ภาพแปะฟ้าเมืองคอน-วิกหนัง(โรงภาพยนต์)ของเมืองคอน “ความทรงจำที่หายไป”
ม.ค. 31
เมื่อระบบดิจิทัล เข้ามาธุรกิจหรือหลายๆสิ่งหลายอย่าง ทั้งวัฒนธรรมการพูดคุย การสนธนา ค่อยๆล้มตาย-หายจากไป จากสังคม ยิ่งปัจจุบัน สังคมเป็นสังคมก้มหน้า ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว พ่อ แม่ ลูก เครือญาติ มีความสัมพันธ์ ลดน้อยลง /เพื่อนกัน ต้องคุยกัน รักกัน มิใช้เอาแต่ก้มหน้า
วิกหนัง หรือโรงหนังก็เป็นสิ่งๆนั้น ในหลายๆสิ่ง ที่กำลังล้มตายไปจากสังคมเมืองคอน ทั้งที่วิกหนัง เป็นของคู่กับเมืองคอนมาเป็นเวลาช้านาน เมืองคอน เป็นเมืองใหญ่ ยิ่งใหญ่มาแต่โบราณเป็น”มหานครโบราณ” จึงมีวิกหนังค่อนข้างมาก ความทรงจำเมื่อเป็นเด็ก และทุกๆคนก็ว่าได้ ที่ได้มาเที่ยวงานประจำปีในงานประเพณีงานเดือนสิบ ก่อนที่จะเข้าไปเที่ยวงานในงานเดือนสิบ ตามวิกหนังจะมีหนังฉายต่อรอบ ชนรอบ เกื่อบรุ่งสว่างของวันใหม่ แล้วต่อด้วยการเข้าชม มโหรสพ/ชมกิจกรรมต่างๆในงานเดือนสิบบริเวณสนามหน้าเมือง เช่น หนังตะลุง มโนราห์ หรือมโหรสพอย่างอื่นในงาน จนรุ่งสว่างแล้วค่อยกลับบ้าน ผู้คนส่วนใหญ่จะต้องเลยมาดูหนังตามวิกต่างๆในเมืองคอนก่อน ผู้เขียนมาเที่ยวงานเดือนสิบกับอาคือคุณจรัส พันธรังษี อายุประมาณ 11-12 ขวบ มาดูหนังที่วิกดาว ความทรงจำว่าเรืองอะไร ตอนนี้กลับจำไปไม่ได้ และตอนโตได้มาศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สนามหน้าเมือง พักอาศัยอยู่ที่วัดเสมาเมือง เกือบทุกตอนเย็นเมือเสร็จภารกิจแล้ว เพื่อนๆที่อยู่ในวัยเดียวกัน จะต้องเดินไปที่หน้าวิกเนื่องจากรถยนต์ มีน้อย เป็นการประหยัดเงิน จึงเดินกันไปเป็นหมู่คณะวัยรุ่น ไปกันอย่างสนุกสนาม เพื่อไปชมโปรเตอร์หนัง -ดูหนัง กินขนมหวานหน้าวิกดาว แล้วเดินกลับ เป็นกิจกรรมสำหรับวัยรุ่นยุคนั้น หรืออาจมีหลายๆท่านที่มีความทรงจำอันมีคุณค่าต่อชีวิต ชีวิตคู่ต่อมามีการใช้ชีวิตร่วมกับใครๆหลายๆคน ซึ่งวิกหนังเป็นที่นัดพบของหนุ่ม-สาวของยุคนั้น
ยุคก่อนนั้นโอกาสที่จะได้ดูหนัง สามารถดูได้ 3 แบบ
1.ดูหนังในวิกหรือโรงภาพยนต์
2. ดูหนังกลางแปลง ใครจะดู”หนังกลางแปลง”จะต้องจะต้องคอยติดตามว่า มีฉายที่ไหนบ้าง จะเดินหนังเดินสาย “ฉายพรี” ตามสถานท่ี่ต่างๆ พวกคอหนังจะคอยติดตามข่าว ตอนฉายอาจช้าหน่อยเพราะจะต้องมีโฆษณาขายของ/ขายสินค้าคั้นการฉายบ่อยๆ แต่ฟรี แต่ก็มีหนังกลางแปลงกั้นผ้าแล้วเก็บเงินก็มีเหมือนกันแต่ก็มีส่วนน้อย
2.1 หนังเร่ที่นำหนังไปฉายตามเมือง หมู่บ้านทั่วไป ยุคก่อนส่วนใหญ่จะต้องลงเรือจากตลาดท่าแพ โดยมีเครื่องฉายหนัง-เครื่องครัวพร้อม ออกร่อนเร่ทางเรือ ออกฉายตามสถานที่ต่างๆ เช่นปากดวด ก็แวะฉาย ถึงอำภอสิชลก็แวะฉาย ถึงขนอมก็แวะฉาย (ความทรงจำโดยป้าสุชฎา มุ่งมิตร) เมือหนังออกจากวิกใหญ่/หรือรับหนังโดยตรงจากกรุงเทพฯ แล้วพวกหนังเร่จะรับช่วงต่อแล้่วไปทำการฉายโดยนำผ้ามาก้ันหรือสังกะสี ล้อมรอบแล้วเก็บเงิน การนำอุปกรณ์เกี่ยวกับการฉายหนัง-เครื่องครัวขึ้นจากเรือ จะต้องช่วงน้ำขึ้น-น้ำลงและคลื่นถ้าหากคลื่นใหญ่ทำให้การนำอุปกรณ์ เครืองฉายหนัง-อุปกรณ์เครืองครัวลำบากมากต้องรอจังหวะคลื่นด้วย จึงต้องระวังเป็นพิเศษและความชำนาญ
3.ดูทางช่อง ทีวี ซึ่งจะหาดูยากมากจะต้องเป็นบ้านที่มีฐานะถึงจะสามารถซื้อ ทีวีมาดูได้ จึงไม่ค่อยจะมีโอกาสดูเช่น ช่อง ๓ บางขุนพรหม
เมือก่อนการไป-มาระหว่างอำเภอเป็นเรืองยุ่งยากมาก เพราะรถยนต์ไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน การที่จะมาเที่ยวงานประเพณีงานเดือนสิบ มาได้ 2 ทาง 1.จะต้องนั้งเรือยาวจากบ้าน มานั้งรถยนต์ที่ชลประทานบ้านบางจาก/และที่บ้านชะเมาเพื่อเข้าเมืองคอน รถยนต์เป็นรถไม้แบบรถนครศรีฯ-ชะเมาปัจจุบัน ผู้เขียนและหลายๆคนชาวต่างอำเภอ ได้มางานเดือนสิบในยุคนั้น จะมีความรู้สึกตื้นเต้น นอนไม่หลับ โอกาสที่จะ”เข้าเมือง” มันยากมากๆ ต้องแต่งตัวใส่ชุดเก่ง คือ ชุดนักเรียนเต็มยศ ถือว่าหล่อที่สุด 2.ด้วยการเดินทางบ้าน(ชานเมืองคอนใช้วิธีนี้)
ชาวใกล้ๆเมืองคอนยุคก่อนคุณโชคชัย สุดสายเล่าถึง เมือก่อนจะมาดูหนังจะต้องนั้งรถไฟมาจากสถานีรถไฟมะม่วงสองต้นไปลงที่สถานีรถไฟบ้านนอกโคก(สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช) แล้วจะต้องเดินต่อไปดูหนังตามวิกต่างๆ เช่น วิกนิวส์คิงส์ วิกประตูชัยสิทธิ์ หรือต้องเดินจากบ้านเพื่อไปดูหนังตามวิกต่างๆ
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพรถยนต์ไม้สองแถว ยุคแรกๆของเมืองคอนที่ใช้วิ่งระหว่าง หัวถนนนครศรีฯ-บ้านบางจาก/หัวถนนนครศรีฯ-หัวสะพานชะเมา ภาพจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ซอยพัฒนา 3 และภาพของคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ถ่ายเมื่อประมาณ พ.ศ.2494
ความทรงจำเกี่ยวกับวิกหนัง มันประทับอยู้่ในใจ จนมาถึงยุคปัจจุบัน “มันเป็นความทรงจำที่กำลังจะหายไป”ทุกสิ่งทุกอย่างมันจะต้องไปตามกฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมือมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดาของโลกที่ใครจะห้ามไม่ได้
ก่อนที่ความทรงจำ-สถานที่เกียวกับวิกหนังเหล่านี้จะหายไปจนไม่เหลือร่องรอย ผู้เขียนจะขอรื้อฟื้นสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้รู้ว่า””เมืองคอน””ก็มีความทรงจำส่่วนนั้น เท่าที่คงเหลือในปัจจุบัน
อนึ่ง สำหรับข้อมูลบางข้อมูลเกี่ยวกับการสร้าง การเปิดฉาย การปิดกิจการอาจจะคลาดเคลื่อนบ้าง เพราะจะหาชาวเมืองคอนที่มีอายุ/ความทรงจำ และชมชอบการดูหนังในยุคโน้น ค่อนข้างจะหายาก และความทรงจำอาจลืมเลือนไปตามกาลเวลา จึงขอรบกวนผู้ที่มีประสพการณ์ชาวเมืองคอนตรงๆ แท้ๆช่วยชี้แนะ(ไม่ใช่แต่คิดตำหนิ/เอาหน้า คอยแต่เอาภาพของคนอื่นไปดัดแปลงเป็นของตนเอง) น่าจะให้คำแนะนำที่ดี เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องของเมืองคอนต่อไปครับ
1..วิกนิวคิงส์ ตลาดแขก ถนนศรีปราชญ์
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพวิกหนังนิวคิงส์ ถ่่ายเมือประมาณ พ.ศ.2511 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
