นโม ยอดพุทธคุณ เงินตราเมืองคอน

พ.ค. 15

นโม ยอดพุทธคุณ เงินตราเมืองคอน

P1040677 copy

S__36192261 copy

          “นโม” เงินตราของเมืองคอน  เป็นวัตถุชิ้นเล็กๆที่สร้างขึ้นมาอย่างปราณีต สวยงาม มีความหมายอย่างครบถ้วน ทั้งมีความหมายอย่างกลมกลืน ในตัว ทั้งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องรางของขลังสามารถนำติดตัวไปใช้ คนเมืองคอนเป็นคนช่างคิด  ช่างสร้างสรรค์ ทำเงินตรา”นโม”ด้วยความมีศิลปะที่น่ายกย่องของคนเมืองคอนโบราณ สมดังคำที่ว่า”คนเมืองคอน เมืองนักปราชญ์ มาแต่โบราณ ที่ก่อเกิดวัฒนธรรม “เงินตรานโม”เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งปัจจุบันเป็นศิลปประจำชาติไทยที่ ทั่วโลกยอมรับถึงความเป็นคนอนุรักษ์ประเพณี-วัฒนธรรม คนรุ่นใหม่หรือสืบเชื้อสายโลหิตเมืองนคร ควรนับถือในเกียรติคุณประวัติของโบราณวัตถุอันนี้ของบ้านเราไว้  เงินตรานโมพอจะเชื่อได้ว่าบรรพบุรุษของเราได้ใช้ เพื่อประโยชน์สุขมาแล้ว  เรายังต้องมีน้ำใจนับถือสงวนศักดิ์ศรีต่อโบราณวัฒถุนี้ของเราเสมอด้วยของมีค่าอันหนึ่ง ทั้งควรภาคภูมิใจ ที่เมืองนครของเราเคยเป็นราชธานีมาครั้งหนึ่งแล้ว  น่าที่จะรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อรุ่นสู่รุ่น ต่อรุ่นตลอดไป มิใช่หลงธรรมเนียมฝรั่งแล้วเดินตามก้นฝรั่ง ซึ่งไม่มีวัฒนธรรมของความเป็นชาติ ปัจจุบันฝรั่งบางชาติกำลังวิ่งเสาะหาความเป็นชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นมาของตนเองในอดีต ยอมแม้จะสร้างสิ่งนั้นมาอาจเป็นการลวงก็เป็นได้

                ผู้เขียนมีความสนใจในเรือง หัวนโม หรือเงินตรานโมของเมืองคอน จึงได้่สอบถามเสาะหาจากท่านผู้รู้ถึงลักษณะตลอดถึงความเป็นมาของหัวนโม เช่นพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร  คุณอรรถ ศิริรักษ์  คุณประวัติ ภิรมกาญจน์  คุณสหภาพ นวลจันทร์(ช่างจ้อง)และได้ค้นคว้าจากตำราที่ท่านผู้รู้หลายท่านได้ศึกษาและบันทึกไว้ เช่น ขุนอาเทศคดี อาจารย์นะมา โสภาพงศ์ ตำราของคุณชวลิต อังวิทยาธร  ซึ่งในรายละเอียดอาจมีข้อแตกต่าง ตลอดถึงความคิดเห็น  ผู้เขียนจึงขอนำมาเผยแพร่แบบสรุปตามความรู้ ความสามารถของผู้เขียน

ความเป็นมาของเมืองคอน หรือนครศรีธรรมราชที่เป็นบ่อเหตุ เป็นความรู้ให้เกิดการสร้าง”เงินตรานโม”และการตั้งถิ่นฐาน

                   สิ่งที่ให้ก่อเกิด ศิลป ประเพณี วัฒนธรรมและอย่างอื่นหลายๆด้านเกิดจากชาวอินเดียและจีนที่เดินทางเข้ามาเพื่อทำการค้า อยู่อาศัยทำให้เกิดสิ่งต่างๆตามมาตั้งแต่ยุคบุคเบิก ตามข้อมูลหลักฐาน ทั้งทางเอกสารและโบราณวัตุถุยืนยันคือ

วิทยานิพนธ์”"ตามพรลิงค์”"โดยคุณประทุม ชุมเพ็งพันธุ์ 

                    “”เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองใหญ่มีความสำคัญทางการปกครองมาตั้งแต่โบราณและมีศิลปวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างสูง ถือเป็นหัวเมืองเอกของฝ่ายใต้ เปรียบเป็นเมืองหลวงของฝ่ายใต้บนแหลมมาลายู บทบาทสำคัญของเมืองนครศรีธรรมราช ดำรงอยู่ในฐานะ”ศูนย์กลาง”ทางการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดมา ทุกยุคทุกสมัยในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียและจีน”" “โดยหลักฐานที่แน่นอนว่าอารยะธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาอย่างแน่นอนแล้วตั้งแต่ พศว.ที่ 9-10 จึงถือเป็นระยะวางรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมแบบอย่างอินเดียแก่ชาติต่างๆบนแหลมมาลายู”

วิทยานิพนธ์”"ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช :พัฒนาการของรัฐบนคาบสมุทธไทยใน พุทธศตวรรษที่ 11-19″” โดยคุณปรีชา นุนสุข

                “”ในระหว่าง พศว.ที่ 9-10 นอกจากจะเกิดพระพุทธรูปขึ้นครั้งแรกในรัฐตามพรลิงค์และชุมชนโบราณต่างๆบนคาบสมุทธไทยแล้วยังปรากฏประติมากรรมของเทวรูปที่เนื่องในศาสนาพรหมณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเช่นกัน คือเทวรูปพระวิษณุ”"”ใน พศว.ที่ 11 ได้ปรากฏศาสนาพรหมณ์ขึ้นในรัฐตามพรลิงค์อีกคือ ศาสนาพรหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด”"

