คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุ เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 1

ก.พ. 11

คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุ เมืองคอน ณ วัดวังตะวันตก”จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน ตอน 1

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0035 copy

                          ผู้เขียนมิใช่ผู้รอบรู้/หรือเห็นแจ้งในสัจจะธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงขั้นพระโสดาบันหรือขั้นสูงสุดคือ”พระอรหันต์” แต่มีความสนใจในหลักธรรม สัจจะธรรมของพระพุทธองค์สังคมใดที่รับเอาคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนำไปปฏิบัติ”อย่างบริสุทธิ์ใจ” สังคมนั้น”ย่อมมีความสันติสุข” และสดุดใจที่โพสต์ โพสต์ หนึ่งประกอบกับได้แรงบันดาลใจจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล ให้ข้อมูลและภาพจากหนังสือ “”คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานพระบรมธาตุเมืองนคร และนานาของดีที่วัดวังตะวันตกกลางเมืองนคร”"หนังสือที่ระลึกการทอดกฐินวัดวังตะวันตก เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2561Screenshot_2019-01-21-12-09-08-66

                         ทำให้ผู้เขียนมีแรงและกำลังในการที่จะนำของดี ของเมืองคอน เพื่อเผยแพร่ ที่สำคัญมีบทความที่เผยแพร่กันของชนชาติจีน “จีนคงพุทธศาสนา เพียงอย่างเดียวในประเทศ เพราะจีนรู้ดีว่า เป็นเพียงศาสนาแห่งสันติที่แท้จริงและเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลเพียงศานาเดี่ยวในโลก”

                         และผู้เขียนเคยได้อ่านได้ติดตามที่ชนชาติตะวันตกเริ่มมองเห็นสิ่งที่เขาแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขสูงสุดของชีวิต “ศาสนาพุทธคือคำตอบ”กับสิ่งที่เขาแสวงหาและได้มีการทดลองตามคำสอนของของพระพุทธเจ้าในด้านต่างเป็นที่ยอมรับ ว่าเป็นสิ่งที่”เป็นสุขสูงสุดของมนุษย์ชาติ”และยังมีบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนาพร้อมทั้งปวรณาตัวเองเป็นพุทธมามะกะและขอบวชในพุทธศาสนามากขึ้นๆ และจากเพจ”วาทะอริยะกล่าวไว้ว่า 2500 กว่าปี ยังไม่มีนักวิทยาศาตร์ที่ไหนที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าผิดแม้แต่ข้อเดียว” หรือมีข้อขัดแย้งว่าไม่ถูกต้องทั้งเหตุและผล 

ธรรมปุระมหานคร/ปาฎลีบุตร/นครดอนพระ คือเมืองมหานครที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา คือเเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน  “นครศรีธรรมราช” มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า “นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่”พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก มีต้นโพธิ์ปลูกไว้เป็นสัญญลักษณ์ แสดงว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่นครศรีธรรมราชมานานแล้ว และบางตำนานได้บันทึกว่า พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่นครศรีธรรมราช ตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

เมืองนครนี้เป็นฐานสำคัญของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคและของประเทศไทย จนแม้กระทั่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ก็ยังระบุว่าพระดีมีความรู้ในกรุงสุโขทัยนั้นล้วน “ลุกแต่สรีธัมมราชมา”

                             การได้รับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำเมือง การรับเอาคำสอนพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันโดยศึกษาถึงรายละเอียดจากขั้นพื้นฐานทางศีลศึกษา”สภาวะจิต”ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ศึกษาจนถึงแก่นแท้ของพระศาสนา  ทำให้พลเมืองมีความสะอาด สว่าง สงบ สังคมอยู่กันอย่างร่มเย็น สันติสุข ไม่มีความโลภ โกรธ หลง เป็นที่ยืนยันโดยท่านพุทธทาส เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ของคนยุคก่อน โดยมีชาวตะวันตก ได้แกล้งทิ้งทองคำแท่งไว้บนพื้นดินและเขากลับมาอีกครั้งทองคำยังคงอยู่ที่เดิม สภาพที่เปลี่ยนไปมีแต่สภาพสึกและผู้เขียนมีประสพการณ์เกี่ยวกับเรืองความอยู่เย็นบ้านเรือนเวลานอนไม่มีประตูที่ต้องปิด ผู้เขียนเคยนอนเมื่อวัยเด็ก

