นิราศและ “กวี” เมืองคอน
เม.ย. 27
แผนที่เมือง"ตามพรลิงค์"(เมืองสิบสองนักษัตร) ในอดีตช่วงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช(ราชัณย์แห่งอาณาจักรทะเลใต้) พ.ศ.1773 (ภาพจากเวป)
ที่่ผมได้เขียนเรื่อง"นิราศและกวี"เมืองคอน รวมถึงความเป็นมา"ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน"ของคนเมืองคอน" เนื่องจากว่า จากความยิ่งใหญ่ในอดีตของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช(พระเจ้าจันทรภาณุหรือเทพเจ้าแห่งอาณาจักรทะเลใต้) เป็นสมัยต้นกำเนิดความยิ่งใหญ่ ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ประเพณีวัฒนธรรม มีแสนยานุภาพความยิ่งใหญ่ทางน้ำ ตลอดทั้งคาบสมุทธและทางบก และเป็นต้นแบบแนวทางการปฏิบัติหลายๆด้านในยุคต่อมา และต้นแบบหลายๆด้านเหล่านั้นได้ตกทอดมาถึงยุค"เมืองคอน"และ"เมืองในสิบสองนักษัตร"
และจากการที่ผมได้รับรู้และรับทราบเกี่ยวกับเอกสาร บทกวี บทกลอน และนิราศ ของกวีของ"เมืองคอน"ท่านหนึ่ง คือคุณครูตรึก พฤกษะศรี ในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร มีเป็นจำนวนมาก ผมเลยมีความคิดและได้ปรึกษากับทายาทของท่าน เพื่อที่จะนำ บทกวี บทกลอน และนิราศของคุณครูที่ได้บันทึกไว้ออกเผยแพร่ โดยค่อยๆทะยอยออกเผยแพร่ เพื่อเป็นความรู้ แก่อนุชนผู้ที่มีความสนใจรุ่นหลัง ถึงแม้ว่าในยุคปัจจุบัน การอ่านเอกสารประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นี้มีคนไทยอ่านน้อยลงมาก ผมเสียดายถ้าหากไม่นำมาเผยแพร่และไม่อยากให้สูญหายไปตามกาลเวลา ตามกฎ ไตรลักษณ์ (การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)ก่อนเวลาอันสมควร(ถึงแม้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะหนีไม่พ้น)ถ้าไม่นำออกสู่โลกการอ่าน อาจมีสักวันหนึ่งข้างหน้าอาจมีคนเห็นถึงความสำคัญ (เพียงการคาดหวังก็เถอะ) เวปของผมทำเพื่อความยากทำ ทำเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ต้องคำนึงเชิงพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพียงแต่ให้รู้ว่า"เมืองคอนก็มีสิ่งที่น่าภาคภูมิใจในด้าน" "กวี บทประพันธ์ต่างๆ"ที่ไม่ธรรมดาเหมือนกัน
เมืองคอน เป็นเมืองของกวี เมืองนักปราชญ์ เจ้าบทเจ้ากลอนมาแต่โบราณ ตั้งแต่"เพลงร้องเรือ"(เพลงกล่อมเด็ก)เพื่อให้เด็กนอนหลับ" เป็นการเอาประวัติศาสตร์" เกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์" เกี่ยวกับ ธรรมชาติ ศิลปประเพณีวัฒนธรรม(ตำนานพื้นบ้าน) เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก เกี่ยวกับวรรณคดี เกี่ยวกับอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เกี่ยวกับวิถีชีวิต ฯลฯ มาร้องเป็นเพลงสดๆ ตั้งแต่บรรพบุรุษและล่วงมาถึงปัจจุบัน คนเมืองคอน ได้สร้างชื่อเสียงเกี่ยวกับ"เจ้าบท เจ้ากลอน"ให้เป็นที่รู้จักมาแต่โบราณ ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนของคนเมืองคอน จะเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่มีหลักฐานทราบแน่ชัด แต่ผมได้อ่านเพลงร้องเรือบทหนึ่ง น่าจะอนุมานและพอจะสันนิษฐานไ้ด้ว่าเ้ก่าแก่มาก(มิใช่เป็นการเข้าข้างตนเอง)