วิทยานิพนธ์”ร่องรอยโบราณของพรหมณ์ในนครศรีธรรมราช”โดยคุณปรีชา นุนสุข

                 ”"ประติมากรรมในศาสนาพรหมณ์ทั้งหมด ค้นพบในนครศรีธรรมราช อาจกล่าวได้ว่า ในราว พศว.ที่ 10-11 ศาสนาพรหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายได้เริ่มปรากฏในนครศรีธรรมราชแน่ชัดถัดมาในราว พศว.ที่ 11-12 และปรากฏร่องรอยของศาสนาพรหมณ์ลัทธิไศวนิกาย เจริญรุ่งเรืองควบคู่กันไป”"

เส้นทางข้ามคาบสมุทธไทยยุคสุวรรณภูมิ

                      เส้นทางที่พบที่เป็นแหล่งโบราณคดี”จันดี”จากร่องรอยที่พบตั้งแต่ฐานเจดีย์หลุมลึก ประมาณ 1 เมตร และลูกปัดและวัตถุชนิดอื่นๆ พร้อมทั้งเศษภาชนะดินเผา แหล่งโบราณคดีจันดีแห่งนี้ มีอายุก่อนสมัยทวารวดีและศรีวิชัย ย้อนไปถึงสมัยสุวรรณภูมิ 

ในช่วง พศว.ที่ 16-17 ในแค้วนตามพรลิงค์มีศานสนาอินดูเป็นหลัก และแหล่งโบราณแห่งนี้เป็นเส้นทางเส้นหนึ่งที่ข้ามคาบสมุทธไทยที่สำคัญแห่งหนึ่ง ตั้งแต่สมัย พศว.7-8 จากท่าเมืองตักโกลา มาออกทะเลจีนซึ่งเป็นเส้นทางใช้ขนถ่ายสินค้าจากมหาสมุทธอินเดีย จากอินเดียและตะวันออกผ่านคาบสมุทธไทยและคาบสมุทธมาลายู ต้องอาศัยข้ามมายังทะเลจีน จนถึง พศว.ที่ 11-12 เส้นทางการค้าเปลี่ยนเส้นทางอ้อมช่องแคบมะละกา

จันดี3

จัดดี1 copy-horz

                          สรุปรวบรวมได้ว่า จากการที่ชาวอินเดียเข้ามาทางแหลมมาลยู เมื่อประมาณกว่า 1000 ปีก่อน  โดยใช้เส้นทางหลายเส้นทาง จากการที่ได้พบเส้นทางข้ามคาบสมุทธไทยและแหลมมาลายู โดยผ่านทางแหล่งโบราณคดี”จันดี”คงเป็นอีกข้อสำคัญอีกทางหนึ่ง  ชาวอินเดียที่ได้เข้ามาค้าขายและได้เลือกตั้งถิ่นฐานสุดท้ายในยุคก่อนที่จะทำการสร้างเมือง ได้นำสิ่งต่างๆเข้ามาพร้อมกัน เช่น วิทยาการด้านต่างๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งการเมือง การปกครอง การทำมาหากิน การสร้างขอบเขตที่อยู่อาศัยอย่างมีรูปแบบ รวมถึงศาสนาพรหมณ์ และอีกกลุ่มที่เป็นชาวพุทธ และต่อมาจึงได้ก่อเกิด-การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยอย่างปัจจุบัน

ความเห็นจากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้าง”เงินตรานโม”

                 1.     ตามความเห็นของขุนอาเทศคดี(กลอน มัลลิกะมาส)เขียนไว้ในบทความเรือง “เบี๊ยและเงินตราพดด้วงในเมืองนครศรีธรรมราช “ในหนังสืออนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนอาเทศคดี”และอาจารย์นะมา โสพาพงศ์ ได้เขียนบทความ เรือง”เงินตรานโม” ในสารนครศรีธรรมราช เดือน กรกฏาคม 2514 กล่าวถึงเรืองการเกิด”เฟื้องเงิน”ตรานโมไว้ว่า เงินตรานโมมีมานานแล้ว คือตั้งแต่ครั้งพระยาศรีธรรมโศกสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณกว่า 1,000 ปี มาแล้ว(มยูร กาญจนสุวรรณ) โดยพระยาศรีธรรมโศกราชทรงปรึกษากับพระมหาเถระและอธิบดีพราหมณ์เพื่อหาอุบายป้องกันโรไข้ห่า ซึ่งยังเกิดอยู่บ่อยๆให้หายขาด พระมหาเถระและอธิบดีพราหมณ์ เห็นพร้อมกันให้เข้าพิธีทำ”เงินตรานโม”