วิกนิวคิงส์ อดีตคือวิกหนัง ชั้น 1 ของเมืองคอน เป็นวิกที่มาตรฐานที่สุดในยุคนั้น ลักษณอาคารคอนกรีต 2 ชั้น สร้างวิกหนังเมือ ประมาณ พศ.2511 ตั้งอยู่บริเวณถนนหลังป่าไม้จังหวัดนครศรีรรมราช-วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช เปิดฉายเมือประมาณ ปี 2511 เดิมวิกนิวส์คิงส์ เปิดฉายครั้งแรกโดยขอใช้พื้นที่ของวิก เริงรมย์ภาพยนต์ หนังเรื่องแรกของวิกนิวส์คิงส์สถานที่ใหม่ เมือเปิดวิกใหม่มีดารานำพระเอกตลอดกาล มิตร ชัยบัญชา/เพชรา เชาว์ราษฏร์ ปัจจุบันเป็นที่ของร้านเจริญพร บริเวณหน้าโรงหนังมีร้านน้ำชาดัง ของร้านโก้ยุ่ย แซ่ภู่ /ร้านน้ำชาป่าเขียม (คุณประทุม ศรีสวัสดิ์) ร้านน้ำชาป่าเขียมขายน้ำชามาถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นหน้าวิกยังขาย ขนมหวาน/ไอศครีม/ผลไม้ปั้น/ไก่ทอดและอื่นๆ และก่อนปิดตัวลงในยุคบิลเลียดรุ่งเรือง เป็นสถานที่เล่นบิลเลียด-สนุกเกอร์และปิดตัวลงในเวลาต่อมา ซึ่งในยุคนั้น มีต๋อง ศิษย์ฉ่อย(วัฒนา ภู่โอบอ้อม) เป็นนักสนุกเกอร์ เป็นนักกีฬาสนุกเกอร์จากภูมิภาคเอเชียคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการเล่นสายอาชีพ ทำให้ทุกแห่งหนของเมืองไทย เปิดโต๊ะสนุกเกอร์ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา วิกเกือบทุกวิกจะกลายเป็นที่เล่นสนุกเกอร์ ของคนไทย พื้นที่เดิมบริเวณวิกคิงส์นั้น เป็นบ่อนวัวชนของนายผม มีวัวดังๆในภาคใต้หลายคู่ที่มาชนยิ่งงานเดือนสิบแล้วยิ่งคึกคักเป็นอย่างมาก เพราะมีวัวชนกันทุกวัน และต่อมาสนามวัวชนได้ย้ายไปอยู่ที่โพธิ์เสด็จ ค่าผ่านประตูจะเก็บถูกกว่าวิกแถวหลังสถานีรถไป ต่อมาคนดูน้อยลงก็จะฉายหนังควบ 2 เรื่องบ้างจนมาถึงปิดกิจการเป็นยุคของสนุกเกอร์ ช่วงต๋อง ศิษย์ฉ่อยเฟื้องฟู
2..วิกดาว(วิกบน วิกนครภาพยนต์) ถนนยมราช หลังสถานีรถไฟ
วิกดาว/วิกนครภาพยนต์ อดีตคือวิกหนัง ขั้น 1 ของเมืองคอน เริมสร้าง ฉายหนังช่วงแรกประมาณ พ.ศ.2476-77 ของพ่อเจี้ยง ตระกูล ชาติตระการโกศล โดยมีชื่อว่า นครภาพยนต์ แต่คนทั่วไปมักชินกับการเรียกว่า วิกบน/วิกดาว คงอาจอยู่ใกล้สถานีรถไปและมีพื้นที่สูง
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพช่วงถนนยมราชอีกช่วงหนึ่ง บริเวณหน้าโรงหนัง”นครภาพยนต์”ชาวนครเรียกว่า”วิกบน”ต่อมาเปลี่ยนชือเป็นโรงหนัง”ดาว” ภาพอดีตจาก”ลิกอร์ทัวร์ /ร้านแป้งกรอบด้านข้างสหไทยพลาซ่า” ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2502 ถ่ายภาพอดีตโดยคุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้) ภาพปัจจุบันถ่ายเมือง ตุลาคม 2559
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพบรรยากาศหน้าวิกดาว ในอดีต ที่คราครำ่ไปด้วยผู้คน เพราะเป็นย่านที่เจริญรุ่งเรือง อยู่ติดกับสถานีรถไฟบ้านนอกโคก ปัจจุบันคือ สถาน่ีรถไฟนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นขนส่งทางบกชนิดเดียวในเวลานั้น ที่เดินทางสะดวกที่สุด ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2499 ภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร/คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ภาพปัจจบันถ่ายเมือ 17 สิงหาคม 2556
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพตั้วสำหรับดูหนัง ของวิกดาว หรือ นครภาพยนตร์ เมื่อ 18 มกราคม 2507 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ในราคา 8 บาท
วิกดาวหรือวิกนครภาพยนต์ หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า”วิกบน” ตั้งอยู่ที่ถนนยมราช หลังสถานรถไฟนครศรีธรรมราช เป็นของพ่อเจี้ยง ตระกูลชาติการโกศล ที่เรียกว่า”วิกบน”เดิมคงเป็นเนินสูงที่ๆสร้างสถานีรถไฟต้องตั้งอยู่ที่สูง และวิกดาวน่าจะอยู่ในแนวเนินนี้ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกว่า”วิกบน” คือวิกที่อยู่ที่สูง เดิมนั้นวิกดาว มีชื่อว่า”วิกนครภาพยนต์” เปิดฉายครั้งแรก เมือประมาณ พ.ศ.2476-77 และเปลี่ยนชื่อมาเป็น”วิกดาว”ประมาณ ปี พ.ศ. 2511 และหยุดฉายเมือประมาณ พ.ศ.2530 ย่านนี้จัดเป็นย่านชุมชนใหญ่ของเมืองนคร มีทั้งโรงหนัง สถานีรถไฟ ชุมทางรถยนต์ ใกล้ตลาดคลองทา ถนนสาย(รวมถึงถนนจำเริญวิถี)นี้จึงคราครำ่ไปด้วยผู้คน ตั้งแต่เช้า จรดคำ่ ยันดึก มีร้านค้า พร้อมทั้งเป็นศูนย์ของนักสะสมพระเครือง-เครื่องรางของขลังที่ใหญ่สุดของเมืองคอน มีร้านค้าสินค้ามีทุกประเภท ทุกรูปแบบ ค้าผ้า ของกินของใช้ ร้านอาหารทุกรูปแบบ ร้านขายของคึกคักตลอดทั้งวันทั้งคืน มีอาหารการกินทั้งคาว หวาน มีครบทุกชนิด และบริเวณนี้มีตำนานร้าน”แป้งกรอบ”โดยคุณฮึ่งและคุณเยาวลักษณ์(ที่ถ่ายภาพไว้)เจ้าของร้านแป้งกรอบ ทีมีสูตรลับเฉพาะที่มีความนุ่มและกรุบกรอบ ที่ขึ้นชื่อเสียงในอดีตร้านหนึ่งในย่านนั้น ใต้โรงแรมด้านหน้า มีตำนานร้านก๋วยเตียวเป็ด ร้านขายเหล้าต่างประเทศ เป็นร้านใหญ้ 3 คูหาใต้โรงแรมศรีไทย(เลิกกิจการแล้ว) อันลือชื่ออยู่ร้านหนึ่ง คือร้าน”ทีไฮ้ที” ย่านนี้เป็นย่านที่”ไม่เคยหลับ”ย่านหนึ่งของเมืองคอนในอดีต
ย่านหน้าวิกยังมีของอร่อยมากมายเช่น ขนมน้ำดอกไม้-ขนมสีเทาๆ ใส่น้ำนมแมว ของป้าภู่ /ขนมปากหม้อของเจ็เค็ก/บัวลอยไข่หวานของ เฮาหม้อ(แปลว่าผมดำ)ฯลฯ ในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ญีปุ่นขึ้นที่ท่าแพเพื่อเข้าโจมตีเมืองคอน วิกดาวก็เป็นสถานที่จดรถของทหารญี่ปุ่น ผู้คนต้องเข้าไปหลบภัยที่หลุมหลบภัยที่สถานรถไฟทีบ้านนอกโคก(นครศรีธรรมราช)
ภาพอดีตซาก ประตูโรงหนังวิกดาว ช่วงแรกชื่อ “นครภาพยนต์” เป็นประตูด้านนอกที่เป็นบานเปิด จำนวน 2 ประตู 4 บาน ยังคงเหลือซากอยู่ ภาพจากอาจารย์สมมาตร แก้วหนู(เต็มสงสัย)
ภาพอดีต ภาพที่ติดตั้งที่โรงแรมศรีไทย บริเวณด้านขวามือของวิกดาว ยุคนิยมอเมริกา น่าจะเป็นภาพบริเวณของรัฐฟลอริดา ที่เป็นที่นิยมหลงชาติ อเมริกา ในยุคนั้น ภาพจากอาจารย์สมมาตร แก้วหนู
3..วิกนครชัย(วิกล่าง วิกเริงรมย์) ถนนยมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณโรงภาพยนต์”เริงรมย์ภาพยนต์”วิกล่าง สร้างและเปิดฉายหนังประมาณ พ.ศ.2476-77 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น”ธรรมราชภาพยนต์ เมื่อประมาณ 2498 “นิวคิงส์ภาพยนต์ 2500 กว่าๆ ปิดชื่อนิวคิงศ์ภาพยนต์ เมื่อ ประมาณ พ.ศ.2510 และเปลี่ยนชื่อเป็น วิกนครชัย เมื่อ พ.ศ.2511 และสุดท้ายก่อนหยุดฉายคือ”นครชัยภาพยนต์ และหยุดฉายหนังเมือ ประมาณ พ.ศ.2530 ภาพและข้อมูลภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ /คุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 17 สิงหาคม 2556