" เมืองคอนเหอ |
|
ไปซื้อผ้าลายทองสลับ |
พระศรีธรรมโศกราชมีวาสนา |
|
ได้ก่อมหาธาตุยอดทองคำ |
ไว้เป็นที่บูชามหาชน |
|
ฝุงชนบูชาอุปถัมถ์ |
ที่ทรุดโทรมซ่อมไว้มิให้ต่ำ |
|
เช้าค่ำคนบูชา…….เหอ |
เนื้อเพลงนี้เสมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวความเป็นมาในอดีต แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของประวัติศาสตร์
และอีกบทหนึ่งที่ได้ยินมาตอนเด็ก ที่ "อำเภอปากพนัง" ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ อีกขั้นตอนหนึ่ง หมายถึงเมื่อซ่อมแซมพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นที่เรียบร้อยและเสร็จสมบูรณ์ มีองค์พระทองคำสวยงาม
" ไปคอนเหอ ไปแลพระนอนกับพระนั่ง นั่งพิงเสาดั้งหลังคามุงเบื้อง เข้าไปในห้องไปแลพระทองเขาทรงเครื่อง หลังคามุงเบื้องทรงเครื่องดอกไม้ใหญ่….. อ่าเอ่อ เหอเอ้อ เหอเอ่อ "
การที่จะนำเหตุการ์ณการที่เกิดขึ้นจริงมาร้องเพลงเป็นประวัติศาสตร์ได้ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าโดยธรรมชาติวงจรวิถีชีวิตของมนุษย์แล้ว การเล่า หรือ การเชื่อมยุค การนำบทหรือเรื่องราว ไปร้องเป็นเพลงกล่อมเด็ก คงไม่ไกลจากเหตุการณ์นั้นๆ มากนัก กับอีกอย่างหนึ่ง ในยุคของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช(พระเจ้าจันทรภาณุ) เป็นยุคทึมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทุกๆด้านทั้งทางด้านอาณาจักรและศาสนาจักร ทรงปกครองเมืองทั้ง สิบสองเมือง(เมืองสิบสองนักษัตร) ชาวเมืองล้วนมีสัจจะศีลธรรมทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยความสงบร่มเย็นมาก ประชาชนประกอบแต่กรรมดี มีศีลธรรม มีองค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใส จนเป็นทีกล่าวขวัญไปทั่วสารทิศ จนเป็นที่รวมและเป็นจุดกำเนิดประเพณีต่างๆ ทั้งประเพณีหลวงและราษฎรและปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีงานเดือนสิบ,ประเพณีลากพระฯลฯ(จากหนังสือประวัติและตำนานวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช โดยพระเทพวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช) โดยเฉพาะประเพณีลากพระ อาจเป็นต้นกำเนิด"เพลงร้องเรือ"ตามข้อสันนิษฐานของ"ครูแจ้ง วชิรพัฒนสกุล(นิลพัฒน์เดิม)" (www.moradokthai.com) ต้นต่อของการร้องเพลงร้องเรือ(เพลงกล่อมเด็ก) ดังนี้
- " คนสมัยก่อนมักตั้งบ้านเรือน วัดวาอาราม อยู่ริมแม่น้ำลำคลอง เพื่อความสะดวกในการหาน้ำดื่ม น้ำใช้ การทำการเกษตรและคมนาคม ในเทศกาลออกพรรษา มีประเพณีอย่างหนึ่งของชาวใต้ คือ ประเพณีลากพระ คือ พิธีแห่พระพุทธรูป เมื่อทำการสมโภชแล้วจะแห่พระไปในที่ต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธกราบไว้บูชา วัดที่อยู่ริมแม่น้ำจะทำการแห่พระทางเรือ เรียกว่า ลากพระเรือ ในกาลกฐิน ชาวบ้านที่นำกฐินไปทอด ณ วัดริมแม่น้ำ ก็จะจัดกระบวนกฐินแห่ไปทางเรือเช่นกัน เรือที่เข้ากระบวนแห่จะแบ่งเป็นสองพวก คือ หญิงพวกหนึ่ง ชายพวกหนึ่ง แต่ละลำ ฝีพายแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีเดียวกันดูสวยงามมาก ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กยังพอหาดูได้อยู่ แต่ไม่มีการร้องเรือ จะมีบ้างเฉพาะพวกขี้เมาร้องเพลงโนราห์ว่าเพลงบอกเท่านั้น เมื่อกระบวนเรือถึงที่จอดพักเรือ ต่างลำต่างประลองฝีพายกันเป็นที่สนุกสนาน