                      การเข้าพิธีทำเงินตรานโมในครั้งนั้น ตามตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า “เอาไกรลาสมาตอกตรานโม”คำว่าไกรลาส” พจนานุกรมหมายความว่าสีขาวเหมือนเงินยวง แต่ในตำนานจดหหมายเหตุที่ได้จากวัดเวียงสระกล่าวว่าใช้”เนาวโลหะผสมกัน”และซัดทอดว่านยาอันมีสรรพคุณวิเศษในเวลาเข้าพิธีหลอม การเข้าพิธีหลอมนั้นตั้งโรงพิธีในบริเวณวัดพระบรมธาตุด้านทิศบูรพา ตลอดเวลาที่เริ่มผสมแร่ธาตุแลซัดว่ายาจนนำเข้าพิมพ์ตอกตรานโม พระภิกษุสงฆ์และพรามหณ์จะต้องเข้าพิธีตามลัทธิ มีสวดพระพุทธคุณและบูชาเทพยดาจนสำเร็จให้ได้จำนวนเงินตรานโม 9 บาตร เมือครบแล้วนำเงินตรานโมทั้ัง 9 บาตร ไปเข้าโรงพิธีอาฏานา(คือตั้งพิธีให้สวดอาติยสูตร สำหรับขับผี เสนียดจัญไร เมืองนครเคยทำกันมาแต่โบราณกาล ในเดือน 4 ของทุกปี เพิ่งมาเลิกเมื่อต้นรัชกาลที่ 7)ซึ่งแต่งไว้ ณ เชิงพระมหาเจดีย์เบื้องบูรพาทิศอีกครั้งหนี่ง ทั้งฝ่ายพุทธศาสนาและไสยศาสตร์ต้องทำพิธีอาฎานามีกำหนด 9 วัน 9 คืน ในบาตรเงินตรานโมทั้ง 9 นั้น ใช้หล่อน้ำไว้ด้วย ถือว่าเป็นน้ำพิธีเพื่อใช้กับเงินตรานโมขับไล่ผีไข้ห่าและเสนียดจัญไรได้ เมื่อเข้าพิธีครบกำหนดแล้ว พระมหาเถระผู้ทรงคุณวิเศษพร้อมด้วยพราหมณ์นำบาตรเงินตรานโมทั้ง 9 บาตรแยกย้ายไปกระทำพิธีอาถรรพเวท ฝังไว้ที่ประตูเมือง ทั่ง 9 และตามใบเสมากำแพงเมืองโดยรอบทั้ง 4 ทิศ ทั้งยังได้โปรยปรายเงินตรานโมและพรมน้ำมนตราธิคุณนั้นด้วย ตามถนนหนทางและสถานที่สำคัญทั่วเมือง เวียงวัง น้ำมนต์โปรยพรมโดยทั่้ว ส่วนที่ยังเหลือแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป และขณะที่ได้นำเงินตรานโมไปกระทำกิจอาถรรพเวทย์นี่  ทางโรงพิธีในวัดพระบรมธาตุ ทั้งฝ่ายพุทธศาสนาและพรหมณ์ยังคงสวดมนต์ร่่ายเวท และยิงพลุอยู่จนกระทั้งเสร็จพิธี ก็เป็นการเสร็จพิธีขับผีไข่ห่าและล้างเสนียดจัญไรของราชธานีแล้วโดยบริบูรณ์แต่นั้นมาไข้ห่ามิได้เกิดขึ้นอีกเลย ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขประกอบการทำมาหากินตั้งภูมิฐานมั่นคงไพศาลยิ่งขึ้นตามลำดับ

                                            ประตูเมืองคอน จากตำรา 12  เดือน สมุดขุนทิพมนเทียรชาววังไว้ เลขที่ 670

1.ประตูลัก 2.ประตูป่าขอม 3.ประตูพันยม 4.ประตูลอด 5.ประตูท่าม้า 6.ประตูท่าชีย์ 7.ประตูท้ายวัง 8.ประตูไชอุดอร 9.ประตูทักสิน

                                                           เงินตรานโมที่ทำในครั้งนั้นมีสองชนิดคือ

1.เงินตาไก่(เฟื้องตาไก่)มีขนาดลักษณะดุจสัณฐานตาไก่

2.เงินขี้หนู(เฟื้องขี้หนู)มีขนาดเขื่องกว่า รูปยาวรีกว่าชนิดตาไก่เล็กน้อย

ส่วนผสมของเงินตรานโม

จากตำนานจดหมายเหตุที่ได้จากวัดเวียงสระ เขาบอกว่าใช้”เนาวโลหะ”และ” สัตตโลหะ”ผสมกัน เนาวโลหะท่านผู้เฒ่าเล่าว่า การใช้แร่ธาตุผสมเป็นวัตถุคุ้มกันภัยนั้นในตำรามีอยู่หลายวิธี เช่น

                            สัตตโลหะ ใช้แร่ธาตุผสมกัน  7-9 อย่าง เนาวโลหะใช้แร่ธาตุผสมกัน 9 อย่าง คือ

1.ทองคำ 1  มีจุดหลอมเหลวที่ 1063 องศา

2.ทองขาว(ทองอุไร) 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 1774 องศา

3.ทองแดง 1  มีจุดหลอมเหลวที่ 1083 องศา

4. เงิน 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 961 องศา

5.เหล็ก 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 1535 องศา

6.สังกะสี 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 419 องศา

7. ปรอท 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 357 องศา

8.พลวง 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 327 องศา

9.ตะกั่ว 1 มีจุดหลอมเหลวที่ 631 องศา

หลักที่พิสูจน์ว่าเป็นของแท้หรือของเทียม ท่านผู้เฒ่าคนแก่ชาวนครว่า มีอยู่ 3 อย่าง

1.เนื้อเงิน ไม่ขาวเหมือนเนื้อเงินบริสุทธิ์ แต่ไม่เป็นสีโลหะธาตุใดๆชัดเจน เข้าอยู่ท่วมกลางของสีทองและสีเหล็ก เมือขัดขึ้นเงาเห็นเนื้อละเอียด ออกรัศมีผิดกว่าแร่อื่นๆ เมือ่สัมผัสรู้สึกหนักและเย็นคล้ายศิลา

2.ไม่ขึ้นสนิม แม้อยู่ในน้ำ จมดินหรือเก็บไว้นานๆ ไม่ได้ขัดถูจะเกิดสีทองขึ้นอ่อนๆ บางๆ

3.หลอมไม่ละลายเมื่อถูกความร้อนจัดจะปะทุแตกออก ถ้าจะนำอังไฟพอร้อนก็จะมีเสียงลั่นคล้ายปะทุ

