มหาสงกรานต์”ประเพณีแห่พระพุทธสิหิงค์”แห่นางดาน”ที่เมืองคอน 9-18 เมย.2555

มี.ค. 26

มหาสงกรานต์”ประเพณีแห่พระพุทธสิหิงค์”แห่นางดาน”ที่เมืองคอน 9-18 เมย.2555
                พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศไทยสมัยพญาศรีธรรมาโศกราช พ.ศ.1098 (จากหนังสือประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช ในโอกาสสำคัญครบรอบวันเกิดของ คุณพ่อสมัคร พฤกษ์เสถียร"ครบรอบ 79 ปี หน้า 80  ต้นฉบับได้รับจากคุณครูน้อม อุปรมัย พิมพ์เมื่อ 7 กค.2550) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน หล่อด้วยสัมฤทธ์ ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ประดิษฐานอยู่ในบุษบกไม้ ณ หอพระ ระหว่างศาลกับศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์นี้ศิลปะศรีวิชัยและในทุกๆปีมีการอัญเชิญเพื่อสรงน้ำที่มณฑปที่ประดิษฐานเพื่อสรงน้ำเป็นศิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่
             เพื่อเป็นการสืบสานตำนานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามที่ต้องสืบทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จึงขอเชิญชาวเมืองคอนและชาวเทศและไทยทุกท่านร่วมงานในวโรกาสวันขึ้นปีใหม่(แบบไทยดั้งเดิม) ที่ เมืองคอน ตั้งแต่วันที่ 9-18 เมษายน 2555 และร่วมงานประเพณี"แห่นางดาน "
 
ประเพณี"แห่นางดาน" เป็นประเพณีที่คู่กันมากับประเพณี"แห่พระพุทธสิหิงค์"
 
ประวัติประเพณีแห่พระพุทธสิหิงค์ โดยคุณดิเรก พรตตะเสน
 
 
 
 
 
 
 
 
ปัจจุบันมีความเป็น"วัฒนธรรม"เพิ่มอีกประการหนึ่งเป็นวันรวมญาติ "วันครอบครัว "

3 comments

  1. สุดยอดอีกแล้วเมืองคอนของเรา
     
    ขอเผยแพร่ บอกกล่าวต่อไปน่ะครับ

  2. คุณnakhonup999
                       ต้องขอขอบคุณที่ช่วยเผยแพร่ และต้องขอบคุณที่ช่วยเผยแพร่"เพื่อเมืองคอน"ของเรา และขอขอบคุณทุกๆท่านได้ได้ช่วยกันให้รู้จักเมืองคอนอีกมุมหนึ่ง  ทำให้เวป"เมืองคอน"สามารถมองเห็นในโลกไฟเบอร์ค่อนข้างมาก (จากสถิติของเฟสบุ๊ค)
                      ด้วยความจริงใจ

  3. คนผ่านทาง /

    น่าดีใจที่นครมีเรื่องราวต่างๆมากมาย และมีผู้สนใจในการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆมาก
     เท่าที่ทราบมาเห็นว่าพระพุทธสิหิงค์องค์ที่เมืองนคร เป็นพุทธศิลป์แบบอยุธยา โดยช่างพื้นถิ่น
    แบบนครศรีธรรมราช หรือที่รู้จักกันคือแบบขนมต้ม เพราะพุทธศิลป์แบบนี้ คือขัดสมาธิเพชร
    ชายสังฆาฏิสั้น มิได้ปรากฏในลังกาหรืออินเดียใต้เลย จะมีแพร่หลาย เช่นราชวงศ์ปาละ-เสนะ ในอินเดียเหนือ 
    พุกาม(พม่า) และล้านนาแต่เพียงนี้ จึงสันนิษฐานว่า พระพุทธสิหิงค์องค์นี้คงเป็นอิทธิพล
    ทางด้านคติแลความเชื่อที่มีมาแต่ล้านนา นับเนื่องมาแต่การห่อนครัวจากหัวเมืองล้านมาสู่เมืองนครฯ
    มาแต่ครั้งอยุธยา เช่นในรัชสมัยพระนเรศวร เป็นต้น
    เพราะถ้ามีมาแต่ครั้นเมื่อสร้างพระบรมธาตุ อย่างน้อยน่าจะมีพระวิหารที่ใช้ประดิษฐานองค์พระด้วย
    ในคราที่มีการนำพุทธศาสนามาแต่ลังกาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว มีสิ่งสำคัญคือ
    องค์พระบรมธาตุแลต้นพระศรีมหาโพธิ์แต่เพียงนั้น หามีที่ประดิษฐานองค์พระฯไม่

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>