ภาพบริเวณหน้าวิกนครชัย ในอดีต ปัจจุบันคือลานจอดรถและธนาคมาออมสินสาขานครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
ภาพอดีตวิกนครชัย ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2502 จากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเมื่อ มิถุนายน 2554
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพวิกนครชัย ช่วงใช้ชื่อวิกเรืิงรมย์ภาพยนต์ ภาพบรรยากาศหน้าวิก ภาพบรรยากาศที่รถแห่หนัง เมือ ก่อนจะทำการฉาย ภาพจากคุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ คุณเอื่อมพร ไชยมุติ คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ(ป๋อง โฟโต้)
วิกนครชัยเดิมคือ”เริงรมย์ภาพยนต์”วิกล่าง สร้างและเปิดฉายประมาณ พ.ศ.2476-77 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น”ธรรมราชภาพยนต์ เมื่อประมาณ 2498 “เปลี่ยนชื่อเป็น”นิวคิงส์ภาพยนต์” เมื่อ ประมาณ พ.ศ.2500 และปิดชื่อจากนิวคงส์ภาพยนต์ เมือ พ.ศ.2511 และชื่อใหม่ นครชัยภาพยนต์เมือ พ.ศ. 2511 และหยุดฉายเมือ พ.ศ.2530 วิกนครชัย เป็นของเฒ่าแก่หัวล้าน เช่าโดยโก้เตี้ยง จิรภา เป็นชาวหาดใหญ่
ในอดีตวิกนครชัยภาพยนต์ ในอดีตคือวิกหนังชั้น 1 ของเมืองคอน สภาพของวิกพื้นวิกหนังเป็นพื่นปูน ด้านในมีร่องน้ำริมขอบเวทีมีร่องน้ำตื่นๆตลอดแนวขนานกับเวที เพื่อให้เด็กๆหญิง-ชาย สามารถเยี่ยว(ปัสสาวะ)ได้ น้ำเยี่ยวก็จะไหลไปตามร่องน้ำไปสู่ด้านนอกวิก ห้องน้ำมี 1 ห้องด้านประตูทางออก มีเลือดและยุงมากสำหรับผู้ชมหนังเป็นจำนวนมาก ค่าตั๋ว ดูหนัง ประมาณ 5 บาท โดยแบ่งเป็นชั้น
ชั้น 1 ที่นั้งอยู่ชั้นบน มีทางเข้าที่นั้งดูหนัง จากด้านหน้า ลักษณะที่นั้งเป็นเก้าอี้ตัวเดียว มีพนักพิงแบบมีเบาะ แยกเป็นสัดส่วนของเก้าอี่้
/ชั้น 2 มีทางเข้าร่วมกับชั้น 3 แต่มาแยกทางเข้าด้านในอีกที่ ระหว่างชั้น 2 กับชั้น 3 มีแนวร้ัวกั้น เก้าอี้แยกเป็นตัว ๆ มีพนักพิง
/ชั้น 3 มีที่นั้งตั้งแต่ติดขอบเวที จนถึงบริเวณกลางของวิกหนังมีรั่วกัน มีที่นั้งแบบม้ายาว ที่นั้งตีด้่วยไม่ระแนง มีพนักพิง
หนังที่ฉาย มีหนังคาวบอย คริ่นอี๋ดวู๊ด/หนังญี่ปุ่น โยธิอิโด/งูเก็งกิอง ของเขมร/ปาปญอง / แม่นาค แสดงโดยปรียา รุ่งเรืองฯลฯ
วงดนตรีของคณะต่างๆเข้ามาแสดงบ่อยๆ เช่น เพลิน พรหมแดน ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ผ่องศรี วรนุช และบางจังหวะมีมวยมาชก และโรงเรียนต่างๆทำกิจกรรมของโรงเรียนเพื่อหารายได้ทำการกุศล ณ วิกเริงรมย์ภาพยนต์ รอบฉายหนัง รอบ 19.00/21.00/13.00/09.00 นอกจากช่วงงานเทศกาลเดือนสิบหรืองานประเพณีอื่นๆ อาจเพิ่มรอบฉาย และฝากรถที่ตรงข้ามคือที่ลานของบ้านคุณมณีรัตน์ สุวรรณภูมิ
ด้านหน้าวิกนครชัย มีสินค้าของกิน-ของใช้ มีอย่างครบครับ มีร้านไอศครีมโบราณ ของโก้ยี่/ร้านน้ำชาของโก้บ๊ค/ร้านน้ำชาของโก้ยี้(ภาษาจีนแปลว่า คนที่ 2)/ร้านก๋วยเตียวของโก้เหนียว/ร้านขายถั่วคั่ว ถั่วต้ม มันฉาบ /ปลาหมึกทุบด้วยฆ้อน(โดยตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆย่างเตาถ่านแล้วนำฆ้อนทุบเมือหมึก สุกและกรอบ)/ร้านขายหมี่ผัด และร้านของโก้ยี่ ไอศครีมโบราณที่ลือชื่อ ยังคงขายอยู่ในปัจจุบันได้ย้ายจากหน้าวิกนครชัยไปอยู่ตรอกหน้าวัดศรีทวี
ภาพอดีตลายกนกที่ติดตั้งบริเวณด้านบนประตูวิกนครชัย และพัสดุที่หลังจากรื้อถอน นำไปสร้างบ้านเลขที่ 3/13 ซอบสารีบุตร ภาพจากอาจารย์สมมาตร แก้วหนู
4..วิกอินทรา(สุรชัยรามา) หลังสถานีรถไฟ ถนนยมราช นครศรีธรรมราช
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพวิกอินทรา ถ่ายเมือ พ.ศ.2518 คราวน้ำท่วมใหญ่ เมืองคอน ภาพอดีตจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ซอยพัฒนา 3 ภาพปจัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพวิกหนังอินทรา คราวน้ำท่วมเมืองคอน ปี 2518 ภาพอดีตจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพน้ำท่วมเมืองคอน บริเวณถนนยมราชช่วงวิกอินทรา หลังสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ภาพจากคุณยงชัย ตันติศักดิ์ ภาพถ่ายเมือ พ.ศ.2518 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ ตุลาคม พ.ศ.2559
ภาพอดีตเมืองคอน-ภาพวิกอินทรา หลังสถานีรถไฟ นครศรีธรรมราช ภาพอดีตจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ถ่ายเมือ พ.ศ.2518 คราวน้ำท่วมใหญ่ เมืองคอน ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561 /ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง
ภาพอดีตเมืองคอน ภาพรถแห่หนังของวิกอินทรา ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ถ่ายเมือประมาณ พ.ศ.2520
ภาพตั้วหนังของวิกอินทรา(ตอนเป็นสุรชัยรามา)เมือวันที่ 27 กันยายน 2521
อดีตคือวิกหนัง ชั้น 1 ของเมืองคอน สร้างวิกหนังเมือประมาณ พศ.2510 เริ่มฉายหนังครั้งแรกประมาณ พ.ศ.2512 เดิมใช้ชื่อว่า “วิกสุรชัยรามา” และเช่าสถานที่จากขุนบวรรัตนรักษ์ เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัดร้างของเมืองคอน คือวัดสมิท และบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงสีของท่านขุนบวร ใกล้ที่ตั้งของโรงเหล้า ใกล้ที่ตั้งของโรงฝิ่นก่อนที่จะมาเป็นวิก อินทรา กิจการเป็นของโก้เอี่ยม ร้านทองมาลี-โกอัน ช่วงหลัง เป็นสถานบันเทิงที่ครบวงจรของผู้มาเที่ยวหาความสำราญ
และหยุดฉายเลิกกิจการ เมื่อประมาณ พ.ศ.2545 -2546ช่วงแรกใช้ชื่อว่า วิกสุรชัย รามา เป็นนักพากย์ที่ผู้คนชื่นชอบเป็นอย่างมาก เป็นวิกมาตรฐานที่คนนิยม มีนักพากย์ดัง คือคุณ สุรชัย(หนุ่ย)และอมราวดี ผู้คนล้นหลาม มีวงดนตรีมาแสดงหลายคณะเป็นประจำ
ในช่วงปี 2545 คุณวีรภัทธ สุวรรณภูมิ ได้เข้าชมหนังที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวโลก เป็นหนังแนวสืบสวน คือหนังของเจมส์บอนด์ 007 ตอน Die Another Day ซึ่งเป็นประทับใจและเป็นที่ชื่นชอบของหนุ่มค๊อฟเตอร์
5..วิกสมจินต์รามา ถนนจำเริญวิถี