P1040677 copyภาพจากเงินตรานโม คุณชวลิต อังวิทยาธร

               2.   ลักษณะความคิดเห็นของคุณชวลิต อังวิทยาธร ตามบทความของ”ขุนอาเทศและอาจารย์นะมา โสภาพงศ์”  นั้นน่าจะบันทึกในช่วงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช/เงินเฟื้องตรานโมที่กล่าวแล้ว ตราตัว”น” อักษรหาใช่ตัว”น”ของไทยไม่ การใช้อักษรขอม แสดงให้เห็นว่าเวลานั้นยังไม่มีลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหง เรายังใช้อักษรขอมอยู่ ลายสือของพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นเมือ พ.ศ.1826 เชื่อว่าภายหลังการทำเฟื้องตรานโมของนครศรีธรรมราชหลายปี

 การจำแนกเงินตรานโมนั้นโดยอาศัยลักษณะของตั้วเม็ด/ตัวอักษรที่ตีบนเม็ดเป็นหลัก สามารถจำแนกได้ 4 กลุ่ม และอาจมีตัวอีกษรที่ต่างกันออกไปดังนี้

1.กลุ่มชนิดเมล็ดข้าวสาร  มีอักษร 2 ตัว ลักษณะคล้ายตัวอักษรที่ปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 23  พบที่วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช จารึกเมือ พ.ศ.1318

P1040821

2.กลุ่มชนิดขึ้หนู “คล้ายตัวอักษร นอหนู”(เพื่อให้เรียกเห็นภาพชัดเจน)มีอักษรหลายแบบ แต่่ละเม็ดมีตราเดียว  ความต่างกันของตัวอักษร คงผลิตใช้กันมาเป็นเวลานาน ทำให้อักษรเพี้ยนออกไป ตัวอักษรปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 24 พบที่วัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานีจารึกเมือ พ.ศ.1773  เป็นจารึกที่กล่าวถึงเรืองราวของพระเจ้าจันทรภาณุแห่งตามพรลิงค์

 P1040823

3.กลุ่มชนิดตาไก่ มีอักษรแบบตัว”วาย”(เพื่อให้เรียกเห็นภาพที่ชัด)่ น่าจะเป็นตัววิวัฒนาการมาจาก กลุ่มชนิดเงินตรานโมขี้หนู

P1040826

ร่องบากด้านหลังของเงินตรานโม + ในยุคแรกๆจะพบว่าทุกเม็ดจะมีรอยบาก จากการใช้สิ่วขนาดเล็ก ปากสิ่วมีขนาดเท่ากับ                                                                                รอยบากที่ปรากฏบนตัวเม็ด

ร่องบากด้านหลังของเงินตรานโมรุ่นหลังบางรุ่น จะมีการหล่อให้เป็นร่องพร้อมกับตัวเม็ดทำให้รอยบากไม่คมอย่างของโบราณ

รอยค้อน เงินตรานโมทุกชนิดล้วนแล้วจะมีรอยค้อนข้างละ 3 รอย ตีทำมุมลดหลั่นกันจากด้านนอกเข้าสู่ด้านในขนาดร่องบากด้านหลังอย่างเป็นระเบียบ  ความลาดเอียงของรอยค้อนแต่ละเม็ดจะไม่เท่ากันจะต่างกันเล็กน้อยทุกเม็ดไป

การทดสอบเงินตรานโมด้วยความร้อน เนืองจากแร่ธาตุแต่ละชนิดกันมีจุดหลอมเหลวไม่เท่ากัน  ถ้าเงินตรานโม ที่มีแร่ปรอทผสมอยู่ ก็จะเกิดละอองสีขาว แต่เงินตรานโม ที่มีแร่ปรอทน้อย หรือไม่มีก็จะไม่มีละอองที่ขาวตามผิว  แล้วแต่ว่าเม็ดเงินตรานโมชนิดผสมแร่แบบ “สัตตโละหรือเนาวโลหะ”

ความหมายของเงินตรานโม

เงินตรานโมชนิดเมล็ดข้าวสาร สันนิษฐานเป็นเงินตรานโมขนิดแรกๆ เป็นรูปแบบศิวลิงค์ชนิด  เป็นเครืองหมายแทนองค์พระศิวะ และมีสัญญาลักษณะของตรีมูรติ ซึ่งเป็นเทพเจ้าทั้ง 3 ในศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย  ได้สร้างขึ้นเพือใช้เป็นสิ่งเคารพบูชาและเป็นเครืองรางของขลังติดตัวได้  ส่วนประกอบต่างๆจึงควรมีความหมายในคติพราหมณ์

ตัวเม็ดเงินตรานโม

เงินตรานโมชนิดเมล็ดข้าวสาร มีลักษรณะคล้ายศิวลิงค์ซึ่งเป็นสิ่งที่เคารพและศักดิ์ของศาสนาพรหมณ์ไศวนิกาย ซึ่งเข้ามาแพร่หลายในแหลมสุวรรณภูมิตั้งแต่ พศว.ที่ 11   เงินตรานโมชนิดขี้หนูและชนิดตราไก่น่าจะเกิดวิวัฒนาการตามกาลเวลาอันยาวนานและอาจเกิดจากการปรับให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่จะนำไปใช้สอยก็เป็นได้