- เพลงร้องเรือในสมัยก่อน คงจะเกิดขึ้นในตอนนี้ ตอนที่เรือของหนุ่มสาวหรืออาจไม่หนุ่มสาว พายมาใกล้กัน ฝ่ายชายร้องเพลงเกี้ยว ซึ่งว่ากันด้วยกลอนสดๆ ฝ่ายหญิงร้องเพลงโต้ตอบ ซึ่งเป็นกลอนสดเช่นกัน น่าสังเกตุอย่างหนึ่งว่า คนไทยเรานั้นเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนมาแต่โบราณแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เมื่อกลับจากงานแล้ว ความสนุกสนานยังติดตาตรึงใจอยู่ จึงนำเอาเพลงที่ร้องในเรือ มาร้องกันเล่น เป็นที่นิยมชมชอบของหนุ่มและไม่หนุ่ม สาวและไม่สาวอย่างยิ่ง คนสมัยก่อน ค่าครองชีพไม่รัดตัวอย่างสมัยนี้ มีเวลาว่างกันมาก หนุ่มสาวและวัยรุ่นทำหน้าที่เลี้ยงน้อง ก็อุ้มน้องนั่งชิงช้า ซึ่งชาวใต้เรียกว่า เปล แล้วนำเอาเพลงร้อง (ใน) เรือ มาร้องกล่อมน้อง เพลงร้อง (ใน) เรือ จึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ "
ผู้เขียนขอยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่ทุกคนยังไม่ลืม พออนุมานว่า "หลังเหตุการณ์ที่เิกิดขึ้นแล้วผู้คนจะนำเหตุการณ์นั้นๆมาร้องเป็นกลอนเพื่อสืบทอดเหตุการณ์(อาจเป็นการร่องเรือหรือเป็นอย่างอื่น)คือ เกิดวาตภัยทางธรรมชาติทีร้ายแรงทีสุดที่แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง เมื่อ พ.ศ.2505" และหนังประทิ่น บังทอง(ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2539 จากหนังสือ"หนังตะลุงชั้นครูคู่เมืองนครศรีธรรมราช"รศ.วิมล ดำศรี หน้า 177)ได้นำเหตุการณ์นั้นมาขับเป็นกลอนหนังตะลุงคือ
และมาถึงยุคของกวีเอกศรีปราชญ์ ที่ถูกเนรเทศจากกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศรีปราชญ์เป็นกวีเอก ประกอบกับพื้นฐาน นิสัยดั้งเดิมของคนไทย(โดยเฉพาะคนเมืองคอน)นั้นเป็นคน"เจ้าบทเจ้ากลอน" ชอบร้องรำทำเพลง พูดจาคล้องจองกัน เมื่อคนยุคนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ กวีเอกอย่างศรีปราชญ์ ทำให้ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน เป็นในสายเลือดยิ่งจะมีมากขึ้น แม้แต่เจ้าเมือง เมืองคอนในยุคของ"กวีเอกศรีปราชญ์" ก็มีความเก่งกาจในเรื่อง กาพย์ กลอนและกลอนของกวีเอกศรีปราชญ์ที่ทุกคนรู้จักก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณีว่า
ธรณีนี่นี้ | เป็นพยาน | |
เราก็ศิษย์อาจารย์ | หนึ่งบ้าง | |
เราผิดท่านประหาร | เราชอบ | |
เราบ่ผิดท่านมล้าง | ดาบนี้คืนสนอง |
สถานที่ใช้ล้างดาบที่ใช้ประหารชีวิตศรีปราชญ์นั้น ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรรมราช เรียกว่า "สระล้างดาบศรีปราชญ์ "