                               เพราะการเข้าถึงแก่นธรรม”สัจจะธรรรม”ของพระพุทธองค์อย่างท่องแท้ของชาวเมืองคอนในอดีต/ภาคใต้ จึงก่อเกิดสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวโยงกับพระศาสนาอย่างมากมายและทั่วไปในนครศรีธรรมราชและภาคใต้ทั้งวัตถุ โบราณสถาน โบราณวัตถุและจิตรกรรมตามที่ต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอด ศึกษาเพื่อเข้าถึง “สัจจะธรรม”ในเมืองคอนที่สร้างเป็นปริศนาธรรมและเป็นแหล่ง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในเมืองคอนและทั่วไป

ณ หาดทรายแก้วและเมือง 12 นักษัตร แห่งนี้เป็นดินแดนที่มี”อริยะบุคคล” พร้อมความรุ่งเรืองของพระศาสนาท่ี่พระบรมศาสดาทรงสั่งสอนและนำมาปฏิบัติจนรู้แจ้ง จนสามารถนำคำสอนที่บรรลุธรรมมาเป็นเพลงร้องเรือเพื่อในเด็กๆนอน

เหล่าพุทธบริษัทสี่ทุกหมู่เหล่า รวมทั้งเมืองใน 12 นักษัตร มีความตั้งมั่น มีแรงศรัทธาอันแรงกล้าจึงได้สร้างพระเจดีย์เป็นสัญญาลักษณ์แทนองค์พระศาลดาพร้อมทั้งบรรจุพระทันตธาตุเป็นอนุสติ แก่ปวงชน และพุทธบริษัทสี่  โดยนำหลักธรรม คำสั่งสอนของพุทธองค์ สร้างเป็นพระเจดีย์ประกอบ ปริศนาทางธรรม เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นหรือการสืบทอดคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเป็นอนุสติถึง”พุทธนิพพาน”ของพระองค์  จะเห็นได้ว่า ณ ที่แห่งนี้คือแหล่งอาระยะธรรมมาตั้งแต่อดีต

ในการสร้างพระบรมธาตุเป็นปริศนาธรรม มุ่งหมายสูงสุดคือพระนิพพานS__16269326 copy

ภาพจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล

                    วัดวังตะวันตกก็เป็นแหล่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งของแหล่งอาระยะธรรมที่มีปริศนาธรรม/จิตรกรรมฝาผนัง ทั้งในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังเรืองทศชาติชาดก/จิตรกรรมคัมภีร์พระนิพพานโสตรและตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนคร เปนจิตรกรรมหนึ่งเดี่ยวที่ไม่มี่ที่ไหนเหมือน

