรมชาติที่หามาได้เช่นไม้โครงเสา ไม้หมาก ไม้ไผ่ ไม้ระแนงต่างๆ นำมาตกแต่งประดับประดาเป็นสัญญลักษณ์พระบรมธาตุประจำจังหวัดบ้าง เป็นอักษรบ้าง อย่างสวยงาม
จากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินต่อมายังตัวอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ในขณะนั้นโดยใช้เส้นทางผ่านอำเภอพระพรหม (ปัจจุบัน) ผ่านสี่แยกหัวถนน(สี่แยกศาลามีชัย) เข้าสู่อำเภอเมืองโดยได้เสด็จเข้าสักการะพระบรมธาตุ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีความผูกพันและทรงศรัทธาทรงพระดำเนินตามรอยอดีจบูรพกษัตริย์ทรงพระศรัทธาในคำสอน และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงเป็น“พุทธมามกะ” และทรงเป็น “พุทธศาสนูปถัมภก” และพระองค์ยังเปี่ยมไปด้วยความเป็น“ธรรมราชา” ผู้ทรงปกครองแผ่นดินด้วยธรรมานุภาพซึ่งพระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม 10 ประการ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ และสังคหวัตถุ 4 ประการ ดำรงพระองค์สืบสานพระราชจริยวัตรตามรอยอดีจบูรพกษัตริย์ในอดีต ทรงปฏิบัติพระองค์ สมดังพระปฐมบรมราชโองการ ที่ทรงประกาศขณะประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม”
ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองที่พระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 ถวายพระสารีริกธาตุ ณ พระบรมธาตุเจดีย์ ในคราวเสด็จทรงนมัสการ พระบรมธาตุเจดีย์ พ.ศ.2502
ภาพขณะทรงเสด็จกราบนมัสการพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ด้านหน้าของวิหารหลวงฝั่งทิศใต้
ประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชมารอเฝ้ารับเสด็จจากภาพคือด้านหน้าของวัดพระบรมธาตุ ซึ่งจะมองเห็นโบสถ์วัดหน้าพระบรมธาตุ
เสด็จถึงศาลากลางประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชทรงเสด็จเข้านมัสการพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองนครศรีธรรมราช
ทรงเสด็จถึงพลับพลาที่ประทับ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชถวายพระบรมธาตุจำลอง
พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ในสมัยนั้นขณะยังรับราชการตำรวจร่วมถวายการอารักขาท่ามกลางประชาชนที่มารอเฝ้าชมพระบารมี
ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 โดยระหว่าทางรถพระที่นั่งพระราชดำเนินไปบนเส้นทางถนนราชดำเนินผ่านตำบลในเมือง ตำบลท่าวัง ประชาชนทั้งชาวไทยพุทธ ไทยอิสลาม และชาวไทยที่นับถือศาสนาคริสต์ต่างมาเฝ้ารอบรับเสด็จเต็มทั้งสองฝั่งถนนตลอดเส้นทาง มีการจัดทำซุ้มถวายพระพร ตลอดเส้นทาง ณ จุดสำคัญๆ เช่น ตรงถนนราชดำเนินด้านหน้าสมาคมพาณิชย์จีน , บริเวณชุมชนชาวท่าวังสี่แยกท่าวัง
เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งเพื่อไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกา์โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ (มณฑลทหารบก) ทรงพระราชดำเนินผ่านสวนรื่นฤดีและทรงสักการะวีรชนที่อนุสาวรีย์วีรไทยพร้อมทั้งตรวจแถวทหารที่ มณฑลทหารบกที่ 5 (ปัจจุบันคือ มณฑลทหารบกที่ 41)