และยุคของท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี(ม่วง) ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางกวีนานาชนิด ท่านช่ำชองหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก ทั้งเป็นผู้สามารถในทางปกครอง จัดการศึกษาและการศาสนา โดยเฉพาะทางการศึกษาท่านได้วางแผนการศึกษาภาษาไทยไว้ และได้จัดตั้งโรงเรียนไว้เกื่อบทั่วภาคใต้ จำนวน 21 โรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2441-2442 และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นผู้อำนวยการศึกษาและเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ตลอดถึงเมืองปัตตานี(จากประวัติวัดท่าโพธิ์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเจ้าคุณพระราชไพศาลมุนี 27 เมย.2520)
และตามประวัติความเป็นมาของวัดท่าโพธิ์วรวิหาร "ครูน้อม อุปรมัย" (ท่านเป็นสมาชิกราชสมาคมภูมิศาสตร์ แห่งประเทศอังกฤษ สมาชิกสมาคมประวัติศาสตร์ แห่งเมืองชิกาโก แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)ท่านได้เขียนไว้ว่า "ในสมัยอยุธยาก็เรียกเมืองนี้ว่าเมือง"ละคร"เพราะเป็นที่โ่ด่งดังในการเล่น"ละครชาตรี"(http://www.baanmaha.com/community/thread22894.html)(ผู้ร้องจะต้องด้นกลอน และร้องเป็นทำนองเพลงร่าย)จนชาวโปตุเกสมาเห็นเข้า ก็เรียกตามสำเนียงของเขาว่า "ลีกู"ลิกอร์"ลูกู" พอตกมาถึงสมัยอยุธยาเรียกชื่อเมื่องนี้ว่า"นคร" แต่สำหรับชื่อเดิมของเมือง "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"
และข้อเขียนของ"คุณไทยสะกอ" จากหนังสือ"พระพุทธศาสนาในตำนานสุวรรณภูมิ"โดยกล่าวถึงว่า "เรามีบรรพบุรุษของเราเอง มีมรดกตกทอดของความเป็นไทยที่ไม่ได้ลอกเลียนหรือถ่ายทอดมาจากใคร" นอกจากคนไทยด้วยกัน ควรที่เราทุกคนจะได้ภูมิใจและช่วยกันรักษา สือทอดสิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไปยังชั่วลูกชั่วหลาน[(หมายถึงเรื่องราวตกทอดทางประเพณีวัฒนธรรมของเราเอง(เมืองสุวรรณภูมิทั้งหมด) การสืบทอดสรรพวิชาต่างๆ ของต้นครู โดยขุนอินไสเรนทร์ และขุนอินเขาเขียว เมื่อ พ.ศ.1040 โดยจารไว้ในกระเบื้อง (พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย ของพระราชกวี(เจ้าคุณอ่ำ วัดโสมนัสวิหาร)]
และบทความเรื่อง "นานาสาระ อดีต-ปัจจุบันนครศรีธรรมราช" จากสารนครศรีธรรมราช ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2544(โดยดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ)กล่าวถึงความเก่าแก่การใช้กลอนสี่ที่มโนราห์ของเมืองคอนและของภาคใต้ใชัขับ(ร้องบทกลอน) "ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง" ซึ่งตามหลักฐานการตั้งเมืองตามอายุโบราณสถานโมคลาน คงมีอายุราวประมาณ 800-1500 ปี จะเห็นว่า มโนราห์มีมาก่อนแล้ว และแสดงให้เห็นว่า ความเป็นเจ้าบท เจ้ากลอน ของคนเมืองคอนมียาวนานมาแล้วจะบอกว่า "เป็นแหล่งกำเนิดเจ้าบท เจ้ากลอน"น่าจะไม่เป็นการกล่าวเกินความเป็นจริง"
และในรอบ 100 ปี มีวรรณกรรมคำผวนของ"เมืองคอน"ที่มีความเป็นมีอัจฉริยะภาพเป็นเยี่ยมที่หาผู้เทียมทันได้ขอให้ท่านผู้อ่าน โปรดอ่านในแง่ศิลปะ อย่าคิดเป็นเรื่องหยาบโลน และท่านจะสบายใจ เรียกอารมณ์จากท่านได้
๏ นครังยังมีเท่าผีแหน กว้างยาวแสนหนึ่งคืบสืบยศถา
เมืองห้างกวีรีหับระยับตา พันหญ้าคาปูรากเป็นฉากบัง
สูงพอดีหยีหิบพอหยิบติด ทองอังกฤษสลับสีด้วยหนีหัง
กำแพงมีรีหายไว้ขอดัง เจ้าจอมวังพระราโชท้าวโคตวย