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณหน้าวิกสมจินต์รามา ที่รุ่งเรืองในอดีตที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา ปัจจุบันคือห้างสหไทยสรรพสินค้า ภาพอดีตในคราวน้ำท่วมเมืองคอน เมือง พ.ศ.2518 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
ภาพอดีตเมืองคอน-บริเวณหน้าวิกสมจินต์รามา ที่รุ่งเรืองในอดีตที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา ปัจจุบันคือห้างสหไทยสรรพสินค้า ภาพอดีตในคราวน้ำท่วมเมืองคอน เมือง พ.ศ.2518 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
บริเวณหน้าสหไทยสรรพสินค้า อดีตค่ายย่านหน้าวิกหนังสมจินต์รามา ถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
ภาพนกขุนทองที่บอกรายการอาหาร ถ่ายเมื่อ ประมาณ พ.ศ.2490 ภาพจากคุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง
วิกสมจินต์รามา อดีตคือวิกหนังชั้น 1 ของเมืองคอน เป็นวิกที่ใหญ่ที่สุดในยุคก่อนและมาตรฐานวิกที่ติดแอร์ทั้งหลัง ซึ่งก่อนนี้วิกของเมืองคอนยังไม่ติดแอร์จะใช้แต่พัดลม วิกสมจินต์รามา เจ้าของคือโก้ตื้อ ก่อสร้างเมือ ประมาณ พ.ศ.2512 เปิดฉายครั้งแรก ประมาณ พ.ศ.2514 และเลิกฉายหนัง ประมาณ พ.ศ.2529 ในยุคนั้น เป็นที่แสดงของวงดนตรีคณะต่างๆ เช่น เพลิน พรหมแดน /ชาย เมืองสิงส์/ไวพจน์ เพชรสุพรรณ์ ฯลฯ ปัจจุบันสร้างเป็นห้าง คือ ห้างสหไทยสรรพสินค้า ห้างดังของเมืองคอน
เป็นวิกหนังที่มีหลายหุ้นส่วน เช่น เจ๊แมว ผู้พันวิโรจน์(หลังวิกวิโรจน์รามา) เป็นสถานบันเทิงที่ครบหลายรูปแบบ ทั้งร้านขายเสื้อผ้า ของกินของใช้ ด้านใต้มีร้านน้ำชา/ขายน้ำแข็งปั้นผลไม้ต่างๆของร้านเจ๊หวล ที่มีผู้เสริฟภายในร้านด้วยลูกสาวสวย 2 สาว มีลูกค้าติดกันตรึมทุกๆวัน มีร้านขายไอศครีมและอื่นๆมากมาย
6..วิกวิโรจน์รามา ถนนจำเริญวิถี
ภาพวิกวิโรจน์รามา ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 13 มกราคม 2561
วิกวิโรจน์รามา เป็นวิกหนังชั้น 1 ของเมืองคอนในอดีต ลักษณอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ติดแอร์ โรงหนังมาตรเทียบเท่ากรุงเทพ เจ้าของกิจการคือคุณป้าแมว สถานที่ก่อสร้างวิกวิโรจน์รามา เดิมคือสถานที่เรียกว่า”ป่ากล้วย” มีน้ำขังเป็นลักษณะบึงเล็กๆ มีต้นกล้วยอยู่อยู่เต็มบริเวณ มีบ้านมึุงด้วยจาก กั้นด้วยผาไม้ไผ่ อยู่ตรงกลางบริเวณบึงน้ำ มีสะพานไม้อันเดียวทอดไปหาบ้าน เป็นที่อยู่ของผู้มีอาชีพทำงานกลางคืน หนุ่มๆ ชอบเทียว ณ สถานที่”ป่ากล้วย” เปิดฉายครั้งแรกประมาณ พ.ศ.2518 ปิดการฉายหนัง ประมาณ พ.ศ.2536 อาคารโรงหนังยกพื้นสูงด้านใต้อาคารเป็นที่ขายสินค้าทุกประเภท ปัจจุบันคือวิกร้าง
7..วิกแกรนด์รามา ตลาดท่าม้า ถนนราชดำเนิน
วิกแกรนด์ ช่วงแรก ถ่ายเมือ 22มกราคม 2561
วิกแกรนด์ช่วงหลัง ถ่ายเมือ 22 มกราคม 2561
วิกแกรนด์ คือวิกชั้น 2 ของเมืองคอน ช่วงแรกตั้งอยู่ที่ซอย ณ นคร 1 ใกล้บ้านอาจารย์วิเชียร ณ นคร เริ่มฉายหนังครั้งแรกประมาณ พ.ศ.2507 เป็นวิกหนังของพ่อฉ้าย เป็นชาวปากพนัง ลักษณะอาคารเป็นอาคารไม้แบบโกดัง มีเก้าอี้ไม้เป็นแถวยาว ที่นั้งพับได้ แต่เดิมเก็บค่าดูหนัง ราคา 50 สตางค์ โดยไม่เก็บภาษี ตอนหลังต้องเลิกกิจการเนืองจาก เนืองจากมีการทุจริต จนไม่สามารถดำรงกิจการได้ ต่อมาลูกชายของโก้ฉ้าย คือคุณโสพิศ ได้เข้าดำเนินการต่อ และสืบทอดไปบุตรคนที่ 2 ของโก้ฉ้าย คือคุณโอ๋ และไม่สามารถดำรงกิจการได้เนืองจากพบปัญหาแบบเดิม จึงยุติการฉายหนัง จุดแรกและได้ใช้เป็นโก้ดังเก็บข้าวสารจากบริษัทค้าเข้าสาร ในราคา กระสอบละ 1 บาท และเลิกกิจการเรืองจากเจ้าของที่ดินขอคืนที่ดินเพื่อทำประโยนช์อย่างอื่น
และต่อมาคุณโอ๋ ได้เริ่มกิจการฉายหนังต่อ โดยได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ ที่ปากซอยประตูหลอด ช่วงประมาณ ปี พ.ศ.2519 โดยขอเช่าพื้นที่จากขุนวรรัตน์ ชื่อวิกแกรนด์ชื่อเดิม และฉายหนังได้ประมาณ 8 ปี คือประมณ พ.ศ.2527 ได้เลิกกิจการ ช่วงหลังผู้คนไม่นิยมดูหนังที่วิกแกรนด์ จึงแปลสภาพเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของพวก คอบิลเลียดและสนุกเกอร์และปิดการ ในยยุคของ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย เฟืองฟู โดยให้พนักงานฉายหนัง ขายตั๋ว ในวิกแกรนด์ ได้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่อมาก ปัจจุบันที่ทั้งสองแห่งได้กลายเป็นอาคารพานิชไม่มีสภาพคงเหลือของเก่าให้ดูอีกแล้ว
8..วิกนวกิจ ตลาดหัวอิฐ ถนนกะโรม
ภาพวิกนวกิจ ถ่ายเมือ 22 มกราคม 2561
วิกนวกิจ อดีตวิกหนังชั้น 1 ของเมืองคอน เป็นของคุณเทียนชัย นวกิจไพฑูรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนกะโรม บริเวณตลาดหัวอิฐ”ตลาดไม่เคยหลับ”ของเมืองคอน เป็นวิกที่สร้างมาช่วงหลัง เป็นวิกที่มีขนาดใหญ่ อาคารปูน 2 ชั้น มาตรฐานแบบกรุงเทพ มีที่นั้ง 2 ชั้น มีบันใดขึ้นชั้น 2 แบบวิกเซนต์จู่รี่ที่กรุงเทพในอดีต เนืองจากย่านนี้เป็นย่านการค้าเกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตรและสินค้าทุกชนิด เป็นตลาดที่ไม่เคยหลับ ทั้งวัน-ทั้งคืนมีัการจับจ่ายตลอดเวลาก็ว่าได้ เป็นตลาดค้าขายพืชผลการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ พืชทางการเกษตรทั่วทุกภาคของเมืองไทย มารวมกันอยู่ที่”ตลาดพืชผลหัวอิฐ” สาเหตุดังกล่าวทำให้มีผู้คนมากมาย มากหน้าหลายตา เกือบตลอเวลา จึงทำให้เกิดวิก”นวกิจ” เปิดฉายครั้งแรก ช่วงประมาณ เมือ พ.ศ.2520 และปิดการฉายเมือ ประมาณ พ.ศ.2531 เมือระบบดิจิทัลเข้ามาและมีนกนางแอ่นเข้าทำรัง จึงได้เลิกกิจการไป
9..วิกประตูชัย ข้างประตูชัยสิทธิ์ ถนนราชดำเนิน
ภาพที่ตั้งวิกประตูชัย ในอดีต ถ่ายเมือ 22 มกราคม 2561