ประวัติวัดวังตะวันตก

    วัดวังตะวันตก ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๓๔๗/๑ ถ.ราชดำเนิน ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช  เป็นวัดสังกัดมหานิยาย เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูพรหมเขตคณารักษ์ (ดร.ชัยสิทธิ์ โชติปญฺโญ) เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ปัจจุบันมีพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๕๘ รูปวัดวังตะวันตกเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช มีตำนานบอกเล่าที่เกี่ยวพันกับสายสกุลเจ้าเมืองนครในสมัยรัตนโกสินทร์ ตำนานเล่าว่าเดิมพื้นที่วัดวังตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นป่าขี้แรด ด้วยมีต้นขี้แรด หรือต้นข่อยหนามขึ้นอยู่มาก และด้วยบริเวณนี้เป็นที่ลุ่มมีชุมชนเรียกว่า “บ้านตากแดด” ตั้งอยู่ แต่ไม่ค่อยมีผู้อยู่อาศัย จึงถูกใช้เป็นที่พักศพซึ่งเพิ่งนำออกจากภายในกำแพงเมืองไว้ชั่วคราวก่อนจะนำไปฌาปนกิจในวันถัด ๆ ไป การใช้ป่าขี้แรดเป็นที่ค้างศพนี้ไปเลิกไปในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ทั้งนี้พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของวัดวังตะวันตกในสมัยอยุธยาตอนปลายลงมานั้น น่าจะไม่ใช่พื้นที่รกร้างว่างเปล่าโดยสิ้นเชิง เนื่องจากปรากฏหลักฐานการใช้งานพื้นที่ในแผนที่กัลปนาวัดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชสมัยพระเจ้ารงธรรม ระบุว่าพื้นที่ที่ตั้งวัดวังตะวันตกนี้เคยเป็นที่นากัลปนาของพระศรีธรรมาโศกiii พระพุทธรูปสำคัญของวัดพระบรมธาตุซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ในวิหารโพธิลังกา และย้ายมาประดิษฐานในวิหารสามจอมในปัจจุบัน อีกทั้งพื้นที่แปลงนี้ยังอยู่ติดกันกับนากัลปนาของวัดท่ามอญ และที่กัลปนาของพระเปรียญทศศรี ย่านตลาดท่าวัง สะท้อนว่าพื้นที่แถบท่าวังก็น่าจะเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐาน มีชุมชน มีตลาดมาอยู่แล้วก่อนตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นอย่างน้อยกาลต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ หม่อมปราง ภริยาของเจ้าพระยานครพัฒน์ ซึ่งได้พระราชทานมาจากพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสถานะเป็นแม่นางเมือง ตั้งนิวาสสถานอยู่ในพื้นที่ที่เป็นวัดวังตะวันออกเดี๋ยวนี้ เห็นฝั่งตรงข้ามที่พักนั้นเป็นป่าอยู่ จึงได้ดัดแปลงป่าเป็นสวนขึ้นสำหรับพักผ่อน ครั้นเมื่อหม่อมมารดาปรางสิ้นลงก็ได้จัดการปลงศพภายในสวนนี้ต่อมาเจ้าพระยานครศรีธรรมโศกราช (น้อย) ผู้บุตร ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองก็ได้สร้างวัดขึ้นในที่ ๆ ปลงพระศพของหม่อมปรางผู้มารดา เรียกว่า “วัดวังตะวันตก”

51359105_1260349907456723_6433427956445478912_n-horz copy

สองอุโบสถ copyอุโบสถหลังเก่าและใหม่ ภาพโดยคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล

อุโบสถใหม่ : แห่งแรกในเมืองนคร ที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จยกช่อฟ้า

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0035 copy

จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดียวที่ไม่มีที่ไหนเหมือน :
ทศชาติชาดกและคัมภีร์พระนิพพานโสตร
ตำนานแห่งพระธาตุเมืองนคร

จิตรกรรมส่วนที่ 1 จิตรกรรมฝาผนังทศชาติชาดก

ผู้เขียนคือคุณครูอุดร มิตรรัญญา ท่านรังสรรรค์ ให้เห็นถึงความยึดมั่นของพุทธมามะกะของชาวพุทธท่านหนึ่งที่มีความตั้งใจสร้างผลงานเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสานาในงานแบบจิตรกรรมฝาผนัง โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังชื่อเสียง”ทำเพื่อเป็นการทำบุญ”ท่านเคยปรารภไว้กับบุตรสาวและครอบครัวเมื่อเห็นคุณครูจัดสัมภาระเพื่อไปทำงานปั้นและงานจิตรกรรม