ตัวอักษรบนเงินตรานโม

     บนตัวเม็ดเงินตรานโมชนิดเมล็ดข้าวสารเป็นตัวอักษรปัลลวะที่คล้ายกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึกหลักที่ 23  พบที่วัดเสมาเมือง นครศณีธรรมราช เป็นอีกษร 2 ตัว ตีประทับด้านละตัว ว่า “นะ”และ”มะ” เงินตรานะโมชนิดขี้หนู คล้ายกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึกหลักที่ 24 พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้าจันทรภาณุแห่งตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราชโบราณ) คำว่า”นะ”มะ”ก็คือคำย่อของ “นมัส” นั้นเองและคำว่า “นะ”เป็นการย่อมาจาก”นะ”มะ”อีกที

รอยบากด้านหลังเงินตรานโม

ถ้าหากพิจารณาด้านข้างของเงินตรานโมชนิดขี้หนูจะเห็นได้ว่าร่องด้างกล่าวจะมีลักษณะคล้ายโยนี  ซึ่งเป็นการสร้างเพื่อบูชา”โยนีโทรณะ ซึ่งเป็นลักษณะเทพีตามคติ การบูชาอิตถีพละ  หมายถึงการบูชาทั้งพระศิวะและพระอุมา ตามหลักศานสนาถือว่าจะได้บุญกุศลสูงสุด

รอยค้อนด้านหลังเงินตรานโม

ในคติของศาสนาพรหมณ์ “ตรีมูรติ”หรือ โอม”ซึ่งย่อมาจาก”อะ”อุ”มะ”หมายถึงพระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม รอยค้อนข้างละ 3 รอย ก็คือ “ตรีมูรติ”

กำเนิดเงินตรานโม

                    เงินตรานโมเป็นจลลิงศ์ชนิดหนึ่ง เงินตราชนิดเมล็ดข้าวมีลักษณะเด่นที่สุด พบในอำเภอจุฬาภรณ์ นครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียว เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งสอดคล้องเกี่ยวกับการพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวโยงเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับศาสนาพรหมณ์ไศวนิกาย ที่แพร่หลายในอำเภอไชยา อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอลานสกา อำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และตลอดแนวเชิงเขานครศรีธรรมราช เชื่อกันว่าศาสนาพรหมณ์ได้แพร่เข้ามายังสุวรรณภูมิใน พศว.ที่ 10-13 ส่วนการพบจลลิงศ์มีอายุในช่วง พศว.ที่ 10-18 

ส่วนตัวอักษรที่ประทับอยู่บน”จลลิงศ์”(เงินตรานโมชนิดเมล็ดข้าวสาร)มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรบนศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งจารึกเมือ พ.ศ.1318 จึงสันนิษฐานได้ว่า จลลิงศ์ชนิดนี้น่่าจะกำเนิดในราว พศว.ที่ 14-15 เป็นอย่างช้า โดยมีพรหมณ์เป็นผู้ทำพิธีทางศาสนาอยู่ในเทวลัยแห่งไดแห่งหนึ่งในดินแดนตัมพลิงหรือตามพรลิงค์ก็คือนครศรีธรรมราช วัตถุประสงค์ในการสร้าง สร้างเพือให้แก่ผู้ที่มาทำบุญและนมัสการเทพเจ้า ทั้ง 3 องค์ คงไม่ต่างจากลักษณะการสร้างวัตถุมงคลตอบแทนให้กับผู้มีจิตศัทธาทำบุญในวัด แล้วทางวัดก็ตอบแทนโดยมอบวัตถุมงคลเป็นการตอบแทนอาจมีข้อแม้บางว่าทำบุญเท่านี้ จะได้สิงนี้ จนเป็นการก่อเกิดการกำหนดการแลกเปลี่ยนในเวลาต่อมา 

           การสร้างเกี่ยวกับเงินตรานโมอาจห่างหายไปช่วงหนึ่งเนื่องจากเมืองนคร ได้ร้างไประยะหนึ่ง เนื่องจากเกิดโรคไข้ห่า เมือผู้ปกครองได้รวบรวมผู้คนเข้ามาอยู่และตั้งเมืองใหม่ก็ได้มีการสร้างเงินตรานโมขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการป้องกัน ป้องเหตุเสนียดจัญไร ป้องกันและขับไล่โรคไข้ห่า จึงสร้างเงินตรานโมขึ้นมาใหม่ โดยมีพรหมณ์และทางพุทธ เป็นผู้ทำพิธีเพื่อใช้โปรยในที่ต่างๆตามสถานที่สำคัญของเมือง ซึ่งการสร้างเงินตราชนิดเล็กตรานโมดังกล่าวมีชนิดเงินตราตาไก่ อาจสร้างเป็นหลายชนิดเช่น เงิน ทอง นาค เพื่อเป็นการสืบทอดโบราณประเพณีและเพื่อขยายเศรษกิจของเมืองโดยใช้เงินตรานโม

ชนิดของเงินตรานโม

ปัจจุบันเงินตรานโมมีหลายชนิด หลายแบบและหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นของโบราณ ที่เลียนแบบโบราณและรูปแบบใหม่ที่ช่างในปัจจุบันทำขึ้น หลักเกณฑ์ในการแยกชนิด เงินตรานโมจึงต้องมีแนวทางในการวิเคราะห์คือ

1.พิจารณาลักษณ์ส่วนประกอบของเงินตรานโม ได้แก่ ตัวเม็ด ตัวอักษร ร่องบาก รอยค้อน

2.พิสูจน์เนื้อโลหะซึ่งเป็นส่วนผสมที่ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษ

3.วิเคราะห์แหล่งที่พบ ลักษณะการพบ ปริมาณการพบ

4.นำเรืองราวประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างเงินตรานโม ได้แก่ตำนาน บทความทางประวัติศาสตร์มาประกอบการวิเคราะห์