วิกประตูชัย อดีตวิกหนังชั้น 2 ของเมืองคอน ลักษณอาคารเป็นอาคารไม้แบบโกดัง ปัจุบันเจ้าของที่ดังกล่าว เป็นของห้างสหไทยสรรพสินค้า เริ่มเปิดฉายก่อนปี 2510 เป็นอาคารไม้ และหยุดการฉายหนังช่วงประมาณ พ.ศ.2518 บริเวณที่ตั้ง อยู่ใกล้กับวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร อาณาเขตติดกับบ้านท่านขุนฯ และโรงเรียนนครวิทยา(ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว) จึงได้ก่อเกิดวิกหนังขึ้นมา เนืองจากเป็นย่านชุมชนย่านหนึ่ง ที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ หนุ่ม สาว ได้มาร่วมทำบุญที่วัดพระบรมธาตุฯ แต่ก่อนนั้นการเดินทางไม่สะดวก เมือมาถึงวัดแล้ว จะต้องรออีกวันหนึ่ง หรือสองวันถึงจะสามารถกลับภูมิลำเนาเดิมได้ ในช่วงดังกล่าว เพื่อเป็นการพักผ่อนหรือรอเวลากลับบ้านจึงได้มีเวลาดูหนัง ที่วิกประตูชัย เมื่อวิกหนังเลิกราไปเนืองจากการเดินทางสะดวกมากขึ้น การดูหนังผู้คนเดินทางไปดูหนังที่วิกชั้น 1 ของเมืองคอน หลังจากนั้นกลายเป็นที่พัก-ที่แสดงของคณะลิเกที่เดินสายมาแสดงทั่วทุกภาคของไทย ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยของห้างสหไทยสรรพสินค้า
10..วิกจันประภาภาพยนต์ ข้างวัดศรีมงคล หมู่ 8 ตำบลปากพูน
ช่วงแรกอดีตสถานที่วิกจันประภาพภาพยนต์ เจ้าของคือ ผู้ใหญ่ช้อยและเจ้าของต่อมาคือลุงถนอม ป้าเหี้ยง จนเลิกกิจการ
ช่วงอดีตสถานที่วิกจันประภาภาพยนต์ ที่มีคุณป้าพร้อยและแปะเจ้ง เป็นเจ้าของ
ช่วงอดีตสถานที่วิกจันประภาภาพยนต์ ทีมีผู้ใหญ่ฉ้อ อนันตขาล เป็นเจ้าของ ณ ต้นมะขามใหญ่ บริเวณริมคลองอีกซอยหนึ่ง
วิกจันประภาภาพยนต์ เป็นวิกมาตรฐานวิกใหญ่ เทียบเท่าวิกชั้น 1 ของวิกเมืองคอน ตั้งอยู่บริเวณข้างวัดศรีมงคล ปากน้ำปากพูน หมู่ที่ 8 ตำบลปากพูน เดิมบริเวณนี้ เป็นทางน้ำ ปากน้ำที่ทหารญี่ปุนเข้าโจมตีเมืองคอน เป็นท่าเรือใหญ่ที่มีเรืองการค้าของเมืองต่างๆ เข้ามาค้าขาย เป็นย่านชุมชนใหญ๋ สภาพวิกทำด้วยไม่้ทั้งหลังวิกใหญ่กว้างโดยประมาณ 15 เมตร ยาวประมาณ 40 เมตร ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาชมหนังและวงดนตรีจากคณะต่างๆที่เข้ามาแสดงเป็นประจำเช่น คณะไวพจน์ เพชรสุพรรณ ไพลวัลย์ ลูกเพชร สมยศ ทัศนพันธ์ ผ่องศรี วรนุช(ช่วงแรกที่ยังไม่ดัง) มายากลคณะไฉน แสงทองสุขฯลฯ
เจ้าของช่วงแรกเป็นของผู้ใหญ่ช้อย สร้างเมือประมาณ พ.ศ.2492 หยุดฉายและขายต่อ เมือ ประมาณ พ.ศ.2496 ให้แก่คุณป้าพร้อย แปะแจ้ง โดยมีนักพากย์ประจำคือคุณป้าสุชฎา มุ่งมิตร และคุณเทพศิริ เกียรติตระกูล โดยฉายที่เดิม และย้ายวิกเมือ ประมาณ พ.ศ.2501 ในซอยเดียวกันห่างจากที่เดิมประมาณ 50 เมตร ต่อมาป้าพร้อย แปะเจ้ง ขายต่อให้แก่ผู้ใหญ่ฉ้อ อนันตขาล และย้ายวิกจากที่เดิมของป้าพร้อย แปะเจ้ง ไปสร้างวิกใหม่ที่ใต้ต้นมะขามใหญ่ ริมน้ำอีกซอยหนึ่ง เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 และผู้ใหญ่ฉ้อขายต่อให้ ป้าเหี้ยง ลุงถนอม และป้าเหี้ยง ลุงถนอม และย้ายวิกมาที่เดิมของผู้ใหญ่ช้อย เมื่อประมาณ พ.ศ.2516 และเลิกกิจการเลิกฉายเมือ พ.ศ.2524 เนื่องจากลุงถนอมเสียชีวิต ไม่มีผู้รับช่วงต่อและขายที่ตั้งวิกในที่สุด
สภาพทั่วไปหนัาวิกหนัง ช่วงวิกของป้าพร้อย ราคาชมหนัง ท่านละ 3 บาท ช่วงของผู้ใหญ่ช้อย ราคา ท่านละ 3 บาท ราคาชมหนังของเด็กท่านละ 1 บาทหน้าวิกมีของขายทุกประเภททั้งของคาว ของหวาน ที่ประทับใจของผู้บอกเล่าประวัติอย่างหนึ่งสมัยเด็ก ที่ขายไข่เป็ด ต้ม ในราคา 25 สตางค์ ผู้ซื้อจะต้องหาคนซื้อจำนวน คราวละ4 คน แล้วจับฉลาก การทำฉลากกระทำโดยเอากระป๋องแป้ง แล้่วเขียนเป็นสัญญาลักษณ์ว่าอันไหนเป็นฉลากได้ มีจำนวน 1 อัน ใครจับได้ก็เอาไข่ต้มไป /ตังเมแบบมือหมุน เมื่อหมุนเลขไปตกที่ไดก็ได้เท่าจำนวนที่ระบุเมืออุกรณ์หมุนหยุด และอีกหลายอย่างแต่ที่ประทับใจในความทรงจำของคุณไพโรจน์ ทวีการณ์ เดิมท่านมีอาชีพมีเรือรับจ้าง จากท่าแพ-ปากพูน ราคา ท่านละ 2 บาท นักเรียน ท่านละ 1 บาท น้ำมันลิตรละ 85 สตางค์ ต่อมามามีอาชีพทำการประมง มีเรือ 3 ลำ และเลิกทำประมงเมือประมาณ พ.ศ.2550
11..วิกเฉลิมเกียรติ ปากน้ำปากพญา
ภาพอดีตวิกเฉลิมเกียรติ บริเวณด้านหน้าและช่องขายตั๋วหนัง ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ถ่ายเมือ 21 มกราคม 2561
ภาพอดีตวิกเฉลิมเกียรติ บริเวณด้านข้างซ้าย-ขวา ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ ถ่ายเมือ 21 มกราคม 2561
สถานที่อดีตวิกเฉลิมเกียรติ ด้านหลังและที่เก็บน้ำจืดเพื่อให้แก่ประชาชนของวิก ถ่ายเมือ 21 มกราคม 2561
อดีตสถานที่ภายในวิกเฉลิมเกียรติ ช่วง 2 ซึ่งยังมีความสมบูรณ์ แบบวิกหนังในอดีต ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ เมือ 21 มกราคม 2561
ภาพสถานที่อดีตหน้าวิกเฉลิมเกียรติ ทั้งคุณปิยะ คุณสุกานดา แสนเสนาะ ยังคงรักษาให้มีสภาพคงเดิม เหมื่อนเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ทั้งสภาพภายในวิกหนัง สภาพชานด้านหน้า พร้อมทั้งชานแนวเดินที่เดินตลอดแนวทั้งสองฝั่งคลอง ของปากน้ำปากพญาเพื่อติดต่อการค้าและอื่นๆ และร้านค้าที่ขาย/ขายสินค้าของรุ่น คุณพ่อ คุณแม่ และรุ่นลูก มีสภาพเหล่านี้เป็นภาพเหมือนเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ภาพปัจจุบันถ่ายภาพโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ เมือ 21 มกราคม 2561
วิกเฉลิมเกียรติ อดีตคือวิกหนังชั้น 2 ของเมืองคอน ลักษณอาคารเป็นอาคารปูน ประวัติการสร้างเดิมเป็นของท่านตาขุนสร้างในช่วงปี ประมาณ พ.ศ.2490 ช่วงเดี่ยวกับวิกดาวและนครชัยในตลาดตัวเมืองคอน และต่อมาขายกิจการให้ โก๊ตี๋ ในราว พศ.2507 โดยฉายหนังฟิลม์ ขนาด 35 มม. ได้ดำเนินการเปิดฉายหนังมาจนถึงประมาณ พ.ศ.2520 ได้ปิดกิจการลง สายหนังจะฉายต่อจากวิกนครชัย วิกสมจินต์รามา ชื่อวิกหนังได้ตั้งชื่อตามชื่อลูกชายคือคุณสมเกียรติ แสนเสนาะ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
ตอนสร้างครั้งแรกวิกเฉลิมเกียรติ อาคารไม้ มุงหลังคาด้วยจากพื้นวิกหนังเป็นพื้นดิน เมือ โก๊ตี๋รับกิจการมาได้ปรับปรุงเป็นผนังปูน พื้นลาดด้วยปูน มีเก้าอี้แบบไม้ที่นั้งติดกันเป็นตัวยาว
การประชาสัมพันธ์ หนังเพื่อให้ผู้คนเข้ามาชมหนังจะใช้วิธีการโดยเอาเครืองขยายเสียง ประกาศทางเรือไปตามลำแม่น้ำ
อดีตบริเวณด้านหน้าวิกติดริมคลองจะมีปั้มน้ำมันเชลล์ เปิดขายน้ำมัน เนื่องจากปากน้ำปากพญา เป็นประตูทางเข้าเมืองคอนอีกทางหนึ่ง มีเรือล่องเข้าออกมากมาย เป็นของคุณถมยา ขาวทอง เจ้าของหมู่บ้านสินสืบสุข