คุณครูอุดร มิตรรัญญา ท่านเป็นครูวาดเขียนเอก เป็นครูประจำอยู่ที่โรงเรียนวัดศรีทวี  เป็นครูสอนวิชาวาดเขียนและทำงานจิตรกรรม งานปั้น งานศิลปกรรมท้องถิ่น จนได้รับแต่งแต่งเป็นที่ปรุึกษาของ ผอ.พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมรมช สมัย ผอ. ทัศนีย์ พิกุล และมีช่วงรุ่นของคุณครูคือ คุณแนบ ทิชินพงศ์ คุณครูเจริญ เมธารินทร์ หนังสุชาติ ทรัพย์สิน ฯท่านเกิดเมือ พ.ศ.2477 และได้ถึงแก่กรรมเมือ 22 พฤศจิกายน 2558 คุณครูมีพี่น้อง 3 ท่าน 1.นางเล็ก ศรีเผด็จ 2.คุณครูอุดร มิตรรัญญา 3.พระสมพร จำพรรษาที่วัดสะบ้าย้อย อ.พรหมคึรี และมีบุตร 4 คน 1.คุณอุทุมพร มิตรรัญญา ทำงานที่ สรรพากรจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.คุณวัชระ มิตรรัญญา ทำงานที่ ที่ดิน กรุงเทพมหานคร 3.คุณชัยวัฒน์ มิตรรัญญา 4.คุณศศิรรจน์ สกุลรุ่งเรืองชัย

ตามคำบอกเล่าของคุณนิเวศน์   ซึ่งปัจจุบันเป็นมักทายกวัดวังตะวันตก ตอนที่ท่านวัยเด็กอายุประมาณ 14 ปี ท่านได้เข้าไปเล่นในวัดวังตะวันตก เกื่อบทุกๆเย็นของวันปกติและวันเสาร์ อาทิตย์  ท่านจะเห็นคุณครูอุดรฯปั้นจักยานต์มาที่อุโบสถ์วัดวังตะวันตกเพื่อเข้าไปวัดภาพต่างๆซึ่งคุณนิเวศน์ฯได้เข้าไปดูเป็นประจำ

P1030512

คุณครูอุดร มิตรรัญญา ทรงเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 

P1030547

P1030510-horz

ภาพคุณครูอุดร มิตรรัญญาและบ้านพักที่มะม่วงตลอด

P1030518-horz

P1030528-horz

P1030542

ภาพกิจกรรมต่างๆของคุณครูอุดร มิตรรัญญาและอดีตคณะครู โรงเรียนวัดศรีทวี

P1030555-tile copyP1030562 copy

ศิลปมุมบ้าน บ้านคุณครูอุดร มิตรรัญญา

จิตรกรรมภายในอุโบสถหลังใหม่ : กายภาพทั่วไป

จิตรกรรมภายในอุโบสถหลังใหม่ เขียนโดยรอบฝาผนังด้านใน ในระดับเหนือช่องหน้าต่าง ความสูงของ
จิตรกรรมประมาณ ๒.๐๐ เมตร แสดงเรื่องทศชาติชาดก และมีภาพแทรกระหว่างเรื่องเพื่อแซมที่ว่างให้เต็ม จิตรกรรม
ภายในอุโบสถนี้เดิมเคยมีอยู่ทั้ง ๔ ด้านของผนังแต่ได้ถูกลบทิ้งไปสองฝั่ง คือฝั่งด้านหลังพระประธาน และฝั่งตรงข้ามพระประธาน คงเหลือแต่ฝั่งขวามือพระประธาน (ผนังทิศใต้) แสดงทศชาติชาดก เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็น พระเตมีย์ใบ้ แล้วลำดับเรื่องตามเข็มนาฬิกามา พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ จบที่พระภูริทัต ที่สุดผนัง จิตรกรรมบนผนังฝั่งซ้ายมือพระประธาน (ผนังทิศเหนือ) แสดงชาดกต่อจากผนังด้านขวา คือเริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็น พระจันทกุมาร แล้วลำดับเรื่องตามเข็มนาฬิกามา พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสันดร ผู้อ่านที่ไม่สันทัดกับการเรียงลำดับทศชาติชาดกอาจใช้คาถาหัวใจทศชาติคือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว เป็นตัวช่วยจำก็ได้ ทั้งนี้มีข้อสังเกต ๒ ประการใหญ่ ๆ คือ๑.จิตรกรรมฝั่งซ้าย และขวาของพระประธานนั้นมีเนื้อหาต่อเนื่องกัน แสดงว่าจิตรกรรมด้านหน้า และหลังของพระประธานเป็นเรื่องแทรกเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ทศชาติชาดก ผู้เขียนสืบค้นภาพถ่ายเก่าที่ติดจิตรกรรมด้านหลังพระประธาน จึงเห็นว่าเขียนเป็นฉากนรก มีพญายมราชประทับในปราสาท กำลังชี้นิ้วลงทัณฑ์ ถัดไปมีภาพต้นงิ้ว และสัตว์นรกกำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ แต่ขณะนี้ยังไม่พบภาพผนังฝั่งตรงข้ามพระประธาน ยังไม่ทราบว่าเขียนเรื่องอะไร๒.จิตรกรรมฝั่งซ้าย และขวามือของพระประธานแม้จะเขียนทศชาติลำดับกันมาก็จริง แต่แต่ละชาตินั้นคงเขียนเพียงฉากสำคัญพอให้รู้ว่าเป็นชาดกตอนนั้น ๆ เพียงฉากเดียว เนื้อที่เขียนคงเหลือมาก จิตรกรจึงเขียนเรื่องแทรกเข้าไป โดยฝั่งขวามือพระประธานนั้นเขียนภาพปราสาท บ้านเรือน ขณะที่ฝั่งซ้ายมือพระประธานเขียนฉากจากวรรณกรรมแทรกเข้าไป