5.พิจารณาจากฝีมือการทำ

จากแนวทางดังกล่าว ทำให้สามารถจำแนกชนิดของเงินตรานโมออกเป็น 4 กลุ่่มคือ(ผู้เขียนจะเขียนรวบรวมเฉพาะกลุุ่มเงินตรานโม ของคุณชวลิต อังวิทยาธร ยกเว้นกลุ่มเงินพดด้วงและเหรียญตรา “นะ”)

กลุ่มที่ 1. เงินตรานโมชนิดเมล็ดข้าวสาร 

แหล่งที่พบ++ พบในท้องที่อำเภอจุฬาภรณ์ นครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียว

รูปพรรณสันฐาน++น้ำหนัก0.8 กรัม.มีขนาดโตเท่าไม่้ขีดไฟ คล้ายแท่งลึงจื๋ว คล้ายเมล็ดข้าวสาร มีรอยค้อนข้างละ 3 รอยด้านหน้ามีตัวอ้กษร คล้ายกับตัวอักษรอยู่บนศิลาจารึกหลักที่ 23 พบที่วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช  จารึกเมื่อ พ.ศ.1318P1040821

ยุคสมัยการสร้าง น่าจะสร้างในราว พศว.ที่ 14-15 และเป็นต้นแบบเงินตรานโมในยุคหลัง 

P1040783 copy

กลุ่่มที่ 2.เงินตรานโมชนิดขี้หนู

แหล่งที่พบ++ บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองพระเวียง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช คลองท่าวัง สมัยเมืองนครดอนพระ ท่าวังเป็นคลองที่จะต้องออกสู่อ่าวไทย  เขาพระบาท อำเภอหัวไทร ในอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช อำเภอควนขนุน พัทลุง เขาศรีวิชัย สุราษฏร์ธานี

รูปพรรณสันฐาน++สัณฐานคล้ายขี้หนู จึงเรียกเงินตรานโมว่าชนิดขี้หนู มีความปราณีตสวยงาม  มีรอยค้อน 3 รอย

ตัว”นะ”ของเงินตราชนิดขี้หนู สามารถจำแนกเป็นกลุ่มตามลักษณะตัวอักษรที่ต่างแบบได้ 3 แบบคือP1040833P1040835

ยุคสมัยการสร้าง ตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึกหลักที่ 24 ซึ่งจารึกเมื่อ พ.ศ.1773  จากข้อสันนิษฐานว่าเงินตรานโมชนิดขี้หนู น่าจะสร้างในราว พศว.ที่ 18-19  สร้างติดต่อจนถึงราว พศว.ที่ 20  การสร้างในคร้ังแรกตัว”นะ”จะเป็นแบบที่ 1 จนค่อยๆกลายเป็นแบบที่ 2 และ3 ในเวลาต่อมา

P1040784 copyP1040785 copy

กลุ่มที่ 3 เงินตรานโมชนิดตาไก่

แหล่งที่พบ+++พบได้ทั่วไปในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนปี 2510 เช่นริมถนนหนทาง ตามซอกซอย ใต้ถุนบ้านโดยเฉพาะตำบลท่าวัง ตำบลคลัง ตำบลในเมือง ตลอดแนวตามความยาวของเมือง ตั้งแต่เหนือจดใต้ระยะ 10 กม.จะพบเงินตรานโมชนิดตาไก่ หลังฝนตกน้ำจะชะดินทำให้เม็ดเงินตรานโมปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ แต่ปัจจุบันถูกทับด้วยคอนกรีต ถนนซิเมนต์ ถนนยางแอสฝัสต์  ทำให้การพบเงินตรานโมยากขึ้น  พบที่อำเภอลานสกา อำเภอท่าศาลา อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอฉวาง และยังพบที่หมู่บ้านพุมเรียง อำเภอไชยา หมู่บ้านใกล้วัดพระบรมธาตุไชยา พบที่อำเภอสะทิ้งพระ อำเภอระโนด สงขลา อำเภอเมือง เพชรบุรี อำเภอเมือง อยุยา อำเภอเมือง พิษณุโลก อำเภอควนขนุน พัทลุง ในอำเภอเมือง นครศรีธรรราชพบไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง  และในคราวบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ พบเงินตราชนิดตราไก่ จำนวน 32 เม็ด สามารถแยกรุ่นที่สร้างได้ ไม่ตำกว่า 5 รุ่น แสดงให้เห็นว่าเมือมีการสร้างเงินตรานโมชนิดตราไก่ จะมีการนำเงินตรานโมที่สร้างในคราใด ที่ทิศบูรพาขององค์พระบรมธาตุเจดีย์หรือบริเวณใกล้พระวิหารหลวง จำนวนหนึ่งขึ้นไปไว้บนยอดพระบรมธาตุเจดีย์ทุกคราไป ทำให้เห็นว่า ชาวนครมีความเชื่อถือ”สิ่งนี้ว่าเป็นของสูง”

รูปพรรณสัณฐาน+++ เงินตราชนิดตราไก่มีหลายรูปทรง มีหลายน้ำหนัก คือตั้งแต่ 0.8/1.1/1.2/2.2 กร้ม พบมากที่สุดคือขนาด 1.2/1.3 กรัม

P1040788

ยุคสมัยการสร้าง++++จากข้อมูลทำให้เชื่อได้ว่าเงินตราชนิดตราไก่สร้างในราว พศว.ที่ 20 มีการสร้างหลายครั้งในบริเวณสนามด้านทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ บางครั้งก็สร้างบริเวณหลังหรือหน้าพระวิหารหลวง  สร้างมาจนถึงสมัยต้นรัชกาลที่  7 จึงได้ยกเลิกการสร้างไป ทำให้การสร้างเงินตรานโมในแบบพิธีโบราณหายไป ส่วนความเชื่อถือเงินตรานโมเป็นเครืองรางของขลัง ในยุคปัจจุบันเริ่มหายไป เป็นที่น่าเสียดาย  ในยุคปัจจุบันนี่้ เหลือแต่ความนิยมที่จะมีไว้เพือ่เป็นเครืองประดับ เช่น ทำเป็นสร้อยและหัวแหวน เพราะเห็นว่าเป็นของโบราณ ทำเป็นเครืองประดับได้สวยดี 