สภาพของปากน้ำปากพญาในอดีต ทั้งสองฝั้งคลองจะมีร้านค้าแบบศูนย์การค้า ชาวปากพนัง-ชาวขนอม ชาวสิชลจะเข้าเมืองคอน จะเข้าทางปากน้ำ ปากพญา การติดต่อ-เดินทางจะมีเฉพาะทางเรือ เฉพาะชาวปากพนังจะมาขนน้ำจืดเพื่อไปใช้สอย บ้านคุณ มีแท็งน้ำแท็งปูนขนาดใหญ่ที่รองรับน้ำฝนไว้คอยบริการ เนืองจากปากพนังมีน้ำเค็ม หรือจะเข้าเมืองคอน จะต้องเข้ามาทางปากพญาอีกทางหนึ่ง ที่ปากน้ำจะมีปัมน้ำมันของ ตระกูลขาวทอง สองฟากฝั่งจะมีสะพานเชื่อมต่อให้เดินตลอดแนว มีการค้าขายที่เจริญแนวริมน้ำเป็นกิโล เป็นที่ครึกคลื่น ณ.จุดนี้จึงมีวิกหนัง จำนวน 1 วิกคือ วิกเฉลิมเกียรติ และย่านนี้มี”ป้อมปืนใหญ่เป็นป้อมปราการของเมืองคอน” เพื่อใช้ป้องกันข้าศึก ที่บ้านศาลาสี่หน้า เดิมเมือข้าศึกจะเข้าโจมตีเมืองคอน จะเข้าทางปากน้ำ ปากพญาเป็นหลัก ปัจจุบัน ยังคงมีซากให้เป็นที่บริเวณปากนัำ ปากพญา
12..วิกนครวัฒนา(ปากน้ำปากนคร ต.ปากนคร)
สถานที่อดีตคือวิกนครวัฒนา บริเวณด้านหน้าวิกหันหน้าไปคลองปากนคร ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ เมือ 21 มกราคม 2561
บริเวณด้านท้ายของวิกนครวัฒนา ที่ยังคงเหลือสภาพให้เห็นว่าสถานที่นี่เคยเป็นวิกหนังที่ใหญ่วิกหนึ่งในอดีต ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ เมือ 21 มกราคม 2561
กองไม่้ที่รื้อจากวิกนครวัฒนา ที่เหลือจากใช้ก่อสร้างบ้าน ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ เมือ 21 มกราคม 2561
อดีตวิกนครวัฒนา เป็นวิกหนังชั้น 2 เทียบเท่าชั้น 1 ของเมืองคอน ตั้งอยู่ริมปากแม่น้ำปากนคร ถนนชุมชนบางหน้าบ้าน รับสายหนังมาจาก วิกนครชัย วิกสมจินต์รามา สร้างวิกหนังประมาณ พ.ศ.2516 เป็นวิกใหญ่ ขาดกว้าง ประมาณ 15 เมตร ยาวประมาณ 40 เมตร เป็นของคุณชะเอม ธารวัฒนา และปัจจุบันที่ดินเป็นของคุณพวงรัตน์ ชวนเจริญ ได้เลิกกิจการ เมื่อประมาณ พ.ศ.2526 และทำอาชีพประมงในเวลาต่อมา
ในการดำเนินการมีบุคคลสำคัญในการฉายหนังของวิกนครวัฒนามีจำนวน 3 คน/พนักงานขายตั้ว/เก็บตางค์ค่าประตู/ไปรับคนดูหนัง จำนวน 1 คน
1.นายเปรื่้อง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นชาวอยุทธยา ซึ่งท่านได้มาอยู่เมืองคอนตั้งแต่เริ่มตั้งวิกหนัง
2.นายเสรี ธารวัฒนา เป็นสามีของเจ้าของวิกหนัง
3.นายประสาท คุณชล สามีคุณจริยา คุณชล ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิกนครวัฒนา
4.คุณจริยา คุณชล ทำหน้าที่ พนักงานขายตั้ว เก็บค่าผ่านประตู(ค่าผ่านประตูเพื่อดูหนัง คนละ 6 .-บาท) ไปรับคนดูหนัง ของวิกนครวัฒนา
วิกนครวัฒนาเป็นวิกใหญ่ จะมีนักร้องจากในเมือง กรุงเทพมาแสดงปีละประมาณ 3-4 วงที่ มีวงดนตรีชื่อดังของเมืองไทยในอดีต
เรียม ดาราน้อย /เอกชัย ศรีวิชัยร้องร่วมวงดนตรีคณะอื่น ช่วงปี พ.ศ.2522 /รุ่งเพชร แหลมสิงห์/ชายเมืองสิงห์/ไวพจน์ เพชรสุพรรณ วงอื่นๆ และมโนราห์คณะต่างๆ
คุณปราสาท สุดชล ผู้ทำหน้าที่ ๑ใน๓ ของผู้ทำหน้าที่ฉายหนังของวิกนครวัฒนาในอดีต
บริเวณท่าขึ้นเรือ-ออกไปประชาสัมพันธ์ ริมน้ำทางเข้าไปวิกนครวัฒนา วิกหนังห่างจากท่าเรือ ประมาณ 40 เมตร ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 21 มกราคม 2561 ถ่ายโดยคุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ
การประชาสัมพันธ์หนังเวลาจะฉายว่าเรืองอะไรเพื่อจูงใจลูกค้า จะใช้วิธีตั้งเครืองขยายเสียงในเรือและประกาศไปตามลำน้ำ เมื่อถึงเวลาประมาณ 19.00 น.จะไปรับและส่งกลับเมือหนังเลิกฉาย โดยจะบีบแตร ตามลำน้ำผู้จะดูหนังก็จะลงเรือ โดยจะเก็บค่าโดยสารคนละ 2 บาท (คิดทั้งไป-กลับ)
13..วิกลุงอ่ำ เลิศบุรุษ ปากน้ำปากนคร
อดีตคือสถานที่วิกลุงอ่ำ เลิศบุรุษ ข้างด้านหลังร้านหมอสุพัตรา ข้างโรงพระจีน ปากนคร ปัจจุบันรกร้าง ถ่ายเมื่อ 24 มกราคม 2561
วิกลุงอ่ำ เลิศบุรุษ ปากน้ำปากนคร เป็นวิก ชั้น 2 แบบโบราณตั้งอยู่ที่ถนนปากน้ำปากนคร ข้างโรงจีนหรือศาลเจ้าบุ่นเถ้าก๋ง และสร้างหรือฉายมาตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2490 เดิมลุงอ่ำเคยบวชเรียนที่วัดน้ำรอบ มีเพื่อนสมัยบวชมากมาย เมือลุงอ่ำจะทำวิกหนังได้อุปกรณ์เช่น ไม่ไผ่ จากบ้านคุณเลียบ บ้านนาป่า อำเภอพระพรหม (แต่ก่อนเป็นเขตของอำเภอเมือง)ตัดเสร็จล่องแพมาทางคลองท่าน(คลองป่าเหล้า)แล้วมาช่วยกันสร้างจากได้มาจากปากพนังและแถวปากน้้ำ แต่ก่อนไม่มีน้ำจีดใช้ก็นำมาจากคลองท่านเพื่อมากิน-มาใช้ โดยใช้สารส้มแกว่งแล้วนำไปต้มเพื่อไปดื่ม อาคารของวิกหนังเป็นแบบมุงหลังคาด้วยจาก เสาใช้ไม้ไผ่ ฝาผนังใช้ไม้ไผ่สานเป็นลายต่างๆ เก้ามีม้านั้งก็ใช้ไม้ไผ่/ต้นหมากผ่าซีก ปูนั้ง โดยนำไม้ไผ่ปักลงในดินกระดานตั้งบนหัวไม้ไผ่ ปูด้วยกระดานเท่าที่มีและปูด้วยไม้ไผ่ ปูนั้ง 4 ซี่ ยาวค่าวิก(เท่าความกว้างของวิก) ที่นั้งของผู้ชมหนังไม่มีพนักพิง เมือฉายจนถึง พ.ศ.2505 โดยวาตะภัยคราวแหลมตะลุมพุก และได้เริ่มสร้างใหม่ โดยมุงจาก เสาใช้ต้นหมาก ที่นั้งก็ทำแบบเดิม และฉายอยู่จนถึง ประมาณ พ.ศ.2511 เนื่องจากอุปกรณ์อาคารวิกหนังผุ พัง ไปตามกาลเวลา จึงเลิกกิจการแไม่มีรับช่วงต่อ
หนังที่นำมาฉายเดินทางมาจากวิกนครชัย/เริงรมย์ วิกของผู้พันโกวิทย์ มุ่งมิตร และวิกในเมืองคอน ล่องเรือมาตมาจากท่าแพ ผ่านปากพูนเข้าฉายที่วิกจันประภา แล้วเข้าฉายที่ปากน้ำปากนครวิกลุ่งอ่ำ เลิศบุรุษ พร้อมติดตั้งเครื่องเสียงโฆษณามาด้วยจนจะถึงที่ฉายหนัง โดยมีทีมที่นำมาฉายเป็นประจำคือ
1.ทีมหนังของคณะรวมมิตร เป็นของแม่แผ้ว
2.ทีมหนังของคณะรวมพล ของหมวดโกวิทย์ โดยมีนักพากย์มาเสร็๋จคือ คุณป้าสุชฎา มุ่งมิตร คุณลุงเทพศิริ เกียรติตระกูล เป็นบุตรสาว/บุตรเขยของ หมวดโกวิทย์ พักอยู่ในค่ายวชิราวุธบริเวณต้นม่วงใกล้โรงเรียนโยธินบำรุงในปัจจุบัน
โดยมีอัตราค่าชมหนัง ชมลิเก ชมโนราห์ และจำหนายสินค้าราคาต่าง โดยคุณป้าสมหวัง มานะจิตต์ บุตรสะใภ้ คือ
อัตราค่าชมหนัง/ชมลิเก/ชมโนราห์ ผู้ชมคนละ 2 บาท
ราคาน้ำแข็งถู ราคา 50 สตางค์/หมึกจี ราคาชิ้นละ 25 สตางค์/กล้วยทับ 3-4 ลูก ราคา 25 สตางค์/ข้าวต้ม(บังหวัง) ราคา 50 สตางค์ /จะโกย คู่ละ 50 สตางค์ น้ำชา จอกละ 75 สตางค์ /ชาเย็น จอกละ 1 บาท/นมเย็น จอกละ 1 บาท /ข้าวมันไก่ ถ้วยละ 3 บาท
14..วิกหอบริการ กองร้อยบริการ มทบ.5 (มทบ.41)ค่ายวชิราวุธ)
ภาพก่อนถึงวิกหอบริการ กองร้อยบริการ มทบ. 5 ในอดีต ถ่ายเมือ 20 มกราคม 2561
หน้าวิกหอบริการ กองร้อยบริการ มทบ.5 ในอดีต ถ่ายเมือ 20 มกราคม 2561