Print

ฉากที่ ๑ เตมียชาดก แสดงตอนพระเตมีย์ยกราชรถขึ้นทดลองกำลัง
หลังจากทรงประทับนิ่งบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีนานถึง ๑๖ ปี

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0036 copy

คัมภีร์_๑๙๐๑๒๕_0037 copy

ฉาก6 ฉาก7 copy

ฉาก8 ฉาก9 copy

ฉาก 10 ฉาก 11 copy

ฉาก 12 ฉาก 13 copy

ฉาก 14 ฉาก 15 copy

ฉาก 16 ฉาก 17 copy

ฉาก 18 copy

คุณค่า และข้อสังเกตในจิตรกรรมวัดวังตะวันตก
       หลังจากได้ติดตามจิตรกรรมทั้งสองแห่งในวัดวังตะวันตกมาแล้ว ส่วนนี้จะเป็นการขมวดปมตอนสุดท้าย ซึ่งยังต้องถือว่าเป็นเพียงข้อสรุปเบื้องต้นจากการทำงานในระยะเวลาอันสั้นของผู้เขียนเท่านั้น
จิตรกรรมในอุโบสถหลังใหม่ และในศาลาประโชติศาสนกิจ แม้ว่าจะมีเทคนิควิธีเขียนเหมือนกัน โดยช่างกลุ่มเดียวกัน มีกลวิธีในการแบ่งห้องด้วยไม้ยืนต้นเหมือน ๆ กัน แต่วิธีการเล่าเรื่องนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก
                    จิตรกรรมทศชาติชาดกในอุโบสถหลังใหม่ มีวิธีการเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Symbolic – เชิงสัญลักษณ์ อย่างสูง จิตรกรเลือกเขียนชาดกแต่ละตอนด้วยฉากสำคัญเพียงฉากเดียว ซึ่งฉากที่ถูกเลือกมานั้นก็เป็นฉากที่นิยมเขียนกันทั่วไป หรือเป็นฉากไคลแมกซ์ของชาดกเรื่องนั้น ๆ การเขียนทศชาติชาดกในอุโบสถหลังใหม่ จึงไม่ใช่การเขียนเพื่อเล่าเรื่องให้รู้เรื่อง แต่เป็นการเขียนในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้ครบเรื่อง จิตรกรรมที่นี่จึงอาจไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อจะดู แต่มีนัยยะเชิงสัญลักษณ์ และการทำขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา
ขณะที่จิตรกรรมในศาลาประโชติศาสนกิจ ถูกเขียนขึ้นในศาลาซึ่งเป็นพื้นที่ชุมนุมฆราวาสในหลากหลายโอกาส เป็นที่คนเข้าออกใช้งานมากกว่าอุโบสถ จิตรกรรมในศาลาหลังนี้จึงมีแนวทางต่างออกไป คือเล่าเรื่องในลักษณะที่เป็น Narrative – เป็นเรื่องเป็นราว มีลำดับของเรื่องชัดเจนเป็นตอน ๆ แต่ละตอนนอกจากเนื้อเรื่องหลักในตอนนั้น ๆ ยังมีการแทรกบรรยากาศ และตัวละครที่ไม่ได้สำคัญกับเนื้อเรื่องในตอนนั้น ๆ เข้าไป แต่การแทรกนี้ก็ทำให้เนื้อเรื่องแต่ละตอนนั้นกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอย่างมาก คุณลักษณะเช่นนี้สะท้อนความตั้งใจที่จะให้จิตรกรรมพระนิพพานโสตร – ตำนานพระบรมธาตุ นี้เป็นเรื่องสำหรับชี้ชวนให้กันดู หรือชักนำบุตรหลานมาเล่าสู่ ไม่ใช่ของทำเพียงประดับ หรือเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