P1040790 copyP1040799 copyP1040802 copyP1040838 copy

P1040840

เงินตรานโมชนิดพิเศษ

เงินตรานโมชนิดพิเศษนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยการเลียนแบบเงินตรานโมชนิดขี้หนู จะต่างกันที่การตั้งทรงตัวอักษร

P1040808 copy

เงินตรานโมชนิดเนื้อโลหะ ทองแดง เงินยวง

P1040813P1040816

เงินตรานโมชนิดแปลง

พราหมณ์เป็นผู้ริเร่ิ่มสร้างขึ้น ตามคติของพรหมณ์ แลสร้างติดต่อร่วม 1000 ปี

P1040850P1040846

P1040820 copyP1040747 copy

ภาพของคุณยุรี อังวิทยาธร

เงินตรานโมของท่านผู้รักการสะสมและศรัทธาของท่านผู้รู้และชมชอบศรัทธาในรูปแบบต่างๆ

พระครูเหม copy

พระครูเหม2

ได้รับความอนุเคาะห์จากท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร ทั้งข้อมูลและข้อมูลภาพ

58376089_561204657706465_4426573808438083584_n (1)

เงินตรานโมที่สะสมของคุณต้อบ อนุรักษ์ ตันวีระ มีแบบเงินตรานโมชนิดขี้หนูและเงินตรานโมชนิดตาไก่และชนิดพิเศษ

page copy

งินตรานโมในเรือนแหวนของคุณยุรี อังวิทยาธร

P1040617-horz copyP1040594-vert copy

เงินตรานโมที่ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสักการะบูชา  เดิน-วิ่งราตรีข้ามปี บูชาพระธาตุ ปี 2551-2552 เมืองคอน”เกิดมาหนึ่งชาติ ขอกราบพระธาตุฯ เมืองนครฯ”

อรรถ copy

เงินตรานโมส่วนหนึ่งของคุณอรรถ ศิริรักษ์

ปุณิณา copy

เงินตรานโมของคุณปุณิกา พันธรังษี ที่บูชา ผู้กระตุกให้ผู้เขียนได้รวบรวมเกี่ยวกับ“เงินตรานโม”หรือ”หัวนโม”ของเมืองคอน หรือเมืองนครศรีธรรมราช เท่าที่หาข้อมูลได้

ตามพระลิขิตของท่านพุทธทาส ท่านกล่าวไว้ว่า “สมองถ้าหากไม่ใช้งาน สมองส่วนนั้นก็จะมีอาการฝ่อ”ทำให้สมองพิการได้ และ ตามการบรรยายของหมอบุญชัย อิศราพิสิษฐ์ บอกไว้ว่า “กระดูกของคนเรานั้น หากไม่เคลื่อนไหวหรือมีการใช้งาน กระดูกก็จะฝ่อ กระดูกพรุ่นเพราะร่างกายเข้าใจว่า กระดูกไม่ต้องมีไว้ใช้งานสมองจึงสั่งให้มีรูปแบบเป็นกระดูกฝ่อ ” ผู้เขียนจึงต้องรีบเขียนตามการกระตุกของคุณปุณิกา พันธรังษี

                  จากการรวบรวมเกี่ยวกับเอกสาร/ความเห็น/ความคิดเห็น การก่อกำเนิดหรือการสร้างเงินตรานโม ของเมืองคอนหรือเมืองนครศรีธรรมราช ในหลายๆและหลายๆเอกสาร พอจะสรุปการสร้างเงินตรานโมออกเป็นช่วงๆ อาจเป็นการสรุปที่ไม่ถูกต้องนักหรือบางท่านอาจไม่เห็นพ้องด้วย ผู้เขียนได้ขอออกตัวไว้แล้วว่า มิใช่ผู้ทรงความรู้/ผู้อยู่ในเหตุการณ์ หรือมิใช่ผู้อวดรู้หรืออวดฉลาดอย่างนั้นไม่ เพียงอนุมานตามคำบอกเล่า จากเอกสารหรือบันทึกที่มีอยู่จากผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ทำการค้นคว้า ผู้เขียนเป็นแค่่ผู้ศึกษา นอกจากการทำ”เงินตรานโม”มิได้มีการบันทึกหรือไม่ได้มีการบันทึกจากผู้ทรงความรู้ในอดีตของการสร้างเงินตรานโม หรืออาจบันทึกไว้แต่อาจโดนทำลายจากน้ำมือของ”คน”หรือจากภัยธรรมชาติหรืออาจจะถูกทำลายจากการทอนอำนาจของการปกครองของคนยุคก่อนก็เป็นได้ และที่สำคัญเพื่อสืบทอดอีกทางหนึ่งจากรุ่น สู่รุ่น ผู้เขียนได้สนองเจตนารมย์ของอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ ที่ท่านได้มีเจตนาให้สิ่งที่ดี มีค่า เป็นวัตถุชิ้นสำคัญ ทางวัฒนธรรมของเมืองนครศรีธรรมราชคงอยู่สืบไปในฐานะศิษย์ของท่านในช่วงตั้งแต่ช่วง ม.ต้นและ เพื่อการศึกษาหาข้อมูลของคนรุ่นต่อๆไปครับ