ที่ตั้งอาคารวิก หอบริการ ร้อยบริการในอดีต ปัจจุบันคืออาคารร้านค้าหลัง อาคาร PX หน้ากองทัพภาคที่ 4 ถ่ายเมื่อ 20 มกราคม 2561
นึกย้อน 2 ปีที่ได้ชื่อว่า”รั้วของชาติ”เมือวัยหนุ่ม ทำให้นึกถึงสถานที่ที่เคยไปพักพิงถึง 2 ปี เช้า-ค่ำต้องฝึก”แบบทหารใหม่”ช่วงแรก 4-6 อาทิตย์ ไม่มีสิทธิ์เกี่ยวกับการลาหรือการออกไปด้านนอกกรม/กอง ต้องฝึกหนักทุกวัน หลังจากผ่านช่วงฝึกฝนหนักตกค่ำ มีที่เที่ยวของทหารใหม่ เป็นที่ที่จะได้ไปเปิดหู-เปิดตา ในค่ายวชิราวุธคือ “หน้าหอบริการ “มีหนังฉายทุกคืน แรกๆไปก็ตื่นตา ตื่นใจ นานแล้วที่ไม่ได้ออกไปตระเวณแถวไหน หน้าหอบริการ ร้อยบริการ มทบ.5 ของหวาน ของคาวเกื่อบทุกประเภท มีทั้งแม่ค้า หนุมๆ สาว เป็นที่เจริญตา เจริญใจของหนุ่มกระเตาะทหารใหม่ทั้งหลาย หน้าวิกเปิดเพลง เสียงดัง พอได้ยิน “”ตอนนี้จะย้ายเสี่ยงจากด้านนอกสู่ด้านใน”” เพื่อเตรียมทำการฉายพร้อมทั้งเพลงมาร์ช ราชนาวี หนุ่มๆ สาวๆ ที่ตั้งใจเข้าไปดูหนังเริ่มทยายเข้าวิกหนัง ซึ่งเป็นม้าไม้ แถวยาว เลือกที่นั้งตามความพอใจ แล้วหนังก็เริ่มฉาย
วิกหนังหอริการ เป็นวิกชั้น 2 ในอดีต วิกหอบริการ กองร้อยบริการ มทบ.5 ตั้งอยู่ถนนค่ายวชิราวุธ บริเวณหน้ากองทัพภาคที่ 4 หลังอาคาร PX ปัจจุบัน ได้เริ่มฉายหนังเมือประมาณ พ.ศ.2515 และเริ่มปิดตัวลงเมือ ประมาณ พ.ศ.2525 ในช่วงปี 2521-2522 มี จสอ.สุรินทร์ สุพรรณเภสัช เป็นผอ.หอบริการ และมี สอ.ประสพ ดำ่เอี่ยม เป็นผู้ช่วย และเป็นผู้บังคับบัญชา สายสโมสร
15..วิก ผู้พันโกวิทย์ มุ่งมิตร ตลาดท่าแพ ตลาดท่าแพ ต.ปากพูน
วิกหนังผู้พันโกวิทย์ มุ่งมิตร ช่วงแรก บริเวณซอยต้นม่วงใกล้ กับอนุสาวรีย์วีระไทย ภาพปัจจุบันถ่ายโดยคุณวีรภัทธ สุวรรณภูมิ เมือ 28 มกราคม 2561
วิกหนัง ผู้พันโกวิทย์(ท่าแพ)ช่วงสอง(สภาพปัจจุบัน )ถ่ายเมือ 20 มกราคม 2561
ภายในวิกหนังผู้พันโกวิทย์(ท่าแพ)ช่วง สาม (สภาพปัจจุบัน) ท่านเจ้าของยังคงสภาพวิกไว้เหมือนเดิม เหมือนเมื่อสมัย 40 กว่าปีก่อน ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ 20 มกราคม 2561
วิกหนัง ผู้พันโกวิทย์ มุ่งมิตร ทำงานอยู่ที่ มทบ.5 เป็นโรงหนังชั้น 2 ในอดีต ช่วงแรกตั้งอยู่ที่ ซอยต้นม่วง ใกล้โรงเรียนโยธินบำรุงในปัจจุบัน เริ่มฉายครั้งแรกเมือ ประมาณ 2500
ช่วงสอง ประมาณ พ.ศ.2505 ย้ายจากซอยต้นม่วง ใกล้อนุสาวรีย์วีระไทยในปัจจุบัน ไป ตั้งอยู่ ณ ปากซอยหมอวันชัย ติดตลาดท่าแพ ถนนท่าแพ
ช่วงสาม เมือปี พ.ศ.2508 ได้ย้ายจากซอยหมอวันชัยปัจจุบัน ไปที่ทำการใหม่ซอยสุขาภิบาล 4 ไปใน(ซอยท่าแพศรีพนัง) ตลาดท่าแพ มีนักพากย์ประจำคือ คุณสุชฎา มุ่งมิตร บุตรสาว/คุณเทพศิริ เกียรติตระกูล สาเหตุของการย้ายเนื่องจากบริเวณตลาดท่าแพเริ่มมีหมู่บ้านจัดสรร เพื่อเป็นการส่งเสริมเกี่ยวกับหมู่บ้านเจ้าของหมู่บ้านจึงขอให้ย้ายวิกจากซอยหมอวันชัย ไปอยู่ซอยสุขาภิบาล 4 บริเวณหมู่บ้าน ที่อยู่ในปัจจุบัน
ครอบครัวของคุณสุชฎา มุ่งมิตร เดิมเป็นชาวราชบุรี ได้มาอาศัยอยู่ที่ในค่ายวชิราวุธตั้งแต่ อายุ 3 ขวบ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญแผ่นดินที่ได้อาศัยทั้งตนเองและลูกๆ ของเมืองคอน แม้อายุเลยเลข 7 ไปแล้ว แต่ก็ยังมีจิตอาสา ปัจจุบันได้ทำหน้าที่ ประธานชมรมผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลท่าแพ/อสม. สังเทศบาลตำบลท่าแพ เมื่ออวยุ 20 กว่าๆประมาณ พ.ศ.2510 ได้เริ่มงานเดินสายงานพากย์หนังของภาคใต้ ทั้งหนังแร่-และหนังโรงใหญ่ ตั้งแต่ชุมพร นครศรีฯภูเก็ต จนถึงใต้สุด และเมือปี 2523ได้ไปพากย์หนังและอยู่ที่เกาะสมุย และเลิกพากย์หนังในเวลาต่อมาพากย์หนังเรืองสุดท้ายคือเรือง”รุ้งเพชร” เนื่องจากหนังเริ่มมีเสียงในฟิมล์ และกลับมาอยู่ที่ตลาดท่าแพจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการพากย์หนังและรายได้พากย์หนังในยุคนั้น มีอัตราค่าจ้าง ถ้าเป็นหนังไทย จะประมาณวันละ 100.-บาท /หนังฝรั่ง จะประมาณวันละ 150-200 บาท
สำหรับแบคกราวด์ในหนังประเภทต่างๆ เนืองจากอุปกรณ์การพากย์หนังไม่มี ในการพากย์หนังจะต้องให้อุปกรณ์ที่พอหาได้ที่ป้าสุชฎา ใช้ในชีวิตพากย์หนังคือ /แบคกราวด์ให้แผ่นเสียง จะต้องดูจังหวะภาพในหนังให้ดีๆค่อยยกเข็ม วางเข็มลงจานเสียงและยกจากจานเสียง ให้ถูกจังหวะ/ใช้กระดาษแผ่น โดยตบกระดาษหมายถึงในหนังกำลังต่อยกัน/ไมค์โฟรโฟนแบบสี่เหลี่ยมมีผ้าผูกเพื่อกันน้ำลายหรือเช็ดปาก ใช้ช้อนซ่อม เคาะ-ขูด-ลาก หมายถึงเสียงม้าวิ่ง/ฯลฯ
รางวัลของคุณป้าสุชฎา มุ่งมิตร ที่ได้จากสมาคมนักพากย์ เมือ ปี 2530
โครงการที่ดีๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม ความเจริญและอาชีพของท้องถิ่น บริเวณคลองท่าแพตลอดสาย
แต่เดิมตลาดท่าแพ คลองท่าแพเสมือนประตูสู่เมืองนคร มีตลาดช่วงแรกๆของเมืองคอน ณ ที่ตลาดท่าแพ เป็นที่ชุมนุม เรือที่จะเข้ามาสู่เมืองนคร จะต้องเข้ามาทางท่าแพ ร่วมไปถึงในคราวที่หลวงปู่ทวดเข้าเมืองคอน ก็เข้ามาทางท่าแพ และบวชกลางน้ำที่ในคลองตลาดท่าแพ ในระยะของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 การเสด็จเมืองคอน ก็เสด็จเข้ามาทางตลาดท่าแพ แม้ในคราวสงครามโลก ครั้งที่ 2 ญีปุ่นเข้าโจมตีเมืองคอน ได้ขึ้นบกที่ตลาดท่าแพ ตลาดท่าแพเป็นตลาดใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองคอน แต่ก่อนมีของขายเกือบทุกสิ่ง ผู้เขียนช่วง เรียนอยู่ชั้นมัธยม การทำกระเป๋าลิเภาเคยไปชื่ออุปกรณ์ในการทำที่ตลาดท่าแพซึ่งเป็นชุมชนสินค้าทุกประเภท(ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา. เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นเครื่องจักสานประเภทหนึ่ง ที่สานด้วยย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเฟิร์น หรือ เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง (ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลำต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนำมา จักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่าง)
มีเรืองเล่าของคุณนพพร ช่วงวัยเด็ก มีหนังฝรั่งเข้ามาฉายที่วิกผู้พันโกวิทย์ ที่กำลังดัง คือเรือง Topgun เป็นหนังฮอลลี่วู๊ด เมือประมาณ ปี 2529 และยังจดจำได้ที่วิกท่าแพมาถึงปัจจุบัน