                    ในด้านเทคนิคการเขียน และการให้สี ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การเว้นช่องไฟในฉาก การให้สีหลากสี และการใช้ไม้ยืนต้นเป็นตัวจบเรื่องแต่ละตอน เป็นเทคนิคที่พบในงานฮูปแต้ม บนสิมอีสานด้วย อย่างไรก็ตามคุณลักษณะที่สอดคล้องกันนี้ อาจไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่เป็นวิธีการแสดงออกในทิศทางคล้าย ๆ กันของช่างที่ไม่ได้ดำเนินขนบ หรือถูกฝึกปรือมาแบบช่างภาคกลางก็ได้
แม้ว่าจิตรกรรมในวัดวังตะวันตก จะไม่ได้มีอายุยาวนานนัก และไม่ได้มีความเป็นเลิศด้านทักษะฝีมือ แต่ก็มีความสำคัญอย่างสูงในฐานะรอยต่อของความเปลี่ยนแปลงเทคนิคฝีมือทางงานช่าง ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่วิธีการเขียนภาพสมัยใหม่ นับว่าเป็นของน่าชมอยู่ อีกทั้งการเขียนเรื่องพระนิพพานโสตร ตำนานพระธาตุเมืองนคร ก็ยังพบที่นี่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังคงสมบูรณ์จนจบเรื่อง เหล่านี้เป็นสมบัติของวัดวังตะวันตก และเป็นสมบัติของเมืองนครศรีธรรมราชที่ล้ำค่าควรแก่การหวงแหนรักษาสืบต่อไป

ขอขอบคุณ

พระครูเหมเจติยาภิบาล(โสพิส อินทโสภิโต) วัดพระนคร/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล/นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช/คุณประสงค์ จิตต์มนัส ร้านเสือผิน

คุณศุภชัย แซ่ปุง /คุณวันดี ศรีเผด็จ(อมรศักดิ์)/คุณอุทุมพร(หมู) มิตรรัญญา/คุณอรุณรัตน ริเริ่มสุนทร/คุณนิเวศน์ มัชฌเศรษฐ์ /คุณมณีรัตน์ คุณวีรภัทร สุวรรณภูมิ/คุณปุณิกา พันธรังษี/คุณยูถิกา พันธรังษี/คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์/คุณสมศักดิ์ ศรีสุข

ในนามของคณะผู้จัดทำ ประกอบด้วย ผู้มอบภาพเพื่อเผยแพร่,ภาพและข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาจากเวปเพจและจากสถานที่ ต่างๆ ข้อมูลจากคัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนครและนานาของดีที่วัดวังตะวันตก กลางเมืองนคร หนังสือที่ระลึกการทอดกฐินวัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช,บุคคลที่นำ มาเผยแพร่ ความเป็นอดีตที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อเป็น””พุทธบูชา””ต่อพระบรมธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ขออุทิศ บุญ กุศล ให้แก่ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์  สรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรและบรรพบุรุษผู้ก่อสร้างและบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ รวมถึงคณะผู้จัดทำที่มีความตั้งใจ อุทิศแรงกาย แรงใจเพื่อ การเผยแพร่
ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุด ตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้น แล
ในนามของคณะผู้จัดทำ
นายโกมล พันธรังษีและครอบครัว“พันธรังษี”

 

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>