ผู้เขียนขอแบ่งช่วงการเล่นแร่แปลธาตุการทำเงินตรานโมไว้เป็น 3 ช่วง

1.ช่วงยุคต้นกำเนิดเงินตรานโม 

                  เงินตรานโมนั้นพรหมณ์เป็นผู้ริเรื่มสร้างขึ้นมาตามคติของศาสนาพรหมณ์ และสร้างกันมาเป็นเวลายาวนาน สำหรับรูปแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา  ในการจัดสร้างเพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าทั้ง 3 เทพเจ้าในศาสนาพรหมณ์ และพระอุมา เพื่อเป็นเครืองสักการะ บูชา เป็นของขลังสำหรับติดตัวไปได้ และจุดประสงค์เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีรวมไปถึงโรคที่น่ากลัวยุคโปราณคือโรคไข้ห่่า

 2.ช่วงยุคสร้างเมืองคอน หรือนครศรีธรรมราช ที่สืบสานประเพณี การทำเงินตรานโม 

                      หลังจากที่ตั้งหลักปักฐานความเป็น”เมืองคอน หรือนครศรีธรรมราช”แล้ว ก็ยังถือปฏิบัติในการสร้างเงินตรานโม ทั้งเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินตราหรื่อเรียกอีกอย่างคือ เงินเฟื้อง ซึ่งมีใช่เฉพาะที่นครศรีธรรมราชช่วงแรกและกระจายไปทั่วประเทศที่มีความสัมพันธ์กับเมืองคอน   ยังเป็นของศักดิ์สิทธิ์  ตามหลักฐานตามบทความของขุนอาเทศคดีและอาจารย์นะมา โสภาพงศ์ ได้เขียนไว้ให้มีการจัดสร้างตอนกำเนิดเมืองนครศรีธรรมราช   พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ปรึกษาหารือกับพระมหาเถระผู้เป็นอาจารย์ 2 องค์ เพื่อหาอุบายป้องกันโรคไข้ห่า  จึงได้ตกลงจัดสร้างเงินตรานโม ตามตำหรับโบราณที่วัดพระบรมธาตุด้านทิศบูรพา มีพระภิกษุสงฆ์และพรหมณ์ร่วมกันทำพิธีและโปรยเงินตรานโมไปตามกำแพงเมืองทั้ง 4 ทิศ ที่ใบเสมากำแพงเมือง  ตามสถานที่ต่างๆในเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรและโรคไข้ห่าและสร้างเงินตรานโมรุ่นสุดท้ายตามแบบฉบับโบราณตามประเพณีขับไล่แม่มด ในปี พ.ศ.2474 และเลิกการสร้างในปี พ.ศ.2475 ในช่วงต้นรัชกาลที่ 7 

 3.ช่วงหลังยุคสร้างเมือง จาก พ.ศ.2475 จนถึงยุคปัจจุบัน 

  วัตถุประสงค์-รูปแบบ ในการสร้าง เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็น สอง แนวทาง

1.เพื่อเป็นวัตถุมงคล -อาจเป็นรูปพระสงฆ์  เพื่อเตือนสติให้ยึดมั่นในศีลธรรม ทำเป็นเครื่องราง-ของขลัง ป้องกันเภทภัย ขับสิ่ง่ชัวร้าย ขับไล่สิ่งจัญไร คล้ายวัตถุประสงค์การสร้างรูปแบบดั้งเดิมโบราณ  จะต่างกันเพียงมิใช้ขับไล่โรคไข้ห่า

2.สำหรับนำไปประกอบเป็นเครืองประดับ เช่น ทำหัวแหวน ทำสร้อยมือ ทำสร้อยคอ เป็นต้น ปัจจุบันจะเห็นเงินตราหัวนะโมมีรูปแบบต่างเปลี่ยนไปIMG_0005-tileข้อมูลพระคาถาการใช้เงินตรา นโม นอโม  เมืองคอน เพื่อให้เกิดผลตามปรารถนา จากคุณมงคล โอมาก สารนครศรีธรรมราช

                                                                                                           ขอขอบคุณ

พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์)วัดพระนคร

เงินตราโบราณภาคใต้ 1 “เงินตรานโม”และประวัตินครศรีธรรมราช ชวลิต อังวิทยาธร

ข้อมูลจาก บทความ “เบี้ยและเงินตราพดด้วงในนครศรีธรรมราช” ขุนอาเทศคดี อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนอาเทศคดี 

ข้อมูลจาก  บทความ “เงินตรานโม “อาจารย์นะมา โสภาพงศ์ สารนครศรีธรรมราช

วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 44 ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม ธันวาคม 2561 จากและข้อมูลจากคุณสุรเษฐ์ แก้วสกุล

คุณอรรถ ศิริรักษ์/คุณสุรเษฐ์ แก้วสกุล/คุณประวัติ ภิรมกาญจน์ /คุณสหภาพ นวลจันทร์/คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณปุณิกา  พันธรังษี/คุณสายัณห์ ยรรยงนิเวศน์

คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ เมืองนครศรีธรรมราชมหานคร/สวัสดีตามพรลิงค์/ตามพรลิงค์ วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ร่องรอยชุมพชนโบราณของพรหมณ์ในนครศรีธรรมราช  ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา นุ่นสุข  คุณอำนวย ทองทะวัย อนุเคราะห์ให้ศึกษา

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช :พัฒนาการของรัฐบนคาบสมุทธไทยในพุทธศตวรรษที่ 11 – 19  นายปรีชา นุ่นสุข  สรรหามาให้โดยคุณจิรัญดา สุขเนาว์/คุณอนุสรณ์ จันทร์ช่วย

Leave a Reply

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>