มีเมียรักพักตร์ฉวีดีทุกแห่ง นั่งแถลงชมเชยเคยฉีหวย
เจ้าคีแหมรูปโอเมียโคตวย ท้าวหวังรวยกอดินอยู่กินกัน ฯลฯ
ที่ยกมาแค่เป็นตัวอย่างของความเป็นอัจฉริยะภาพของ "เมืองนักกาพย์ กลอน" มาตั้งแต่โบราณ
เกริ่นมานานเพื่อให้เห็นว่า"ทุกอย่างต้นตอน่าจะเกิดขึ้นที่นี้ " เมืองตามพรลิงค์" (รวมถึงเมืองสิบสองนักษัตร)แหล่งต้นกำเนิดประเพณีต่างๆ ณ.ที่แห่งนี้(คงไม่เกินไปที่พูดอย่างนี้) ถ้าดูประวัติการร้องรำ(ร้องเพลง)บรรเลงดนตรีขับกล่อมที่เป็นหลักฐาน มีขึ้นเป็นการเลี้ยงรับรองคณะทูตเสี่ยง-จุน (ราชทูตชาวจีน)ที่มาเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างเมืองตามพรลิงค์กับเมืองจีน มาแต่ ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 5 (จาก ตามพรลิงค์ อาณาจักรที่ถูกลืม) เพื่อเป็นการยกย่องกวี นักปราชญ์ นักกวี รวมถึงศิลปินแห่งชาติของ"เมืองคอน"จะได้ทะยอยเผยแพร่ผลงานอันภาคภูมิตามลำดับไป
จะเริ่มต้นด้วย"กวีผู้หนึ่ง ซึ่งบันทึกอยู่ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้"
ผมมาที่นี่ ทีไร ได้ความรู้มากๆ
และดีใจเสมอๆครับที่ยังมีคนที่รักเมืองคอน
และนำความรู้ต่างๆมาเป็นวิทยาทานแก่หลายๆคน
ที่ต้องการทราบที่มาที่ไปแห่งเมืองประวัติศาสตร์แห่งนี้ครับ
คุณnakhonkup999
ผมขอขอบคุณมากที่เป็นกำลังใจตลอดมา ถึงแม้นจากสถิติการเข้าเวปน้ัอยลงบ้างผมก็ภูมิใจที่ได้เผยแพร่ บุคคลสำคัญของเมืองคอนและต้นกำเนิดหลายสิ่งหลายอย่างสิ่งเหล่านั้นไปยิ่งใหญ่ที่เมืองอื่นๆแก่คนคอนหรือคนที่อื่นๆที่สนใจ"เมืองคอน"(ตามความรู้ที่ีมีและจากหลายๆแหล่งความรู้ทีค้นคว้าและรับความรู้มา) และตั้งใจจะทำต่อไป
ขอบคุณมากจากใจจริง
มล.พัน 9 พค.2554
ผมคนหนึ่งที่เป็นคนคอนแท้ๆมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชอบอ่าน – เขียนกลอนมาตั้งแต่เด็ก ไม่รู้ว่ามันอยู่ในสายเลือดตามนิสัยคนคอนหรือไม่ ชอบครับบทความนี้ ชอบมาก เป็นกำลังใจให้ครับ ผมคนหนึ่งละจะติดตามอ่านอยู่เสมอๆ ขอบคุณอีกครั้งครับ…
คุณขวัญชัย มานะจิตต์
ขอบคุณมากๆครับที่เข้าติชมและติดตามผลงาน ขอบคุณทุก"สายเลือดกวีเมืองคอน"ทั้งหมดครับ
ขอบคุณครับ
มล.พัน
แม้จะมีแซ่พ่วง ท้ายมาตั้งแต่เกิดด้วย ความที่มีบิดาเป็นชาวจีนโพ้นทะเล
แต่ก็มีเลือดเมืองคอนเต็มตัว ชมชอบบทกลอน แม้นอนแม้นั่งยังพร่ำบทกลอน
เป็นแรงใจให้หาข้อมูลอดีตมาลงเพิ่มเติมอีกครับ ท่าน indiana jones ผู้ไม่หวังขุมทรัพย์หวังเพียง ความเข้าใจในอดีตของบ้านเมืองเพื่อลูกหลานจะได้เรียนรู้จดจำความเป็นไทย
(เดี๋ยวจะหาเรื่องพระเกจิดังๆ มาลงด้วย ดีมั๊ยพี่….)
คุณศุภชัย(น้องหนึ่ง)
มีแซ่..แต่รักเมืองคอน เมืองไทย เสียสละเพื่อบ้านเกิดเมืองนอน ผมว่ามันไม่สำคัญเรื่องแซ่ ขอบคุณสำหรับคำชม ที่ยิ่งใหญ่เท่าประวัติศาสตร์คงไม่ถึงขนาดนั้น แค่รักที่จะทำในเมื่อมีข้อมูล ผมยินดีมากเลยที่น้องจะเขียนประวัติ คนสำคัญของเมืองคอน ผมจะเพิ่มชื่อหมวดหมูจาก"นิราศและกวีเมืองคอน เป็น นิรา ศ-กวีและบุคคลสำคัญของเมืองคอน"เพื่อจะได้ครอบคลุ่มการเขียน และต้องรบกวนน้องหนึ่งเสาะหาข้อมูลพร้อมประวัติ ภาพเก่าๆด้วย เพื่อเมืองคอนของเรา
มล.พัน 20 กค.2554