ทรงเสด็จไปยังน้ำตกพรหมโลก ในระยะก่อนถึงประมาณ 10 กม.ทรงเปลียนยานพาหนะ เนืองจากทางที่จะเสด็จค่อนข้างกันดาร ที่ชาวเมืองคอนได้ร่วมมือกันทำทางขึ้นไปยัง น้ำตกพรหมโลก น้ำตกพรหมโลก ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช หรือเขาหลวง มีทั้งหมด 9 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
พระมหากรุณาธิคุณที่ยังจารึกในความรู้สึกของผู้เขียนและทีมงานเก็บรวบรวมภาพเหตุการณ์ (ขอขอบคุณภาพจากภาพยนตร์เสด็จพระราชดำเนิน ยูทูป, ภาพเปรียบเทียบในปัจจุบัน โดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศน์, เขียนและภาพโดยคุณศุภชัย (หนึ่ง) แซ่ปุง
ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม มอบให้โดยคุณชฎาพร แซ่หลี
ปวงข้าพระพุทธเจ้าชาวนครศรีธรรมราช ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หาที่สุดมิได้
เมื่อผมเข้าไปดูในเพจต่างๆที่นำเสนอสารคดีเกี่ยวกับพระองค์ท่านหรือรำลึกถึง พระเจ้าอยู่หัวที่เสด็จจากพวกเราไป อดน้ำตาซึมออกมาทุกครั้ง การเข้าไปดูกิจกรรมต่างๆที่ชาวไทยร่วมกันแสดงออกถวายซึ่งความอาลัยต่อพระองค์ไม่บ่อยนัก เมื่อดูทุกครั้งอดน้ำตาซึม อดอาลัยต่อพระองค์ไม่ได้ ถึงแม้จะรู้ว่านี้คือกฏธรรมชาติ ที่ทุกพระองค์ ทุกนามจะต้องพบเจอะ ไม่มีข้อยกเว้น จากความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา เมื่อ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ย่อมดับไปเป็นธรรมดา
ในนามของเพจ “”เมืองคอน.com””ขอน้อมเกล้าฯถวายอาลัย ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย แด่พระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่ง
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะจัดทำเพจเมืองคอน.comและชาวนครศรีธรรมราช
กิจกรรมร่วมถวายความอาลัยแด่พระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของชาวนครศรีธรรมราช
ภาพจากร้านรุ่งโรจน์พานิช ถนนบ่ออ่าง นครศรีธรรมราช ภาพโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)
มีห้างขายผ้าในตัวเมืองนครศรีธรรมราช คือห้างผ้าโชคดี ที่ทุกเช้า ก่อนให้พนักงานปฏิบัติงาน ทุกคนต้องออกกำลังกาย ร้องเพลงชาติและที่สำคัญมีเพลง””ต้นไม้ของพ่อ””ทุกเช้ารำลึกถึง ถวายความอาลัยต่อพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีคุณานุปการของชาวไทย นำโดยคุณอัมภาพันธ์ นิลประภา และกิจกรรมอีกอย่างคือ ในทุกวันอาทิตย์จะมีอาหารกล่องแจกแก่ประชาชน ในช่วงเช้า ซึ่งท่านปฏิบัติมาประมาณ 3-4 ปี เป็นกิจกรรมเพื่อแบ่งปัน
การแสดงออกถึงการถวายความอาลัย ของหน่วยงานราชการ เอกชน ชาวชนบท ชาวเมือง โดยมีดอกดาวเรือง 1 กอ 1 กลุ่ม หน้าที่อาศัย บ้านพัก ที่ทำการ /การแปรอักษร จากที่ต่างๆ
ขอบขอบคุณ
คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช
ช่วยกันถ่าย ช่วยกันเขียน คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) คุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง คุณวีรภัทธร สุวรรณภูมิ
อาจารย์สมพงศ์ สุพรรณพงษ์ แห่งเบญจมราชูทิศ/คุณกฤษณ์ เลขาพันธุ์/ร้านรุ่งโรจน์พานิช
คุณอัมภาพันธ์ นิลประภา ห้างผ้าโชคดี นครศรีธรรมราช
คุณวันพระ สืบสกุลจินดา/คุณเฉลิม จิตรามาศ
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี
ด.ญ ชนัญชิดา คงศรี ด.ช ณภัทร คงศรี คุณชำนาญ คงศรี
หอภาพยนต์ส่วนพระองค์/www.yootube.com/เพจต่างๆ /หนังสือ วีระไทย/ชาวนคร ทุกท่าน