ขอเชิญเที่ยวงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบและงานกาชาด ปี2554 เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ณ เมืองคอน ระหว่างวันที่ 21-30 กันยายน 2554

ก.ย. 10

ขอเชิญเที่ยวงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบและงานกาชาด ปี2554 เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ณ เมืองคอน ระหว่างวันที่ 21-30 กันยายน 2554

งานประเพณีเทศกาลบุญสารทเดือนสิบและงานกาชาด ประจำปี 2554 

กำหนดการจัดงาน: วันที่ 21 – 30 กันยายน 2554        

สถานที่จัดงาน: ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สวนศรีธรรมาโศกราช วัดหน้าพระบรมธาตุและบ้านท่านขุน วัดศรีทวี จังหวัดนครศรีธรรมราช  

 

ประเพณีบุญเดือนสิบ เกิดขึ้นจากความเชื่อในขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมสืบทอดแนวคิดจากอินเดียที่ว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังต้องใช้เวรกรรมอยู่ในยมโลกและจะกลับมาเยี่ยมญาติหรือครอบครัวของตนในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึง แรม 15ค่ำ ซึ่งทำให้เกิดมีการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

                 ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกันมาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลกจะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า "ส่งตายาย"ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด

                 สำหรับสำรับอาหารที่จัดไปทำบุญมักจะเป็นชุดทองเหลืองหรือถาดโดยจะจัดของที่ใส่ไว้ เป็นชั้นหรือเป็นชุดโดยชั้นล่างสุดจะใส่ข้าวสาร อาหารแห้ง หอม กระเทียม ชั้นถัดไปเป็นผลไม้และของใช้ประจำวันส่วนชั้นบนสุดใส่ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของงานบุญเดือน 10 ซึ่งขาดไม่ได้มีอยู่  5  ชนิด คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมกง ซึ่งขนมทั้ง 5 ชนิดนี้จะมีความหมายแตกต่างกัน คือ

          ขนมลา เป็นผืนคล้ายแห มีความมุ่งหมายให้เป็นแพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม กันร้อนกันหนาว

          ขนมพอง เป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นแพฟ่องลอย เพื่ออุทิศส่งไปให้สำหรับบรรพชนให้ล่องข้ามห้วงมหรรณพตามคติพุทธศาสนา

          ขนมบ้า เป็นวงคล้ายลูสะบ้า มีความมุ่งหมายให้เป็นลูกสะบ้าสำหรับบรรพบุรษได้เล่นต้องรับสงกรานต์

          ขนมดีซำ เป็นวงกลมมีรูตรงกลาง มุ่งหมายให้เป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย

          ขนมกง(ขนมไข่ปลา) เป็นวงสี่เหลี่ยมมุ่งหมายให้เป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย

ส่วนอาหารคาวหวานอย่างอื่นที่จะมีเพิ่มเติมลงไปนั้นก็แล้วแต่จะพิจารณาว่าญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วของตนจะชอบอาหารหรือขนมใดนอกจากอาหารแล้วยังนิยมใส่เครื่องใช้ไม้สอย อาทิ ด้าย เข็ม และเงินเหรียญ  (ธนบัตรก็ได้) ลงไปในสำรับด้วยสำรับอาหารที่จัดไว้ส่วนใหญ่จะจัดเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเตรียมไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะนำไปบำเพ็ญที่ศาลาวัดและอีกชุดหนึ่งจะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เสียชีวิตที่ไม่มีญาติ  หรือไม่มีใครทำบุญไปให้โดยจะตั้งก่อนทางเข้าวัดซึ่งจะเรียกว่า "ตั้งเปรต"หลังจากการบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเข้าแย่งอาหารที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลโดยมีความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้เปรตนี้ เป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะได้กุศลแรงและจะเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัวพิธีนี้ชาวนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า"ชิงเปรต"หรือการแย่งอาหารจากเปรตนอกจากการทำบุญที่วัดแล้ว ทางราชการยังจัดให้มีการทำพิธี แห่เป็นทางการ รวมทั้งมีการละเล่นต่างๆควบคู่กันไปด้วย เช่น การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ

          เทศกาลบุญสารทเดือนสิบ และงานกาชาด ประจำปี 2554 ได้จัดขึ้นบริเวณลานหน้าวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการรวบรวมหุ่นจำลอง “เปรต” เดือนสิบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวนครศรีธรรมราชว่าในช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ บรรดาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะบุคคลที่ก่อกรรมไม่ดีไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตเมื่อตายไปจะลงไปชดใช้กรรมในนรกภูมิกลายเป็น “เปตชน” หรือที่รู้จักในนามของ “เปรต” นั่นเอง

          สำหรับขบวนแห่เปรตดังกล่าวนั้นเป็นการจำลองรูปแบบของเปรตลักษณะต่างๆตามแต่จะก่อกรรมมาเมื่อครั้งดำรงชีวิต เมื่อถึงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบยมโลกหรือนรกภูมิจะพักการลงโทษเปรตเหล่านี้และปลดปล่อยให้ขึ้นมารับส่วนบุญส่วนกุศลที่ลุกหลานได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ในรช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบนครศรีธรรมราช และได้มีการจำลองรูปแบบขอส่วนบุญส่วนกุศลตามเส้นทางถนนราชดำเนินท่ามกลางความสนุกสนานของผู้พบเห็นบ้างใช้เป็นโอกาสในการสั่งสอบบุตรหลานถึงการทำกรรมชั่ว เมื่อตายไปจะตกนรกภูมิกลายเป็นเปรตเช่นนี้ โดยขบวนเปรตดังกล่าวนี้ได้ตั้งต้นแห่จากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วไปสิ้นสุดที่ลานตะเคียนศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดแสดงในบริเวณดังกล่าว

           สำหรับงานเดือนสิบที่จัดคู่มากับการทำบุญตามประเพณี โดยเริ่มจัดที่สนามหน้าเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2466(เดิมจัดที่บริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร) ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน จนเป็นงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชตลอดมา

กิจกรรม

- ขบวนแห่หฺมฺรับจากสนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุ

- พิธียกหฺมฺรับเพื่ออุทิศส่วนบุญแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ

- ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

- นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ และมีเรือกาชาดเพื่อร่วมทำบุญในงาน

- การออกร้าน OTOP

- การประกวดร้านค้าย้อนยุค

- การประกวดแข่งขันหัตถกรรมพื้นบ้านของส่วนราชการและนักเรียนนักศึกษา ณ วัดศรีทวี

- การแสดงรำวงเวียนครก

- การแสดงศิลปพื้นบ้านหนังตลุง,มโนราห์

- ประกวดนางสาวนครศรีธรรมราช(โดยหอการค้านครศรีธรรมราช)

- แข่งรถสามล้อ ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์อย่างหนึ่งของงานเทศกาลเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช
-การแสดง แสง สี เสียง ที่บริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร
 

ข้อมูลเพิ่มเติม

จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. 075-356133

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช โทร. 075-346515-6, 075-358392

สำนักงานเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โทร.075-342880

สำนักงานหอการค้านครศรีธรรมราช โทร.075-325223

One comment

  1. เที่ยวเมืองไทย….

    ขอเชิญทุกท่านร่วมสืบสาน เทศกาลเดือนสิบ และงานกาชาด ประจำปี 2554 
    ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) 
    วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร 
    บ้านท่านขุน 
    สวนศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 
    ในวันที่ 21-30 กันยายน 2554

     
    เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านชมและร่วมขบวนแห่หฺมฺรับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    ในวันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔

     

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>