จะเห็นว่าตลาดท่าแพมีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ เพราะเป็นย่านชุมชนดังกล่าวทำให้มีวิกหนังขึ้นอีกแห่งหนึ่งของเมืองคอนและป้าสุชฎา มุ่งมิตร ที่มีจิตอาสา ยังมีโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเทียวเพื่อย้อนอดีตถึงความสำคัญของ”ท่าแพ”ชื่อโครงการ”ประเด็นยุทธศาสตร์ เพิ่มการท่องเที่ยวทั่วไทย อยู่ไหนก็ไปถึง”เพื่อรื้อฟื้นความสำคัญทางประวัติศาตร์ของคลองท่าแพ เมื่อญี่ปุ่นขึ้นบกที่ตลาดท่าแพ มีการต่อสู้ของทหารไทยและทหารญี่ปุ่น เป็นที่มาของอนุสาวรีย์วีัระไทย(พ่อจ่าดำ)และที่สำคัญเป็นที่ๆ”หลวงปู่ทวดเคยบวชกลางน้ำ” ณ แม่น้ำตลาดท่าแพ โดยพัฒนาสถานที่ท่องเทียวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโดยให้หน่วยงานรับผิดชอบร่วมกันดำเนินการ เช่น กรมเจ้าท่า จังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลตำบลท่าแพ โดยมีเรือเพื่อการล่องเรือเพื่อชมธรรมชาติสองฝั่งคลองและมีสินค้าต่างๆ ส่งเสริมอาชีพชาวบ้านรวมถึงสินค้าโอท๊อบของ”ชาวบ้านท่าแพและบริเวณใกล้เคียง”ท่านได้นำเสนอส่วนที่เกี่ยวข้องและยังรอความเห็นและดำเนินการ
เก้าอี้สำหรับนั้งดูหนังของวิกต่างๆ ในอดีตของเมืองคอน ภาพจากร้านนครมอเตอร์ หน้าวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ 27 มกราคม 2561
ขอขอบคุณ
คุณปิยะ คุณสุกานดา แสนเสนาะเจ้าของบริเวณวิกเฉลิมเกียรติ ยุคปัจจุบัน /คุณยูซบ- คุณฮาวอร์ โต๊ะเซ็น ข้อมูลวิกเฉลิมเกียรติและป้อมปืนกำแพงเมืองคอน
ขอขอบคุณภาพจาก รายงานสัมนาประวัติศาสตร์เม
คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศ (ป๋องโพโต้) คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ คุณศุภชัย(หนึ่ง) แซ่ปุง ข้อมูลภาพ ถ่ายภาพและข้อมูลเกี่ยวกับวิกนครชัย(วิกล่าง) วิกดาว(วิกบน) /วิกสมจินต์รามา /วิกนวกิจ /วิกอินทรา/วิกวิโรจน์รามา
คุณประวัติ(โก้หวัด) ภิรมกาญจน์ ข้อมูลเกี่ยวกับวิกนครชัย(วิกล่าง)/วิกดาว(วิกบน)/วิกแกรนด์ วิกจันประภาภาพยนต์
คุณประทุม ศรีสวัสดิ์ ร้านน้ำชาป้าเขียมหน้าวิกนิวคิงส์ ข้อมูลเกี่ยวกับวิกนิวส์คิงส์
คุณโชคชัย สุดสาย ข้อมูลเกี่ยวกับวิกประตูชัย
คุณไพรัช วุ่นศิลป์ คุณนพพร วุ่นศิลป์ คุณปัญญา พรหมจันทร์ ข้อมูลเกี่ยวกับวิกหอบริการ กองร้อยบริการ มทบ.5/วิก พอ.โกวิทย์(วิกท่าแพ)
คุณปิยะ/คุณสุกานดา แสนเสนาะ ข้อมูลเกี่ยวกับวิกเฉลิมเกียรติ
คุณพวงรัตน์ ชวนเจริญ คุณจริยา คุณชล ร้านอาหารตามสั่งป้าติ่ม ชุมชนบางหน้าบ้าน ข้อมูลเกี่ยวกับวิกนครวัฒนาคุณป้าสมหวัง มานะจิตต์ ข้อมูลเกี่ยวกับวิกลุงอ่ำ วิกนครวัฒนา วิกท่าแพ
คุณไพโรจน์ ทวีกาญจน์ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิกจันประภาพภาพยนต์ ข้อมูลสภาพวิกหนัง หน้าวิกหนังพร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆเกี่ยววิกหนัง เกี่ยวกับอาชีพแบบยุคก่อน
คุณป้าสุชฎา มุ่งมิตร นักพากย์หนัง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิกผู้พันโกวิทย์ มุ่งมิตร วิกจันประภาภาพยนต์ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพพากย์หนังการเดินสายหนัง ข้อมูลเกี่ยวกันหนังเร่ หนังกลางแปลง
คุณธงชัย พัดทอง ข้อมูลเกี่ยวกับวิกแกรนด์ และวิกประตูชัย
คุณอรรถ ศิริรักษ์/คุณสุรินทร์ อามิตร/คุณถกล ธีรนันทกุล
คุณwatit Chatgul คุณสงวน นวกิจไพฑูรณ์ ข้อมูลเกี่ยวกันวิกอินทราหรือสุรชัยรามา วิกนวกิจ
คุณบัญญัติ บุญเกียรติ ข้อมูลร้านค้าหน้าวิกดาว
คุณสุกัญญา แซ่ภู่ ข้อมูลวิกนิวคิงส์ /วิกสมจินต์รามา
คุณรังสิต ไล่เข้ง ข้อมูลเกี่ยวเกี่ยวกับวิก บน-วิกล่าง วิกนวกิจ วิกสมจินรามา วิกวิโรจน์
คุณเจียร เพชรชนะ ข้อมูลวิกบน ที่ทหารญี่ปุ่นนำรถยนต์เข้าจอดในวิก-วิกล่าง
คุณกิ่งแก้ว ภู่พันทวี ข้อมูลเกี่ยวกับโรงหนังจันประภาภาพยนต์
คุณเดโช ถนอมสังข์ จังหวัดพัทลุง ข้อมูลเกี่ยวกับวิกคิงส์/
อาจารย์สมมาตร แก้วหนู(เต็มสงสัย)/คุณประสิทธิ์ ข้อมูลและภาพ เกี่ยวกับวิกดาว วิกนครชัย
ยอดเยี่ยมครับ อดีตอันมีคุณค่าคือความงดงามในความทรงจำ ช่วงชีวิตของผมในวัยเด็กก็โตและเล่นสนุก มีความสุข ในวิกหนัง ใต้วิกหนัง นัดแฟน จีบสาว ทำหล่อ ก็ที่นี่แหละครับ ขอบคุณ
สำหรับข้อมูลวิกดาววิกนครชัยได้รับทราบข้อมูลชั้นแรกจากคุณเจียรฯว่าข้อมูลการเปิดวิกไม่ถูกต้องเพราะท่านทราบว่าการเปิดวิกนั้นก่อนสงครามที่ญิปุ่นบุกท่าแพเพราะวัยเด็กท่านเห็นทหารญี่ปุ่นนำรถเข้าไปจอดที่วิกดาวและคุณเจียรฯยังเข้าหลุมหลบภัยที่สถานีรถไฟบ้านนอกโคก จึงขอรบกวนท่านที่มีข้อมูลจะได้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และคุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศน์ กำลังเสาะหาข้อมูลที่ถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง โดยได้สอบถามจากท่านผู้รู้ จะได้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
โทรทัศน์ไทยยุคแรกเป็นช่อง 4 บางขุนพรหม ปัจจุบันคือmcot(ช่อง9เดิม) ส่วนหน้งที่ตระเวณฉายเรียกหนังเร่ ม้ายครับ อยากให้พี่มลทำเรื่องร้านอาหารดังๆในอดีตของเมืองคอนด้วยครับ
วิกนวกิจน่าจะประมาร ปี 2523 ครับ เพราะภาพยนตร์เรื่องแรกที่ฉายถ้าจำไม่ผิดคือเรื่อง แฟรตกอร์ดอน ปี 2523
ยังมีวิกหนังที่ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช(ปัจจุบันคือราชภัฏ) ด้วยครับปัจจุบันชื่อซอยวิกเก่า
วิกหนังในตัวเมืองนครศรีธรรมราชเริ่มทำท่าว่าทยอยปิดตัวลงในยุคหนึ่งปี 2532 ต่อมาบริษัทโคลิเซี่ยมฟิล์มมีแผนการตลาดบุกทำตลาดโรงหนังในภาคใต้ จึงได้ลงทุนร่วมอีกครั้ังหนึ่งทำให้ธุรกิจโรงหนังกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง มีการปรับปรุงสถานทีี่ ระบบเสียงให้ดูทันสมัยเท่า กทม.และโรงหนังชั้นนำ….ต่อมาได้มีการเปิดห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยนและบริษัทโคลิเซี่ยมได้เปิดโรงภาพยนตร์ระบบเสียงดอลบี้ดิจิทัลขึ้นบนห้างชั้นสี่ จึงทำให้ความนิยมของคนคอนในการดูหนังโรงเปลี่ยนไป ช่วงแรกๆยังเปิดฉายอยู่ประมาณปี 2540 และต่อมาได้ปิดตัวลง….วิกดาว ปิดตัวลงประมารปี 2539 ครับ วิกหนังสุดท้ายที่ปิดตัวลงคือ วิกอินทรา และต่อมาก็วิกวิโรจน์